ประวัติ “พระกริ่ง” กับพุทธคุณที่เลื่องลือด้านการรักษาโรค


หากมีใครกำลังเอ่ยถึงพระกริ่งแล้วล่ะก็ สิ่งแรกที่ผู้คนมักจะนึกถึง เห็นทีก็คงจะเป็นเรื่องพุทธคุณและอานุภาพ ด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บที่ถูกเล่าขานต่อๆกันมา ซึ่งสำหรับครั้งนี้เราก็มี ประวัติ “พระกริ่ง” กับพุทธคุณที่เลื่องลือด้านการรักษาโรค มาฝาก นอกจากชื่อเสียงของพระกริ่งที่เลื่องลือทางด้านพุทธคุณแล้ว สำหรับกรรมวิธีในการสร้างก็ไม่ธรรมดาเช่นกัน อย่ารอช้าหากคุณอยากทราบกันแล้วว่าเป็นอย่างไร เราไปดูกันเลยดีกว่า
ประวัติพระกริ่ง

พระกริ่ง หรือพระองค์เล็กๆ ที่ใครหลายคนนิยมบูชา คือพระที่ถูกสร้างจากการหล่อโลหะ มีขนาดเล็กกระทัดรัด เมื่อไรที่เรานำมาเขย่าก็จะมีเสียงดังกรุงกริ๊งเนื่องจากภายในองค์พระได้มีการบรรจุโลหะเอาไว้นั่นเอง และเราจะมาพูดถึง ประวัติพระกริ่ง รวมทั้งกรรมวิธีการสร้างพระกริ่งต่างๆ
มีความเชื่อกันมาตั้งแต่โบร่ำโบราณว่าพระกริ่งนั้นคือ “พระไภษัชยคุรุ” ซึ่งเป็นปางหนึ่งขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่มาช่วยสัตว์โลกจากโรคภัยไข้เจ็บ ทรงเป็นครูด้านเภสัช ชื่อ “พระไภษัชยคุรุ” ในลัทธิมหายานนั้นมีความหมายที่แปลว่า การรักษาพยาบาล การแพทย์ การรักษาโรค
พระกริ่งนั้นได้มีการเริ่มสร้างขึ้นที่ประเทศทิเบตและจีน จึงถูกเรียกว่าพระกริ่งทิเบต และพระกริ่งหนองแส ซึ่งพระกริ่งหนองแสนั้นได้มีการขุดพบในประเทศกัมพูชา บนเขาพนมบาเค็ง โดยมีการสันนิษฐานว่าการสร้างพระกริ่งนั้น ถูกสร้างขึ้นโดยราชวงศ์หนองแสในช่วงประมาณปี พ.ศ. 1270 – 1290 ซึ่งถือว่าเป็นระยะเวลาที่นานมากทีเดียว
ต่อมาได้มีการนิยมสร้างในเขมรหรือประเทศกัมพูชา มีชื่อเรียกว่า “พระกริ่งอุบาเก็ง” (พระกริ่งพนมบาเค็ง) และพระกริ่งพระปทุมสุริยวงศ์ ที่ถูกสร้างในยุคสมัยพระเจ้าไชยวรมันที่ 7 โดย พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์หรือพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ที่เป็นผู้ที่สร้างนครวัดนครทมในปัจจุบันนั่นเอง

ทางขอมนั้นได้ก็สร้างพระกริ่งปทุมจนมีการแพร่หลาย ในสมัยพระเจ้าไชยวรมันที่ 7 จนภายหลังมีการแพร่หลาย จนได้รับความนิยมในหมู่ชาวไทยลาวกันมากและถูกนิยมกันมาเรื่อยๆ
สำหรับในประเทศไทยนั้นมีหลักฐานปรากฏการสร้างพระกริ่งนั้น บ้างก็ว่ามีมาก่อนยุครัตนโกสินทร์ บ้างก็ว่ามาจากสมัยกรุงศรีอยุธยา บ้างก็ว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย และสำหรับพระกริ่งที่หายาก และมีผู้นิยมนับถือกันมากนั่นก็คือพระกริ่งวัดสุทัศน์ ซึ่งถูกสร้างโดยสมเด็จพระอริยะวงศาคตญาณ (แพ ติสฺสเทโว)
ซึ่งการสร้างพระกริ่งนั้นทำด้วยกรรมวิธีที่ค่อนข้างยาก พระกริ่งมักจะถูกนิยมสร้างด้วยนวโลหะทั้ง 9 ชนิด ซึ่งได้แก่ ทองคำ ทองแดง เงิน สังกะสี ชิน ปรอท เจ้าน้ำเงิน พลวง และดีบุก ซึ่งเป็นมวลสารหลักในการใช้สร้างพระกริ่ง ภายในของพระกริ่งนั้น จะถูกบรรจุเม็ดกริ่งที่เป็นโลหะเล็กๆ ไว้ภายในองค์พระเวลาเขย่าก็จะมีเสียงดัง กริ๊งๆ ที่ออกมาจากภายใน
พระกริ่งมีกี่แบบ


หากถามว่า พระกริ่งมีกี่แบบ เห็นทีคงจะเป็นคำถามตอบยาก พระกริ่งนั้นมีมากมายและได้ถูกดัดแปลงมาจากยุคเก่า ส่วนมากจะทำจากนวโลหะทั้ง 9 ชนิด
พุทธลักษณะขององค์พระกริ่งต่างๆ โดยมาตราฐานแล้วนั้น ส่วนใหญ่องค์พระมักจะประทับนั่งขัดสมาธิ บนฐานดอกบัว ที่มีกลีบดอกบัวแบบคว่ำและแบบหงาย ในส่วนของพระหัตถ์ซ้ายในบางรุ่น ก็จะมีการถือหม้อยา ส่วนบางรุ่นก็จะถือวัชระ หรือบางรุ่น ก็อาจจะถือบาตรน้ำมนต์ แล้วแต่การสร้างของแต่ละรุ่น
พระกริ่งนั้นมี 2 แบบ ซึ่งแบบแรกคือ พระกริ่งนอก คือพระกริ่งจากเมืองนอก หรือที่ถูกสร้างในต่างประเทศ เช่น พระกริ่งเขมร หรือที่ผู้คนมักจะชอบเรียกกันว่า พระกริ่งตั๊กแตน และ แบบที่ 2 ก็คือ พระกริ่งใน คือพระกริ่งที่ถูกสร้างภายในประเทศไทย
พระกริ่งปวเรศคือพระกริ่งแบบแรกที่ถูกสร้างในประเทศไทย เป็นพระกริ่งใน ที่หายากที่สุด และมีแต่ผู้คนปรารถนาต้องการมีไว้ครอบครองบูชา ซึ่งได้มีการดัดแปลงมาจากพระกริ่งปทุมสุริยวงศ์ ที่จารึกชื่อพระธยานิโพธิสัตว์เอาไว้ 8 พระองค์ แต่พระกริ่งปวเรศนั้นถูกดัดแปลงให้จารึกชื่อพระธยานิโพธิสัตว์เอาไว้เพียง 7 พระองค์ แทน
สำหรับพระกริ่งในประเทศไทยที่หายากมีด้วยกัน 3 กลุ่ม ได้แก่ พระกริ่งกลุ่มวัดบวรนิเวศวิหาร , พระกริ่งกลุ่มวัดสุทัศน์เทพวราราม และพระกริ่งกลุ่มวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก และเราได้นำตัวอย่างของพระกริ่งในแต่ละรุ่นของกลุ่มวัดต่างๆ ที่ถือเป็นตำนานในประเทศไทยมาฝาก
พระกริ่งกลุ่มวัดบวรนิเวศวิหาร

สำหรับพระกริ่งกลุ่มวัดบวรนิเวศวิหาร นี้เป็นอีกหนึ่งกลุ่มพระกริ่งที่ได้รับความนิยมสำหรับนักสะสม และผู้นิยมสะสมบูชาพระเครื่องเป็นอย่างมาก เพราะหายากมากในปัจจุบัน ซึ่งพระกริ่งวัดบวรฯ นี้ถือเป็นพระกริ่งแบบแรกในไทยและมีชื่อเสียงเป็นอย่างมากในนาม “พระกริ่งปวเรศ” อีกทั้งยังมี พระกริ่งบัวรอบ และพระกริ่งไพรีพินาศ ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องลือกันจนมาถึงปัจจุบัน และในครั้งนี้เราจะพาคุณไปดูประวัติความเป็นมาของพระกริ่งกลุ่มวัดบวรนิเวศวิหาร อยากทราบกันแล้วอย่ารอช้าเราไปดูพร้อมๆกันเลย !

พระกริ่งปวเรศฯ วัดบวรฯ

สำหรับ พระกริ่งปวเรศฯ วัดบวรฯ นั้นเป็นพระกริ่งที่ถูกสร้างขึ้นในประเทศไทยแบบแรก ถือเป็นสุดยอดพระกริ่งในประเทศไทยอีกด้วย ถูกสร้างขึ้นช่วงประมาณปีพ.ศ. 2382 – 2434 สร้างโดยสมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งมีความโดดเด่นมากในยุคสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี
การสร้างพระกริ่งปวเรศนั้นได้ถูกแบ่งออกเป็น 5 ยุค ซึ่งได้แก่ พระเก่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้ายุคที่ 1-2 (ในช่วงยุคสมัยรัชกาลที่ 4) , พระกิ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้ายุคที่ 3-5 (ในช่วงยุคสมัยรัชกาลที่ 5) เป็นรักหญิงที่มีความโด่งดังในอดีตเป็นอย่างมาก ล้วนแล้วแต่มีการร่วมอธิษฐานจิตของสมเด็จพระพุทธะจารย์โต
สำหรับมวลสารในการสร้างพระกริ่งนี้มีกรรมวิธีการสร้างด้วยตำรามงคลโลหะ ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่ได้สืบค้นมาจากสมัยสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว พระกริ่งปวเรศในยุคนั้นที่คนโบราณนิยมกันมาก มีอยู่เนื้อเดียวก็คือเนื้อนวโลหะผิวกลับดำ และจะกลายเป็นสีจำปาเทศเมื่อเนื้อใน
มีพุทธะลักษณะในปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปลอยองค์ประทับนั่งขัดสมาธิ อยู่บนฐานบัวคว่ำและบัวหงาย 2 ชั้น ซึ่งมีชั้นละ 7 กลีบ ในส่วนของด้านหลังนั้นมีบัวอีก 1 กลีบคู่



พระกริ่งปวเรศฯ วัดบวรฯ
ชื่อ | พระกริ่งปวเรศฯ วัดบวรฯ |
ประเภท | พระกริ่งเนื้อนวโลหะทั้ง 9 |
ผู้สร้าง | สมเด็จพระมหาสมณะเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ |
ศิลปะยุค | สมัยยุครัชกาลที่ 4 |
อายุการสร้าง | ช่วงประมาณปีพ.ศ. 2382 – 2434 |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างด้วยตำรามงคลโลหะที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่ได้สืบค้นมาจากสมัยสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว |
เนื้อพระ/มวลสาร | นวโลหะทั้ง 9 |
การแยกพิมพ์ | – |
พุทธคุณ | ด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแพทย์ มหาอุด ครบทุกด้าน |
พุทธลักษณะ | ในปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปลอยองค์ประทับนั่งขัดสมาธิ อยู่บนฐานบัวคว่ำและบัวหงาย 2 ชั้น ซึ่งมีชั้นละ 7 กลีบ ในส่วนของด้านหลังนั้นมีบัวอีก 1 กลีบคู่ |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
พระคาถาบูชาพระกริ่งตระกูลพระปวเรศฯ
“นะโม ภะคะวะเต ไภษัชยคุรุ ไวทูรย
ปะระภาราชายะ ตะถาคะตะยาระ สะมะยะกะ สะมะพุทธะ ทายะโอมะ
ไภเษชะยะ ไภเษชะยะ สะมุทระ สะมุทระ คะเตสะวาหะ”
พระกริ่งบัวรอบ หรือ พระกริ่งสุจิตโต ปี 2487

สำหรับพระกริ่งบัวรอบ หรือ พระกริ่งสุจิตโต ปี 2487 ซึ่งถือเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่ได้จัดสร้างขึ้นเพื่อถวายแด่รัชกาลที่ 9 สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ โดยมีพิธีเททองหล่อที่จัดขึ้น ณ พระอุโบสถวัดบวรฯ ในปี 2487
พุทธะลักษณะขององค์พระกริ่งบัวรอบนี้ได้ถูกถอดเค้าแบบมาจากพระกริ่งปวเรศ และมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อยโดยเฉพาะในส่วนของ ฐาน ซึ่งทำเป็น ฐานบัว รอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง จึงถูกนิยมเรียกว่า พระกริ่งบัวรอบ ซึ่งได้มีการแบ่งพิมพ์เป็น 2 พิมพ์ก็คือพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่

พระกริ่งบัวรอบ หรือ พระกริ่งสุจิตโต วัดบวรฯ ปี 2487
ชื่อ | พระกริ่งบัวรอบ หรือ พระกริ่งสุจิตโต วัดบวรฯ ปี 2487 |
ประเภท | พระกริ่งเนื้อนวโลหะ |
ผู้สร้าง | สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ |
ศิลปะยุค | พ.ศ 2487 |
อายุการสร้าง | พ.ศ 2487 |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างด้วยตำรามงคลโลหะที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ที่ได้สืบค้นมาจากสมัยสมเด็จพระพนรัตน์วัดป่าแก้ว |
เนื้อพระ/มวลสาร | นวโลหะทั้ง 9 |
การแยกพิมพ์ | มี 2 พิมพ์ ได้แก่พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก |
พุทธคุณ | ด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแพทย์ |
พุทธลักษณะ | พุทธะลักษณะขององค์พระกริ่งบัวรอบนี้ได้ถูกถอดเค้าแบบมาจากพระกริ่งปวเรศ และมีการดัดแปลงเพียงเล็กน้อยโดยเฉพาะในส่วนของ ฐาน ซึ่งทำเป็น ฐานบัว รอบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรฯ

พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรฯ นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งพระกริ่งที่ผู้นิยมสะสมพระเครื่องมีความปรารถนาที่ต้องการครอบครองบูชาเป็นอย่างมาก เพราะเป็นพระกริ่งรุ่นแรกที่ได้จำลองมาจากแบบพิมพ์ “พระบูชาไพรีพินาศ” ที่เป็นองค์ต้นแบบ และมีผู้นำมาถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ 4)
พุทธะลักษณะของพระกริ่งนี้มีเนื้อเป็นโลหะซึ่งเป็นทองเหลืองแบบพิเศษ โดยสีสันของเนื้อทองเหลืองนั้นต่อให้มีอายุนานเพียงใดก็ยังคงมีสีอมเขียวให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีเม็ดพระศก 9 เม็ดอยู่ด้านหน้า ในส่วนของพระหัตถ์ด้านขวานั้นจะหงายขึ้น ในส่วนของพระเนตรเป็นเม็ดตาสีดำกลมแบน และมีความนูนต่ำ ฐานขององค์พระนั้นด้านซ้ายจากชุดต่ำลงเล็กน้อยและด้านขวาจะยกสูง
นอกจากจะมีความโดดเด่นในด้านพุทธคุณที่เชื่อกันว่ารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้แล้ว ยังมีพุทธคุณที่เชื่อกันว่าสามารถช่วยปกป้องคุ้มครองภัยและกำราบศัตรูที่คิดร้ายทั้งปวงได้ แต่ผู้ที่ใช้จะต้องอยู่ในศีลธรรม
มีกรรมวิธีในการสร้างพระกริ่งนี้ แบบ “ตำนานพระกริ่ง” ที่ถูกเรียกพุทธศิลปะนี้ว่าเป็นศิลปะการเทแบบโบราณ หรือ หล่อแบบโบราณนั่นเอง ทั้งยังไม่มีการแต่งผิวหรือแต่งองค์พระ ซึ่งได้ถูกสืบทอดการสร้างพระกริ่งนี้มาจาก สมัยพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ซึ่งได้มีการแบ่งพิมพ์ออกเป็น2 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ฐานบัวแหลม และพิมพ์ฐานบัวเหลี่ยม

พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรฯ
ชื่อ | พระกริ่งไพรีพินาศ วัดบวรฯ |
ประเภท | พระกริ่งเนื้อนวโลหะ |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | ยุคสมัยรัชกาลที่ 4 |
อายุการสร้าง | ยุคสมัยรัชกาลที่ 4 |
กรรมวิธีสร้าง | เป็นการหล่อแบบโบราณ ไม่มีการตกแต่งพระ |
เนื้อพระ/มวลสาร | นวโลหะทั้ง 9 |
การแยกพิมพ์ | พิมพ์ฐานบัวแหลม และพิมพ์ฐานบัวเหลี่ยม |
พุทธคุณ | ด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแพทย์ |
พุทธลักษณะ | มีเนื้อเป็นโลหะซึ่งเป็นทองเหลืองแบบพิเศษ โดยสีสันของเนื้อทองเหลืองนั้นต่อให้มีอายุนานเพียงใดก็ยังคงมีสีอมเขียวให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งมีเม็ดพระศก 9 เม็ดอยู่ด้านหน้า ในส่วนของพระหัตถ์ด้านขวานั้นจะหงายขึ้น ในส่วนของพระเนตรเป็นเม็ดตาสีดำกลมแบน และมีความนูนต่ำ ฐานขององค์พระนั้นด้านซ้ายจากชุดต่ำลงเล็กน้อยและด้านขวาจะยกสูง |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
พระกริ่งกลุ่มวัดสุทัศน์เทพวราราม

สำหรับ พระกริ่งกลุ่มวัดสุทัศน์เทพวนาราม นั้น หรือเป็นกลุ่มพระกริ่งที่หาค่อนข้างยากในปัจจุบัน และเป็นที่ปรารถนาสำหรับเหล่าผู้นิยมสะสมพระเครื่องในปัจจุบันเป็นอย่างมาก และมีราคาแพง ซึ่งส่วนมากจะสร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) มีชื่อเสียงในเรื่องของอำนาจพระคุณเป็นอย่างมากจึงทำให้เป็นที่ต้องการและนิยมมาถึงปัจจุบัน
พระกริ่งเทพโมลี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ

พระกริ่งเทพโมลี นี้ คือพระกริ่งรุ่นแรกของสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ( สมเด็จพระสังฆราช แพ) วัดสุทัศน์ฯ ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2441 – 2442 ซึ่งท่านได้สร้างตามแบบพระกริ่งปวเรศและได้สร้างตามตำราวัดป่าแก้ว ซึ่งในการสร้างครั้งนั้นมีจำนวนน้อยมาก จะได้กลายเป็นวัตถุมงคลที่หายากในปัจจุบัน ผู้นิยมสะสมพระเครื่องมีความปรารถนาและต้องการมีไว้ครอบครองบูชากันเป็นอย่างมาก
ในส่วนของพุทธลักษณะขององค์นั้น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแบบพุทธะศิลปะไทยประยุกต์ เป็นลักษณะองค์นั่งขัดประมาทมีดอกบัว คว่ำและหงายเป็นฐาน ที่ไม่เหมือนพระกริ่งแบบอื่น ทั้งเรื่องพุทธานุภาพได้เล่าขานต่อๆกันมา และเรื่องของมวลสารในการสร้าง
ซึ่งกรรมวิธีในการสร้างต้องตรงตามสูตรโบราณทุกประการ ในส่วนของเนื้อมวลสารที่ใช้ฟังพระนั้น ภายในมีสีขาวคล้ายเงิน และตัวองค์พระเป็นเนื้อนวโลหะ ซึ่งได้ถือคติของกำลังวันในการสร้างอย่างเช่น วันจันทร์มีกำลัง 15 จึงสร้างพระ 15 องค์

พระกริ่งเทพโมลี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ
ชื่อ | พระกริ่งเทพโมลี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ |
ประเภท | พระกริ่งเนื้อนวโลหะ |
ผู้สร้าง | สมเด็จพระสังฆราช (แพ |
ศิลปะยุค | พ.ศ. 2441 – 2442 |
อายุการสร้าง | พ.ศ. 2441 – 2442 |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างตรงตามสูตรโบราณทุกประการ ในส่วนของเนื้อมวลสารที่ใช้สร้างพระนั้น ภายในมีสีขาวคล้ายเงิน และตัวองค์พระเป็นเนื้อนวโลหะ ซึ่งได้ถือคติของกำลังวันในการสร้างอย่างเช่น วันจันทร์มีกำลัง 15 จึงสร้างพระ 15 องค์ |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อนวโลหะ |
การแยกพิมพ์ | – |
พุทธคุณ | ด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแพทย์ |
พุทธลักษณะ | มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแบบพุทธะศิลปะไทยประยุกต์ เป็นลักษณะองค์นั่งขัดประมาทมีดอกบัว คว่ำและหงายเป็นฐาน |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
พระกริ่งพรหมมุนี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ

พระกริ่งพรหมมุณี วัดสุทัศน์ นี้ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2455 – 2465 โดย สมเด็จพระสังฆราช (แพ)ในขณะที่กำลังครองสมณศักดิ์อยู่ สร้างขึ้นด้วยนวโลหะ 9 ชนิด มีการพิมพ์ออกมาทั้งพิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ และเขมรน้อย
กรรมวิธีในการสร้างก็ได้สร้างตรงตามตำราโบราณทุกประการ และเมื่อหลอมเข้ากันได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะนำมาตีเป็นแผ่นแล้วจารยันต์ 108 และ นะ ปถมัง 14
รวมทั้งถือคติของกำลังวันในการสร้างพระ อย่างเช่นวันจันทร์มีกำลัง 15 จึงสร้างพระ 15 องคน หรือวันอังคารมีกำลัง 8 ก็สร้างพระ 8 องค์ และมวลสารที่ใช้นั้นต้องเป็นไปตามตำราโบราณด้วยเช่นกัน
เพิ่งพุทธะลักษณะนั้นคล้ายกับองค์พระกริ่งเทพโมลี แต่มีเนื้อใสเป็นสีหน้าอมขาว และเนื้อกลับดำสนิท เป็นปางขัดสมาธิ อยู่บนฐานบัวคว่ำและหงาย

พระกริ่งพรหมมุนี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ
ชื่อ | พระกริ่งพรหมมุนี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ |
ประเภท | พระกริ่งเนื้อนวโลหะ |
ผู้สร้าง | สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ฯ |
ศิลปะยุค | พ.ศ. 2455 – 2465 |
อายุการสร้าง | 100 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างตรงตามตำราโบราณทุกประการ และเมื่อหลอมเข้ากันได้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จะนำมาตีเป็นแผ่นแล้วจารยันต์ 108 และ นะ ปถมัง 14 |
เนื้อพระ/มวลสาร | นวโลหะ 9 ชนิด |
การแยกพิมพ์ | พิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ และเขมรน้อย |
พุทธคุณ | ด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแพทย์ แคล้วคลาดปลอดภัย |
พุทธลักษณะ | คล้ายกับองค์พระกริ่งเทพโมลี แต่มีเนื้อใสเป็นสีหน้าอมขาว และเนื้อกลับดำสนิท เป็นปางขัดสมาธิ อยู่บนฐานบัวคว่ำและหงาย |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
พระกริ่งเจ้าคุณศรี (สนธิ์) รุ่น อุดผงอุดพระเกศา

สำหรับ พระกริ่งเจ้าคุณศรี (สนธิ์) รุ่น อุดผงอุดพระเกศา นั้น หรือที่มักจะถูกเรียกกันว่า “พระกริ่งวัดช้าง” และคนรุ่นเก่าจะเรียกกันว่า “พระกริ่งอุดผงพระเกศา” ซึ่งถูกสร้างโดยพระอาจารย์หนู (นิรันดร์ แดงวิจิตร) ช่วงปีพ.ศ. 2484 ซึ่งการจัดสร้างในครั้งนั้นก็เพื่อระดมทุนในการนำมาสร้างโรงเรียน ในประมาณช่วงปี พ.ศ. 2485 โดยมีเจ้าคุณศรี (สนธิ์) เป็นแม่งานในการจัดพิธีเททอง
ซึ่งการสร้างพระกริ่งในครั้งนั้นได้มีการบรรจุผงวิเศษ , เส้นพระเกศาของสมเด็จพระสังฆราชแพ รวมไปถึงเส้นจีวรไว้ในองค์พระกริ่งทางด้านหน้าและด้านหลังอีกด้วย อีกทั้งยังมีการตกแต่งมือโดยการตอกเม็ดไข่ปลา เป็นองค์ปางนั่งขัดสมาธิ
แต่มีกรรมวิธีในการหล่อแบบตัน แล้วนำมาเจาะรู 2 ชั้น เพื่อบรรจุผงพุทธคุณ 108 พร้อมกับเส้นพระเกศาของสมเด็จพระสังฆราชแพ เอาไว้ก่อนที่จะทำการอุดรูชั้นที่ 1 จากนั้นก็ได้ทำการบรรจุเม็ดกริ่งเอาไว้ทางด้านรูชั้นนอก แล้วจึงอุดด้วยทองชนวนเป็นลำดับสุดท้าย และพระอาจารย์หนูผู้สร้างพระกริ่งรุ่นนี้ ก็ยังคงมีชื่อเสียงที่เล่าขานต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ในส่วนของตัวองค์พระกริ่งนั้นจะมีเนื้อเป็นโลหะผสมที่มีสีเหลืองอมแดงและผิวกลับจะมองเห็นเป็นสีน้ำตาลอ่อน สามารถสังเกตได้จากรอยการอุดที่ใต้ฐานขนาดใหญ่ ในการอุดนั้นจะอุดด้วยแท่งดินสอดำทุกองค์ และเสียงกริ่งจะเป็นเสียงดังแบบทึบๆ เมื่อเกิดการเขย่า

พระกริ่งเจ้าคุณศรี (สนธิ์) รุ่น อุดผงอุดพระเกศา
ชื่อ | พระกริ่งเจ้าคุณศรี (สนธิ์) รุ่น อุดผงอุดพระเกศา |
ประเภท | พระกริ่งเนื้อนวโลหะ |
ผู้สร้าง | พระอาจารย์หนู (นิรันดร์ แดงวิจิตร) |
ศิลปะยุค | พ.ศ. 2484 |
อายุการสร้าง | 80 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | กรรมวิธีในการหล่อแบบตัน แล้วนำมาเจาะรู 2 ชั้น เพื่อบรรจุผงพุทธคุณ 108 พร้อมกับเส้นพระเกศาของสมเด็จพระสังฆราชแพ เอาไว้ก่อนที่จะทำการอุดรูชั้นที่ 1 จากนั้นก็ได้ทำการบรรจุเม็ดกริ่งเอาไว้ทางด้านรูชั้นนอก แล้วจึงอุดด้วยทองชนวนเป็นลำดับสุดท้าย |
เนื้อพระ/มวลสาร | โลหะผสมที่มีสีเหลืองอมแดง |
การแยกพิมพ์ | – |
พุทธคุณ | ด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การแพทย์ แคล้วคลาดปลอดภัย |
พุทธลักษณะ | มีการตกแต่งมือโดยการตอกเม็ดไข่ปลา เป็นองค์ปางนั่งขัดสมาธิ ตัวองค์พระกริ่งนั้นจะมีเนื้อเป็นโลหะผสมที่มีสีเหลืองอมแดงและผิวกลับจะมองเห็นเป็นสีน้ำตาลอ่อนและฐานจะอุดด้วยแท่งดินสอดำทุกองค์ |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
พระกริ่งกลุ่มวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก
ต่อไปเราจะพาคุณไปรู้จักกับ พระกริ่งกลุ่มวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งมีการตั้งพระกริ่งรุ่นแรกถึง 500 องค์ สร้างในปีพ.ศ. 2507 ซึ่งสร้างขึ้นที่วัดวังจันทน์ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสายการสร้างพระกริ่ง ที่มีชื่อเสียงมาจนถึงปัจจุบัน และในครั้งนี้เราได้นำพระกริ่งรุ่นหายาก จากจังหวัดพิษณุโลกมาฝาก

พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ปี 2515
เริ่มกันที่ พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ ปี 2515 ถือเป็นอีกหนึ่งพระกริ่งยอดนิยมในช่วงหลังปี 2500 ที่มีพุทธคุณที่นอกจากจะโดดเด่นในด้านการรักษาโรคแล้ว ยังไม่ความโดดเด่นในเรื่องแคล้วคาด คงกระพันชาตรีและอำนาจบารมีอีกด้วย ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2515
การสร้างพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ถูกสร้างขึ้นใน พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ซึ่งพุทธสมาคมพิษณุโลก ได้ทำการจัดพิธีนี้ขึ้น โดยได้นิมนต์พระคณาจารย์กว่า 109 รูป ร่วมปลุกเสกนอกจากนี้ยังมีการปลุกเสกวัตถุมงคลอย่างเช่น พระพิมพ์พระชัยวัฒน์ และพระพุทธชินราชจำลองในพิธีเดียวกันนี้อีกด้วย ซึ่งถือเป็นพิธีโบราณที่ได้ถูกจัดขึ้นเป็น 2 ที่สองของกรุงรัตนโกสินทร์
และผู้ที่เป็นเจ้าพิธีสำหรับการสร้างพระกริ่งในครั้งนี้ คือ อาจารย์เทพ สาริบุตร ซึ่งท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านไสยศาสตร์ และพุทธาคมระดับต้นๆของเมืองไทย อีกทั้งยังเรียกได้ว่าท่านเป็นนักโหราศาสตร์ชั้นครูเลยก็ว่าได้ สำหรับกรรมวิธีในการสร้างพระกริ่งนี้ ได้ถือเอาฤกษ์ออกศึกของพระนเรศวรเป็นสำคัญ

พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ปี 2515
ชื่อ | พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ปี 2515 |
ประเภท | พระกริ่งเนื้อสัมฤทธิ์ |
ผู้สร้าง | พุทธสมาคมพิษณุโลก แต่เจ้างานในพิธีคือ อาจารย์เทพ สาริบุตร |
ศิลปะยุค | พ.ศ. 2515 |
อายุการสร้าง | 40 กว่าปี |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างตามตำราโบราณด้วย นวโลหะ 9 ชนิด และได้ถือเอาฤกษ์ออกศึกของพระนเรศวรเป็นสำคัญ |
เนื้อพระ/มวลสาร | นวโลหะทั้ง 9 |
การแยกพิมพ์ | – |
พุทธคุณ | แคล้วคาด คงกระพันชาตรีและอำนาจบารมี การรักษาโรค |
พุทธลักษณะ | องค์ประทับนั่งขัดสมาธิ อยู่บนฐานบัวคว่ำและบัวหงาย 2 ชั้น ซึ่งมีชั้นละ 7 กลีบ ในส่วนของด้านหลังนั้นมีบัวอีก 1 กลีบคู่ |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
พระกริ่งเขมร หรือ พระกริ่งตั๊กแตน

ใครหลายคนอาจคุ้นหูกับ พระกริ่งเขมร หรือ พระกริ่งตั๊กแตน เพราะถือเป็นอีกหนึ่งพระกริ่ง ที่มีผู้ให้ความนิยมเป็นอย่างมาก พระกริ่งเขมรหรือพระกริ่งตั๊กแตนนี้ถือเป็น พระกริ่งนอกเพราะได้มาจากต่างประเทศนั่นเอง ซึ่งมีความโดดเด่นเกี่ยวกับเรื่องของพุทธคุณทางด้านคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด มหาอุตม์
พระกริ่งเขมรนี้มีอายุในการสร้างประมาณ 700 – 800 ปี เพราะถูกสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7 และมีแหล่งกำเนิดในประเทศกัมพูชา และเหตุผลที่เรียกพระกริ่งเขมรนี้ว่า “พระกริ่งตั๊กแตน” ก็เพราะพระพักตร์ขององค์พระนั้นมีความคล้ายกับแมลงชนิดหนึ่งที่ชื่อ “ตั๊กแตน” จึงได้พากันนิยมเรียกกันต่อๆมา
สำหรับพุทธะลักษณะขององค์พระกริ่งนี้มีรูปลักษณ์องค์พระประทับนั่งบนฐานบัว 2 ชั้น พี่พระนาสิกนั้นยื่นออกมามากในส่วนของพระเนตรก็เป็นต่อเส้นลึกเฉียงขึ้นไปทางด้านบนแบบจีน และมีพระเศียรที่ค่อนข้างกลม
สำหรับการสร้างพระกริ่งเขมรนี้ ได้ใช้กรรมวิธีการสร้างโดยการหล่อแบบหล่อโบราณ และได้ทำการพิมพ์ทีละองค์ จากนั้นก็ใช้ดินขี้วัวพอก มีหลายพิมพ์ได้แก่พิมพ์บัวฟองมัน พิมพ์บัวเม็ดมะยม และพิมพ์บัวตูมบัวย้อย ซึ่งในแต่ละพิมพ์นั้นก็มีความหมายที่แตกต่างกันออกไป และตัวอย่างที่เราจะนำมาให้คุณดูกันในครั้งนี้ก็คือพิมพ์บัวฟองมัน

พระกริ่งตั๊กแตน พิมพ์บัวฟองมัน
ชื่อ | พระกริ่งตั๊กแตน พิมพ์บัวฟองมัน |
ประเภท | พระกริ่งนอก |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7 |
อายุการสร้าง | 700-800 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | กรรมวิธีการสร้างโดยการหล่อแบบหล่อโบราณ และได้ทำการพิมพ์ทีละองค์ จากนั้นก็ใช้ดินขี้วัวพอก |
เนื้อพระ/มวลสาร | |
การแยกพิมพ์ | พิมพ์บัวฟองมัน พิมพ์บัวเม็ดมะยม และพิมพ์บัวตูม-บัวย้อย |
พุทธคุณ | |
พุทธลักษณะ | มีรูปลักษณ์องค์พระประทับนั่งบนฐานบัว 2 ชั้น พี่พระนาสิกนั้นยื่นออกมามากในส่วนของพระเนตรก็เป็นต่อเส้นลึกเฉียงขึ้นไปทางด้านบนแบบจีน และมีพระเศียรที่ค่อนข้างกลม |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
พระคาถาบูชาพระกริ่งเขมร หรือ พระกริ่งตั๊กแตน
(ให้ตั้งนะโม 3 จบ ตามด้วยการท่องพระคาถา)
“นะโม ภควเต ไภษัชยคุรุ ไวฑูรยประภา
ราชัยยะ ตถาคตายะ อรหเต สัมมาพุทธายะ ตัทยถา
โอม ไภษัชเย ไภษัชเย ไภษัชเย
สมุรคเต สมุรคเต สวาหะ “
วิธีดูพระกริ่ง

สำหรับพระกริ่งที่มีลักษณะดีนั้น เมื่อเขย่าแล้วจะต้องมีเสียงดังกังวาน หากไม่มีเสียงจะเรียกกันว่า “พระกริ่งใบ้” เนื้อโลหะขององค์พระนั้นจะต้องตึงไม่มีรูตามด ผิวของโลหะนั้นจะต้องมีความมันวาว ซึ่งวิธีดูพระกริ่งนั้นมีหลายขั้นตอน และมีรายละเอียดมากมายในการสังเกต
อันดับแรกคุณควรทราบที่มาของพระกริ่ง จากแต่ละวัดเสียก่อน ว่าเป็นพระรุ่นไหน สร้างปีไหน สำหรับขั้นตอนพื้นฐานเพราะมีการทำลอกเลียนแบบกันออกมากันมากมาย ซึ่งในแต่ละวัดนั้นจะมีเอกลักษณ์เฉพาะของตัวเองอย่างเห็นได้ชัด เช่น พระกริ่งปรเวชวัดบวรฯ ที่มีเอกลักษณ์เป็นดอกบัวคู่หลัง 1 คู่
สิ่งที่คุณควรดูในลำดับต่อมาก็คือพิมพ์ของพระ ว่ามีพุทธะลักษณะหน้าตาขององค์พระในแต่ละพิมพ์นั้น มีรูปพระเนตรหรือรอยยิ้ม อิริยาบถในแบบใด ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณต้องจดจำรายละเอียด ควรรู้และศึกษาให้ได้มากที่สุด รวมไปถึงพระเกศดูให้ดีว่ามีกี่ชั้น มีวงพระจันทร์หรือไม่ รูปร่างของดอกบัวที่ฐานนั้นเป็นอย่างไร เป็นแบบเหลี่ยมหรือแบบกลม
สิ่งต่อมาที่คุณควรรู้ก็คือตำหนิของพระ เพราะองค์พระของแต่ละพิมพ์จะมีตำหนิที่ต่างกันอย่างเช่นพระกริ่ง 83 นั้น ซึ่งตรงหัวแม่มือด้านขวานั้น จะมีรอยบากที่ถือเป็นตำหนิทุกองค์สำหรับพิมพ์นี้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งจุดสังเกต แต่ในหนังสือมักจะไม่ค่อยมีบอก ส่วนใหญ่ข้อมูลที่ได้มักจะมาจากช่างที่ทำ และจากถ่ายทอดแบบรุ่นสู่รุ่น
ให้ดูจากการแต่งพระของช่างว่าเป็นอย่างไร และสิ่งที่เราต้องทราบคือรุ่นใดเป็นพิมพ์แต่งทั้งหมด และรุ่นใดที่ไม่มีการแต่งเลย หากรุ่นใดมีทั้งสองแบบ ซึ่งผิดเพี้ยนไปจากข้อมูลก็ถือว่าปลอมทันที
พระกริ่งพุทธคุณ

สำหรับพุทธคุณของพระกริ่งนั้น มีความเชื่อกันมาอย่างยาวนานว่า หากใครได้มีไว้ครอบครองบูชาจะยิ่งทำให้ชีวิตมีความสุข และนำพาความเจริญรุ่งเรืองมาให้ พระกริ่งพุทธคุณนั้นมีความขลังความศักดิ์สิทธิ์ มีความโดดเด่นในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ การรักษาพยาบาล
ตามความเชื่อนั้นพระกริ่งมีสรรพคุณทางยา ให้นำพระกริ่งมาแช่ในน้ำสะอาดทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง หรือคนโบราณมักจะเรียกกันว่า หนึ่งชั่วยาม โดยต้องแช่ไว้ในน้ำอย่างสงบนิ่งห้ามสั่นสะเทือนเด็ดขาด จากนั้นก็นำน้ำที่แช่ไว้มาอธิฐานแล้วดื่มหรืออาบ เพราะสรรพคุณทางโลหะโอสถ ที่ได้นำมาสร้างพระนั้น ทำมาจากนวะโลหะอันศักดิ์สิทธิ์ทั้ง 9 ชนิด ซึ่งได้แก่ทองคำ, เงิน, ทองแดง, ดีบุก,พลวง, สังกะสี, ชิน ปรอท และ เจ้าน้ำเงิน ซึ่งกรรมวิธีในการสร้างพระกริ่งนั้น ถูกทำตามตำราของโบราณาจารย์
พระคาถาบูชาพระกริ่ง

(ให้ตั้งนะโม 3 จบ)
“นะโม ภะคะวะเต ไภษัชยคุรุ ไวทูรย
ปะระภาราชายะ ตะถาคะตะยาระ สะมะยะกะ
สะมะพุทธะ ทายะโอมะ
ไภเษชะยะ ไภเษชะยะ สะมุทระ สะมุทระ คะเตสะวาหะ”
เมื่อสวดจบแล้วให้ตามด้วย
คาถาหัวใจ พระไภษัช
“เตยาธา โอม เบคันเจ เบคันเจ
มหาเบคันเจ รันจา ซัมโมงกาเด สะวาหายะ”
และตามด้วย
คาถาบูชา ขอพร องค์ไฉ่ซิงเอี๊ย (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ)
“โอมซัมภาลา จาเลน ไนเยน สะวาหายะ”
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับพระกริ่ง รวมถึง ประวัติ “พระกริ่ง” กับพุทธคุณที่เลื่องลือด้านการรักษาโรค ที่เราได้รวบรวมนำมาฝากกันในครั้งนี้ ซึ่งเราหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เราได้นำมาเสนอ ไม่ว่าจะเป็นประวัติพระกริ่ง พระกริ่งกลุ่มวัดบวรนิเวศวิหาร วิธีดูพระกริ่ง รวมทั้งพระคาถาบูชาพระกริ่ง ที่เราเชื่อว่าท่านผู้อ่านจะต้องถูกใจกันอย่างแน่นอน
ก่อนจากกันในครั้งนี้ ขออำนาจบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายรวมทั้งอำนาจพุทธคุณจะพระกริ่ง ปกปักษ์รักษาท่านผู้อ่านทุกท่านให้ปลอดภัย จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสร้ายในครั้งนี้ เราจะผ่านพ้นไปด้วยกัน และสำหรับครั้งนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อน หากผิดพลาดประการใดพวกเราทีมงานต้องขออภัย ณ ที่นี้ แล้วพบกันใหม่กับบทความในครั้งหน้าค่ะ
ประเภทพระกิ่ง amulet24
พระกริ่งบัวรอบ arjanram
พระกริ่งตั๊กแตน siamrath
Table of Contents
- June 1, 2021
- 4:35 pm