พระเบญจภาคี สุดยอดปรารถนาของวงการ ของดีที่มีมูลค่าไม่ธรรมดา

พระเบญจภาคี

     หากจะพูดถึงสุดยอดปรารถนา ของผู้ที่นิยมสะสมพระเครื่อง เห็นจะหนีไม่พ้น พระเบญจภาคี ซึ่งประกอบด้วย พระสมเด็จวัดระฆัง พระรอดมหาวัน พระนางพญาเมืองพิษณุโลก พระกำแพงซุ้มกอ พระผงสุพรรณ ไม่เพียงแต่พระเนื้อผง หรือ เนื้อดินเท่านั้น ยังมีพระชุด พระเบญจภาคีเหรียญ ซึ่งเราจะขออนุญาตให้ข้อมูลในครั้งต่อๆไป พระทั้ง 2 ชุดนี้เป็นที่ต้องการของ เซียนพระ เป็นอย่างมาก เพราะว่าเป็นของดีที่มีมูลค่าไม่ธรรมดา

พระเบญจภาคี

ต้นกำเนิดของพระเบญจภาคี

     สำหรับต้นกำเนิดของการจัดชุดพระเบญจภาคีนั้น เกิดขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 ในสมัยนั้นผู้นิยมสะสมพระเครื่อง มีสถานที่เป็นที่พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยน ความรู้ข่าวสาร ในวงการพระเครื่องอยู่ที่บริเวณร้านขายกาแฟของ มหาผัน เรียกกันติดปากว่า “บาร์มหาผัน” และเป็นจุดพบปะกันเป็นประจำของพ.อ.ผจญ กิตติประวัติ หรือ ท่านอาจารย์ตรียัมปวาย ,น.ท.สันทัด ร่วมกับเพื่อนอีกสองสามคน มีความคิดในเรื่องการจัดชุดพระ มาห้อยบูชากัน ซึ่งเน้นไปที่พระที่มีความสำคัญและเป็นที่นิยม จึงปรึกษากันอย่างจริงจัง

เริ่มต้นจาก "พระชุดไตรภาคี"

     พระที่เลือกมาเป็นองค์ประธานองค์แรกก็คือ พระสมเด็จวัดระฆัง เนื่องจากมีผู้เคารพศรัทธา สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี เป็นจำนวนมาก หรือเป็นที่นิยมสุดนั่นเอง อีกทั้งยังมีพุทธคุณครอบจักรวาล ด้วยพระคาถาที่ใช้ปลุกเสกพระคือ คาถาชินบัญชร ประกอบด้วยรูปทรงของพระเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดเหมาะสม จึงนำเอาไว้เป็นองค์กลาง จากนั้น จึงคิดหาพระอะไรที่จะมาห้อยเป็นองค์ซ้ายขวา ซึ่งต้องเป็นพระที่มีความเก่าแก่ มีความนิยม จนสรุปได้ว่า น่าจะเป็นพระรอดพิมพ์ใหญ่ กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นพระที่มีความเก่าแก่ มีจารึกไว้ว่า สร้างในสมัยพระนางจามเทวี เจ้าผู้ครองนครหริภุญชัย องค์แรก มีพุทธคุณเด่นทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัยนิรันตราย จึงนำมาสถิตอยู่ที่เบื้องซ้ายของสร้อย และนำพระนางพญา เมืองพิษณุโลกพิมพ์เข่าโค้ง ซึ่งสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตรีย์ พระมเหสีของพระมหาธรรมราชา และพระราชชนนีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาสุดสถิตอยู่ที่ด้านขวาของสร้อย ในครั้งแรกนี้ จัดชุดเพียง 3 องค์ จึงเรียกกันว่า พระชุดไตรภาคี

เปลี่ยนเป็นพระชุดเบญจภาคี

     หลังจากมีการจัดชุดพระสามองค์หรือพระไตรภาคีมาซักระยะหนึ่งเห็นว่าขนาดของพระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง กับพระรอดที่ห้อยคู่กันนั้น มีขนาดแตกต่างกัน จึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนเป็นชุด 5 องค์ แต่งชุดใหญ่เต็มสร้อย องค์แรกที่นึกถึงคือพระกรุทุ่งเศรษฐี พระเม็ดขนุน ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในขณะนั้น พุทธคุณเด่นทางด้าน โภคทรัพย์ สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราชลิไท แต่ต่อมาเห็นว่า พระเม็ดขนุนเป็นพระปางลีลา รวมกับรูปทรงเป็นรูปทรงยาวรี ซึ่งพระที่จัดชุดไว้นั้นเป็นพระประทับนั่งทั้งสิ้น เห็นจะไม่เข้ากัน

พระเบญจภาคี

     จึงเปลี่ยนมาเป็นพระกำแพงซุ้มกอ ซึ่งเป็นพระในบริเวณกรุทุ่งเศรษฐีเช่นเดียวกัน สร้างในสมัยเดียวกัน มาคู่กับพระนางพญา จึงมีความสมดุล เหมาะสม มีขนาดใกล้เคียงกัน ส่วนองค์สุดท้ายที่หาเข้ามาในการจัดชุด พระเบญจภาคี นั้น ได้ตกลงกันว่า เป็นพระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่ ค้นพบครั้งแรกที่กรุวัดพระศรีมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี มีจารึกลานทองระบุไว้ว่า พระมหาปิยะทัตสะสี ศรีสารีบุตร เป็นประธานในการจัดสร้าง จึงถือเป็นต้นกำเนิดของ พระเบญจภาคี ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

พระชุดเบญจภาคีประกอบด้วยพระ 5 องค์ดังนี้

พระเบญจภาคี

พระสมเด็จวัดระฆัง

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

ชื่อพระ/พิมพ์พระ

พระสมเด็จวัดระฆัง

ประเภท

พระพิมพ์เนื้อผงยอดนิยม ชุดเบญจภาคี

ผู้สร้าง

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี

สถานที่พบ/สร้าง

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ชื่อเดิม วัดบางหว้าใหญ่ 

Google map: maps.app.goo.gl 

ศิลปะ/ยุคสมัย

รัตนโกสินทร์ แบบพิมพ์มีที่มาจากทั้งฝีมือช่างราษฎร์และช่างหลวง

อายุการสร้าง

ประมาณ 150 ปี

เนื้อพระ

ปูนขาวที่ทำจากเปลือกหอย หรือเรียกว่าปูนเปลือกหอย ผสมด้วยผงพระพุทธคุณ 5 ประการ มวลสารมงคล เนื้อพระเมืองกำแพงป่น เนื้อกล้วยน้ำว้าสุก ประสานด้วยน้ำผึ้ง น้ำอ้อย และน้ำมันตังอิ้ว

พุทธลักษณะ

เป็นพระพิมพ์ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนกว้างขวาด้านกว้างเล็กน้อย นาน่าปรากฏเป็นองค์พระนั่งปางสมาธิ ด้านหลังองค์พระปาดเรียบ

กรรมวิธีการสร้าง

นำส่วนผสมมาโขลกตำจนเป็นเนื้อเดียวกัน ปั้นส่วนประถมนั้นให้เป็นแท่ง แบ่งเป็นก้อน แล้วนำไปกดใส่พิมพ์ด้วยมือ อัตราส่วนผสมที่เกินมาจากแม่พิมพ์ โดยใช้ใบตอก ปาดส่วนที่เกินออก จึงเรียกวิธีนี้ว่า ตอกตัด นำพระออกจากแม่พิมพ์ผึ่งลมจนแห้งสนิท

พุทธคุณ

ส่งเสริมด้านวาสนา สร้างสง่าราศี ลาภยศ ชื่อเสียง คุ้มครองป้องกันภัย รอบหน้ามาดูดดั่งแก้วสารพัดนึก

การแยกพิมพ์

พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่, พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เจดีย์, พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์เกศบัวตูม, พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ปรกโพธิ์, พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม

ราคาประมาณการ

10,000,000-120,000,000 บาท

พระรอด

กรุวัดมหาวัน จังหวัดลำพูน

ชื่อพระ/พิมพ์พระ

พระรอด กรุวัดมหาวัน

ประเภท

พระกรุเนื้อดินเผา ชุดเบญจภาคี

ผู้สร้าง

พระฤาษีคู่บารมีของพระนางจามเทวีทั้ง 5

สถานที่พบ/สร้าง

วัดมหาวัน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Google map: maps.app.goo.gl 

ศิลปะ/ยุคสมัย

หริภุญชัย

อายุการสร้าง

800 – 1,200 บาทขึ้นไป

เนื้อพระ

ดินผสมว่านยาเกสรดอกไม้

พุทธลักษณะ

ด้านหน้ามีรูปองค์พระ ปางมารวิชัย 

กรรมวิธีการสร้าง

นำดินมากรอง ผสมกับผงว่าน เกสรดอกไม้ คลุกเคล้านวดตำจนเป็นเนื้อเดียวกัน นำมาแบ่งเป็นก้อนใส่แม่พิมพ์ นำออกจากแม่พิมพ์ตกแต่งด้วยมือ นำมาผึ่งลมไม่มีการตัดขอบ แล้วจะนำไปเผา

พุทธคุณ

ส่งเสริมในด้าน แคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม

การแยกพิมพ์

พระรอดพิมพ์ใหญ่ พระรอดพิมพ์กลาง พระรอดพิมพ์เล็ก พระรอดพิมพ์ตื้น พระรอดพิมพ์ต้อ

ราคาประมาณการ

2,000,000-10,000,000 บาท

พระเบญจภาคี

พระกำแพงซุ้มกอ

กรุทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร

ชื่อพระ/พิมพ์พระ

พระกำแพงซุ้มกอ

ประเภท

พระกรุเนื้อดินเผา ชุดเบญจภาคี

ผู้สร้าง

พระมหาธรรมราชาลิไท

สถานที่พบ/สร้าง

กรุพระในวัดต่างๆ เช่น วัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษี และวัดที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตที่เรียกกันว่า ลานทุ่งเศรษฐี ในจังหวัดกำแพงเพชร

Google map: 

maps.app.goo.gl 

ศิลปะ/ยุคสมัย

สุโขทัยผสมอิทธิพลศิลปะพระลังกา

อายุการสร้าง

ประมาณ 600 ปีขึ้นไป

เนื้อพระ

ดินกรองละเอียดผสมผงว่านเกสรดอกไม้

พุทธลักษณะ

เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผารูปทรงโค้งมน คล้ายกับเล็บมือ ด้านหน้าปรากฏองค์พระปางสมาธิประทับนั่งอยู่เหนือฐานบัว เรียกเล่นๆว่าเล็บช้าง มีด้วยกัน 5 กลีบ ครอบเศียรมีเส้นเส้นรัศมี มีลักษณะคล้ายอักษร ก.ไก่ รอบวง มีเส้นลายกนก จึงเป็นที่มาของชื่อเรียก พระซุ้มกอ

กรรมวิธีการสร้าง

นำดินมาล้างกรองหมักนวดคลุกเคล้าด้วยผงว่านเกสรดอกไม้ ทำนวดได้ที่แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนใส่แม่พิมพ์ กดด้วยนิ้วมือปาดหลังเรียบ นำออกจากแม่พิมพ์ ตัดขอบข้าง ๆผึ่งให้แห้งแล้วนำไปเผาไฟ

พุทธคุณ

ได้รับการยกย่องให้เป็น เจ้าพ่อแห่งร้านทุ่งเศรษฐี จึงเป็นที่มาให้คนในวงการเรียกได้ว่า มีกูไว้ไม่จน

การแยกพิมพ์

พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกนก, พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่,ไม่มีกนก พระซุ้มกอพิมพ์กลาง, พระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี๊ยะ

ราคาประมาณการ

1,000,000-10,000,000 บาท

พระผงสุพรรณ

กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณบุรี

ชื่อพระ/พิมพ์พระ

พระผงสุพรรณ

ประเภท

พระกรุเนื้อดินเผา ชุดเบญจภาคี

ผู้สร้าง

สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 โดยมีพระมหาเถระปิยทัตสะสี ศรีสาลีบุตร เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และพระฤาษีพิมพ์มาลัย หรือทิวาลัยเป็นประธานฝ่ายฤาษี

สถานที่พบ/สร้าง

กรุพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Google map: maps.app.goo.gl 

ศิลปะ/ยุคสมัย

อู่ทอง

อายุการสร้าง

มากกว่า 500 ปี

เนื้อพระ

ดินผสมว่านเกสรดอกไม้

พุทธลักษณะ

เป็นพระพิมพ์เนื้อดินเผารูปทรงสามเหลี่ยมยอดตัด ด้านหน้าปรากฏเห็นองค์พระพุทธรูปปางมาระวิชัยประทับนั่งอยู่เหนือฐานเขียง ด้านหลังองค์พระปรากฏเป็นรอยกดนิ้วมือ มีอยู่ด้วยกัน 2 แบบคือลายมัดหวายกับลายก้นหอย

กรรมวิธีการสร้าง

นำดินมากรองให้สะอาด ผสมมวลสารว่านเกสรดอกไม้ คลุกเคล้า บด ตำ นวด ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน มันเป็นก้อนใส่แม่พิมพ์ กดอัดด้วยวัสดุผิวเรียบ นำมาประทับลายนิ้วมือก่อนออกจากแม่พิมพ์ จากนั้นเข้าสู่กระบวนการเผา

พุทธคุณ

เสริมสง่าราศีปัญญาบารมี แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม

การแยกพิมพ์

พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าแก่, พระผงสุพรรณพิมพ์หน้ากลาง, พระผงสุพรรณพิมพ์หน้าหนุ่ม

ราคาประมาณการ

5,000,000-10,000,000 บาท

พระนางพญา

วัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

ชื่อพระ/พิมพ์พระ

พระนางพญา

ประเภท

พระกรุเนื้อดิน ชุดเบญจภาคี

ผู้สร้าง

สันนิษฐานว่าสร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์พระมเหสีในสมเด็จพระมหาธรรมราชา

สถานที่พบ/สร้าง

บริเวณวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก

Google map: maps.app.goo.gl 

ศิลปะ/ยุคสมัย

อยุธยาตอนต้น

อายุการสร้าง

ประมาณ 400 ปี

เนื้อพระ

ดินผสมว่าน

พุทธลักษณะ

เป็นพระพิมพ์สามเหลี่ยม องค์พระประทับนั่งปางมารวิชัยปรากฏเส้นสังฆาฏิชัดเจน มีเม็ดแร่ปรากฏให้เห็นประปราย

กรรมวิธีการสร้าง

กดแม่พิมพ์แบบโบราณ ตัดขอบข้างด้วยของมีคม

พุทธคุณ

เมตตา แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี

การแยกพิมพ์

พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง, พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง, พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่, พระนางพญาพิมพ์อกนูนเล็ก, พระนางพญาพิมพ์สังฆาฏิ, พระนางพญาพิมพ์ทรงเทวดา(อกแฟบ)

ราคาประมาณการ

3,000,000-10,000,000 บาท

พระเบญจภาคี

ลำดับการห้อยพระเบญจภาคี

สำหรับวิธีการจัดชุดพระเบญจภาคีในสร้อยคอ  หรือ วิธีห้อยพระเบญจภาคี จะมีลำดับดังนี้ 

  • ตำแหน่งกลาง พระสมเด็จวัดระฆังเป็นองค์ประธาน
  • ตำแหน่งบนซ้าย พระรอดลำพูน
  • ตำแหน่งบนขวา พระผงสุพรรณ
  • ตำแหน่งกลางซ้าย พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) 
  • ตำแหน่งกลางขวา พระนางพญา พิษณุโลก

ในส่วนของ การเรียงลำดับพระเบญจภาคี แบ่งออกได้เป็นหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การเรียงตามลำดับความนิยม หรือ เรียงตามลำดับความเก่าแก่ ดังนี้

การเรียงลำดับพระเบญจภาคี ตามความนิยม

  1. พระสมเด็จวัดระฆัง 
  2. พระรอดวัดมหาวัน 
  3. พระซุ้มกอกําแพงเพชร 
  4. พระผงสุพรรณ 
  5. พระนางพญา

การเรียงลำดับพระเบญจภาคี ตามอายุการสร้าง

  1. พระรอดวัดมหาวัน 
  2. พระกำแพงซุ้มกอ 
  3. พระผงสุพรรณ 
  4. พระนางพญา 
  5. พระสมเด็จวัดระฆัง
พระเบญจภาคี

การจัดชุดพระเบญจภาคี อื่นๆ

     ไม่เพียงแค่มีการจัดชุด พระเบญจภาคี ที่มีการสร้างมาจาก เนื้อดินหรือเนื้อผงเท่านั้น ยังมีการจัดชุดในรูปแบบอื่นๆ เช่น พระเบญจภาคีเนื้อชิน พระเบญจภาคีเหรียญ (แยกเป็นเหรียญพระพุทธ เหรียญพระคณาจารย์), พระเบญจภาคีเหรียญหล่อ, เบญจภาคีพระปิดตา, เบญจภาคีพระกริ่ง ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าเราจะนำข้อมูลที่น่าสนใจเหล่านี้ มาฝากทุกท่าน ในครั้งต่อๆไป กดไลค์ กดแชร์กด ติดตามเราไว้ได้เลย รับรองว่าทุกท่านจะไม่ผิดหวัง

Table of Contents