พระพุทโธน้อย (คุณแม่ บุญเรือนโตงบุญเติม) วัดอาวุธวิกสิตาราม บางพลัด กรุงเทพ

พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์ในประเทศไทยที่โด่งดัง และมีชื่อเสียงเป็น ที่รู้จักอย่างกว้างขวางนั้นมีอยู่เยอะมากๆ และหนึ่งในนั้นจะต้องมีชื่อ พระพุทโธน้อย ของคุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติมหรือแม่ชีบุญเรือน ที่หลายคนต้องรู้จักท่านอย่างแน่นอน ก่อนจะพูดถึงพระพุทโธน้อย ขอเล่าประวัติคร่าวๆของ คุณแม่บุญเรือน โตงบุญเติม ดังนี้  คุณแม่บุญเรือนเกิดเมื่อวันที่ 10  มีนาคม พ.ศ 2437 ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น 15 ค่ำ เวลาเกิด 11.20 น ช่วงเช้า ปีมะเมีย พ่อของท่านชื่อนายยิ้ม กลิ่นผกา แม่ของท่านชื่อนางสวน กลิ่นผกา คุณแม่บุญเรือนท่านเกิดที่คลองสามวา เขตมีนบุรี กรุงเทพ ต่อมาท่านได้ย้ายมาอาศัยอยู่ที่ ตำบลบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ ทางบ้านของคุณแม่บุญเรือนประกอบอาชีพเป็นชาวสวน คุณแม่ท่านมีความสามารถหลายด้าน หนึ่งในนั้นคือวิชาหมอนวดเพราะท่านได้รับการถ่ายทอดวิชาทางการนวดจากปู่ของท่าน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น และในตอนที่คุณแม่บุญเรือนท่านได้บรรลุธรรมชั้นสูง ท่านได้ใช้วิธีการรักษาโรคภัยต่างๆนั้นด้วย การอฐิษฐานธรรม โดยการใช้ของอฐิษฐานศักดิ์สิทธืหลายๆอย่าง เช่น ปูนแดง น้ำอฐิษฐาน และประสบความสำเร็จในการรักษาโรคต่างๆได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก คุณแม่ท่านได้ แต่งงานกับ ส.ต.ท จ้อย โตงบุญเติม แต่ไม่มีบุตรด้วยกัน […]

เครื่องรางสุดขลัง มงคลแขน แหวนพิรอด

แหวนพิรอดเป็นเครื่องรางโบราณชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นเชือกหรือผ้าควั่นเป็นวง ตรงหัวผูกเป็นเงื่อนพิรอตมีสองขนาดขนาต เล็กเรียกว่าพิรอดนิ้ว ใช้สวมนิ้ว ชนิดใหญ่ใช้สวมที่ตันแขน เรียกว่าพิรอดแขน หรื “สนับแขนพิรอด” ซึ่งนักมวยไทยใช้กัน สนับแขนพิรอดส่วนใหญ่ทำด้วยด้ายดิบควั่น ปัจจุบันนักมวยไทยยังใช้กันอยู่ พิรอดทำจากวัสดุหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกระดาษว่าวลงยันต์แล้วนำมาควั่นลงรักปิดทอง บางครั้งก็ทำมาจากผ้ามัดตราสังข์หรือจีวรพระก็มี ตำราการสร้างพิรอดนั้นแต่เติมมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นอาวุธของนักมวยไทย ในการต่อสู้ด้วยวิธีกอดปล้ำเข้าวงในเพราะสนับแขนพิรอดที่ทำจากด้ายดิบ หากนำไปลงรักแล้วจะแข็งและคมเมื่อใช้ถูกับผิวหนังนักมวยฝ่ายตรงข้าม จะทำให้เจ็บและไม่อยากเข้าต่อสู้ตัวย การเข้าวงในก็เป็นการจำกัดรูป มวยฝ่ายตรงข้ามเรียกว่า พาให้คู่ต่อสู้เข้าทางมวยเราได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้ได้เปรียบในเชิงการต่อสู้ ในปัจจุบันจะพบเห็นในการแข่งขันชกมวยไทย คำว่าพิรอด มาจากภาษาสันกฤตว่า วิรุทธ หรือ พิรุทธ แปลว่า “อันขัดกันอยู่” เป็นการได้รับการต่อต้านหรือขัดขวาง หากหมายถึงความขัดแย้งก็เหมือนจะตรงกันข้าม แต่เมื่อพิจารณาจากลายที่ถักใช้ขัดกันแบบเงื่อนลูกเสือที่เรียกกันว่า เงื่อนพิรอด ก็ดูจะสมกับชื่อในภาษาสันสกฤตอยู่มาก เงื่อนพิรอตนี้เป็นเงื่อนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาแล้ว หลักฐานที่พอจะชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ก็คือ รูปสลักหินโบราณของพวกขอม จะเห็นว่าผ้าคาดเอวตรงด้านหน้าทำเป็นเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดอย่างนี้เหมือนกันแต่ปัจจุบันคงเป็นแค่เครื่องรางอย่างหนึ่งเท่านั้น วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอดโดยมากทำด้วยกระตาษว่าวกับถักด้วยเชือก ตำนานแหวนพิรอด เมื่อย้อนยุคไปเมื่อสักเกือบศตวรรษนั้นแหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วง วัตประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีชื่อมากขนาด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้อยู่หัวฯ (รัชกาลที่5) ได้ทรงกล่าวถึงอาจารย์ ที่สร้างแหวนพิรอด ที่ขึ้นชื่อลือชาในสมัยที่พระองค์ประสบพบเห็นโดยทรงพระราชนิพนธ์บันทึกไว้นี้สองท่านคือ รูปหนึ่งคือเจ้าอธิการเฮง วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ อาจารย์ฝ่าย วิปัสสนาธุระ(ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเดิม)ได้นำแหวน พิรอดมาถวายพระเจ้าลูกเธอที่ตามเสด็จได้ทรงวิจารณ์ไว้ว่า”เอาแหวนถักพิรอดมาแจกแหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัว […]

เครื่องรางแมลง Scarap ของอียิปต์

วันนี้เรา กลัวทุกท่านจะเบื่อ กับพระเครื่องที่มีอยู่ในประเทศไทยซะก่อน เราจึง ขออนุญาต ข้ามไปกล่าวถึง เรื่องราวของเครื่องรางแมลง ที่มีอายุเก่าแก่ อยู่ในยุคของอียิปต์ กันบ้างนะครับ เมื่อสัญลักษณ์แห่งความเชื่อต่างๆ ได้ถูกนำออกมา จัดวาง องค์ประกอบอย่างสวยงาม ตั้งอยู่ในรูปแบบของเครื่องประดับ และเครื่องรางของอียิปต์ ภายใต้รูปแบบแมลงปีกแข็ง สคารับ ซึ่งบางคน อาจจะเรียกแตกต่างออกไป แล้วแต่ใจชอบ เรียกว่าตัวด้วงบ้าง ตัวแมลงทับ ตัวเต่าทอง ก็ไม่เป็นไร ใครที่เคยไปเที่ยวอียิปต์มาแล้ว จะเห็นว่า ที่ระลึกและรูปแกะสลัก ในแต่ละเมือง ล้วนเต็มไปด้วยรูปแบบ ของแมลง สคารับ ทำให้เกิดความสงสัยว่า แล้วทำไม ถึงได้มีแมลงชนิดนี้ ปรากฏอยู่ในรูปสลัก อักษรรูปภาพ ของที่ระลึก อย่างมากมายถึงเพียงนี้ โดยเฉพาะ ในมหาวิหาร คาร์นัค ยังมีรูปสลาก ของแมลงตัวใหญ่ อยู่บนแท่นบูชา เข้าไปอีก โดยเชื่อว่า เดินวนรอบแล้วจะโชคดีกัน คงจะต้องเกี่ยวกับความเชื่ออะไรบางอย่างที่น่าสนใจเป็นแน่ ส่วนจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวข้องกับอะไรนั้น ติดตามได้เลยครับ โดยในอียิปต์โบราณ มีความเชื่อเกี่ยวกับแมลง เหล่านี้ โยงไปถึง […]