ประวัติความเป็นมาของ ครูบาศรีวิชัย และที่มาของเหรียญครูบาศรีวิชัย บ้านปาง ปี 2517 ! 

ครูบาศรีวิชัย-บ้านปาง

หากใครเอ่ยถามถึงของดีของขลังทางฝั่งล้านนา ในช่วงยุคปีต้นๆ เชื่อกันว่าใครๆควรจะต้องนึกถึง เหรียญครูบาวิชัย  ขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆอย่างแน่นอนเช่นกัน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ครั้งนี้พวกเราทีมงานจะมาพูดถึง ประวัติความเป็นมาของ ครูบาศรีวิชัย และที่มาของเหรียญครูบาศรีวิชัย บ้านปาง ปี 2517 ! ให้คุณได้ทราบ โดยรวบรวมประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของพระครูบาศรีวิชัยมาฝากคุณกันไว้ที่นี่ พร้อมกับจะมาเล่าถึงความเป็นมาของเหรียญปี 2517 ให้คุณได้ทราบด้วยเช่นกัน และหากคุณต้องการทราบถึงรายละเอียดต่างๆเหล่านี้กันแล้วตั้งแต่รอช้าค่ะเราไปพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจพร้อมๆกันได้เลยดังต่อไปนี้   ประวัติความเป็นมาของครูบาศรีวิชัย   ก่อนอื่นเราจะต้องขออนุญาตเล่าถึงประวัติความเป็นมาของให้คุณได้ทราบกันแบบคร่าวๆเสียก่อน  อันนี้เพื่อการบอกเล่าถึงที่มาของท่านให้ท่านผู้อ่านได้ทราบ สำหรับครูบาศรีวิชัยนั้นท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ 2421 ซึ่งตรงกับปีขาลท่านเกิดในวันอังคารที่ 11 เดือนมิถุนายนในปีนั้น  ท่านเกิดในช่วงเวลาหัวค่ำซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดฝนฟ้าคะนองอย่างรุนแรง ท่านเป็นบุตรชายของคุณพ่อที่มีนามว่าควาย และเป็นบุตรของคุณแม่ที่มีชื่อว่าอุสา  บางข้อมูลระบุว่ามารดาของท่านนั้น เป็นชาวจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งในบางตำราได้ระบุเอาไว้ว่ามารดาของท่านนั้นเป็นลูกของหลานไจยา เป็นชาวเมืองลี้ สรุปได้ความว่าครูบาศรีวิชัยนั้นท่านเป็นผู้ที่มีเชื้อสายเป็นชาวกะเหรี่ยงแดงจากทางฝั่งของบิดาของท่าน รวมไปถึงอาจมีเชื้อสายทางฝั่งกะเหรี่ยงขาวและชาวระยองจากทางฝั่งมารดาของท่านด้วยเช่นกัน  เมื่อเติบโตและมีอายุได้ประมาณ 18 ปี ครูบาศรีวิชัยท่านก็มีความคิดว่าในชาตินี้ที่เกิดมายากจนอาจเพราะในอดีตไม่ได้ทำบุญเอาไว้อย่างเพียงพอ จึงทำให้ท่านมีความคิดว่าอยากจะออกบวชและรักฟ้าเป็นลิ้นปฏิบัติธรรม เพื่อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์สุขเอาไว้ให้กับในภายภาคหน้า  อีกทั้งยังต้องการตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ด้วยเช่นกัน ดังนั้นท่านกินได้กราบลาพ่อและแม่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่วัดบ้านปาง  ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ครูบาศรีวิชัยท่านมีโอกาสได้บวชเป็นสามเณรและศึกษาเล่าเรียนวิชากับพระอาจารย์ที่ชื่อว่าขัตติยะ  หรือที่ใครๆคนมักจะเรียกกันว่าครูบาแข้งแขะ เหตุผลที่ถูกเรียกเช่นนี้เนื่องจากท่านเดินขากะเผลก  และต่อมาเมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 21 ปีท่านก็ได้เข้าพิธีอุปสมบทที่วัดบ้านโฮ่งหลวง ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอบ้านโฮ่งของจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน  ซึ่งพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับท่านก็คือครูบาสมณะ  พร้อมกับได้รับฉายาทางธรรมว่า “สีวิเชยฺย” อันมีนางบัญญัติว่าพระศรีวิชัย   […]

ชีวประวัติของพระธรรมสิงหบุราจารย์  ( หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) กับปณิธานที่ตั้งมั่น !   

หลวงพ่อจรัญ-ฐิตธมฺโม

ก่อนหน้านี้เราได้พาคุณไปทราบถึงประวัติความเป็นมาของพระเครื่องในหลายๆรุ่น ยุคเก่าและยุคใหม่และได้เล่าถึง ประวัติเป็นมาของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังมาอย่างหลากหลายแล้ว  ในครั้งนี้เราจะพาคุณมาทราบถึง ชีวประวัติของพระธรรมสิงหบุราจารย์  ( หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม) กับปณิธานที่ตั้งมั่น !     ที่แน่นอนว่าท่านเป็นอีกหนึ่งกลับพรุ่งนี้เมตตาที่ผู้คนชาวไทยล้วนเคารพศรัทธากันทั่วทั้งประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือชาวจังหวัดสิงห์บุรีและในครั้งนี้เราจะมาเล่าถึงรายละเอียดที่น่าสนใจ ของท่านให้คุณได้ทราบกัน ณ ที่นี้  สำหรับพระธรรมสิงห์บุราจารย์  หรือที่พวกเราหลายๆคนมักจะรู้จักกันดีในนามหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม นั้นท่านได้เกิดตั้งแต่ในช่วงยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือในช่วงยุคสมัยของรัชกาลที่ 7  ซึ่งท่านเกิดตรงกับปีพ.ศ 2471 ตรงกับปีมะโรง ตั้งแต่ในวันที่ 15 สิงหาคม เดิมทีนั้นท่านเป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรีบ้านเกิดของท่านอยู่ที่อำเภอม่วงหมู่ ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมือง บิดาของท่านมีบุตรทั้งหมด 10 คนและท่านเป็นบุคคลที่ 5 ของบิดามารดา  ท่านเป็นลูกของนายแพ จรรยารักษ์  และนางเจิม จรรยารักษ์  เมื่อท่านยังเด็กหลวงพ่อท่านได้อาศัยอยู่กับคุณยายซึ่งในขณะนั้นคุณยายของท่านอยู่ในวัย 80 ปี บ้บ้านของคุณยายที่ท่านอยู่อาศัยจะมีลักษณะเป็นเรือนทรงไทยเป็นบ้านหลังใหญ่ที่อยู่ท่ามกลางต้นไม้อันร่มรื่นอุดมไปด้วยต้นผลไม้อย่างน้อยหน่า ขนุน มะปราง มะม่วง และพืชพันธุ์อื่นๆอีกนานาชนิด เนื่องจากมีพื้นที่ในการใช้สอยที่ค่อนข้างกว้างขวางบรรยากาศที่แสนร่มรื่นอยู่ติดกับลำน้ำทางฝั่งลพบุรี อีกทั้งยังมีผักสวนครัวอีกมากมายหลวงพ่อท่านใช้ชีวิตอยู่กับคุณยายที่บ้านหลังนี้ และแน่นอนว่าท่านเติบโตมากับคำสอนของคุณยาย   ในทุกๆเช้าช่วงเวลาตี 4 คุณยายของหลวงพ่อจรัญท่านจะตื่นขึ้นมาและสวดมนต์ก่อนสิ่งอื่นใดการสวดมนต์ของคุณยายท่านจะใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง  จึงทำให้เด็กชายจรัญต้องรุกตามคุณยายขึ้นมาแล้วช่วยคุณยายก่อไฟเพื่อหุงข้าวทำกับข้าวสำหรับใส่บาตรเพราะคุณยายท่านชอบทำบุญตักบาตร และมีความศรัทธาต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง หลังจากที่ทำบุญตักบาตรในยามเช้าแล้วคุณยายก็มักจะลงไปปลูกต้นไม้รดน้ำต้นไม้ถางหญ้าพรวนดินและเก็บผักผลไม้ต่างๆเพื่อเตรียมไว้นำไปขายที่ตลาด […]

ประวัติ “หลวงปู่บัว ถามโก แห่ง วัดศรีบูรพาราม”  กับ เหรียญรุ่นแรก ที่ใครๆก็ตามหา ! 

หลวงปู่บัว-ถามโก

 เรียกได้ว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอันลือลั่นแห่งภาคตะวันออกของยุคนี้กันเลยก็ว่าได้สำหรับพระครูสังฆกิจบูรพา  หรือที่ใครหลายคนมักจะรู้จักกันดีในนามของหลวงปู่บัว ถามโก เป็นเหตุผลที่ทำให้ในวันที่เราจะพาคุณมาทราบถึง ประวัติ “หลวงปู่บัว ถามโก แห่ง วัดศรีบูรพาราม”  กับ เหรียญรุ่นแรก ที่ใครๆก็ตามหา !  ที่จะมาบอกเล่าถึงประวัติคร่าวๆของท่านให้คุณได้ทราบ พร้อมกับจะมาบอกเล่าถึงความเป็นมาของเหรียญรุ่นแรกของท่านที่ใครๆก็ตามหา เพราะในปัจจุบันนี้เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเหรียญที่ค่อนข้างหายากกันมากแล้ว ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาหากอยากทราบถึงเนื้อหารายละเอียดกันแล้ว ความเป็นมาของท่านนั้นมีความน่าสนใจอย่างไรต้องอย่ารอช้าค่ะเราไปถึงรายละเอียดเหล่านี้กันได้เลย   ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่บัว  ถามโก  แห่ง วัดศรีบูรพาราม จังหวัดตราด   สำหรับพระครูสังฆกิจบูรพา หรือที่พวกเราหลายคนมักจะเรียกท่านกันว่าหลวงปู่บัว ถามโกนั้น เดิมทีท่านมีชื่อว่านายบัวท่านเป็นลูกชายของนายยเชี๋ยกับนางเตี่ยน มารศวารี ท่านได้เกิดตรงกับปีพ.ศ 2469 ซึ่งเป็นปีขาลท่านเกิดในวันเสาร์เดือน 5 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำพอดี  ท่านเป็นชาวจังหวัดตราด เกิดที่ตำบลวังกระแจะอำเภอเมือง เมื่อครั้งที่ท่านยังเป็นวัยรุ่นท่านค่อนข้างมีความสนใจทางด้านศึกษาในเรื่องของยาสมุนไพรและค่อนข้างมีความชำนาญด้านการช่างอย่างมาก จากนั้นเมื่ออายุได้ประมาณ 23 ปีท่านก็ได้เข้าพิธีอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ที่วัดบุปผาราม ซึ่งวัดแห่งนี้ก็ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านเกิดของท่านซึ่งก็คืออำเภอเมืองในตำบลวังกระแจะนั่นเอง  การบวชของท่านในครั้งนั้นพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ก็คือ พระครูคุณวุฒิพิเศษ แห่ง วัดบุบผาราม ส่วนพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ก็คือ พระครูวัตรรัตนวงษ์สิทธิ์  แห่ง วัดหนองบัว เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์อย่างเต็มตัวแล้วท่านยิ่งมีความพากเพียรในการศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมจนมาถึงช่วง ปีพ.ศ 2505 ท่านก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดตะเคียน  จากนั้นถัดมาไม่กี่ปีท่านก็สามารถตอบได้ชั้นนักธรรมเอกซึ่งตรงกับปีพ.ศ […]

ประวัติความเป็นมาของ “ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ แห่ง วัดดอยธรรมเจดีย์” จากนายฮ้อยสู่นักบุญ ! 

หลวงปู่กงมา-จิรปุญโญ

 พาคุณไปทราบถึงประวัติของพระเกจิอาจารย์ที่ชื่อเสียงโด่งดังทางฝั่งอีสานใต้กันไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาพาคุณไปรู้จักกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั้งฝั่งอีสานเหนือกันบ้าง ซึ่งในครั้งนี้เราจะมาพูดถึง ประวัติความเป็นมาของ “ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ แห่ง วัดดอยธรรมเจดีย์” จากนายฮ้อยสู่นักบุญ ! ซึ่งแน่นอนว่านอกจากที่มาของเหรียญรุ่นแรกแล้วเราจะพาคุณไปทราบถึงประวัติของพระอาจารย์กงมาจิรปุญโญ แห่ง วัดดอยธรรมเจดีย์ ในครั้งนี้ด้วยเช่นกันหากอยากทราบกันแล้วว่าความเป็นมาของท่านนั้นมีมาอย่างไรเราก็ชมสิ่งที่น่าสนใจพร้อมๆกันได้เลยดังต่อไปนี้ ประวัติของหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ก่อนที่เราจะไปทราบถึงประวัติที่มาของเหรียญนั้นเราจะพาคุณมารู้จักกับประวัติความเป็นมาของหลวงปู่กงมากันก่อน สำหรับพระอาจารย์กงมา หรือที่ใครหลายคนมักจะเรียกกันว่าหลวงปู่กงมานั้น เดิมทีนั้นท่านมีชื่อว่ากงมา นามสกุลวงศ์เครือสอน เกิดในช่วงปีพ.ศ. 2443 ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายนเป็นวันอังคารขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 และตรงกับปีชวด เซ็นทรัลเป็นคนชาวจังหวัดสกลนครโดยกำเนิดเกิดที่บ้านโคกตั้งอยู่ในตำบลตองโขกซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมือง เป็นลูกชายคนสุดท้องของแม่นางนวล วงศ์เครือสอนและพ่อบู่ วงศ์เครือสอน ท่านมีพี่น้องทั้งหมดหกคน  ในสมัยที่ท่านยังเป็นหนุ่มท่านมีรูปร่างสูงใหญ่กำยำล่ำสัน หน้าตาดีหน้าตาคมคายตามฉบับชายไทย เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรเอาการเอางานหนักเอาเบาสู้ และท่านเคยเป็นนายฮ้อย ซึ่งนายฮ้อยนั้นเป็นภาษาอีสานใช้สำหรับเรียกคนที่มีอาชีพค้าวัวค้าควาย ซึ่งนายฮ้อยทั้งหลายนี้ จะรวบรวมวัวควายรวมทั้งหมู เพื่อต้อนนำไปขายตามจังหวัดต่างๆในละแวกจังหวัดแถบๆที่พวกเขาอยู่อาศัย และหลวงปู่กงมาก็เป็นผู้รับหน้าที่นี้ ในยุคนั้น และต่อมาท่านก็ได้เป็นหัวหน้านายฮ้อยที่นำพาหมู่คณะต้อนสัตว์ไปขายในจังหวัดกรุงเทพฯ ซึ่งในสมัยนั้นผู้คนก็จะเดินทางโดยเท้าและค่อยๆต้อนวัวตอนควายตอนสัตว์ให้เดินไปกับพวกเขาเรียกได้ว่ายากลำบากอยู่ไม่น้อย ซึ่งจากจังหวัดสกลนครไปจนถึงจังหวัดกรุงเทพเรียกได้ว่าใช้เวลาหลายเดือนกันเลยทีเดียว  สำหรับอาชีพนายฮ้อยนั้นเรียกได้ว่าเป็นอาชีพของผู้มีความสามารถแล้ว แต่หัวหน้าของนายฮ้อยนั้นย่อมมีความรับผิดชอบที่มากกว่า เนื่องจากบทบาทนี้ผู้ที่จะเป็นได้ก็คือต้องมีความชำนาญและรู้ทิศทางในการเดินทางเนื่องจากในสมัยนั้นไม่ได้มีรถหรือ GPSเหมือนในสมัยนี้ อีกทั้งยังต้องคอยปกป้องอันตรายให้กับเหล่าบรรดาบริวารที่อยู่ในปกครองให้ปลอดภัย เนื่องจากการต้อนวัวควายไปขายนั้นอาจเผชิญกับโจรผู้ร้ายต่างๆในระหว่างทางได้ […]

ประวัติความเป็นมาสุดยอดพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง แห่งเมืองนครปฐม “หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ แห่ง วัดบางพระ” ! 

ประวัติความเป็นมาสุดยอดพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง-แห่งเมืองนครปฐม

แน่นอนว่าหากมีใครถามถึงพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองนครปฐมในช่วงยุคปี 2500 นั้น แน่นอนว่าจะต้องมีชื่อของหลวงพ่อเปิ่นขึ้นมาเป็นอันดับต้นๆอย่างแน่นอน จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ครั้งนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติความเป็นมาสุดยอดพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง แห่งเมืองนครปฐม “หลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ แห่ง วัดบางพระ” ! และถึงแม้ว่าท่านจะได้มรณภาพลงไปหลาย 10 ปีแล้วแต่พวกเราทีมงานสองพระยังคงละลึกถึง และเชื่อว่ายังคงมีลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพและระลึกถึงอย่างเสมอมาเช่นกัน ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปทราบถึงประวัติความเป็นมาของท่านพร้อมๆกันได้เลยดังต่อไปนี้ ประวัติความเป็นมาหลวงพ่อเปิ่น ฐิตคุโณ แห่ง วัดบางพระ จังหวัด สำหรับหลวงพ่อเปิ่นนั้นเดิมทีท่านมีชื่อว่านายเปิ่น มีนามสกุลว่าภู่ระหงษ์ ท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2466 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคมเป็นปีกุน เดิมทีท่านเป็นคนที่ตำบลบางแก้วฟ้าซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอนครชัยศรีของจังหวัดนครปฐม บิดาของท่านมีชื่อว่านายฟักภู่ระหงษ์ และมารดาของท่านมีชื่อว่านางยวง ภู่ระหงษ์ ท่านเป็นบุตรชายคนที่เก้าของบิดาและมารดาซึ่งมีพี่น้องทั้งหมดจำนวน 10 คน  ตั้งแต่ครั้งที่ท่านยังเป็นเด็กนั้นท่านมีความสนใจและชื่นชอบในเรื่องของไสยศาสตร์มาก และครอบครัวของท่านก็อาศัยอยู่ใกล้ๆกับวัดบางพระ จึงทำให้ท่านเข้าออกอยู่บริเวณวัดเสมอ แต่ต่อมาไม่นานครอบครัวของท่านก็ได้ย้ายที่อยู่ไปอยู่ณบ้านทุ่งคอกจึงตั้งอยู่ในอำเภอสองพี่น้องของจังหวัดสุพรรณบุรี จากนั้นหลวงพ่อผลท่านก็ได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงพ่อแดงแห่งวัดทุ่งคอกที่ตั้งอยู่อำเภอสองพี่น้องนั่นเอง (หลวงพ่อแดงนั้นท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อโหน่ง แห่งวัดคลองมะดัน) ท่านจึงมีวิชาเนื่องจากได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงพ่อโหน่งหลายแขนง และในที่สุดหลวงพ่อแดงท่านนี้ท่านก็คือพระอาจารย์ของหลวงพ่อเปิ่นในที่สุด ภายหลังในเวลาไม่นานครอบครัวของท่านก็ได้ย้ายบ้านกลับมาอาศัยอยู่ ยังภูมิลำเนาเดิมซึ่งในจังหวัดนครปฐม และเมื่อมีอายุครบการเกณฑ์ทหารท่านก็ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ลูกผู้ชายทุกคนพึงทำ และได้รับตำแหน่งเป็นทหารราชณโยธา จากนั้นถัดมาเวลาไม่นานตำแหน่งนี้ก็ถูกประกาศยกเลิกไปทำให้หลวงพ่อเปิ่นท่านได้กลับมาหาบิดามารดาและช่วยบิดามารดาทำงานเพื่อเลี้ยงชีพซึ่งอาชีพของครอบครัวท่านก็คือเป็นชาวไร่ชาวนา ในขณะที่หลวงพ่อท่านทำไร่ทำนาอยู่นั้นท่านก็ได้มีโอกาสร่ำเรียนทางด้านวิชาสักยันต์กับพระอาจารย์หิ่ม อินทโชโต แห่งวัดบางพระ ด้วยความชื่นชอบเป็นเดิมอยู่แล้วจึงทำให้ท่านตั้งไจเรียนและศึกษาทางด้านนี้อย่างมาก จากนั้นเมื่อท่านมีอายุได้ […]

ประวัติสุดยอดพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองสุรินทร์ “หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม”! 

ประวัติสุดยอดพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองสุรินทร์-หลวงปู่ดูลย์-อตุโล-แห่งวัดบูรพาราม

สำหรับสัปดาห์นี้เรายังคงอยู่กันทางฝั่งอีสานใต้ และในวันนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติสุดยอดพระเกจิอาจารย์แห่งเมืองสุรินทร์ “หลวงปู่ดูลย์ อตุโล แห่งวัดบูรพาราม”! กันบ้างซึ่งแน่นอนว่าหลวงปู่ดูลย์นั้น ท่านเป็น พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองสุรินทร์ เป็นพระภิกษุฝ่ายวิปัสสนาธุระผู้และท่านคือศิษย์รุ่นแรกของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ที่ใครหลายคนอาจรู้จักกันดี และในครั้งนี้เราจะบอกมาเล่าถึงประวัติความเป็นมาของท่าน ให้ท่านผู้อ่านที่ชื่นชอบพระเครื่องได้ทราบ ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจกันได้เลยดังต่อไปนี้ ประวัติความเป็นมา “หลวงปู่ดูลย์ อตุโล”  แห่งวัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์ สำหรับประวัติความเป็นมาของหลวงพระราชวุฒาจารย์ หรือที่เรารู้จักกันดีในนามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล นั้น ท่านเป็นชาวจังหวัดสุรินทร์โดยกำเนิดเกิด ณ บ้านปราสาท ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลฉเนียงของจังหวัดสุรินทร์ ท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2431 ซึ่งตรงกับวันที่สี่ตุลาคมเป็นแรมสองค่ำเดือน 11 และตรงกับปีชวด และตรงกับช่วงยุคสมัยของรัชกาลที่ห้า  ท่านเป็นบุตรของนายแดงและนางเงินนามสกุล “ดีมาก” ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดารวมกันห้าคน พี่สาวของท่านคนแรกชื่อกลิ้ง และหลวงปู่เป็นบุตรคนที่สองของบิดามารดา น้องชายคนที่สามของท่านชื่อเกลและน้องสาวคนที่สี่ของท่านชื่อรัตน์ และน้องคนสุดท้องของท่านชื่อทอง เป็นพี่น้องของท่านทั้งหมดได้ถึงแก่กรรมตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 70 ปี แต่หลวงปู่ดูลย์เป็นเพียงคนเดียวในครอบครัวเท่านั้นที่มีอายุยืนนานซึ่งท่านมีอายุถึง 96 ปี ในช่วงปีพ.ศ. 2453 หลวงปู่ดูลย์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบท อยู่ ณ วัดจุมพลสุทธาวาส ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดสุรินทร์  ซึ่งพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับท่านในครั้งนั้นก็คือพระครูวิมลศีลพรต […]

ประวัติที่มาสุดขลัง “เหรียญรุ่นแรก ปี 2540  เทวดาเล่นดิน” ของหลวงปู่สรวง แห่งวัดไพรพัฒนาเมือง ศรีสะเกษ ”  ! 

ประวัติที่มาสุดขลัง-เหรียญรุ่นแรก-ปี-2540-เทวดาเล่นดิน

มาทางฝั่งจังหวัดศรีสะเกษซึ่งเป็นฝั่งอีสานใต้กันบ้าง และในวันนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติที่มาสุดขลัง “เหรียญรุ่นแรก ปี 2540  เทวดาเล่นดิน” ของหลวงปู่สรวง แห่งวัดไพรพัฒนา เมือง ศรีสะเกษ ”  ! ซึ่งหลวงปู่สรวงนั้นท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิทยาคมอย่างมากและท่านเป็นพระชาวกัมพูชาที่เหล่าบรรดาพุทธศาสนิกชนชาวไทยให้ความเลื่อมใสและศรัทธาไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือชาวจังหวัดศรีสะเกษ และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาในครั้งนี้เราจะพาคุณไปทราบถึงรายละเอียดที่น่าสนใจจากประวัติความเป็นมาของท่านกันเลยดีกว่า ประวัติหลวงปู่สรวง แห่งวัดไพรพัฒนา จังหวัดศรีสะเกษ ก่อนอื่นเราจะพาคุณมารู้จักกับประวัติความเป็นมาของหลวงปู่สรวงกันเสียก่อน ซึ่งประวัติแท้จริงของท่านนั้นไม่มีใครทราบเนื่องจากท่านไม่ค่อยได้เล่าประวัติส่วนตัวของท่านให้ผู้ใดฟังมากนักจึงเป็นเพียงคำบอกเล่าแบบปากต่อปากเท่านั้นอีกทั้งหลายๆเรื่องราวยังคงเป็นปริศนาที่หาคำตอบไม่ได้ แต่ในครั้งนี้พวกเราทีมงานสองพระก็รวบรวมเท่าที่ได้มาบอกเล่าให้คุณได้ฟังกันต่อในครั้งนี้ ว่ากันว่าหลวงปู่สรวงนั้นเดิมทีท่านเป็นชาวประเทศกัมพูชาหรือที่เรามักจะเรียกกันว่าชาวเขมร แล้วเดินทางมาอยู่ในประเทศไทยรวมถึงจำพรรษาที่วัดหลายแห่งในประเทศไทย และในคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แกบางคนก็บอกว่าท่านเป็นเจ้าจังหวัดศรีสะเกษโดยกำเนิด ซึ่งแท้จริงเป็นอย่างไรนั้นเรื่องราวนี้ก็ยังเป็นปริศนาที่ไม่มีใครทราบ แต่ที่ค่อนข้างแน่นอนก็คือชาวบ้านในยุคนั้นส่วนใหญ่มักจะเรียกท่านว่าลูกตาเบ๊าะ ซึ่งในภาษากัมพูชานั้นมีความหมายว่าพระดาบสที่เป็นผู้ทรงศีลที่อาศัยอยู่ตามป่าเขาและตามถ้ำ) และสำหรับบางคนก็จะเรียกกันว่าลูกเอ็อวเบ๊าะ อุปนิสัยของหลวงปู่นั้นท่านค่อนข้างเป็นคนรักสันโดษและมักน้อย ถือสมถะและมีอุเบกขาสูงสุด โดยส่วนใหญ่แล้วท่านมักจะจำวัดอยู่ ณ สำนักสงฆ์ที่ตั้งอยู่ในหมู่บ้านไพรบึงน้อย ซึ่งในปัจจุบันนั้นได้กลายเป็น “วัดไพรพัฒนา” ไปแล้ว รวมทั้งท่านยังมักอาศัยอยู่ตามกระท่อมปลายนาเล็กๆ โดยจะมีเพียงไม้กระดานสำหรับเพียงพอในการนอนเท่านั้นและทุกที่ที่หลวงปู่อยู่นั้นโดยส่วนใหญ่มักจะมีเสาไม้ที่ค่อนข้างสูงปักอยู่เสมอ และผู้คนมักจะสังเกตว่าจะมีเชือกสีขาวผูกเอาไว้ระหว่างกระท่อม และเมื่อลูกศิษย์ลูกหาที่ไปหาท่านก็มักจะพบว่ามีว่าวขนาดใหญ่ที่บุด้วยจีวร ซึ่งท่านจะทำเอาไว้เป็นสัญลักษณ์รวมถึงกระดาษแขวนต่างๆ และท่านมักจะให้ลูกศิษย์ช่วยก่อกองไฟเอาไว้ให้เสมอ ทุกครั้งที่ลูกศิษย์ไปหาหรือนำของไปถวายท่านก็จะโยนของที่รับมาจากลูกศิษย์เข้าไปในกองไฟ ดังนั้นหากสังเกตเห็นว่ามีสิ่งของเหล่านี้อยู่นั่นหมายความว่าหลวงปู่ท่านเคยได้จำวัดหรือเคยอยู่ที่นี่มาก่อน ครั้งหนึ่งเจ้าอาวาสวัดไพรพัฒนา ซึ่งก็คือหลวงพ่อพุฒ วายาโม (พระครูโกศลสิกขกิจ) ได้เล่าว่า หลวงปู่สรวงนั้นท่านเป็นพระที่มีอุปนิสัยรักสันโดษเมื่อไหร่ก็ตามที่ท่านได้รับปัจจัยมาท่านก็มักจะไม่ติดและมักจะทำทานให้กับผู้ยากไร้อยู่เสมอ ในบางครั้งท่านก็นุ่งขาวห่มขาวและในบางครั้งท่านก็นุ่งห่มเหลือง ซึ่งชาวบ้านที่พบเห็นก็จะทราบกันดีว่านั่นคือเรื่องปกติของท่าน เนื่องจากท่านเป็นมหามุนีเทพดาบสที่บุคคลโดยทั่วๆไปมักจะเรียกกันว่าหลวงปู่และมีกิจปฏิบัติเหมือนกับพระสงฆ์ทั่วไป  ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นเรียกได้ว่าหลวงปู่สรวงเป็นพระผู้มีความเมตตาและมักจะให้ทานแก่ชาวบ้านผู้ยากไร้อยู่เสมอท่านมรณภาพลงในช่วงปี 2543 […]

ประวัติความเป็นมา  “ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณ” เครื่องรางหายากที่ใครๆก็ใฝ่ฝัน  !

ประวัติความเป็นมา-ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ

หากมีใครถามถึงเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่นาคแห่งวัดอรุณนั้นแน่นอนว่าตะกรุดหนังหน้าผากเสือมักถูกเอ่ยถึงมาเป็นอันดับต้นๆ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้วันนี้เราได้รวบรวม ประวัติความเป็นมา  “ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณ” เครื่องรางหายากที่ใครๆก็ใฝ่ฝัน  ! มาฝากคุณกันไว้ที่นี่เพราะแน่นอนว่าเราจะมาบอกถึงรายละเอียดที่น่าสนใจที่อาจไม่ค่อยมีใครทราบมากนัก มาเพื่อให้แฟนๆชาวสองพระได้ทราบกันในครั้งนี้ ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจ และรายละเอียดไปพร้อมๆกันเลยดีกว่า  ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณฯ  จ. กรุงเทพมหานคร ก่อนอื่นเราจะพาคุณมาทราบถึงประวัติของหลวงปู่นาคแห่งวัชรอรุณในจังหวัดกรุงเทพมหานครกันก่อน ซึ่งเดิมทีนั้น ท่านมีชื่อว่านาค เดิมเป็นคนชาวจังหวัดปทุมธานีเป็นชาวบ้านที่ตำบลบางพูน ท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2415 ซึ่งตรงกับวันขึ้นห้าค่ำเดือนยี่เป็นปีมะโรงและเกิดในวันที่ 3 มกราคม ในวัยเด็กหลวงปู่นาดได้มีโอกาสเล่าเรียนทางด้านหนังสือภาษาไทยกับครูฟ้อน ซึ่งท่านสามารถอ่านออกเขียนได้ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ประมาณ 12 ปี ท่านก็ได้บวชเป็นสามเณรน้อยและอยู่กับเจ้าอธิการหว่าง ณ วัดสารพัดช่าง ซึ่งอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร(ต่อมาภายหลังนั้นท่านได้มีสมณศักดิ์ว่าพระครูธรรมนานุสาลีแห่งวัดเทียนถวาย)  หลวงปู่นาคได้เข้าสอบเป็นครั้งแรกในชีวิตช่วงปีพ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นปีที่ตรงกับปีขาล  และสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค หลังจากนั้นไม่นานพระอาจารย์ของท่านก็ได้ฝากท่านกับสมเด็จพระวันรัต (แดง) แห่ง วัดสุทัศน์ฯ จากนั้นต่อมาเมื่อเติบโตขึ้นก็เข้าพิธีอุปสมบท บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ และพระผู้เป็นพระอุปประชาให้กับท่านก็คือสมเด็จพระวันรัต(แดง) แห่งวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร และพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ก็คือหลวงพ่อหว่างแห่งวัดเทียนถวาย พิธีอุปสมบทของท่านเกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2435 ตรงกับปีมะโรง เมื่อท่านได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วท่านก็มีความตั้งอกตั้งใจในการปฎิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดและมีวินัยอย่างมาก […]

ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเอีย กิตติโก แห่งวัดบ้านด่าน เมืองปราจีนบุรี!

ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเอีย-กิตติโก-แห่งวัดบ้านด่าน

มาทางฝั่งจังหวัดปราจีนบุรีกันบ้างในครั้งนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเอีย กิตติโก แห่งวัดบ้านด่าน เมืองปราจีนบุรี!  ท่านคือลูกศิษย์สายตรงของหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า และแน่นอนว่าวัตถุมงคลต่างๆ ที่ท่านได้เคยสร้างเอาไว้ตั้งแต่สมัยที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น ค่อนข้างมีชื่อเสียงอย่างมาก ซึ่งในปัจจุบันยังคงเป็นที่ถามถึงอยู่เสมอ  ซึ่งในครั้งนี้เราจะพาท่านผู้อ่านที่ชื่นชอบพระเครื่องเป็นชีวิตจิตใจมาทราบถึงประวัติความเป็นมาของท่านพร้อมกับรู้จักวัตถุมงคลของท่านด้วยเช่นกัน และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับสาระที่น่าสนใจดังต่อไปนี้ก็เลยดีกว่า  ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเอีย กิตติโก  แห่งวัดบ้านด่าน เมืองปราจีนบุรี สำหรับพระครูสังวรกิตติคุณ หรือที่พวกเรามักจะรู้จักกันดีในนามหลวงพ่อเอีย กิตติโกนั้น เดิมทีท่านมีชื่อว่านาย เอีย ขยันคิด ท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2448 ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 9 เดือนพฤษภาคม ท่านเป็นชาวจังหวัดปราจีนบุรีเกิดอยู่ที่บ้านด่านตำบลเกาะลอยและตั้งอยู่ในอำเภอประจันตคาม ท่านเป็นลูกชายของคุณพ่อเธียว กับคุณแม่มา ขยันคิด ซึ่งทั้งคุณแม่และคุณพ่อของหลวงพ่อท่านได้เสียชีวิตไปตั้งแต่ท่านยังเด็กนัก ท่านเริ่มบวชเป็นสามเณรตั้งแต่อายุได้ประมาณ 17 ปีในช่วงปีพ.ศ. 2465 ซึ่งตรงกับวันที่8เดือนพฤษภาคม และเดิมทีนั้นท่านเป็นผู้ที่มีความเลื่อมใสต่อพระพุทธศาสนามากอยู่แล้ว รวมถึงชื่นชอบการศึกษาหาความรู้ทางธรรมอยู่เสมอ และหลังจากที่ได้บวชเป็นสามเณรก็ได้ทำให้ท่านมีโอกาสศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมรวมถึงทางด้านวิชาต่างๆ และในเวลาต่อมาเมื่อท่านได้ทราบถึงชื่อเสียงของหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่าจังหวัดชัยนาท จึงทำให้ท่านตัดสินใจออกเดินทางเพื่อไปกราบนมัสการหลวงปู่ศุขเนื่องจากหลวงปู่ศุขนั้นท่านเป็นผู้ส่งวิทยาคมและค่อนข้างเป็นเลิศทางด้านกรรมฐานอย่างยิ่งรวมทั้งท่านมีภูมิธรรมที่สูงยิ่งนัก และเมื่อได้มีโอกาสไปกราบนมัสการท่านก็ได้ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์และได้ศึกษาทางด้านวิทยาคม รวมถึงด้านพระกรรมฐานกับหลวงปู่ศุข เมื่อถึงช่วงเข้าพรรษาก็ได้กลับมาจำวัดอยู่ที่วัดบ้านด่านซึ่งเป็นวัดบ้านเกิดของท่านตามเดิม ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่สุข แห่ง วัดปากคลองมะขามเฒ่า ครั้งหนึ่งหลวงพ่อท่านเคยเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาของท่านได้ฟังว่า พุทธาคมที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมานั้นท่านได้รับมาจากหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งในระยะที่ท่านศึกษาเล่าเรียนอยู่กับหลวงปู่ศุขนั้น มีบ่อยครั้งที่ท่านได้มีโอกาสเห็นกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ […]

ประวัติความเป็นมาของ พระครูสถิตสมณวัตร (หลวงพ่ออ่ำ พุทธสโร) วัดอินทราราม เมือง ชัยนาท! 

ประวัติความเป็นมาของ-พระครูสถิตสมณวัตร-หลวงพ่ออ่ำ-พุทธสโร

มาทางจังหวัดชัยนาทกันบ้างซึ่งในครั้งนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติความเป็นมาของ พระครูสถิตสมณวัตร (หลวงพ่ออ่ำ พุทธสโร) วัดอินทราราม เมือง ชัยนาท !ซึ่งท่านเป็นพระยุคเก่าผู้ส่งวิทยาคมอย่างมาก เป็นผู้มีอำนาจบารมีและมีสมาบัติเป็นที่เคารพเลื่อมใสของชาวจังหวัดชัยนาททั้งในยุคก่อนและในยุคปัจจุบันไม่น้อย ซึ่งในครั้งนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับประวัติความเป็นมาของท่านไปพร้อมพร้อมกับได้นำวัตถุมงคลที่ผู้คนถามถึงอย่างมากของท่านมาให้คุณได้ทราบกัน ณ ที่นี้ ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจ พร้อมๆกันได้เลยดังต่อไปนี้ ประวัติความเป็นมาของ พระครูสถิตสมณวัตร (หลวงพ่ออ่ำ พุทธสโร)  วัดอินทราราม จ.ชัยนาท สำหรับประวัติความเป็นมาของพระครูสถิตสมณวัตร หรือที่เรารู้จักกันในนามหลวงพ่ออ่ำ พุทธสโร เรียกได้ว่าท่านเป็นพระยุคเก่าเนื่องจากท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2397 เดิมทีนั้นท่านเป็นชาวตำบลตลุกท่านเกิดอยู่ที่บ้านหนอง ท่านเป็นลูกชายของพ่อน้อย เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นแทนก็ได้ฝึกฝนวิชาหมัดมวยรวมถึงทางด้านคาถาอาคมนอกจากนี้ท่านยังมีลูกน้องอยู่หลายคนด้วยเช่นกัน อุปสมบท ท่านบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์เมื่ออายุได้ครบบวช โดยคุณแม่ของท่านได้นำท่านไปฝากไว้กับหลวงพ่อเกิด แห่งวัดตลุก ท่านบวชในช่วงปีพ.ศ. 2417 ซึ่งท่านมีความตั้งใจว่าต้องการจะบวชทดแทนบุญคุณบิดามารดาเพียงแค่ประมาณ 15 หรือ 20 วันเท่านั้นแต่หลังจาก 20 วันแล้วท่านกลับไม่ยอมสึก ด้วยความซาบซึ้งกับทางด้านพระธรรมท่านจึงบวชต่อและมุ่งเรียนทางด้านวิชาแพทย์แผนโบราณต่อจากนั้นท่านก็ได้เดินทางมายังจังหวัดนครราชสีมาหรือเมืองโคราช เหตุผลที่มาในจังหวัดแห่งนี้เนื่องจากท่านทราบว่ามีอาจารย์ดีอยู่หลายท่านที่มีความชำนาญเกี่ยวกับการรักษาโรคจากรากไม้และสมุนไพรไทย ดังนั้นท่านก็ได้เดินทางไปหาครูหมอยาซึ่งเป็นคฤหัสถ์ เมื่อไปถึงบ้านครูลูกสาวของครูก็ได้นำภัตตาหารมาถวาย เมนูนั้นก็คือเนื้อทอดหนึ่งจาน ซึ่งเจ้าของบ้านได้ใช้เวทมนต์เพื่อทำให้เมนูนั้นเป็นเนื้อทอดจึงทำให้หลวงพ่อท่านไม่ยอมฉัน จากนั้นหลวงพ่อท่านก็ได้ขายเวทมนต์ออกปรากฏว่าเนื้อทอดที่นำมาถวายเป็นภัตตาหารนั้นกลับกลายเป็นเศษไม้ จึงทำให้เจ้าของบ้านนั้นชื่นชมว่าท่านสามารถแก้บนต่างๆได้และด้วยเหตุนี้จึงยอมถ่ายทอดวิชาต่างๆให้ แต่มีข้อแม้ว่าหลวงพ่อต้องสึกออกมาเป็นฆราวาสเสียก่อน จึงให้หลวงพ่อจำเป็นต้องสึกออกมาเป็นระยะเวลาประมาณหกเดือนเพื่อศึกษาวิชาทางแพทย์พร้อมกับวิทยาคมต่างๆกับครูหมอ ก่อนที่จะกลับไปบวชใหม่และหลังจากนั้นหลวงพ่อท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์ไปยังชายแดนไทยกัมพูชาโดยใช้เวลาประมาณหกถึงเจ็ดปีก่อนที่จะกลับไปยังวัดตลุก ถัดมาอีกช่วงเวลาหลายปีหลวงพ่อเกิดท่านได้มรณภาพลงจึงทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสว่างและหลวงพ่ออ่ำ ท่านก็ได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อ […]