พระชัยวัฒน์ หายาก พร้อมพุทธคุณอันลือเลื่อง! และประวัติความเป็นมาของ

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์
พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

     อาจมีใครหลายคนเคยตั้งคำถามว่าพระชัยวัฒน์คืออะไร พระชัยวัฒน์ถูกสร้างครั้งแรกเมื่อไร พระชัยวัฒน์มีพุทธคุณที่เข้มขลังในด้านใด และสำหรับครั้งนี้เราได้รวบรวม ประวัติความเป็นมาของพระชัยวัฒน์หายาก พร้อมพุทธคุณอันลือเลื่อง!  มากฝาก นอกจากนี้เราได้ยังได้นำพระชัยวัฒน์ หายากรุ่นต่างๆ มาฝากกันในครั้งนี้อีกด้วย แต่เราจะไปเริ่มที่ประวัติความเป็นมากันเสียก่อน หากอยากทราบกันแล้วว่ามีมาอย่างไร อย่ารอช้า เราไปดูกันเลย ! 

ประวัติความเป็นมาของ “พระชัยวัฒน์”

     สำหรับ ประวัติความเป็นมาของ “พระชัยวัฒน์” นั้นไม่ได้มีชัดเจนในปรากฏ แต่เท่าที่มีในบันทึกที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ ช่วงประมาณ 400 กว่าปีที่แล้ว ในยุคของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แห่งกรุงอยุธยาศรีรามเทพนคร ซึ่งจะมีการสร้างพระชัยวัฒน์นั้น จะสร้างประจำองค์พระมหากษัตริย์ สำหรับทุกพระองค์สืบมา  

     ตามธรรมเนียมโบราณนั้น พระชัย หรือ พระไชย คือพระบูชาประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์ เป็นพระพุทธรูปคู่บุญญาธิการแห่งองค์พระมหากษัตริย์ หรือแม่ทัพในแต่ละยุค มาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง

     ซึ่งในยุคนั้นได้มีการอัญเชิญพระชัย หรือ พระไชย เพื่อนำไปประดิษฐานที่หลังช้าง และบนเรือ สำหรับในงานพระราชพิธีสำคัญต่างๆ รวมทั้งใช้ในการเสด็จงานพระราชสงครามของพระเจ้าแผ่นดิน 

     สำหรับพระชัย หรือ พระชัยวัฒน์ที่เราเรียกกันมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ ตามหลักฐานที่ถูกบันทึกไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 4 นั้น ได้มีการเริ่มสร้างพระชัยวัฒน์ ในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) 

     ซึ่งรัชกาลที่ 5 ได้สร้างพระชัยวัฒน์นี้ขึ้นเพื่อ พระราชทานให้แก่พระราชณโอรส ที่กำลังจะเสด็จไปศึกษาต่อในต่างประเทศ (ทวีปยุโรป) ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2428  เป็นรูปแบบ “พระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก” ที่มีสายสร้อยสำหรับสวมคอ ซึ่งในครั้งนั้นได้สร้างขึ้นในรอบแรก จำนวน 50 องค์ ซึ่งพระชัยวัฒน์ในชุดนั้น ผู้นิยมสะสมบูชาพระเครื่อง เรียกกันว่า “พระชัยวัตน์มงคลวราภรณ์” 

     พระชัย หรือ พระไชย ได้เปลี่ยนเป็นชื่อ พระชัยวัฒน์ หรือ พระไชยวัฒน์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเก้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งคำว่า “วัฒน์” ที่หมายความว่า ยั่งยืนและสืบเนื่อง กลายมาเป็น “พระชัยวัฒน์” จนถึงในยุคปัจจุบัน ที่ถูกสร้างและสืบเนื่องต่อๆกันมา และพระชัยวัฒน์แห่งวัดสุทัศน์นั้น ได้ถือเป็นต้นตำรับที่ผู้คนให้ความนิยมกันเป็นอย่างมาก

1. พระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์ฯ

     เอาใจสายพระเครื่องด้วยการรวบรวมข้อมูลของ พระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์ที่หายากมาฝาก ซึ่งหลายท่านต่างทราบกันดีอยู่แล้วว่า สำหรับพระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์ในแต่ละรุ่นนั้น ถือเป็น วัตถุมงคลที่ได้รับการนิยมสูงและหายากมาก ซึ่งในครั้งนี้เราจะมาพูดถึงประวัติของพระชัยวัฒน์รุ่นดังยอดนิยมของวัดสุทัศน์ฯกัน หากอยากทราบกันแล้วว่ามีรุ่นใดบ้าง เราไปดูกันเลย

พระชัยวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชแพ ปี 79 (พ.ศ. 2479)

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

     สำหรับ พระชัยวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชแพ ปี 79 (พ.ศ. 2479) นี้ ถูกสร้างขึ้นใหม่ประมาณปีพ.ศ. 2480 และในปี พ.ศ 2481 ในขณะเดียวกันกับที่ท่านยังเป็นสมเด็จพระวันรัต ซึ่งการสร้างในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนช่างหล่อ และช่างแต่งชุดใหม่

     เนื่องด้วยพระชัยวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชแพ ปี 79 นั้น เป็นรุ่นที่มีผู้คนให้ความนิยมสูงสุดของสุทัศน์ แต่เป็นรุ่นที่ท่านตำหนิว่า รูปที่หล่อออกมาไม่ได้ตามต้องการ จึงเป็นเหตุให้ต้องสร้างใหม่ 

     ในส่วนของด้านพุทธะลักษณะองค์พระนั้น คล้ายกับพระชัยวัฒน์หม่อมมิตรฯ เป็นอย่างมาก แต่พระเศียรจะมีความต่างกัน ไม่มีเกสรของดอกบัว และมีกลีบบัวเพียง 2 ชั้น 

     ทางด้านพุทธคุณนั้นมีความโดดเด่นในเรื่อง เมตตามหานิยมคงกระพันชาตรี และช่วยส่งเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับที่ไว้ครอบครองบูชา อีกทั้งยังมีชัยชนะเหนือศัตรูที่คิดปองร้าย 

พระชัยวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชแพ ปี 79 (พ.ศ. 2479)

ชื่อ

พระชัยวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชแพ ปี 79 (พ.ศ. 2479)

ประเภท

ผู้สร้าง

เจ้าประคุณสมเด็จสังฆราชแพ

ศิลปะยุค

ปี พ.ศ. 2479

อายุการสร้าง

กว่า 80 ปี

กรรมวิธีสร้าง

สร้างตามตำราและกรรมวิธีแบบหล่อโบราณ 

เนื้อพระ/มวลสาร

เนื้อสัมฤทธิ์ 

การแยกพิมพ์

พุทธคุณ

เมตตามหานิยมคงกระพันชาตรี และช่วยส่งเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับที่ไว้ครอบครองบูชา 

พุทธลักษณะ

คล้ายกับพระชัยวัฒน์หม่อมมิตรฯ เป็นอย่างมาก แต่พระเศียรจะมีความต่างกัน ไม่มีเกสรของดอกบัว และมีกลีบบัวเพียง 2 ชั้น 

มูลค่าราคาประมาณการ

พระชัยหม่อมมิตรฯ วัดสุทัศน์ฯ (พ.ศ.2456)

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

     สำหรับ พระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์ฯ พ.ศ 2456 นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ผู้นิยมสะสมพระเครื่องให้ความนิยมกันเป็นอย่างมาก นอกจากจะหายากแล้วยังมีราคาที่สูงอีกด้วย ถูกสร้างขึ้นมาโดยเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพเมื่อปี 2456

     มีพระนามเต็มว่า พระชัยวัฒน์กรมขุนมฤพงศ์ ศิริวัฒน์ เพราะบารมีของพระชัยวัฒน์องค์นี้จึงทำให้เป็นที่นิยมและมีการกล่าวขวัญกันอย่างมากมาย และผู้คนทั่วไปมักจะเรียกกันว่า “พระชัยหม่อมมิตรฯ” 

     ซึ่งมีพุทธะลักษณะเป็นองค์พระนั่งมาธิ มีเกษรของดอกไม้ อยู่เหนือบัว 2 ชั้น ทางด้านหลังไม่มีเกษรดอกไม้ และมีเส้นสั่งคติแผ่นสั้นเหนือบริเวณที่เรียกกันว่า “สิงห์หนึ่ง” ในส่วนของพุทธคุณนั้นเป็นที่เลื่องลือและมีการกล่าวขานกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ว่าโดดเด่นในด้าน เมตตามหานิยม ช่วยส่งเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับที่ไว้ครอบครองบูชา และในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน

พระชัยหม่อมมิตรฯ วัดสุทัศน์ฯ (พ.ศ.2456)

ชื่อ

พระชัยหม่อมมิตรฯ ( พ.ศ.2456 )

ประเภท

ผู้สร้าง

เจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพ

ศิลปะยุค

ปี 2456

อายุการสร้าง

100 ปี

กรรมวิธีสร้าง

สร้างแบบกรรมวิธีหล่อแบบโบราณ

เนื้อพระ/มวลสาร

เนื้อสัมฤทธิ์

การแยกพิมพ์

พุทธคุณ

โดดเด่นด้านเมตตามหานิยม ช่วยส่งเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับที่ไว้ครอบครองบูชา และในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน

พุทธลักษณะ

องค์พระนั่งมาธิ มีเกษรของดอกไม้ อยู่เหนือบัว 2 ชั้น ทางด้านหลังไม่มีเกษรดอกไม้ และมีเส้นสังฆาฎิแผ่นสั้นอยู่ทางด้านเหนือบริเวณอกที่เรียกกันว่า “สิงห์หนึ่ง” 

มูลค่าราคาประมาณการ

พระชัยวัฒน์ทองทิพย์ เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์(พ.ศ.2495)

     ต่อไปเราจะเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่นิยมนั่นก็คือ พระชัยวัฒน์ทองทิพย์เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปขนาดเล็กลง ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ 2495 ถูกปลุกเสกโดย ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) ได้นำโลหะมวลสารหลังจากพิธีหล่อพระประทาน “พระพุทธศรีมงคลนิมิต” มาสร้าง และได้ใช้แม่พิมพ์เดียวกันกับพระชัยวัฒน์ปี พ.ศ 2483 ของสมเด็จพระสังฆราชแพ ในการสร้าง 

     มีพุทธะลักษณะ องค์พระประทับนั่งสมาธิ บนฐานบัวสองชั้น มีเหลืองเหลืองอมเขียวไม่กลับดำ ถูกหล่อขึ้นเป็นการส่วนตัว

     ในส่วนของพระพุทธคุณนั้นก็มีความโดดเด่น ในเรื่องอยู่ยงคงกระพัน ชัยชนะ อำนาจบารมี เมตตามหานิยม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองให้กับผู้ที่มีไว้ครอบครองบูชา จึงเป็นอีกหนึ่งรุ่นจากวัดสุทัศน์ ที่เหล่าบรรดานักสะสมและผู้นิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลาย มีความปรารถนาอยากได้ไว้ครอบครองบูชา หายากและมีราคาที่แพงมากในปัจจุบัน

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

พระชัยวัฒน์ทองทิพย์เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ

ชื่อ

พระชัยวัฒน์ทองทิพย์เจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ฯ

ประเภท

ผู้สร้าง

ท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์)

ศิลปะยุค

พ.ศ 2495

อายุการสร้าง

กว่า 80 ปี 

กรรมวิธีสร้าง

หล่อแบบโบราณ

เนื้อพระ/มวลสาร

เดียวกันกับ “พระพุทธศรีมงคลนิมิต”

การแยกพิมพ์

พุทธคุณ

อยู่ยงคงกระพัน ชัยชนะ อำนาจบารมี เมตตามหานิยม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองให้กับผู้ที่มีไว้ครอบครองบูชา 

พุทธลักษณะ

องค์พระประทับนั่งสมาธิ บนฐานบัวสองชั้น มีเหลืองเหลืองอมเขียวไม่กลับดำ ถูกหล่อขึ้นเป็นการส่วนตัว

มูลค่าราคาประมาณการ

2. พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

     สำหรับพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญนั้น ค่อนข้างได้รับความนิยมกันมาก เพราะความขลังของพุทธคุณที่ได้มีการเล่าขานต่อๆกันมา ถูกสร้างก่อนยุคปี พ.ศ 2500 หลวงปู่บุญนั้นท่านได้สร้างวุตถุมงคลไว้ด้วยกันมากมายทั้งยังมีความโด่งดังมาก ในยุคสมัยนั้น รวมทั้ง พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว พิมพ์ป้อมเล็กฐานสูง ปี 2444 จ.นครปฐม  และวันนี้เราจะมีพูดถึงเรื่องราวความเป็นมาของพระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญรุ่นนี้กัน 

พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว พิมพ์ป้อมเล็กฐานสูง ปี 2444 จ.นครปฐม 

     พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว พิมพ์ป้อมเล็กฐานสูง ปีพ.ศ  2444 จ.นครปฐม นี้ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ 2444  มีพุทธลักษณะเป็นองค์พระนั่งสมาธิบนดอกบัว 2 ชั้น ทางด้านของใต้ฐานนั้นจะเป็นการชนวนพร้อมรอยตัด ในส่วนของพระพักตร์จะมองเห็นไม่ค่อยชัดเจนนัก 

     สำหรับการพิจารณาพระพิมพ์นี้ก็คือ มวลสารขององค์พระโลหะผสมต้องแห้งเก่า สีสดใสมีความเป็นธรรมชาติ หรดาลสีเหลืองแห้ง รและชาดที่ปิดไว้จะต้องมีความแห้งปรากฏให้เห็น 

     มวลสารที่ใช้มากที่สุดในการสร้างพระชัยวัฒน์รุ่นนี้ก็คือเงินและทองคำ ซึ่งจะไปรวมอยู่ที่ปลายสุดของขององค์ยอดช่อ และในส่วนองค์พระนั้นจะเป็นเนื้อกลับดำสนิท 

     ซึ่งในปัจจุบันนี้พระชัยวัฒน์และพระพิมพ์ต่างๆของสามารถหาดูได้ที่ พิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายก วัดบางแก้ว เพื่อเป็นองค์ความรู้สืบต่อไป

พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว 

พิมพ์ป้อมเล็กฐานสูง ปี 2444 จ.นครปฐม 

ชื่อ

พระชัยวัฒน์หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว พิมพ์ป้อมเล็กฐานสูง ปี 2444 จ.นครปฐม 

ประเภท

ผู้สร้าง

หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

ศิลปะยุค

ปี พ.ศ  2444 

อายุการสร้าง

120 ปี

กรรมวิธีสร้าง

วิธีเทหล่อแบบโบราณเป็นช่อ

เนื้อพระ/มวลสาร

ทองคำ เงิน โลหะ

การแยกพิมพ์

มีด้วยกัน 5 พิมพ์ พิมพ์ชะลูด พิมพ์ต้อ พิมพ์ป้อมเล็ก พิมพ์ป้อมใหญ่ และ พิมพ์คอหนอก

พุทธคุณ

เมตตามหาลาภ ความเจริญก้าวหน้า แคล้วคลาด คงกระพัน 

และแทบจะทุกด้าน

พุทธลักษณะ

องค์พระนั่งสมาธิบนดอกบัว 2 ชั้น ทางด้านของใต้ฐานนั้นจะเป็นการชนวนพร้อมรอยตัด ในส่วนของพระพักตร์จะมองเห็นไม่ค่อยชัดเจนนัก 

มูลค่าราคาประมาณการ

พระคาถาบูชาพระของหลวงปู่บุญ 

(ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วท่องพระคาถา)

“อะสี สะติ พะหู เตวะ

อาวุ ธานิ ภัคคะ ภัคคา

มิจุลลานิ โลมังม เม

นะ พุท สัน ติ”

ตามด้วยอธิษฐานสิ่งที่ท่านปรารถนา 

(จากนั้นตามด้วย)

พระคาถาก่อนนิมนต์พระสวมคอ 

“พุทโธล้อม ธัมโมล้อม สังโฆล้อม

 พระพุทธเจ้ามาพร้อม สมเด็จพระพุทธโธ นะโมพุทธายะ”

3. พระชัยวัฒน์ ท่านเจ้ามาฯ พิมพ์ ร.ศ.118 วัดสามปลื้ม

     สำหรับพระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามาฯ พิมพ์ ร.ศ 118 วัดสามปลื้ม นี้ ถือเป็นอีกหนึ่งพระชัยวัฒน์ที่หายากเป็นอย่างมากและเป็นที่นิยมสำหรับผู้นิยมพระเครื่องทั้งหลาย ถูกสร้างขึ้นด้วยการสร้างตามตำราโบราณของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว 

     ถูกสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.2443 โดย พระพุฒจารย์ (มา) หรือ ท่านเจ้ามาฯ ซึ่งท่านคือเจ้าอาวาสองค์ที่ 7 ของวัดจักรวรรดิ (วัดสามปลื้ม) การสร้างพระชัยวัฒน์ท่านเจ้ามาฯ นี้ส่วนใหญ่มักจะมีเน้นไปทางทองเหลืองและทองแดง และมวลสารโลหะ  ทางด้านพุทธคุณที่โดดเด่นก็คือในด้านเมตตามหานิยมแคล้วคลาด ปลอดภัย 

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

พระชัยวัฒน์ ร.ศ.118 ท่านเจ้ามาฯ วัดสามปลื้ม

ชื่อ

พระชัยวัฒน์ ร.ศ.118 ท่านเจ้ามาฯ วัดสามปลื้ม

ประเภท

พระชัยวัฒน์เนื้อโลหะ 

ผู้สร้าง

ท่านเจ้ามาฯ วัดสามปลื้ม

ศิลปะยุค

พ.ศ.2443

อายุการสร้าง

120 ปี

กรรมวิธีสร้าง

สร้างตามตำราโบราณของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว 

เนื้อพระ/มวลสาร

เนื้อสัมฤทธิ์กระแสออกแดง

การแยกพิมพ์

พิมพ์ล้มลุก,พิมพ์ฟันปลา,พิมพ์ฐานหกเหลี่ยม, พิมพ์หน้าครุฑ,พิมพ์เศียรทุย ,พิมพ์แจกแม่ค้า,พิมพ์คอหนอก,พิมพ์หน้ากระบี่,พิมพ์ฐานสูง,พิมพ์สิงหเสนี

พุทธคุณ

เมตตามหานิยมและแคล้วคลาด

พุทธลักษณะ

องค์พระนั่งมาธิ มีเกษรของดอกไม้ อยู่เหนือบัว 2 ชั้น ทางด้านหลังไม่มีเกษรดอกไม้ และมีเส้นสังฆาฎิแผ่นสั้นอยู่ทางด้านเหนือบริเวณอก

มูลค่าราคาประมาณการ

4. พระชัยวัตน์มงคลวราภรณ์

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

     สำหรับพระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ ได้มีการสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีพระมหาสมณะจ้าวกรมพระยาปวเรศ มาเป็นประธานการจัด ประมาณปี พ.ศ 2428-2435 ถูกสร้าง ณ วัดพระแก้วฯ

      โดยสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานให้แก่พระราชโอรส และพระราชธิดาที่กำลังจะเสด็จไปศึกษาต่อในต่างประเทศ (ทวีปยุโรป) เป็นรูปแบบ “พระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก” ที่มีสายสร้อยสำหรับสวมคอ 

     ซึ่งเป็นพระชัยวัฒน์ที่หายากและได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะหายากมากในปัจจุบัน 

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์ 

ชื่อ

พระชัยวัฒน์มงคลวราภรณ์

ประเภท

พระชัยวัฒน์ทองคำ

ผู้สร้าง

สมัยรัชกาลที่ 5

ศิลปะยุค

สมัยรัชกาลที่ 5

อายุการสร้าง

พ.ศ 2428-2435

กรรมวิธีสร้าง

กรรมวิธีหล่อแบบโบราณ 

เนื้อพระ/มวลสาร

เนื้อทองคำ

การแยกพิมพ์

พุทธคุณ

อยู่ยงคงกระพัน ชัยชนะ อำนาจบารมี เมตตามหานิยม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองให้กับผู้ที่มีไว้ครอบครองบูชา 

พุทธลักษณะ

พระชัยวัฒน์ทองคำองค์เล็ก 

มูลค่าราคาประมาณการ

5. พระชัยวัฒน์ห่มคลุม (พระไชยห่มคลุม) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2435

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์
พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

     ต่อไปเราจะพาคุณไปรู้จักกับ พระชัยวัฒน์ห่มคลุม (พระไชยห่มคลุม) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2435 ซึ่งถือเป็นพระชัยวัฒน์ที่มีอายุเก่าแก่มาก เหตุผลที่เรียกกันว่า พระชัยวัฒน์ห่มคลุม ก็เพราะหมายถึงการห่มจีวรแบบคลุม (ซึ่งเป็นลักษณะของการห่มจีวรพระสงฆ์สายธรรมยุทธ แต่ในส่วนของมหานิกายนั่นจะเป็นการห่มจีวรแบบห่มดอง) 

     ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ  2435 ได้มีการสร้างขึ้นหลังจากมีการสร้างพระกริ่งปวเรศไม่นานนัก หรือประมาณในยุคสมัยรัชกาลที่ 5  สำหรับหลักฐานของประวัติผู้สร้างไม่ปรากฏชัดเจนนัก 

     ในส่วนมวลสารในการตั้งพระรุ่นนี้คือเนื้อสัมฤทธิ์ และเนื้อโลหะต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย สังกะสี ดีบุก ตะกัว เงิน นิกเกิลและโลหะทองแดง 

     สำหรับกรรมวิธีการหล่อพระชัยวัฒน์นี้ ได้ทำตามตำราโบราณ  และเมื่อหลังจากได้ทำการหล่อพระชัยวัฒน์เรียบร้อยแล้ว จะมีพิธีฉลองพระไชยวัฒน์ ซึ่งถือเป็นพิธีโบราณที่มีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก 


พระชัยวัฒน์ห่มคลุม (พระไชยห่มคลุม) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2435 

ชื่อ

พระชัยวัฒน์ห่มคลุม (พระไชยห่มคลุม) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2435 

ประเภท

เนื้อสัมฤทธิ์

ผู้สร้าง

ศิลปะยุค

ยุคสมัยรัชกาลที่ 5 

อายุการสร้าง

กว่า 100 ปี 

กรรมวิธีสร้าง

ทำตามตำราโบราณ  และเมื่อหลังจากได้ทำการหล่อพระชัยวัฒน์เรียบร้อยแล้ว จะมีพิธีฉลองพระไชยวัฒน์ 

เนื้อพระ/มวลสาร

เนื้อสัมฤทธิ์ เนื้อนวะโลหะ กลับดำ

การแยกพิมพ์

พุทธคุณ

อยู่ยงคงกระพัน ชัยชนะ อำนาจบารมี เมตตามหานิยม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองให้กับผู้ที่มีไว้ครอบครองบูชา 

พุทธลักษณะ

มูลค่าราคาประมาณการ

6. พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ วัดบวรฯ พ.ศ 2595

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

     ต่อไปเราจะพาคุณไปรู้จักกับ พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ วัดบวรฯ  พ.ศ. 2495 นั้น ถูกสร้างในครั้งฉลองพระชนมายุครบ 80 สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น นพวงศ์)  ประมาณ พ.ศ 2496 ซึ่งในการจัดสร้างพระครั้งนั้น ได้มีการจัดสร้าง “พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ” และ “พระกริ่งไพรีพินาศ” ขึ้นพร้อมกันและได้ใช้ทองชนวนในการสร้างพระเบ้าเดียวกัน 

     พุทธลักษณะขององค์พระนั้น เป็นพระหล่อโบราณที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน จะสังเกตุได้จากผิวที่เป็นหลุมเป็นบ่อ กรีดบัวบนนั้นจะมีลักษณะแหลมเล็กและหงายขึ้น 8 กลีบ และสำหรับบางองนั้นได้มีการเจาะบรรจุเม็ดกริ่งที่ใต้ฐานเดิม

     ได้พระพุทธคุณมีความโดดเด่นเกี่ยวกับเรื่องแคล้วคาดผลภัยจากสตูที่คิดร้าย หากใครมีไว้ครอบครองบูชาก็จะสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต อีกทั้งยังรมีความเชื่อที่เล่าต่อกันมาว่าช่วยทำให้ศัตรูหรือผู้คิดร้ายต้องพ่ายแพ้ไปเอง โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะคำว่าไชย ซึ่งมีความหมายว่าชัยชนะ แต่ผู้ที่นำไปบูชานั้น จะต้องอยู่ในศีลธรรมอันดีงามด้วยเช่นกัน

     หากท่านใดต้องการพิจารณาสำหรับพระชัยวัฒน์ไพรีพินาศนี้ ให้ท่านสังเกตจากความเก่าของเนื้อโลหะ จะมีสีทองเหลืองผสมที่แห้งสนิท ในส่วนของด้านข้างนั้นจะต้องมองเห็นรอยประกบและแต่งด้วยตะไบ อีกทั้งยังมีคราบเบ้าเกาะอยู่ไปทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลังขององค์พระ แต่ท่านจะต้องศึกษาให้ดีเจ็บก่อนอย่าพึ่งด่วนตัดสินใจว่าแท้หรือปลอม 

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์
พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

 พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ วัดบวรฯ  พ.ศ. 2495

ชื่อ

พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ วัดบวรฯ  พ.ศ. 2495

ประเภท

ผู้สร้าง

ศิลปะยุค

พ.ศ. 2495

อายุการสร้าง

กว่า 60 ปี

กรรมวิธีสร้าง

หล่อแบบโบาราณ ตามตำราโบราณ

เนื้อพระ/มวลสาร

เนื้อโลหะทองเหลือง 

การแยกพิมพ์

พุทธคุณ

แคล้วคาดผลภัยจากสตูที่คิดร้าย หากใครมีไว้ครอบครองบูชาก็จะสร้างความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิต อีกทั้งยังรมีความเชื่อที่เล่าต่อกันมาว่าช่วยทำให้ศัตรูหรือผู้คิดร้ายต้องพ่ายแพ้ไปเอง

พุทธลักษณะ

เป็นพระหล่อโบราณที่ปรากฏให้เห็นได้อย่างชัดเจน จะสังเกตุได้จากผิวที่เป็นหลุมเป็นบ่อ กรีดบัวบนนั้นจะมีลักษณะแหลมเล็กและหงายขึ้น 8 กลีบ และสำหรับบางองนั้นได้มีการเจาะบรรจุเม็ดกริ่งที่ใต้ฐานเดิม

มูลค่าราคาประมาณการ

พระคาถาบูชาพระไพรีพินาศ

(โดยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงนิพนธ์คำบูชานี้)

อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ สุจิรัง ปะรินิพพุโต

คุเณหิ ธะระมาโนทานิ ปาระมีหิ จะ ทิสสะติ

ยาวะชีวัง อะหัง พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คะโต

ปูเชมิ ระตะนัตตะยัง ธัมมัง จะรามิ โสตถินา ฯ

 

คำแปล โดย พระมหานายก (ฉลอง ชลิตกิจโจ)

“สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ถึงเสด็จดับขันธปรินิพพานมาช้านานแล้ว

แต่ก็ยังทรงปรากฏดำรงอยู่ในบัดนี้ โดยพระคุณและพระบารมีทั้งหลาย

ข้าพพุทธเจ้า ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งตลอดชีวิต

บูชาอยู่ซึ่งพระรัตนตรัย ขอประพฤติธรรม โดยสวัสดี เทอญ ฯ”

วิธีดูแลรักษาพระเครื่องเนื้อทองเหลือง และทองแดง

พระเครื่อง พระชัยวัฒน์

     ก่อนอื่นเราต้องทราบว่าพระเครื่องที่เราต้องการทำความสะอาดนั้น มีเนื้อโลหะที่เป็นอย่างไร หากเป็นเนื้อทองเหลืองและเหลือทองแดง ก็มีหลายสูตรให้คุณเลือกใช้ทำความสะอาดด้วยเช่นกัน และครั้งนี้เราจะมาบอกวิธีดูแลรักษาพระเครื่องเนื้อทองเหลืองและทองแดง โดยให้คุณทำตามวิธีดังนี้

     สูตรล้างพระด้วยเกลือกับน้ำส้มสายชู ให้คุณเตรียมภาชนะสำหรับใส่พระเครื่องทองแดงและทองเหลือง ให้นำน้ำส้มสายชูมาราดตามองค์พระ แล้วตามด้วยการโรยเกลือลงไป จากนั้นให้คุณรอให้ส่วนผสมเซตตัวและทิ้งเอาไว้ประมาณ 60 นาที แต่หากมีคราบฝังแน่นมากก็ให้เพิ่มระยะเวลาเป็นปี 2- 3 ชั่วโมงก็ได้ เมื่อแช่ทุกอย่างจนเสร็จตัวเข้าที่แล้วให้นำแปรงสีฟันมาขัดเบาๆ ตามด้วยการใช้ภาษาอาจเช็ด 

     สูตรล้างพระด้วยซอสมะเขือเทศ สำหรับสูตรนี้หลายท่านอาจจะไม่คุ้นเคยกันสักเท่าไร แต่ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่แสนง่ายที่จะทำให้พระเครื่องทองแดงทองเหลืองของคุณกลับมาดูใหม่อีกครั้ง โดยการให้นำซอสมะเขือเทศนั้นมาทากับองค์พระ และปล่อยให้ส่วนผสมเซตตัวประมาณหนึ่งถึง 2 ชั่วโมงแล้วจึงนำแปรงสีฟันเก่ามาขัดเบาๆ และต้องทำอย่างทะนุถนอมและระมัดระวัง จากนั้นจึงค่อยๆล้างออก เมื่อล้างน้ำเปล่าเสร็จแล้วให้เช็ดด้วยผ้าสะอาดที่มีนุ่มให้แห้ง เมื่อพระแห้งแล้ว คุณจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งพระจะดูเงางามขึ้นมากกว่าเดิมจนเห็นได้ชัด

     สูตรล้างพระด้วยมะนาวกับเกลือ สำหรับสูตรนี้อาจเป็นที่คุ้นเคยกันดีเพราะใครต่อใครก็มักจะใช้สูตรนี้กันทั้งนั้น ให้เริ่มจากเตรียมมะนาวโดยการนำออกมาหั่นเป็นซีก แล้วเตรียมพระเครื่องทองเหลืองและทองแดงต่างๆที่ต้องการล้างเอามาวางไว้ในภาชนะ 

     จากนั้นให้คุณนำเกลือมาโรยบนพระเครื่องที่ต้องการทำความสะอาด ตามด้วยการบีบมะนาวให้ทั่ว ให้ใช้แปรงสีฟันที่มีคนแปลงนุ่มนำมาขัดทำความสะอาด ซึ่งการขัดนั้นให้ทำแบบเบาเบาโดยระมัดระวังให้มากที่สุดโดยให้ทำการขัดแบบเป็นวงกลม หากบริเวณใดขององค์พระมีคราบฝังลึกให้คุณโรยเกลือและบีบมะนาวเพิ่มได้ เพื่อทำการขัดเสร็จแล้วให้คุณล้างออกด้วยน้ำสะอาดจากนั้นนำผ้านุ่มมาเช็ดให้แห้ง เพียงเท่านี้คุณก็จะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลง และพระเก่าของคุณก็จะกลับมาเงาวับอีกครั้งแบบไม่ยากเลย 

     สำหรับเรื่องราวของ พระชัยวัฒน์ ที่เราได้นำมาเสนอท่านผู้อ่านผ่านบทความ  ประวัติความเป็นมาของพระชัยวัฒน์หายาก พร้อมพุทธคุณอันลือเลื่อง!   ในครั้งนี ซึ่งพวกเราทีมงานหวังว่าคุณจะถูกใจ ซึ่งเราหวังว่าท่านผู้อ่านจะได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เราได้นำมาฝาก ไม่ว่าจะเป็น  พระชัยวัฒน์ไพรีพินาศ วัดบวรฯ  พ.ศ. 2495 ,  พระชัยวัฒน์ห่มคลุม (พระไชยห่มคลุม) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี 2435 , พระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์ , พระชัยวัฒน์ของหลวงปู่บุญ  และเราเชื่อว่าท่านผู้อ่านจะต้องถูกใจกันอย่างแน่นอน

     และก่อนจากกันในครั้งนี้ ขออำนาจบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายรวมทั้งอำนาจพุทธคุณจะพระชัยวัฒน์ ปกปักษ์รักษาท่านผู้อ่านทุกท่านให้ปลอดภัย จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสร้ายในครั้งนี้ เราจะผ่านพ้นไปด้วยกัน และสำหรับครั้งนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อน หากผิดพลาดประการใดพวกเราทีมงานต้องขออภัย ณ ที่นี้ แล้วพบกันใหม่กับบทความในครั้งหน้า จะมีอะไรมานำเสนอกันอีกนั้นต้องห้ามพลาดนะคะ  ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านสำหรับการติดตามอ่าน  

 

พระชัยวัฒน์วัดสุทัศน์ posttoday

พระชัยวัตน์มงคลวราภรณ์ thaprachan

Table of Contents