
สำหรับผู้ที่จะชอบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่อง และต้องการทราบเรื่องราวเกี่ยวกับ พระเนื้อว่าน ต้องห้ามพลาด! เพราะวันนี้ เราได้รวบ รวมประวัติความเป็นมากับ “พระเนื้อว่าน” สุดขลังที่หายาก ! มาฝาก พร้อมกับประวัติความเป็นมาของพระเนื้อว่านยอดนิยมที่หายาก หากอยากทราบกันแล้วว่ามีเนื้อหาและข้อมูลใด ที่น่าสนใจอย่างไรบ้าง อย่ารอช้าเราไปดูกันเลย
ก่อนอื่นจะพาคุณมาทำความรู้จักกับพระเนื้อว่านว่าคืออะไร ซึ่งพระเนื้อว่านที่เรามักจะเห็นกันอยู่บ่อยๆนั้น มาจากการนำดินมาผสมกับเนื้อว่านและน้ำว่านต่างๆ ซึ่งกรรมวิธีในการสร้างพระเนื้อว่าน นั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ
โดยการนำว่าน 108 นำมาตำให้ละเอียดโดยใช้ครกหินจากนั้นนำส่วนผสมได้แก่ ดินกากยายักษ์คราบไคลสถูปเก่า , ผงขี้ธูป , กล้วยป่า, ดอกไม้แห้ง, น้ำพระพุทธมนต์และแร่ต่างๆ แล้วนำมาทำพิธีสร้างพระและปลุกเสก มวลสารในองค์พระนั้นส่วนมากจะมีสีดำ สีขาวอมเหลือง และสีน้ำตาล
ซึ่งพระเนื้อว่านยอดนิยมนั้นจะมี 2 ประเภท คือ พระเนื้อว่านยุคเก่า ซึ่งถูกขุดพบจากกรุเก่าต่างๆ ที่มีอายุเก่าแก่ ยกตัวอย่างเช่น พระเนื้อว่านจำปาสัก (จากประเทศลาว), พระเนื้อว่านหน้าทอง (จากจังหวัดสุโขทัย) และพระเนื้อว่านหน้าทอง (จากจังหวัดกำแพงเพชร)
ส่วนพระเนื้อว่านยอดนิยมอีกประเภทหนึ่งคือ พระเนื้อว่านที่พระเกจิอาจารย์ชื่อดังเป็นผู้สร้าง ยกตัวอย่างเช่น พระเนื้อว่านหลวงปู่ทวด วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานี ที่ถูกปลุกเสกสร้างในปีพ.ศ. 2497 และสร้างโดยพระครูวิสัยโสภณ หรือท่านอาจารย์ทิม ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดช้างไห้จังหวัดปัตตานีนั่นเอง ซึ่งในการสร้างพระครั้งนั้น นั้นถูกแบ่งออกเป็น 3 หลายพิมพ์ด้วยกัน คือ พิมพ์เล็ก พิมพ์กลาง และพิมพ์ใหญ่
โดยให้คุณใช้ธูป 9 ดอก ใช้เทียน 2 คู่ และให้ใช้ดอกไม้ด้วยกัน 2 คู่ พร้อมกับการด้วยคาถาอาราธนาและตามด้วยพระคาถาคาถาอิทธิฤทธิ์ จากนั้นให้คุณจุดธูปทั้ง 9 ดอก แล้วกล่าวว่า “ขออำนาจจากเทพยาดาที่ปกปักษ์รักษาคุ้มครองว่านที่อยู่ในองค์พระนี้ จงโปรดเมตตาช่วยให้ข้าพเจ้าสำเร็จในผลด้าน (…..อธิษฐานตามความปรารถนา……………….)
คาถาอาราธนา
“พุทธัง อาราธนาณัง ธัมมังอาราธนาณัง สังฆังอาราธนาณัง
พุทธังประสิทธิเม ธัมมังประสิทธิเม สังฆังประสิทธิเม”
คาถาอิทธิฤทธิ์
” อิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง ขอเดช เดชะ เดชัง
จงมาเป็นที่พึ่งแก่ มะอะอุ นี้ด้วยเทอญ”
ได้ทราบข้อมูลของพระเนื้อว่าน และประวัติความเป็นมากันไปแบบคร่าวๆไปแล้ว ต่อไปเราจะมาพูดถึง 7 พระเนื้อว่าน ยอดนิยมที่หายาก ซึ่งแต่ละรุ่นนั้นมีประวัติความเป็นมาที่เก่าแก่แบบไม่ธรรมดากันเลยทีเดียว ยิ่งหากจะเอ่ยถึงเรื่องของพุทธคุณกันแล้ว ยิ่งมีความขลังที่ไม่เป็นรองกันเลย นอกจากนี้แต่ละองค์นั้น ยังหายาก มีราคาสูง และเป็นองค์ที่ผู้นิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลาย ต่างปรารถนาอยากได้มาครอบครองบูชากันเป็นอย่างมาก หากอยากทราบกันแล้ว อย่ารอช้า เราไปดูกันเลยดีกว่า!
สำหรับพระเนื้อว่านหลวงปู่ทวดนี้ ถือเป็นพระเนื้อว่านยอดนิยมที่มีราคาถูกมากในปัจจุบัน เป็นพระเครื่องที่ผู้นิยมสะสมพระเครื่องและนักสะสมหลายท่านให้ความนิยม และมีความปรารถนาต่างอยากได้มามีไว้ครอบครองบูชา มีพิมพ์ยอดนิยมคือพิมพ์ใหญ่หรือที่เรียกกันว่า “ไหล่จุด” นั่นเอง
ถูกสร้างในปีพ.ศ. 2497 ซึ่งสร้างโดยพระครูวิสัยโสภณ หรือที่เรียกกันว่าท่านอาจารย์ทิม ซึ่งท่านเคยเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดช้างให้จังหวัดปัตตานี ซึ่งการสร้างพระในครั้งนี้มีกรับกรรมวิธีแบบโบราณโดยใช้ว่าน 108 ต้องขออธิบายเพิ่มเติมก่อนว่า ว่าน 108 นี้ ไม่ได้หมายถึงว่าน 108 ชนิด แต่หมายถึงพุทธคุณของคำว่า108 ก็คือ “ได้ทุกสิ่งอะไรก็ได้ศักดิ์สิทธิ์”
กรรมวิธีในการตั้งพระเนื้อว่านหลวงปู่ทวดนี้ คือ ทำตามวิธีแบบโบราณโดยการนำว่าน 108 มาบทตามด้วยครกหินตำข้าวอย่างละเอียด จากนั้นก็นำส่วนผสมซึ่งได้แก่ ดินกากยายักษ์คราบไคลสถูปเก่า , ผงขี้ธูป , กล้วยป่า, ดอกไม้แห้ง, น้ำพระพุทธมนต์และแร่ต่างๆ แล้วนำมาทำพิธีสร้างพระและปลุกเสก
ซึ่งความโดดเด่นของพุทธคุณพระเนื้อว่านหลวงปู่ทวดนี้ ก็คือ “ครอบจักรวาล” หรือเข้าใจกันง่ายๆได้ว่ามีพุทธคุณที่ครบทุกด้านนั่นเอง ซึ่งมีความเข้มขลังเป็นอย่างมากจนเป็นเรื่องราวเล่าขานต่อๆกันมาจากใครหลายคน
หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่ยอดนิยม (ไหล่จุด) วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี
ชื่อ | หลวงปู่ทวดเนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่ยอดนิยมซี (ไหล่จุด) วัดช้างไห้ จ.ปัตตานี |
ประเภท | พระเนื้อว่าน |
ผู้สร้าง | ท่านอาจารย์ทิม |
ศิลปะยุค | พ.ศ 2497 |
อายุการสร้าง | 60 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างโดยกรรมวิธีแบบโบราณ โดยการนำว่าน 108 มาตำในครกหินตำข้าว บดให้ละเอียดและนำมาผสมกับส่วนผสมและสิ่งมงคลต่างๆจากนั้นจึงนำมาปลุกเสกและสร้างพระ |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อว่าน |
การแยกพิมพ์ | ถูกแบ่งได้เป็นสามพิมพ์คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก และพิมพ์กลาง |
พุทธคุณ | ครอบจักรวาล |
พุทธลักษณะ | องค์พระนั้นมีหัวไหล่ด้านซ้าย เป็นนูนหนาริมฝีปากด้านล่างเป็นเส้นตรงและเนื้อตรงข้อศอกขวาขององค์พระนั้นมีเหลือเกินเป็นก้อนตรงบริเวณผนัง และมีเหลือเกินบริเวณแขนซ้ายที่ใกล้กับเส้นสังฆาฏิ |
มูลค่าราคาประมาณการ | หลักล้านบาท |
วิธีการบูชาหลวงปู่ทวด
ให้ใช้ธุปแขกเป็นจำนวน 9 ดอก พร้อมทั้งดอกมะลิสีขาว 9 ดอก
จากนั้นให้คุณตั้ง นะโม 3 จบ แล้วตามด้วย ท่องคาถาบูชา
คาถาบูชาหลวงปู่ทวด
ให้เราตั้งนะโม (3 จบ)
“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา”
ความหมายของคำแปลบทสวดมีความหมายว่า
“ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด
ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชคซึ่งเข้ามาสถิตอยู่ในตัวของข้าพเจ้านี้”
พระหลวงปู่ทวดรุ่นแรก เนื้อว่าน พิมพ์กลาง พ.ศ. ๒๔๙๗
ชื่อ | พระหลวงปู่ทวดรุ่นแรก เนื้อว่าน พิมพ์กลาง พ.ศ.๒๔๙๗ |
ประเภท | พระเนื้อว่าน108 |
ผู้สร้าง | ท่านอาจารย์ทิม |
ศิลปะยุค | พ.ศ 2497 |
อายุการสร้าง | 60 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | ถูกสร้างโดยกรรมวิธีแบบโบราณ โดยการนำว่าน 108 มาตำในครกหินตำข้าว บดให้ละเอียดและนำมาผสมกับส่วนผสมและสิ่งมงคลต่างๆจากนั้นจึงนำมาปลุกเสกและสร้างพระ เช่นเดียวกันกับ พิมพ์ใหญ่ |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อว่าน108 และเกสรดอกไม้ มงคลต่างๆ |
การแยกพิมพ์ | ถูกแบ่งได้เป็น 3 พิมพ์คือพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก และพิมพ์กลาง |
พุทธคุณ | ครอบจักรวาล |
พุทธลักษณะ | รูปลักษณะในอิริยาบท ปางนั่งขัดสมาธิ บนดอกบัว |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
วิธีการบูชาหลวงปู่ทวด
ให้ใช้ธุปแขกเป็นจำนวน 9 ดอก พร้อมทั้งดอกมะลิสีขาว 9 ดอก
จากนั้นให้คุณตั้ง นะโม 3 จบ แล้วตามด้วย ท่องคาถาบูชา
คาถาบูชาหลวงปู่ทวดรุ่นแรก เนื้อว่าน พิมพ์กลาง พ.ศ.๒๔๙๗
ให้ตั้งนะโม (3 จบ)
“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา”
ความหมายของคำแปลบทสวดมีความหมายว่า
“ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด
ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชคซึ่งเข้ามาสถิตอยู่ในตัวของข้าพเจ้านี้”
สำหรับพระเนื้อว่านสายใต้ หรือพระเครื่องจากภาคใต้บ้านเรานั้น ต้องขอยกให้กับหลวงปู่ทวด ที่ทุกรุ่นมีความเข้มขลัง และโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณครอบจักรวาล ซึ่งเป็นที่เลื่องลือกันอย่างมากมายเลยทีเดียว และในขณะนี้พระเนื้อว่านของหลวงปู่ทวดนั้นยังคงเป็นที่นิยม สำหรับผู้นิยมสะสมพระเครื่องและนักสะสมกันอยู่ในปัจจุบัน นอกจากจะหายากและยังมีราคาแพงอีกด้วย ซึ่งบางองค์มีราคาถึงหลักล้าน ถือว่าแพงแบบสุดๆไปเลยๆ
พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นพินัยกรรม พิมพ์พระรอด
และในวันนี้เราจะมาบอกเล่า ถึงประวัติของพระเนื้อว่านสายใต้ที่หายากอีกหนึ่งองคือ พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน รุ่นพินัยกรรม พิมพ์พระรอด สำหรับพระเนื้อว่านรุ่นพินัยกรรมของหลวงปู่ทวดรุ่นนี้ถูกสร้างจากเนื้อว่านที่เหลือจากการสร้างหลวงปู่ทวดเนื้อว่านรุ่นแรกเมื่อปี 2497
ซึ่งการสร้างพระหลวงปู่ทวดในแต่ละรุ่นนั้น ส่วนใหญ่มักจะสร้างด้วยเนื้อว่าน 108 เป็นมวลสารหลัก ซึ่งสำหรับพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่านรุ่นพินัยกรรมพิมพ์พระรอดรุ่นนี้ ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2512 ผู้สร้างคือพระอาจารย์ทิม (อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้จังหวัดปัตตานี)
ซึ่งกรรมวิธีในการสร้างก็คือทำตามกรรมวิธีแบบพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรกเมื่อปี พ.ศ 2497 สำหรับรุ่นนี้มีการแบ่งพิมพ์ได้ถึง3 พิมพ์ คือ พิมพ์กรรมการ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์พระรอด
พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน รุ่นพินัยกรรม พิมพ์พระรอด
ชื่อ | พระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน รุ่นพินัยกรรม พิมพ์พระรอด |
ประเภท | พระเนื้อว่าน (พิมพ์พระรอด) |
ผู้สร้าง | พระอาจารย์ทิม |
ศิลปะยุค | พ.ศ 2512 |
อายุการสร้าง | 50 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างตามกรรมวิธีเดียวกันกับ การสร้างพระหลวงปู่ทวดรุ่นแรก |
เนื้อพระ/มวลสาร | ว่าน 108 |
การแยกพิมพ์ | มีการแบ่งพิมพ์ได้ถึง3 พิมพ์ คือ พิมพ์กรรมการ พิมพ์ใหญ่ และพิมพ์พระรอด |
พุทธคุณ | ครอบจักรวาล |
พุทธลักษณะ | มีรูปลักษณะเป็นองค์พระปางนั่งสมาธิ |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
วิธีการบูชาหลวงปู่ทวด
ให้ใช้ธุปแขกเป็นจำนวน 9 ดอก พร้อมทั้งดอกมะลิสีขาว 9 ดอก
จากนั้นให้คุณตั้ง นะโม 3 จบ แล้วตามด้วย ท่องคาถาบูชา
พระคาถาบูชาพระหลวงปู่ทวด เนื้อว่าน รุ่นพินัยกรรม
ให้ตั้งนะโม (3 จบ)
“นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา
นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา”
ความหมายของคำแปลบทสวดมีความหมายว่า
“ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด
ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ เป็นผู้มีโชคซึ่งเข้ามาสถิตอยู่ในตัวของข้าพเจ้านี้”
สำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์ที่ต้องการทราบถึงพระเนื้อว่านประจำตัว ของผู้ที่เกิดวันเสาร์เพื่อเพิ่มความเป็นสิริคล ต้องห้ามพลาดแล้วสำหรับครั้งนี้ เรามีพระเนื้อว่านวันเสาร์มาฝาก รวมทั้งตัวอย่างของพระเนื้อว่านวันเสาร์ และประวัติความเป็นมา ซึ่งเราได้รวบรวมนำมาไว้ที่นี่ หากอยากทราบกันแล้วว่ามีความเป็นมาอย่างไร เรามาดูพร้อมๆ กันเลย
สำหรับพระเนื้อว่านวันเสาร์นั้น ต้องขอยกให้กับ พระมหาว่านดำ จากสำนักเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง ซึ่งมีประวัติความเป็นมาในการสร้างก็คือถูกสร้างขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับทหาร และนักรบในขณะที่กำลังมีสงครามอินโดจีน สร้างโดยพระครูสิทธิยาภิรัติ (อ.เอียด ซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดดอนศาลาที่) เมื่อปี พ.ศ 2483
ซึ่งใช้กรรมวิธีและการปลุกเสกแบบทางใต้ และผู้นำมวลสารมาใช้ประกอบพิธีต้องเป็น อ.นำและขุนพันธ์เท่านั้น เป็นมวลสารที่เรียกกันว่า ต้นไม้พิสดาร มีพุทธคุณที่มีความเข้มขลังในหลายๆด้าน เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี เป็นอีกหนึ่งเรื่องยอดนิยม สำหรับเหล่าผู้นิยมบูชาพระเครื่องกันเป็นอย่างมาก ถือเป็นพระมหามงคลสำหรับผู้ที่เกิดวันเสาร์อีกด้วย
พระมหาว่านดำ จากสำนักเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง
ชื่อ | พระมหาว่านดำ จากสำนักเขาอ้อ จังหวัดพัทลุง |
ประเภท | พระเนื้อว่าน |
ผู้สร้าง | พระครูสิทธิยาภิรัติ ( อ.เอียด ) |
ศิลปะยุค | พ.ศ 2483 |
อายุการสร้าง | 80 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | เป็นกรรมวิธีและการปลุกเสกแบบทางใต้ ที่ผู้นำมวลสารมาใช้ประกอบพิธีต้องเป็น อ.นำและขุนพันธ์เท่านั้น เป็นมวลสารที่เรียกกันว่า ต้นไม้พิสดาร |
เนื้อพระ/มวลสาร | ว่านดำและมวลสารจาก อ.นำและขุนพันธ์ |
การแยกพิมพ์ | – |
พุทธคุณ | เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี และอีกหลายๆด้าน |
พุทธลักษณะ | องค์พระอยู่ในอิริยาบท นังขัดสมาธิ |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
ได้ทราบพระเนื้อว่านกันไปมากมายแล้ว ต่อไปเราจะพาคุณไปรู้จักกับ พระว่านจำปาศักดิ์ รวมทั้งเรื่องเล่าประวัติความเป็นมา ที่เราเชื่อว่าใครหลายคนต้องเคยอยากทราบกันแน่ๆ ซึ่งพระว่านจำปาศักดิ์ นั้น ถือ
เป็นพระเนื้อว่านที่ถูกพบมากที่สุด ในสมัย ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังเป็นนายกรัฐมนตรี ในการสร้างพระเนื้อว่านจำปาศักดิ์ นั้น เป็นการสร้างพระที่ทำจากเนื้อว่านสดๆ จากนั้นก็นำมากดในแม่พิมพ์พระ และเมื่อพระจะมีลักษณะเป็นรอยย่น มีความบิดเบี้ยว และหดตัว เวลาที่แห้งแล้ว และจะมีการพบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และส่วนมากจะถูกค้นพบที่องค์พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
เพราะว่าจำปาสักนั้นถูกสร้างขึ้นโดย “พระครูขี้หอม” ที่ชาวบ้านชอบเรียกหรือพระครูโพนสะเม็ก นั่นเอง ซึ่งพระครูขี้หอมนี้ ถือว่าเป็นผู้มีบทบาทในการทำการบูรณะองค์พระธาตุ เมื่อปี พ.ศ. 2236 หรือเมื่อช่วง 300 ปีที่ผ่านมา
ซึ่งในขณะที่ท่านได้ทำการบูรณะอยู่นั้น ก็ได้ทำการหล่อพระพุทธรูปทองคำ เงิน และนากต่างๆ รวมไปถึงได้สร้างพระเครื่องเนื้อว่านที่ประสมด้วยขี้ครั่ง ทางภาคอีสานเรียกพระเนื้อว่านประเภทนี้ว่า “พระขี้ครั่ง” และนำไปบรรจุไว้ในองค์พระธาตุหลังทำการบูรณะนั่นเอง
พระว่านจำปาศักดิ์
ชื่อ | พระจำปาศักดิ์ |
ประเภท | พระเนื้อว่าน |
ผู้สร้าง | พระครูโพนสะเม็ก หรือ พระครูขี้หอม |
ศิลปะยุค | ช่วงปี พ.ศ 2256 |
อายุการสร้าง | 300 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | ใช้กรรมวิธีเดียวกันกับการสร้างพระธาตุ |
เนื้อพระ/มวลสาร | พระเนื้อว่าน |
การแยกพิมพ์ | – |
พุทธคุณ | อยู่ยงคงกระพัน ป้องกันพิษถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย มหาเสน่ห์ |
พุทธลักษณะ | มีรูปลักษณะองค์พระใหญ่จะตื้นบางเป็นเนื้อว่านล้วน ที่มีความแห้งหดตัว มีศิลปะแบบเชียงรุ้ง เชียงแสน |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
วิธีบูชาพระเนื้อว่าน
โดยให้คุณใช้ธูป 9 ดอก ใช้เทียน 2 คู่ และให้ใช้ดอกไม้ด้วยกัน 2 คู่ พร้อมกับการด้วยคาถาอาราธนาและตามด้วยพระคาถาคาถาอิทธิฤทธิ์ จากนั้นให้คุณจุดธูปทั้ง 9 ดอก แล้วกล่าวว่า “ขออำนาจจากเทพยาดาที่ปกปักษ์รักษาคุ้มครองว่านที่อยู่ในองค์พระนี้ จงโปรดเมตตาช่วยให้ข้าพเจ้าสำเร็จในผลด้าน (…..อธิษฐานตามความปรารถนา……………….)
คาถาอาราธนา
“พุทธัง อาราธนาณัง ธัมมังอาราธนาณัง สังฆังอาราธนาณัง
พุทธังประสิทธิเม ธัมมังประสิทธิเม สังฆังประสิทธิเม”
คาถาอิทธิฤทธิ์
” อิทธิฤทธิ พุทธะนิมิตตัง ขอเดช เดชะ เดชัง
จงมาเป็นที่พึ่งแก่ มะอะอุ นี้ด้วยเทอญ”
สำหรับพระลีลา กำแพงเพชร จากจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็น ซึ่งล้วนแต่มีพุทธคุณที่ครบครัน อันเป็นที่เลื่องลือแก่นักสะสมและผู้นิยมบูชาเป็นอย่างมาก และวันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลประวัติที่มาของ 3 พิมพ์ หายากมาฝาก ซึ่งถือเป็นพระเนื้อว่านที่เก่าแก่มาก ที่มีทั้งเนื้อว่านล้วนๆ และเนื้อดินเผาผสมว่าน หากอยากทราบกันแล้วว่ามีพิมพ์ใดนั้น เราไปดูกันเลยดีกว่า
เริ่มกันที่ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน ที่ใครหลายคนคงได้ยินชื่อเสียงถึงความเก่าแก ที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนนี้มีอายุกว่า 600 ปี ถูกพบบริเวณลานทุ่งเศรษฐีแถบวัดพิกุล วัดบรมธาตุ
มีพุทธะลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน มีรูปลักษณะคล้ายกับกำลังก้าวย่างหันด้านข้างให้เห็น ขอบสูงรอบองค์มีความลึกพระซึ่งพระประธานประทับยืนอยู่ติดผนัง
เป็นพระดินผสมเนื้อว่านและเกษรดอกไม้ต่างๆซึ่งมีความคล้ายกับวัดกำแพงซุ้มกอเป็นอย่างมากมีพุทธศิลป์รับประที่งดงามปราณีตและมีความวิจิตรถูกสันนิษฐานว่าได้จำลองมาจากพระพุทธรูปปางลีลาในสมัยสุโขทัย และได้เป็นที่เลื่องลือในพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี สำหรับผู้ที่ค้าขายหากได้มีไว้ในครอบครองบูชาแล้วก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่ากันเลยทีเดียว
พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน
ชื่อ | พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน |
ประเภท | พระเนื้อดินผสมว่าน |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | สุโขทัย |
อายุการสร้าง | 600 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างแบบวิธีโบราณที่มีการนำดินมาเผา แล้วนำมาผสมกับว่านและเกสรดอกไม้ต่างๆ |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดินเผาผสมกับเนื้อว่าน |
การแยกพิมพ์ | 3 พิมพ์ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน, พระกำแพงลีลาพลูจีบ และ พระกำแพงลีลา กลีบจำปา |
พุทธคุณ | เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี |
พุทธลักษณะ | มีพุทธะลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุน มีรูปลักษณะคล้ายกับกำลังก้าวย่างหันด้านข้างให้เห็น ขอบสูงรอบองค์มีความลึกพระซึ่งพระประธานประทับยืนอยู่ติดผนัง |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
คาถาบูชาปางพระลีลา
( ให้ ตั้งนะโม 3 จบ )
“อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
มหาเศรษฐี มีมาธะนัง สุขสวัสดิลาภัง ภะวันตุเม”
มารู้จักกับพระกำแพงลีลาภูจีบซึ่งเป็นพระกำแพงอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมและหายากเช่นเดียวกัน ได้มีการค้นพบที่บริเวณวัดพระมหาธาตุและวัดพิกุลของลานทุ่งเศรษฐี ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกันกับที่พบพระกำแพงลีลาเม็ดขน นั่นเอง มีรูปลักษณะเป็นพระเนื้อดินที่ผสมกับว่าน และเกษรดอกไม้ต่างๆ เป็นหน้าทองปิด นอกจากนี้ยังค้นพบแบบที่เป็นเนื้อชินอีกด้วย
พุทธะลักษณะจะคล้ายกับพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนแต่องค์พระนั้น จะมีความผอมและตื้นกว่า ในส่วนของจีวรนั้นจะอยู่ด้านหลังขององค์พระ ในส่วนด้านหน้านั้นจะคล้ายกับสวมรูปกางเกงขาก๊วย และในส่วนของพระบาทนั้นจะคล้ายกับกำลังสวมรองเท้าส้นสูง ซึ่งมีความสวยงามและวิจิตรเป็นอย่างมาก และเป็นที่เลื่องลือในพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี สำหรับผู้ที่ค้าขายหากได้มีไว้ในครอบครองบูชาแล้วก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่ากันเลยทีเดียว
พระกำแพงลีลาพลูจีบ
ชื่อ | พระกำแพงลีลาพลูจีบ |
ประเภท | พระเนื้อดินผสมว่าน |
ผู้สร้าง | |
ศิลปะยุค | – |
อายุการสร้าง | 600 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างแบบวิธีโบราณที่มีการนำดินมาเผา แล้วนำมาผสมกับว่านและเกสรดอกไม้ต่างๆ |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดินเผาผสมกับเนื้อว่าน |
การแยกพิมพ์ | 3 พิมพ์ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน, พระกำแพงลีลาพลูจีบ และ พระกำแพงลีลา กลีบจำปา |
พุทธคุณ | เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี |
พุทธลักษณะ | จะคล้ายกับพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนแต่องค์พระนั้น จะมีความผอมและตื้นกว่า ในส่วนของจีวรนั้นจะอยู่ด้านหลังขององค์พระ ในส่วนด้านหน้านั้นจะคล้ายกับสวมรูปกางเกงขาก๊วย และในส่วนของพระบาทนั้นจะคล้ายกับกำลังสวมรองเท้าส้นสูง ซึ่งมีความสวยงามและวิจิตรเป็นอย่างมาก |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
คาถาบูชาปางพระลีลา
( ให้ ตั้งนะโม 3 จบ )
“อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
มหาเศรษฐี มีมาธะนัง สุขสวัสดิลาภัง ภะวันตุเม”
สำหรับ พระกำแพงลีลากลีบจำปา นั้น ได้มีการสันนิษฐานว่า ถูกสร้างมาในสมัยสุโขทัย ในยุคที่พญาลิไทเป็นพระมหากษัตริย์ ซึ่งถูกค้นพบในสถานที่เดียวกันกับพระลีลากำแพงพลูจีบ และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน ซึ่งสถานที่พบก็คือบริเวณลานทุ่งเศรษฐี แถบวัดบรมธาตุ วัดอาวาสน้อย และวัดพิกุล ซึ่งมีอายุในการสร้างประมาณ 600 ปี ซึ่งเป็นที่เลื่องลือในพุทธคุณด้านเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี สำหรับผู้ที่ค้าขายหากได้มีไว้ในครอบครองบูชาแล้วก็จะขายดีเป็นเทน้ำเทท่ากันเลยทีเดียว
พุทธลักษณะนั้นองค์พระประทับยืนอยู่บนฐาน แบบบัวคว่ำและบัวหงาย ขอบขององค์พระนั้นเป็นแบบเดียวกันกับพระกำแพงซุ้มกอและต่างจากพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก็คือขอบมีความกลมมน โดยไร้การตัดแต่งใดใดลักษณะพิมพ์ทรงคล้ายกับกลีบดอกจำปาเป็นอย่างมากจึงเรียกกันว่า พระกำแพงลีลากลีบจำปา มีความสวยงามและวิจิตร ในแบบสุโขทัย อย่างชัดเจน
พระกำแพงลีลา กลีบจำปา
ชื่อ | พระกำแพงลีลากลีบจำปา |
ประเภท | พระเนื้อดินผสมว่าน |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | สุโขทัย |
อายุการสร้าง | 600 ปี |
กรรมวิธีสร้าง | สร้างแบบวิธีโบราณที่มีการนำดินมาเผา แล้วนำมาผสมกับว่านและเกสรดอกไม้ต่างๆ |
เนื้อพระ/มวลสาร | เนื้อดินเผาผสมกับเนื้อว่าน |
การแยกพิมพ์ | 3 พิมพ์ พระกำแพงลีลาเม็ดขนุน, พระกำแพงลีลาพลูจีบ และ พระกำแพงลีลา กลีบจำปา |
พุทธคุณ | เมตตามหานิยม คงกระพันชาตรี |
พุทธลักษณะ | พุทธลักษณะนั้นองค์พระประทับยืนอยู่บนฐาน แบบบัวคว่ำและบัวหงาย ขอบขององค์พระนั้นเป็นแบบเดียวกันกับพระกำแพงซุ้มกอและต่างจากพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก็คือขอบมีความกลมมน โดยไร้การตัดแต่งใดใดลักษณะพิมพ์ทรงคล้ายกับ “กลีบดอกจำปา” |
มูลค่าราคาประมาณการ | – |
คาถาบูชาปางพระลีลา
( ให้ ตั้งนะโม 3 จบ )
“อิติสุคะโต อะระหังพุทโธ นะโมพุทธายะ
มหาเศรษฐี มีมาธะนัง สุขสวัสดิลาภัง ภะวันตุเม”
หากจะเอ่ยถึง พระผงเนื้อดินเผาผสมเนื้อว่าน ก็คงจะขออนุญาติเอ่ยถึง พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี เพราะมีชื่อเสียงและพุทธคุณที่ลือลั่น ในด้าน คงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยมเป็นอย่างมาก นอกจากนี้เรายังนำประวัติความเป็นมานำมาฝากคุณอีกด้วย หากอยากทราบกันแล้วล่ะก็ อย่ารอช้า เราไปดูกันเลยดีกว่า !
สำหรับ พระผงเนื้อดินเผาผสมเนื้อว่าน ต้องยกให้กับ พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี กันเลย ถือเป็นอีกหนึ่งสำหรับพระเนื้อผงยอดนิยม ที่มีราคาสูงมากในปัจจุบันมีราคาสูงถึงหลักสิบล้าน ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งพระที่อยู่ใน “ชุดพระเบญจภาคี” ที่เรียกได้ว่าหายากมากจริงๆ
ถูกสร้างขึ้นในสมัยอู่ทอง แต่ถูกค้นพบในสมัยรัชกาลที่ 6 ซึ่งมีรูปลักษณะที่คงความเป็นเอกลักษณ์ของยุคอู่ทองตอนต้นอยุธยา มีความเชื่อกันว่ามีความโดดเด่นของพุทธคุณในด้าน คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ถูกสร้างขึ้นเพื่อปกป้องคถ้มครองเหล่านักรบในยุคนั้น เป็นเนื่องจากในยุคนั้นยังคงมีการทำสงครามจึงเป็นที่นิยมกันมาก ในเหล่าบรรดาทหารผู้ออกรบ
กรรมวิธีในการสร้างพระใช้วิธีสร้างโดยการนำมาเผาแบบโบราณ มวลสารของเนื้อพระเป็นเนื้อดินละเอียด ที่ได้นำมาผสมเข้ากับน้ำว่านและเกสรของดอกไม้ต่างๆ และในส่วนของพระผงสุพรรณที่ได้ทำจากธาตุโลหะนั้น เรียกว่า “แร่สังฆวานร” หรือ “พระผงสุพรรณยอดโถ”
พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี
ชื่อพระ | พระผงสุพรรณ กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.สุพรรณบุรี |
ประเภท | พระผงเนื้อดินเผา |
ผู้สร้าง | – |
ศิลปะยุค | สมัยอู่ทองตอนต้นอยุธยา (แต่ถูกพบในสมัยรัชกาลที่ 6 ) |
อายุการสร้าง | สมัยอู่ทองตอนต้นอยุธยา |
เนื้อพระ | พระเนื้อดินเผา |
พุทธลักษณะ | มีรูปลักษณะเป็นองค์พระนั่งขัดสมาธิ |
กรรมวิธีการสร้าง | ได้มีการเผาเนื้อดินแบบโบราณ โดยผสมกับน้ำว่านและเกสรดอกไม้ |
พุทธคุณ | คงกระพันชาตรี |
การแยกพิมพ์ | พิมพ์หน้าแก่ พิมพ์หน้ากลาง และ พิมพ์หน้าหนุ่ม |
มูลค่าราคาประมาณการ | หากสภาพสมบูรณ์ จะมีราคาราวๆ 40-50 ล้าน บาท |
การอาราธนาก่อนขึ้นคอให้สวด พุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ๑๐๘ จบ
“อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ
วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ
สัตถาเทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ“
ให้ท่อง คาถานวหรคุณ ๑๓ จบ
“อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ ภะ”
และท่องคาถา คาถาพาหุง ๑๓ จบ
“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ” ( 3 จบ )
“พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิติฯ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต
สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ
อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อาหุเนยโย
ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ”
สำหรับเรื่องราวและประวัติความเป็นมาของพระเนื้อว่านที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านกันในครั้งนี้ ซึ่งเราหวังว่าคุณจะถูกใจกับบทความ รวมประวัติความเป็นมากับ “พระเนื้อว่าน” สุดขลังที่หายาก ! รวมไปถึงการ พระเนื้อว่าน 108 , พระเนื้อว่านหลวงปู่ทวด, และ พระเนื้อว่านสายใต้ ที่เราได้รวบรวมข้อมูลมาฝากคุณในครั้งนี้
ซึ่งพวกเราทีมงานหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่าน และก่อนจากกันในครั้งนี้ ขออำนาจบารมีหลวงปู่ทวด และพุทธคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายทั้งปวงปกปักรักษาและคุ้มครองท่านผู้อ่านทุกท่าน ณ ที่นี้ ให้พ้นจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ แล้วพบกันใหม่กับบทความในครั้งหน้า ซึ่งครั้งนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อน หากผิดพลาดประการใดต้อง ขออภัย ณ ที่นี้
หลวงปู่ทวด komchadluek
พระเนื้อว่านจำปาศักดิ์ 108prageji
รวมข่าวสารเกี่ยวกับพระเครื่อง เครื่องราง เหรียญ วัตถุมงคล พระ พระบูชา จัดอันดับพระเครื่อง พระเครื่องในภาคกลาง พระเครื่องในภาคอีสาน พระเครื่องในภาคตะวันออก พระเครื่องในภาคตะวันตก พระเครื่องในภาคเหนือ พระเครื่องในภาคใต้ พระเครื่องยอดนิยม ประวัติพระ