
เรื่องราวของ พระเนื้อดิน นั้น มีมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ อาจมีหลายท่านที่เคยสงสัยหรือตั้งคำถามกันอย่างแน่นอนว่า พระเนื้อดิน มาจากไหน มีการสร้างแบบไหน หรือรุ่นใดบ้างที่หายากที่เป็นที่ต้องการของผู้คนในยุคปัจจุบันและเราได้ รวมประวัติความเป็นมาพร้อมบอกเล่า “พระเนื้อดิน” รุ่นหายาก ! และอื่นๆอีกมากมายมาฝาก ในวันนี้เราจะพูดถึงเรื่องราวความเป็นมาของพระเนื้อดิน และพระเนื้อดินรุ่นหายาก หากอยากทราบกันแล้วว่ามีองค์ใด รุ่นใดที่น่าสนใจกันบ้าง อย่ารอช้าเราไปดูพร้อมๆกันเลย !
สำหรับพระเนื้อดินนั้นถือเป็นพระที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเภทพระเครื่อง ซึ่งคนโบร่ำโบราณในสมัยก่อนนั้นจะมีความเชื่อในเรื่องของการนับถือดินและยกย่องว่าดินถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประดุจเทพเจ้า ที่คอยปกปักษ์รักษาและให้คุณอนันต์แก่ผู้คน ในนามที่ต่างพากันเรียกว่า “พระแม่ธรณี”
คนในสมัยก่อนนั้นได้เลือกนำดินมาสร้างพระ เพราะถือว่าดินตามสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ต่างๆมีความศักดิ์สิทธิ์และสามารถคุ้มครองเราได้ ซึ่งการสร้างพระนั้นจะเลือกดินจากสถานที่ที่เป็นมงคล พร้อมทั้งผ่านพิธีกรรมที่ดีและผู้สร้างก็ต้องมีศีลธรรม และเป็นผู้ทำความดีที่ดีพร้อม ดังนั้นพระเครื่องและเครื่องรางของขลังต่างๆจึงมีความศักดิ์สิทธิ์
สำหรับวัตถุดิบต่างๆที่นำมาผสมคลุกเคล้ากันเพื่อสร้างพระนั้น ก็จะมีมวลสารหลักไม่ว่าจะจากเนื้อดินดิบ หรือเนื้อดินเผา โดยการนำมาเข้าพิธีกกรรมและมีการปลุกเสก ซึ่งกรรมวิธีในการสร้างพระเนื้อดินนั้น จะต้องผ่านกรรมวิธีที่จะต้องทำให้ดินแห้งเสียก่อน และการทำให้ดินแห้งนั้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ประเภท ก็คือ
– แบบแรกคือการเผาที่ใช้อุณหภูมิความร้อนสูง จนครบขั้นตอน
– แบบที่ 2 คือ การเผาแบบพอประมาณ โดยเป็นการเผาไม่แบบไม่นานนัก ซึ่งจะทำให้มวลสารต่างๆนั้น คล้ายความชื้นออกมาเพื่อยึดติดจนเข้ารูปเป็นพระเครื่องนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นพระซุ้มกอดำ และพระผงสุพรรณ
ได้รู้จักถึงประวัติความเป็นมาของพระเนื้อดิน กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปเราจะพาคุณไปรู้จักกับ พระเนื้อดินหายาก ที่เรียกได้ว่าแทบหาดูกันไม่ได้เลย สำหรับบางองค์ พร้อมทั้งปีที่สร้าง พุทธลักษณะรวมไปถึงพุทธคุณขององค์ต่างๆ ซึ่งเราเชื่อว่า ต่อให้ใครมีไว้ในครอบครองบูชาก็คงจะไม่มีใครอยากจะปล่อยเป็นแน่แท้ หากอยากทราบกันแล้วว่าเราได้นำองค์ใด รุ่นใดมาฝากกันบ้างล่ะก็ อย่ารอช้า เราไปดูพร้อมๆกันเลยดีกว่า
สำหรับพระกรุในประเทศไทยนั้น ต้องขอบอกก่อนว่ามีหลายกรุหลายจังหวัดเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะ พระกรุอยุธยา กรุพระธาตุนาดูน จังหวัดมหาสารคาม และพระกรุจากจังหวัดอื่นๆในภาคต่างๆ ซึ่งแต่ละกรุนั้นก็มีพระเครื่องหลายเนื้อ ซึ่งวันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ พระเนื้อดินกรุ ทั้งหลาย ที่ค่อนข้างหายากพอสมควร นอกจากจะหายากแล้วยังมีราคาแพงมากอีกด้วย หากเซียนพระและนักสะสมหลายๆท่านได้เห็นแล้วล่ะก็ เราเชื่อว่า ต้องเป็นที่ปรารถนาพวกเขาเหล่านั้นกันอย่างแน่นอน หากอยากทราบกันแล้วว่ามีอะไรบ้าง ไปดูกันเลยดีกว่า
จะพาคุณไปรู้จักกับ พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา ถือเป็นอีกหนึ่งพระเนื้อดินกรุ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากอีกหนึ่งองค์ ด้วยพุทธคุณอันแรงกล้าที่ครบทุกด้าน ทำให้ใครๆก็ต่างปรารถนาอยากได้มามีไว้ครอบครองบูชา ได้มีการสันนิษฐานว่าถูกสร้างมาตั้งแต่สมัยอโยธยา ซึ่งพระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมเด็จพระพนรัตน์) ได้สร้างพระพิมพ์และนำไปบรรจุไว้ในพระมหาเจดีย์
ได้มีการค้นพบในช่วงแตกกรุ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีผู้ลักลอบขุดกรุ หาสมบัติและของมีค่าไปขาย จนมาถึงในปี พ.ศ 2499 ได้มีการขึ้นทะเบียนให้วัดใหญ่ชัยมงคล เป็นโบราณสถานแห่งชาติ โดยกรมศิลปากรได้เป็นผู้ขึ้นทะเบียน ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์กุฏิศาลา พร้อมทั้งมีการสร้างกุฏิเพิ่มเติมแถวบริเวณวิหาร ซึ่งทางกรมศิลปากรได้เข้ามาบูรณะพระมหาเจดีย์ และมีการขุดเจาะสำรวจโครงสร้าง รากฐานของโบราณสถานแห่งนี้ จึงทำให้ได้พบพระขุนแผนเคลือบที่นี่ นอกจากนี้ยังมีการค้นพบพระขุนแผนเคลือบ ที่วัด เชิงท่า จังหวัดนนทบุรี ในช่วงเวลาต่อมาคือช่วงปี พ.ศ 2506 และค้นพบอีกครั้งในช่วง พ.ศ 2550 ณ วัดบ้านกลิ้ง จ.พระนครศรีอยุธยาอีกด้วย
พระขุนแผนเคลือบนี้มีพุทธลักษณะที่งดงาม และมีความปราณีตเป็นอย่างมาก เป็นพระเนื้อดินจากกรุ ซึ่งได้มีการสันนิษฐานว่า อาจได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธชินราช ของจังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากศิลปะที่มีความโดดเด่นอย่างชัดเจน ในองค์พระ มีเส้นที่ถูกลงอย่างหนักเบา ซึ่งมีความอ่อนช้อยอย่างเป็นธรรมชาติ เป็นศิลปะเดียวกันกับจิตรกรรมพู่กันจีน แต่ยังคงเอกลักษณ์แบบไทยไว้อย่างงดงาม เป็นพิมพ์ทรง 5 เหลี่ยม องค์พระแสดงปางวิชัย และประทับนั่ง มีซุ้มเรือนแก้วเป็นปริมณฑลอยู่ด้านหลัง
มีด้วยกันทั้งหมด 3 พิมพ์ คือ พิมพ์อกใหญ่ ฐานสูง , พิมพ์อกใหญ่ ฐานเตี้ย และพิมพ์อกเล็ก หรือที่ผู้คนมักนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์แขนอ่อน” ซึ่งพิมพ์ที่หายากที่สุดก็คือพิมพ์แขนอ่อนนั่นเอง จึงทำให้มีราคาในการเล่นหากันค่อนข้างแพงแสนแพง ในปัจจุบัน อีกทั้งยังมีความเข้มขลังของพุทธคุณที่ครบครัน จนกลายเป็นเรื่องเล่าต่อๆกันมา
พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา
ชื่อ | พระขุนแผนเคลือบ กรุวัดใหญ่ชัยมงคล พระนครศรีอยุธยา |
ประเภท | พระเนื้อดินกรุ |
ผู้สร้าง | จากการสันนิษฐาน พระอาจารย์ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (สมเด็จพระพนรัตน์) |
ศิลปะยุค | สมัยอโยธยา |
อายุการสร้าง | – |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างโดยวิธีโบราณแบบอโยธยา |
เนื้อพระ/มวลสาร | พระเนื้อดิน |
การแยกพิมพ์ | 3 พิมพ์ คือ พิมพ์อกใหญ่ ฐานสูง , พิมพ์อกใหญ่ ฐานเตี้ย และพิมพ์อกเล็ก หรือที่ผู้คนมักนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์แขนอ่อน” |
พุทธคุณ | ครบครันแทบทุกด้าน โดยเฉพาะเรื่องเมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี |
พุทธลักษณะ | เป็นพิมพ์ทรง 5 เหลี่ยม องค์พระแสดงปางวิชัย และประทับนั่ง มีซุ้มเรือนแก้วเป็นปริมณฑลอยู่ด้านหลัง |
มูลค่าราคาประมาณการ | ประมาณ 250,000 บาท purescienceamulet |
คาถาบูชาพระขุนแผน ( คาถาหัวใจขุนแผน )
( บทนี้ ให้บูชากับพระขุนแผน ได้ทุกวัด ทุกสำนัก)
“นะโมโล มะยันภันเต
นะโม พุทธายะ มะอะอุ อุอะมะ โลโมนะสุ มะอะอุ สุนะโมโล”
องค์ต่อไปถือว่าเป็น พระเนื้อดินกรุ อีกหนึ่งองค์ที่หายาก สำหรับ พระอู่ทอง สุวรรณภูมิ ซุ้มเรือนแก้วเนื้อดิน กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี หรือที่ผู้คนมักนิยมเรียกกันว่า “เขมรหวีผม” ได้มีการค้นพบเมื่อประมาณปี พ.ศ 2440 เมื่อครั้งแตกกรุ ณ วัดอินทราราม จังหวัดลพบุรี ซึ่งส่วนใหญ่จะพบแต่พระเนื้อชินเงิน และมีน้อยมากที่จะเป็นเนื้อดิน ซึ่งแตกกรุพร้อมกับ พระหูยาน ซึ่งหาดูแทบไม่ได้ในปัจจุบัน
ซึ่ง พระอู่ทอง สุวรรณภูมิ ซุ้มเรือนแก้ว มีพุทธลักษณะที่โดดเด่นทางด้านศิลปะแบบลพบุรีอย่างเห็นได้ชัด องค์พระแสดงนั่งมารวิชัย ซึ่งมีผ้าสังฆาฏิผืนใหญ่ และมีซุ้มเรือนแก้วเป็นปริมณฑลอยู่ด้านหลัง ซึ่งบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ในความเป็นศิลปะแบบลพบุรีโดยแท้ มีความสูงประมาณ 5 เซนติเมตร และฐานที่ค่อนข้างใหญ่ประมาณ 3.5 เซนติเมตร เป็นเนื้อดินแบบละเอียด พระอู่ทอง สุวรรณภูมิ ซุ้มเรือนแก้ว นี้เป็นพิมพ์เดียวกันกับ พระอู่ทอง สุวรรณภูมิ วัดอินทราราม มีความต่างกันเล็กน้อยก็ตรงที่ส่วนใหญ่ ของกรุวัดอินทรารามนั้นจะพบแต่ที่เป็นเนื้อชิน และ มีที่รัดประคดผมคล้ายทำเป็นหวี
ด้านพุทธคุณนั้นมีความโดดเด่นในด้าน คงกระพันชาตรี ซึ่งเป็นที่ปรารถนาอย่างยิ่งสำหรับนักสะสมที่ชื่นชอบสายอยู่ยงคงกระพัน นอกจากจะหาดูยากแล้ว ยังมีราคาที่ค่อนข้างแพงมากๆอีกด้วย
พระอู่ทอง สุวรรณภูมิ ซุ้มเรือนแก้ว (เนื้อดิน) กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี
ชื่อ | พระอู่ทอง สุวรรณภูมิ ซุ้มเรือนแก้ว (เนื้อดิน) กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.ลพบุรี |
ประเภท | พระเนื้อดินกรุ |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | ศิลปะแบบลพบุรี |
อายุการสร้าง | – |
กรรมวิธีสร้าง | กรรมวิธีแบบโบราณตามยุคสมัย |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดิน |
การแยกพิมพ์ | – |
พุทธคุณ | อยู่ยงคงกระพัน |
พุทธลักษณะ | องค์พระแสดงนั่งมารวิชัย ซึ่งมีผ้าสังฆาฏิผืนใหญ่ และมีซุ้มเรือนแก้วเป็นปริมณฑลอยู่ด้านหลัง |
มูลค่าราคาประมาณการ |
ต่อไปเราจะพาคุณไปรู้จักกับ พระเนื้อดินเผา อย่างที่เราได้กล่าวกันไว้ข้างต้นแล้วสำหรับข้อมูลของให้การเผาต่างๆ ซึ่งพระเครื่องเนื้อดินเผานั้น มีกรรมวิธีการเผาที่คล้ายกับการทำภาชนะเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณ ซึ่งครั้งนี้เราจะมายกตัวอย่าง และพาคุณไปชมกับพระเครื่องเนื้อดินเผาที่หายาก ซึ่งเราเชื่อว่าเหล่า หากบรรดานักสะสมทั้งหลายได้เห็นแล้วจะต้องปรารถนากันอย่างแน่นอน หากอยากทราบกันแล้ว อย่ารอช้า เราไปดูกันเลย
จะพาคุณไปรู้จักกับพระเนื้อดินเผาที่เป็นรุ่นหายากอีกหนึ่งรุ่น นั่นก็คือ พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นเรื่องอีกหนึ่งรุ่นที่นักสะสมทั้งหลายต่างปรารถนาอยากได้มาครอบครองบูชา
พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพระเนื้อดินที่มีเนื้อละเอียดและค่อนข้างหยาบ ซึ่งได้ถูกค้นพบเมื่อครั้งแตกกรุ ประมาณปี พ.ศ. 2481 ซึ่งได้ถูกบรรจุอยู่ใต้ฐานพระประทาน ในการพบกรุหลวงพ่อโตครั้งนั้น ได้พบแม่พิมพ์พระหลวงพ่อโตด้วยเช่นกัน ซึ่งจังหวัดนั้นได้ให้กรมศิลปกรเข้ามาตรวจสอบ ซึ่งวัดบางกระทิงนี้ ถือเป็นวัดเก่าแก่ที่ถูกสร้างมาตั้งแต่ปลายรัชสมัยแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สำหรับด้านพุทธคุณนั้นเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า โดดเด่นในเรื่องของความเป็นคงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม จึงทำให้คนสมัยโบราณในยุคนั้น นิยมนำมาห้อยสวมคอ โดยเฉพาะนักรบและทหารต่างๆ ที่ต้องออกรบในครั้งมีศึกสงคราม
สำหรับพุทธลักษณะของพระนั้น มีรูปลักษณะเป็นองค์ประทับนั่งขัดสมาธิราบ อยู่บนฐานที่มีบัวคว่ำและบัวหงาย มีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย มีสัณฐานเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม รูปขององค์พระนั้นมีความคมชัดและชัดเด่นมาก มีพระพักตร์ที่ใหญ่
ซึ่งมีองค์ได้มีความชัดเจนในด้านของศิลปะสมัยอยุธยาตอนกลาง ศิลปะขนมต้มประยุกต์ซึ่งมีอายุประมาณ 300 กว่าปีมาแล้ว ได้มีการพบด้วยกัน 2 พิมพ์ คือพิมพ์สมาธิและพิมพ์มารวิชัย ลักษณะที่สามารถสังเกตได้คือด้านหลังขององค์พระนั้นจะมีรอยปาดพิมพ์ทุกอง ทั้งพระกรุเก่า และพระกรุใหม่ รวมถึงพระกรุน้ำด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ยังได้มีการพบแผ่นยันต์ ที่เป็นรูปนกกาสักในวงกลมบนเนื้อดินเผา เมื่อครั้งที่มีการขุดกรุวัดบางกระทิงอีกด้วย ซึ่งภายในวงกลมมีอักขระซึ่งเป็นภาษาขอม คล้ายกับเป็นการจารึกพระคาถาไว้มีกระทู้ 7 แบก และมียันต์นะหน้าทอง ยันนะทรหด และภายนอกวงกลมนั้นเป็นรูปกลีบบัวบานอยู่รอบๆ
พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ชื่อ | พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จ.พระนครศรีอยุธยา |
ประเภท | พระเนื้อดินเผา |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | สมัยอยุธยาตอนกลาง ศิลปะขนมต้มประยุกต์ |
อายุการสร้าง | กว่า 300 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | การเผาแบบโบราณ |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดินเผา |
การแยกพิมพ์ | 2 พิมพ์ คือพิมพ์สมาธิและพิมพ์มารวิชัย |
พุทธคุณ | คงกระพันชาตรี |
พุทธลักษณะ | รูปลักษณะเป็นองค์ประทับนั่งขัดสมาธิราบ อยู่บนฐานที่มีบัวคว่ำและบัวหงาย มีทั้งปางสมาธิและปางมารวิชัย มีสัณฐานเป็นรูปทรงสามเหลี่ยม รูปขององค์พระนั้นมีความคมชัดและชัดเด่นมาก มีพระพักตร์ที่ใหญ่ |
มูลค่าราคาประมาณการ |
พระคาถาบูชา พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จ.พระนครศรีอยุธยา
“อิระชา … คะตะระสา….ติหังจะโตโร…ถินัง…จะภะกะสะ”
มาต่อกันที่ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน จากกรุทุ่งเศรษฐี ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น ซึ่งถือเป็นกรุที่เก่าแก่ ที่ค้นพบพระเนื้อดินเผามากมาย และมีอยู่ด้วยกันหลายรุ่น หลายองค์ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ใด รุ่นใด ซึ่งล้วนแต่หายากจนแทบจะหาดูกันไม่ได้ ในปัจจุบัน ทั้งยังมีพุทธคุณที่ครบครัน อันเป็นที่เลื่องลือแก่นักสะสมและผู้นิยมบูชาเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นพระเนื้อดินเผาผสมว่านที่มีความเก่าแก่มาก
พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนนี้มีอายุกว่า 600 ปี ถูกพบบริเวณลานทุ่งเศรษฐีแถบวัดพิกุล วัดบรมธาตุ จังหวัดกำแพงเพชรในปัจจุบัน สำหรับการค้นพบพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนในครานั้น นอกจากจะพบพระกำแพงลีลาแล้วยังได้พบพระเนื้อดิน เนื้อดินเผา และเนื้อชินอีกหลายพิมพ์ เช่น พระกำแพงลีลาพลูจีบ พระซุ้มกอ พระกำแพงเม็กมะลื่น และอีกหลายพิมพ์กันเลยทีเดียว
มีพุทธะลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน มีรูปลักษณะคล้ายกับกำลังก้าวย่างหันด้านข้างให้เห็น ขอบสูงรอบองค์ ด้านซ้ายนั้นขององค์ อยู่ในท่าพระยกมือขึ้นประทานพรและเป็นสามเหลี่ยมลึก มีความลึก ส่วนแขนด้านขวามีลักษณะอ่อนช้อย สามารถมองเห็นนิ้วมือได้อย่างชัดเจนและมีเส้นผมแซมที่ใต้ฝ่ามือ ปลายคางจะมีลักษณะแหลม
ในส่วนของประกันทั้งสองด้านนั้นจะติดกันเป็นเส้นเรียวเล็ก ซึ่งพระประธานประทับยืนอยู่ติดผนัง และทุกองค์นั้นจะมีร่องรอยของการดันพระออกจากแม่พิมพ์ ที่บริเวณใต้ฐานขององค์พระ และขนาดขององค์พระนั้นมีความสูงประมาณ 4 เซนติเมตรและมีความกว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร มีความเป็นศิลปะแบบยุคสุโขทัยที่งดงาม และมีความปราณีตเป็นอย่างมาก
เป็นพระเนื้อดินเผาผสมเนื้อว่านและเกษรดอกไม้ต่างๆซึ่งมีความคล้ายกับวัดกำแพงซุ้มกอเป็นอย่างมากมีพุทธศิลป์รับประที่งดงามปราณีตและมีความวิจิตรถูกสันนิษฐานว่าได้จำลองมาจากพระพุทธรูปปางลีลาในสมัยสุโขทัย และได้เป็นที่เลื่องลือในพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี สำหรับผู้ที่ค้าขายหากได้มีไว้ในครอบครองบูชาแล้วก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่ากันเลยทีเดียว
พระกำแพงปางลีลาเม็ดขนุน กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร
ชื่อ | พระกำแพงปางลีลาเม็ดขนุน กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร |
ประเภท | พระเนื้อดินผสมว่าน |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | สุโขทัย |
อายุการสร้าง | 600 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างแบบวิธีโบราณที่มีการนำดินมาเผา แล้วนำมาผสมกับว่านและเกสรดอกไม้ต่างๆ |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดินเผาผสมกับเนื้อว่าน |
การแยกพิมพ์ | 3 พิมพ์ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน, พระกำแพงลีลาพลูจีบ และ พระกำแพงลีลา กลีบจำปา |
พุทธคุณ | เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี |
พุทธลักษณะ | มีพุทธะลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน มีรูปลักษณะคล้ายกับกำลังก้าวย่างหันด้านข้างให้เห็น ขอบสูงรอบองค์มีความลึกพระซึ่งพระประธานประทับยืนอยู่ติดผนัง |
มูลค่าราคาประมาณการ |
คาถาบูชาปางพระลีลา
( ให้ ตั้งนะโม 3 จบ )
“อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
มหาเศรษฐี มีมาธะนัง สุขสวัสดิลาภัง ภะวันตุเม”
และองค์ต่อไปเราจะพาคุณไปรู้จักกับ พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จ.พิษณุโลก ถือเป็นอีกหนึ่งพระเครื่องหายากเพราะเป็นอีกหนึ่ง ในพระชุดเบญจภาคีเลอค่าที่ได้รับสมญานามว่า “ราชินีแห่งพระเครื่อง” ที่ต่างมีแต่ผู้ปรารถนาอยากได้มาครอบครองบูชา สำหรับประวัติความเป็นมานั้นมีกันมาอย่างยาวนาน ต้องขออนุญาตย้อนกันไปไกลสักนิด
ก่อนอื่นต้องขออนุญาตย้อนไปถึงที่มาของ “วัดนางพญา” กันเสียก่อน ซึ่งในปัจจุบันนั้นได้ตั้งอยู่บริเวณเดียวกันกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งได้มีการสันนิษฐานว่าสำหรับชื่อนั้นมาจากชื่อของ “พระวิสุทธิกษัตริย์ตรี” ซึ่งเป็นพระอัครชายาของพระมหาธรรมราชา (หรือที่ใครหลายคนได้รู้จักกันในพระนามว่าพระศรีสุริโยทัย) ได้สร้างพระนางพญาขึ้นเมื่อครั้งที่ได้มัการบูรณะปฏิสังขรณ์เราราวปีพ.ศ. 2090 – 2100 และได้นำไปบรรจุในเจดีย์ต่างๆ
ต่อมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ 2444 ได้มีการขุดพบพระนางพญา ซึ่งตามหลักฐานจากบันทึกของ “ท่านตรียัมปวาย” ว่าได้มีการค้นพบพระพิมพ์นางพญา ณ กรุวัดนางพญา ที่วัดกรุอินทรวิหารร จังหวัดกรุงเทพ ซึ่งได้สืบตามหลักฐานต่างๆ จึงพบว่าเป็นนางพญา พิมพ์เดียวกันกับกรุวัดนางพญา ที่จังหวัดพิษณุโลก
พระนางพญา วัดนางพญา นั้นเป็นพระเนื้อดินเผาที่ที่มีพุทธศิลปะแบบผสมผสานระหว่าง ศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยา ซึ่งมีพิมพ์เป็นทรงรูปสามเหลี่ยม ในส่วนของพระหัตถ์ด้านซ้ายนั้นวางตรงหน้าพระเพลา(บนตัก) และพระหัตถ์ทางด้านขวานั้นได้พาดวางที่พระชานุ(หัวเข่า) สำหรับองค์พระประธานนั้นอยู่ในท่าประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย อีกทั้งยังมีการตัดขอบของแม่พิมพ์ด้วยการตอกชิดองค์พระ มีความงดงามและสง่า เป็นอย่างมาก
มีด้วยกันทั้งหมด 6 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์เข่าโค้ง , พิมพ์เข่าตรง, พิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์เทวดา, พิมพ์อกนูนเล็ก และพิมพ์อกนูนใหญ่ อีกทั้งยังมีเรื่องราวเล่าขานเกี่ยวกับพุทธคุณที่มีความโดดเด่นในเรื่องอำนาจวาสนา บารมี เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และอีกมากมาย ซึ่งถือว่าครบครันโดยแท้
พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จ.พิษณุโลก
ชื่อ | พระนางพญา พิมพ์เข่าโค้ง วัดนางพญา จ.พิษณุโลก |
ประเภท | พระเนื้อดินเผา |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | ผสมระหว่างศิลปะสุโขทันและอยุธยา |
อายุการสร้าง | – |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างตามวิธีโบราณ |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อพระเนื้อดินเผา |
การแยกพิมพ์ | 6 พิมพ์ ได้แก่ พิมพ์เข่าโค้ง , พิมพ์เข่าตรง, พิมพ์สังฆาฏิ, พิมพ์เทวดา, พิมพ์อกนูนเล็ก และพิมพ์อกนูนใหญ่ |
พุทธคุณ | อำนาจวาสนา บารมี เมตตามหานิยม แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี และอีกมากมาย เรียกได้ว่าครบในทุกๆด้าน |
พุทธลักษณะ | มีการตัดขอบของแม่พิมพ์ด้วยการตอกชิดองค์พระ เป็นพระเนื้อดินเผาที่ที่มีพุทธศิลปะแบบผสมผสานระหว่าง ศิลปะสุโขทัยและศิลปะอยุธยา ซึ่งมีพิมพ์เป็นทรงรูปสามเหลี่ยม ในส่วนของพระหัตถ์ด้านซ้ายนั้นวางตรงหน้าพระเพลา(บนตัก) และพระหัตถ์ทางด้านขวานั้นได้พาดวางที่พระชานุ(หัวเข่า) สำหรับองค์พระประธานนั้นอยู่ในท่าประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย |
มูลค่าราคาประมาณการ | 5 ล้านบาท |
คาถาบูชาพระนางพญา
(ตั้งนะโม 3 จบ)
“พุทธังอาราธานานัง ธัมมังอาราธานานัง สังฆังอาราธานานัง
พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ
อานุภาเวนะ มะอะอิอุ จิเจรุนิ มะนะพะทะ นะโมพุทธายะ”
ได้รู้จักกับพระเนื้อดินและเนื้อดินเผากันมามากพอสมควร ต่อไป เราจะไปพบกับพระเนื้อดินดิบ สำหรับการสร้างพระเนื้อดินดิบนั้น มวลสารจะถูกแยกออกจากน้ำด้วยวิธีการตากแดดโดยไม่ผ่านการเผาใดๆทั้งสิ้น และสำหรับครั้งนี้เราจะพาคุณไปดูตัวอย่างของพระเนื้อดินดิบที่หายาก หรือแทบจะหาดูกันไม่ได้เลยในปัจจุบันก็ว่าได้ นั่นจึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ว่าทำไมถึงมีผู้เล่นหากันในราคาแสนแพง และเป็นพระอีกหนึ่งรุ่นที่นักสะสมต่างปรารถนาอยากได้มาครอบครองบูชา อยากทราบกันแล้วว่าคือรุ่นใด อย่ารอช้าเราไปดูกันเลย
จะพาคุณมาพบกับ พระเนื้อดินดิบ จากดินแดนใต้ของบ้านเรา นั่นก็คือ พระกรุกำแพงถม ปางปาฏิหาริย์ พิมพ์ลูกเนียง จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่หายาก ซึ่งเป็นเนื้อดินดิบสมัยศรีวิชัย จากกรุเก่าของเมืองนคร ซึ่งมีอายุเก่าแก่กว่า 1200 ปี ซึ่งมีความเป็นศิลปะในยุคศรีวิชัยอย่างชัดเจน ซึ่งถือเป็นสุดยอดพระเครื่องเมืองนคร ที่เหล่าบรรดานักสะสมต่างปรารถนาอยากมีไว้ครอบครองบูชา
ซึ่งมีเรื่องเล่าว่าในช่วงปีพ.ศ. 2524 นั้น ได้มีรถไปทำการตักทราย บริเวณวัดกำแพงถม จากนั้นก็เผลอไปไปตักโดนไหบรรจุพระ จนทำให้ไหบรรจุพระแตกออกมา ซึ่งในครั้งนั้นได้พบพระเป็นจำนวนมาก มีทั้งพระพิมพ์สี่เหลี่ยมปลายมน พิมพ์กลม พิมพ์รูปไข่ พระพิมพ์สี่เหลี่ยมองค์ใหญ่ที่สุด และอีกมากมาย รวมไปถึงพระเรียกกันว่า “พระลูกเนียง” หรือบางท่านก็เรียกว่า “เปลือกลูกเนียง” ซึ่งมีทั้งเนื้อดินและเนื้อดินดิบมากมายปะปนกันไป เป็นพระพิมพ์ตามความเชื่อลัทธิมหายาน
ในส่วนขององค์พระนั้น เป็นเนื้อดินดิบ องค์พระเป็นรูปองค์ปฏิมากรประทับนั่งระบาดห้อยลงมาทางด้านข้าง ในส่วนของด้านข้างมีองค์พระอัครสาวก ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ประทับยืนอยู่ในปางลีลา ทางด้านเหนือเศียรนั้นมีประภามณฑล และในส่วนใต้ขอบด้านบนเหนือช่วงประภามณฑลนั้น มีจารึกอักษรที่เขียนว่า ‘เย ธมฺมา’ ซึ่งมีความหมายว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้” ตัวอักษรที่จารึกนั้นเป็นตัวอักษรเทวนาครี ซึ่งเป็นภาษาสันกฤต เป็นอักขระโบราณที่มีการแพร่หลายทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย
หากจะเอ่ยถามถึงในด้านของพุทธคุณของพระกำแพงถมนี้ ขอบอกเลยว่ามีความโดดเด่นมาก ในด้านอยู่ยงคงกระพัน และเมตตามหานิยม สำหรับพุทธลักษณะของพระพิมพ์ลูกเนียงนี้ มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมรีคล้ายกับรูปไข่ มีกรอบคล้ายกับกระด้ง และเหตุผลที่พากันเรียกว่า “พิมพ์ลูกเนียง” ก็เพราะมีสัณฐานพิมพ์ทรงที่มีความคล้ายกับลูกเนียง (ลูกเนียงคือผักสมุนไพรของภาคใต้ที่ผู้คนมักจะนำไปกินกับน้ำพริก)
พระกรุกำแพงถม ปางปาฏิหาริย์ พิมพ์ลูกเนียง (เนื้อดินดิบ) จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อ | พระกรุกำแพงถม ปางปาฏิหาริย์ พิมพ์ลูกเนียง (เนื้อดินดิบ) จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ประเภท | พระเนื้อดินดิบ |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | – |
อายุการสร้าง | กว่า 1,200 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | การสร้างพระแบบโบราณ โดยไม่ผ่านการเผา |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดินดิบ |
การแยกพิมพ์ | – |
พุทธคุณ | อยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดปลอดภัย |
พุทธลักษณะ | มีลักษณะเป็นรูปทรงกลมรีคล้ายกับรูปไข่ มีกรอบคล้ายกับกระด้ง องค์พระเป็นรูปองค์ปฏิมากรประทับนั่งระบาดห้อยลงมาทางด้านข้าง ทางด้านเหนือเศียรนั้นมีประภามณฑล และในส่วนใต้ขอบด้านบนเหนือช่วงประภามณฑลนั้น มีจารึกอักษรที่เขียนว่า ‘เย ธมฺมา’ ในส่วนของด้านข้างมีองค์พระอัครสาวก ทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ประทับยืนอยู่ในปางลีลา |
มูลค่าราคาประมาณการ | 120,000 บาท zoonphra |
มาต่อกันที่ พระพิมพ์เม็ดกระดุมศรีวิชัย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ที่มีอายุมายาวนานกว่าพันปี เป็นอีกหนึ่งพระเครื่องศรีวิชัย จากกรุเขาศรีวิชัย ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่บอกได้เลยว่าหาดูกันแทบไม่ได้แล้วในปัจจุบัน และสำหรับใครที่มีไว้ในครอบครองบูชาก็ไม่มีทางปล่อยกันง่ายๆอย่างแน่นอน เป็นพระเครื่องเนื้อดินดิบเก่าแก่ของทางภาคใต้
สำหรับ “พระพิมพ์เม็ดกระดุม” นี้ จากการสืบค้นของข้อมูลหลายแห่งที่น่าเชื่อถือ คือเมื่อ ประมาณปี พ.ศ 2525 มีชาวบ้านขุดพบโดยบังเอิญ ที่เนินจอมปลวกบริเวณบ้านของชาวบ้านที่ชื่อ นางอารีย์ เรืองเจริญ ซึ่งในอดีตที่แห่งนี้ได้เคยเป็น วัดเขาศรีวิชัย . ต.เขาศรีวิชัย อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี ในครั้งนั้นได้ขุดพบพระประมาณ 100 องค์ และถัดมาในช่วงปี พ.ศ 2533 ได้มีการขุดพบพระอีกกว่า 2,000 องค์
ซึ่งพระพิมพ์เม็ดกระดุมศรีวิชัยนี้ ถือเป็นพระกรุที่มีผู้ให้ความนิยมสูงสุดอีกหนึ่งพิมพ์ของทางภาคใต้ เพราะมีความเก่าแก่มาก ถึง 1,200 ปี ซึ่งในทางโบราณคดี นั้น การสร้าง พระเนื้อดินดิบ เป็นธรรมเนียมการสร้างพระเพื่อต่ออายุพระศาสนาในคติมหายานของทางตอนใต้ตั้งแต่ อ.พุนพิน ลงไปจนถึงแหลมมลายู ซึ่งกรรมวิธีในการสร้างพระนั้นได้ทำตามแบบวิธีโบราณตามยุคสมัย โดยการนำดินเหนียวไปผสมกับมวลสารอื่นและมีการกดพิมพ์ลงที่แม่พิมพ์หินแกะ โดยไม่มีการเผา
พระพิมพ์เม็ดกระดุมนี้ มีพุทธลักษณะมีสัณฐานรูปทรงกลมครึ่งซีก มองผ่านๆจะคล้ายกับเม็ดกระดุม ด้านหน้าในส่วนรอบองค์พระจะมีการยกขอบคล้ายกับยกซุ้ม และองค์พระจะอยู่ตรงกลาง ด้านหลังจะปรากฎลายนิ้วมือของผู้กดพิมพ์อยู่บนองค์พระ มีเส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 2 ซม. จึงเป็นที่มาของชื่อพิมพ์ที่มักนิยมเรียกกันว่า “พิมพ์เม็ดกระดุม” ได้แบ่งพิมพ์เป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ชะลูด และพิมพ์ต้อ เนื้อพระนั้นจะมีหลายสี ได้แก่ สีพิกุล สีขาวนวล และสีดำ
พุทธลักษณะนั้นเป็นเป็นองค์พระแสดงปางสมาธิ มีประภามลฑลอยู่ด้างหลังพระเศียร ส่วนรอบองค์พระนั้นจะมีการจารึกพระคาถาเอาไว้ เป็นคำว่า “เย ธมฺมาฯ” ที่ซ้อนกันถึงสองชั้น ทั้งซ้ายและขวา มีความหมายว่า “ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับของธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีวาทะอย่างนี้” ซึ่งเป็นภาษาสันกฤต เป็นตัวอักษรเทวนาครี ซึ่งเป็นอักขระโบราณที่แพร่หลายทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย
พระพิมพ์เม็ดกระดุมศรีวิชัย (เนื้อดินดิบ) อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี
ชื่อ | พระพิมพ์เม็ดกระดุมศรีวิชัย (เนื้อดินดิบ) อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี |
ประเภท | พระเนื้อดินดิบ |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | ศิลปะยุคทวารวดี |
อายุการสร้าง | กว่า 1,200 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | ทำแบบวิธีโบราณตามยุคสมัยเมื่อ 1,200 ปีที่แล้วโดยการนำดินเหนียวไปผสมกับมวลสารอื่นและมีการกดพิมพ์ลงที่แม่พิมพ์หินแกะ โดยไม่มีการเผา |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดินดิบ |
การแยกพิมพ์ | 2 พิมพ์ คือ พิมพ์ชะลูด และพิมพ์ต้อ |
พุทธคุณ | ปกป้องคุ้มครองให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข |
พุทธลักษณะ | มีสัณฐานรูปทรงกลมครึ่งซีก มองผ่านๆจะคล้ายกับเม็ดกระดุม ด้านหน้าในส่วนรอบองค์พระจะมีการยกขอบคล้ายกับยกซุ้ม และองค์พระจะอยู่ตรงกลาง ด้านหลังจะปรากฎลายนิ้วมือของผู้กดพิมพ์อยู่บนองค์พระ มีเส้นผ่าศุนย์กลางประมาณ 2 ซม. เป็นองค์พระแสดงปางสมาธิ มีประภามลฑลอยู่ด้างหลังพระเศียร ส่วนรอบองค์พระนั้นจะมีการจารึกพระคาถาเอาไว้ เป็นคำว่า “เย ธมฺมาฯ” |
มูลค่าราคาประมาณการ |
จะพาคุณไปรู้จักกับ พระเนื้อดินหลวงพ่อกวย ที่เรารู้จักกันดีในนามของ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร ซึ่งเป็นที่เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้ว สำหรับชื่อเสียงของหลวงพ่อกวยที่เป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวชัยนาท ซึ่งท่านได้เป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมอีกหนึ่งท่านของจังหวัดชัยนาท ที่แม้แต่หลวงปู่โต๊ะแห่งวัดประดู่ฉิมพลีนั้น ยังถึงกับชื่นชมในพลังจิตของท่านเมื่อครั้งที่ได้เคยร่วมปลุกเสกวัตถุมงคลร่วมกัน และเราจะพาคุณไปรู้จักกับวัตถุมงคลของหลวงพ่อกวย ซึ่งวัตถุมงคลของท่านในแต่ละรุ่นนั้น ล้วนแล้วแต่มีพุทธคุณสูงเป็นอย่างมาก
คาถาบูชาหลวงพ่อกวย
( ตั้ง นะโม 3 จบ )
“โสทาโย นะโมนะมัสสกาโร โสทายะอิมังคาถา
พุทธะมาเรโส ธัมมะมาเรโส สังคะมาเรโส”
จากนั้นให้ตั้งสมาธิจิตให้มั่น แล้วเอ่ยขอบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์โดยกล่าวว่า
ขอให้ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด) ขอให้ได้งานสำเร็จศักดิ์สิทธิ์อย่างที่ตั้งใจไว้
หากเอ่ยถึง พระเนื้อดินหลวงพ่อกวย แล้ว นักสะสมหลายๆท่าน ก็คงจะต้องนึกถึง พระสรรค์ กันอย่างแน่นอน สำหรับ พระสรรค์ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม (เนื้อดิน) จ.ชัยนาท สำหรับพิมพ์นี้หลวงพ่อกวยท่านได้พิมพ์ออกมาหลายพิมพ์ด้วยกัน ซึ่งได้ถอดพิมพ์มาจากพระสรรค์กรุเก่า ที่เห็นกันได้อย่างชัดเจน ก็จะมี พิมพ์พระสรรค์นั่ง และพิมพ์พระสรรค์ยืน เป็นเนื้อดิน
ความโดดเด่นของพุทธคุณนั้นเป็นที่เลื่องลืออย่างมาก ซึ่งใครหลายๆคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า มีความเข้มขลังในด้านกำบังภัย ป้องกันคุนไสย และป้องกันอาถรรพ์จากภูติผีปีศาจต่างๆ ทั้งมีเรื่องเล่าขานต่อๆกันมาหลายยุคหลายสมัย สำหรับผู้นิยมสะสมบูชาพระเครื่องสายคงกระพัน จะค่อนข้างปรารถนามีไว้ครอบครองบูชากันเป็นอย่างมาก
พระสวรรค์ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม (เนื้อดิน) จ.ชัยนาท
ชื่อ | พระสวรรค์ หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม (เนื้อดิน) จ.ชัยนาท |
ประเภท | พระเนื้อดิน |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | – |
อายุการสร้าง | กว่า 60 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | – |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดินผสมกับผงกรุ |
การแยกพิมพ์ | พิมพ์พระสรรค์นั่ง และพิมพ์พระสรรค์ยืน |
พุทธคุณ | ป้องกันคุนไสย ป้องกันภัย แคล้วคลาด |
พุทธลักษณะ | คุ้มครองป้องกันภัย แคล้วคลาด กำบังสูงยิ่ง |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
คาถาบูชา หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร
“ตะมัตถัง ปะกาเสนโต สัตถาอาหะ อิมะอะวิ ตะอุอะมิ มะสะนะโม”
คาถานะโมตาบอด
“นะตันโต นะโมตันติ ตันติตันโต นะโมตันตัน”
ไปต่อกันที่ พระเนื้อดินหลวงพ่อโหน่ง กันเลยดีกว่า หากเอ่ยถึงหลวงพ่อโหน่งสำหรับเซียนพระและเหล่านักสะสมทั้งหลายต้องรู้จักกันอย่างแน่นอน โดยเฉพาะนักสะสมพระเครื่้องสายเมตตามหานิยม หลวงพ่อโหน่งนั้นถือเป็นพระเกจิอารย์ที่ทรงคุณวิเศษ มีความแกร่งกล้าในเรื่องคาถาอาคม ท่านคือลูกศิษย์ของ “หลวงพ่อเนียม วัดน้อย” และหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านคือศิษย์รุ่นพี่ของ หลวงพ่อปานน วัดบางโคนม ที่ใครหลายคนอาจเคยคุ้นหูกันมาก่อนนี้แล้ว ซึ่งท่านก็มีลูกศิษย์ลูกหามากมาย และเป็นที่เคารพรักของชาวจังหวัดสุพรรณเป็นอย่างยิ่ง
หากเอ่ยชื่อลูกศิษย์ของท่านแล้ว เราเชื่อว่าเหล่านักสะสมพระเครื่องหรือเหล่าเซียนพระหลายท่านอาจรู้จักกันดีอย่างแน่นอน ซึ่งได้แก่ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี , หลวงพ่อสด , หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก และสมเด็จพระสังฆราช(ปุ่น) ซึ่งแต่ละท่านนั้น ล้วนแล้วแต่มีความแกร่งกล้าในด้านวิชาอาคมและถือเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากในเวลาต่อมา อีกทั้งท่านได้สร้างพระเอาไว้หลายรุ่น และแต่ละรุ่นนั้น ในปัจจุบันล้วนหายากมาก เพราะมีพุทธคุณสูงจนเป็นที่ร่ำลือ มาจนถึงปัจจุบัน และวันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกับ พระเครื่องเนื้อดินที่ท่านได้สร้างเอาไว้
สำหรับ พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย หลวงพ่อโหน่ง นี้ หลวงพ่อโหน่งท่านได้สร้างเพื่อนำมาแจก เหล่าบรรดาลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมทั้งหลาย มีอีกบางส่วนที่ได้บรรจุเก็บไว้ในเจดีย์ สำหรับข้อมูลที่ว่าหลวงพ่อโหน่ง ได้เริ่มสร้างวัตถุมงคลต่างๆนั้น เริ่มขึ้นใน ปี พ.ศ ใด ก็มิอาจมีผู้ใดจำได้ แต่มีองค์พระดินเผาอยู่หนึ่งองค์ ที่ได้มีการจารึกทางด้านหลังไว้ว่า “พ.ศ ๒๔๖๑” จึงได้มีการสันนิษฐานว่า ท่านอาจจะเริ่มสร้างพระรุ่นต่างๆใน ปีพ.ศ 2561 นั่นเอง ซึ่งก็ถือว่าเป็นเวลาที่ผ่านมานานมากเลยทีเดียว
มีคำร่ำลือที่เล่าต่อๆกันมาเกี่ยวกับเรื่องพระพุทธคุณ ของพระพิมพ์นี้ ที่นอกจากจะโดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรีแล้ว ทั้งยังมีพุทธสูงที่ครบครันแทบทุกด้าน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งรุ่นยอดนิยมที่ผู้คนต่างปรารถนาอยากได้มาครอบครองกันเป็นอย่างมาก สำหรับพระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่ายนี้ มีด้วยกัน 2 พิมพ์ ก็คือ พิมพ์ฐานไม่มีมีบัว และพิมพ์ฐานมีบัว มีพุทธลักษณะ พระประธานเป็นองค์ประทับนั่งขัดสมา เนื้อดินเผา
พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน
ชื่อ | พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน |
ประเภท | พระเนื้อดิน |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | พ.ศ 2461 |
อายุการสร้าง | กว่า 90 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | เป็นกรรมวิธีการเผาของหลวงพ่อโหน่ง |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดินเผา |
การแยกพิมพ์ | 2 พิมพ์ ก็คือ พิมพ์ฐานไม่มีมีบ้ว และพิมพ์ฐานมีบัว |
พุทธคุณ | โดดเด่นในด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรีแล้ว ยังมีพุทธสูงที่ครบครันแทบทุกด้าน |
พุทธลักษณะ | มีรูปลักษณะพระประธานเป็นองค์ประทับนั่งขัดสมาธิ |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
สำหรับ พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่นิยม หลวงพ่อโหน่ง นี้เป็นเนื้อดินเผา ถูกสร้างขึ้นมาโดยใช้เวลานานนับ 10 ปี มีกรรมวิธีการสร้างของหลวงพ่อโหน่งนั้นมีความละเอียดเป็นอย่างมาก รวมทั้งได้สร้างพระพิมพ์อื่นๆ พร้อมกันด้วย การสร้างพระนี้เพื่อมอบให้กับลูกศิษย์ลูกหา และได้มีการสันนิษฐานว่าถูกสร้างประมาณปี พ.ศ 2461
สำหรับ พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่นิยม หลวงพ่อโหน่ง นั้น เป็นอีกหนึ่งรุ่นยอดนิยม ที่ผู้คนต่างให้ความนิยม ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 2 พิมพ์ได้แก่ พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ เป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่เหล่านักสะสมต่างพากันปรารถนา อยากมีไว้ในครอบครองบูชา ทางด้านพระพุทธคุณนั้น มีความโดดเด่นในด้าน เมตตามหานิยม แคล้วคลาดจากอันตราย พุทธลักษณะนั้นเป็นองค์พระมีรูปลักษณะ นั่งขัดสมาธิ บนฐานบัวคว่ำและบัวหงาย
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่นิยม หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
ชื่อ | พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่นิยม หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี |
ประเภท | พระเนื้อดิน |
ผู้สร้าง | หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จ.สุพรรณฯ |
ศิลปะยุค | ปี พ.ศ 2461 |
อายุการสร้าง | กว่า 100 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | มีกรรมวิธีการสร้างแบบเฉพาะของหลวงพ่อโหน่ง |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดิน |
การแยกพิมพ์ | ได้แบ่งเป็น 2 พิมพ์ คือ พิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ |
พุทธคุณ | แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม |
พุทธลักษณะ | องค์พระมีรูปลักษณะ นั่งขัดสมาธิ บนฐานบัวคว่ำและบัวหงาย |
มูลค่าราคาประมาณการ |
ก่อนอื่นต้องขอบอกกันก่อนเลยว่า พระเนื้อดินนั้นความละเอียดอ่อนกว่าพระอื่นๆดังนั้น วิธีทำความสะอาดพระเนื้อดิน จึงต้องทำอย่างเบามือให้มากที่สุด เพราะคุณทำอย่างไม่ระมัดระวังก็จะทำให้หน้าพระหลุดหายไปได้ วิธีทำก็คือให้นำพระแช่ในน้ำอุ่น(ที่มีอุณหภูมิอุ่นไม่ใช่น้ำร้อนหรือน้ำเย็น) เวลาการแช่ไม่ต้องนานมาก จากนั้นให้แล้วนำพู่กันอันเล็กๆ โดยขลิบปลายพู่กันให้มีความยืดหยุ่นแบบพอดี แล้วใช้พู่กันปัดไปปัดมาเพื่อชำระสิ่งสกปรกต่างๆออกจากพระ
แต่หากคราบสิ่งสกปรกเหล่านั้นฝังลึกมากเกินไป ขัดเท่าไหร่ก็ไม่ออก ให้คุณนำสบู่เหลวสูตรที่อ่อนโยนที่สุด อย่างเช่นสบู่เหลวสำหรับเด็กทารก เทผสมลงไปในน้ำอุ่นที่แช่พระอยู่นั้น จากนั้นก็ใช้พู่กันเล็กๆที่เตรียมไว้ นำมาทำความสะอาดและขัดคราบสิ่งสกปรกออกจากพระอีกครั้ง ขอย้ำอีกครั้งว่าคุณจะต้องทำอย่างระมัดระวังและเบามือให้มากที่สุด
เมื่อได้ขัดคราบสิ่งสกปรกต่างๆ เรียบร้อยแล้ว ให้คุณนำพระขึ้นมาเป่าให้แห้งด้วยไดร์เป่าผม แต่ต้องเอาแบบไกลๆองค์พระ โดยเป่าด้วยลมเท่านั้น ห้ามปรับอุณภูมิของไดร์ให้ร้อนเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้พระแตกได้
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา ของพระเนื้อดินต่างๆ ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านกันในครั้งนี้ ผ่านบทความ รวมประวัติความเป็นมาพร้อม “พระเนื้อดิน” รุ่นหายาก ! นี้ ซึ่งเราหวังว่าคุณจะถูกใจกับบทความ รวมไปถึงการ พระเนื้อดินเผา พระเนื้อดินดิบ พระเนื้อดินหลวงพ่อกวย พระเนื้อดินหลวงพ่อโหน่ง และอื่นๆอีกมากมายที่เราได้รวบรวมนำข้อมูลมาฝากคุณในครั้งนี้
ก่อนจากกันในครั้งนี้ ขออำนาจบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายรวมทั้งอำนาจพุทธคุณพระเนื้อดิน ปกปักษ์รักษาท่านผู้อ่านทุกท่านให้ปลอดภัย จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสร้ายในครั้งนี้ เราจะผ่านพ้นไปด้วยกัน และสำหรับครั้งนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อน หากผิดพลาดประการใดพวกเราทีมงานต้องขออภัย ณ ที่นี้ แล้วพบกันใหม่กับบทความในครั้งหน้า จะมีอะไรมานำเสนอกันอีกนั้นต้องห้ามพลาดนะคะ ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านสำหรับการติดตาม
ที่มา acicertified
รวมข่าวสารเกี่ยวกับพระเครื่อง เครื่องราง เหรียญ วัตถุมงคล พระ พระบูชา จัดอันดับพระเครื่อง พระเครื่องในภาคกลาง พระเครื่องในภาคอีสาน พระเครื่องในภาคตะวันออก พระเครื่องในภาคตะวันตก พระเครื่องในภาคเหนือ พระเครื่องในภาคใต้ พระเครื่องยอดนิยม ประวัติพระ