หากมีใครถามถึงสุดยอดพระมหาเกจิแห่งผืนแผ่นดินล้านนา เราเชื่อว่าผู้คนทั้งหลายจะต้องนึกถึง หลวงปู่แหวน สุจิณโณ แห่งวัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ ขึ้นมาเป็นท่านแรกอย่างแน่นอน ซึ่งหลายๆ ท่านคงทราบถึงชื่อเสียงของท่านกันดีอยู่แล้ว ทั้งในด้านพุทธคุณวัตถุมงคลของท่าน รวมถึงเรื่องราวปาฏิหาริย์ที่ว่าท่านเหาะได้ และวันนี้เราได้ รวม 10 สุดยอด “เหรียญหลวงปู่แหวน ยอดนิยม” พร้อมประวัติความเป็นมา ! มาฝากท่านผู้อ่าน ที่พวกเราทีมงานได้คัดมาเฉพาะเหรียญสำคัญๆ ที่หลวงปู่แหวนท่านได้สร้างไว้มากมายก่อนที่ท่านจะละสังขาร (ในช่วงปี พ.ศ 2528) เพราะถึงแม้ท่านจะมรณภาพไปนานหลายปีแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงเป็นที่เคารพศรัทธา ต่อคนไทยชาวพุทธแทบทั่วทั้งประเทศ รวมทั้งผลงานและวัตถุมงคลของท่าน ที่ยังคงเป็นที่กล่าวขานถึง มาจนถึงปัจจุบัน
1. เหรียญหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง รุ่น ทอ.๑ ปี ๒๕๑๓
จะพาคุณไปรู้จักกับเหรียญของท่านที่มีความเข้มขลังจนเป็นที่ร่ำลือ นั่นก็คือ เหรียญหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง รุ่น ทอ.๑ ปี ๒๕๑๓ ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2513 ถูกจัดตั้งโดย นาวาอากาศเอกเกษม งามเอก พร้อมคณะอีก 11 คน
มีจำนวนในการสร้างครั้งนั้นประมาณ 3000 เหรียญถูกแบ่งเป็นเหรียญเนื้อเงิน 11 เหรียญ (สำหรับผู้สร้าง) และเนื้อทองแดง 3,000 เหรียญ ในด้านของพุทธะลักษณะความสวยงามและการแบบสมัยใหม่สล็อตเว็บตรงฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ
มีลักษณะเป็นเหรียญรูปทรงกลมมีหู องค์พระอยู่ตรงกลางมองตรงห่มจีวร พร้อมทั้งมีผ้าสังฆาฏิพาดบ่า มีอักษรที่ล้อมรอบขอบวงกลม ในส่วนของด้านหลังนั้นเป็นรูปยันต์ที่ลงอักขระ “พระคาถา พุธโธ อรหัง ธัมโม อรหัง สังโฆ อรหัง” ล้อมรอบวงกลม 8 คาบ และตรงกลางนั้นก็เป็น 3 แถว (1 คาบ)
ในด้านพุทธคุณนั้นมีความโดดเด่นในเรื่องเมตตามหานิยม อยู่ยงคงกระพัน ฟันแทงไม่เข้า แคล้วคลาด
มูลค่าราคา uauction3.uamulet.com
2. เหรียญหลวงปู่แหวน รุ่น ที่ว่าการอำเภอแม่ริม ปี พ.ศ. 2517
มาต่อกันที่ เหรียญหลวงปู่แหวนรุ่น ที่ว่าการอำเภอแม่ริม ปี พ.ศ 2517 ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งเหรียญที่ต่างมีแต่ผู้ปรารถนา อยากได้มีไว้ครอบครองบูชา ได้มีการสร้างขึ้นในปี พ.ศ 2517 เป็นเหรียญที่หลวงปู่แหวนได้อธิษฐานจิตให้ 3 วาระ วันสำคัญ ก็คือ วันพืชมงคล วันฉัตรมงคล และวันวิสาขบูชา ซึ่งในการสร้างเหรียญครั้งนั้น ได้ประกอบพิธี ฯ พระอุโบสถวัดดอนแม่ปั๋ง ในคืนวันที่ 5-6-7 พฤษภาคม พ.ศ 2517
วัตถุประสงค์ในการสร้างเหรียญครั้งนั้นก็เพื่อต้องการรวบรวมรายได้เพื่อนำมาสร้าง ที่ว่าการอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากงบประมาณเดิมของทางราชการนั้นไม่เพียงพอสำหรับการก่อสร้าง และเมื่อหลวงปู่แหวนได้ทราบ ท่านจึงอนุญาติและได้มีการสร้างวัตถุมงคลนี้ขึ้น ซึ่งมีการจัดสร้างโดยนายอำเภอแม่ริมในขณะนั้นและคณะ เพื่อนำรายได้ทั้งหมดมาสร้างอาคาร ที่ยังคงเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชนชนจนมาถึงปัจจุบัน ทั้งยังมีเหตุการณ์ที่ถูกเล่าต่อๆ กันมา ในคืนที่ประกอบพิธีของแต่และคืน ในการอธิษฐานของท่านจิตก็คือ
คืนวันที่ 5 พ.ค ปี พ.ศ 2517 (ซึ่งตรงกับวันฉัตรมงคล) คืนนั้นในขณะที่กำลังประกอบพิธี ตั้งแต่ภายหลังที่พระภิกษุได้เจริญพระพุทธมนต์เรียบร้อยแล้ว เมื่อหลวงปู่แหวนได้เข้าไปนั่งในวงสายสิญจน์ก็ปรากฎเหตุการณ์ฝนตกอย่างต่อเนื่องอย่างหนักตลอดเวลา จากนั้นในขณะที่หลวงปู่แหวนได้ลุกขึ้นพรมน้ำพระพุทธมนต์ก็ยิ่งมีการเกิดฟ้าคะนองขึ้นอย่างรุนแรง แต่เมื่อการประกอบพิธีปลุกเสกสิ้นสุดลง ฝนที่ตกหนักและฟ้าที่คะนองอย่างรุนแรงนั้นก็หายไป ถือเป็นหนึ่งเหตุการณ์ประหลาดสำหรับคืนแรก
คืนวันที่ 6 พ.ค ปี พ.ศ 2517 (ซึ่งเป็นวันวิสาขะบูชา) ซึ่งเป็นวันที่ท้องฟ้าปกติ แต่เมื่อหลวงปู่แหวนได้เริ่มอธิษฐานจิต ก็ได้มีเหตุการณ์ฝนตกฟ้าคะนองขึ้นอย่างรุนแรง สั่นสะเทือนไปทั่วฟ้า แต่ก็คล้ายกับคืนแรกที่เมื่อการอธิษฐานจิตเสร็จสิ้นลง ฝนที่ตกหนักและฟ้าที่คะนองอย่างรุนแรงก็หายไป
และในคืนวันที่ 7 พ.ค ปี พ.ศ 2517 (ซึ่งตรงกับวันพืชมงคล) ในขณะที่หลวงปู่แหวนกำลังประกอบพิธีและอธิษฐานจิตอยู่นั้นก็ได้มีฝนตกปรอยๆลงมาเล็กน้อย แต่เมื่อเสร็จสิ้นพิธีฝนกที่โปรยลงมาก็หายไป ซึ่งทั้ง 3 เหตุการณ์ได้ถือเป็นเหตุการณ์ที่อัศจรรย์อย่างยิ่ง
สำหรับการสร้างเหรียญในครั้งนั้น มีจำนวนการสร้างที่แบ่งออกเป็นหลายเนื้อได้แก่ เหรียญทองแดง จำนวน 5,000 เหรียญ , เหรียญเงินจำนวน 1,000 เหรียญ และเหรียญเนื้อนวโลหะจำนวน 1,000 เหรียญ
พุทธลักษณะของเหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญทรงกลมมีหูในตัว ทางด้านหน้านั้น ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แหวนมองตรงครึ่งองค์ และได้มีการสลักคำว่า “หลวงพ่อแหวน สุจิณโณ” บริเวณด้านล่างของเหรียญ โดยอักษรนั้นล้อมจากซ้ายไปขวา ในส่วนของด้านหลัง ตรงกลางมีการลงอักขระ ส่วนขอบด้านบนนั้นมีการสลักคำว่า “ที่ระลึกสร้างที่ว่าการอำเภอแม่ริม” และมีรูปดาวอยู่กึ่งกลางขอบด้านซ้ายและขวาด้านละหนึ่งดวง ใต้ล่างเหรียญมีการสลักอักษรคำว่า “เชียงใหม่ ๒๕๑๗”
3. เหรียญหลวงปู่แหวน รุ่น พระแก้วมรกตมณีรัตนะ (วัดเกาะ) ปี 2516
มาต่อกันที่ เหรียญหลวงปู่แหวน รุ่น พระแก้วมรกต มณีรัตนะ (วัดเกาะ) ปี 2516 นี้ถูกสร้างขึ้นในปีพ.ศ 2516 สำหรับการทำพิธีปลุกเสกในวาระแรก ซึ่งทางวัดเกาะได้เป็นผู้จัดสร้าง ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ปี 2516 ซึ่งถือเป็นการปลุกเสกครั้งแรก และมีการปลุกเสกเป็นครั้งที่ 2 ซึงถือเป็นวาระครบรอบที่หลวงปู่มีอายุครบ 7 รอบ ( ในวันที่ 16 มกราคม ปี พ.ศ 2517 )
สำหรับการพิธีพุทธาภิเษกในวาระที่ 2 นั้น ได้มีหมายกำหนดไว้ 3 วัน คือ ในวันที่ 29-30-31 ธันวาคม พ.ศ 2517 โดยมี สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในการจุดเทียนชัยประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษก เวลา 20.36 น. อีกทั้งยังมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคม จากภาคอีสาน ภาคใ้ต ภาคเหนือ และภาคกลาง มาร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตภาวนาในการปลุกเสก รวม 60 รูป และได้สร้างวัตถุมงคลในครั้งนั้นมากมายดังนี้
พระพุทธรูป ขนาด 5 นิ้ว จำนวนประมาณ 1,517 องค์ , พระพุทธรูปบูชา ขนาด 9 นิ้ว สร้างจำนวน 1,000 องค์ , เหรียญพระแก้วมรกต (มณีรัตนะ) มีเนื้อทองคำจำนวน 84 เหรียญ และเนื้อเงินกับเนื้อทองแดง นอกจากนี้ยังมี เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่แหวนยืนหลังรางปืน ในวาระอายุครบ 84 ปี ได้สร้างเนื้อทองคำจำนวน 17 องค์ ทั้งยังเนื้อเงิน เนื้อนวะโลหะ และเนื้อทองแดง
ด้านพุทธลักษณะ มีเหรียญเป็นรูปทรงกลมมีหูในตัว ขอบตัดตรงกลางมีพระประธานเต็มองค์นั่งสมาธิบนฐานอาสนะ ขอบล้อมด้วยเกสรดอกไม้
4. เหรียญหลวงปู่แหวน รุ่น เจดีย์ ๘๔ วัดดอยแม่ปั่ง
ต่อไปจะพาคุณไปรู้จักกับ เหรียญหลวงปู่แหวน รุ่น เจดีย์ ๘๔ วัดดอยแม่ปั๋ง ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ 2517 สร้างโดยเหล่าทัพ เป็นประธานกรรมการ และมีพระครูชินเทพ ชินเทโว วัดสัมพันธ์วงศ์ เป็นกรรมการที่ปรึกษา มีการสร้างเป็นเนื้อทองคำจำนวน 303 เหรียญ, เป็นเนื้อเงิน 9,999 เหรียญ,เนื้อนวโลหะจำนวน 7,499 เหรียญ และที่เป็นเนื้อทองแดงรมดำ 37,285 เหรียญ สำหรับเหรียญเจดีย์นี้ได้สร้างขึ้นมาเป็น 2 แบบ คือ เป็นเหรียญพิมพ์กลมและรูปทรงไข่
และเหรียญรูปไข่ มี 2 เนื้อ คือเนื้อนวโลหะจำนวน 7,498 เหรียญ และเนื้อทองแดงจำนวน 37,284 เหรียญ รวมทั้งสิ้นประมาณ 100,000 เหรียญ สำหรับเหรียญรูปไข่มีพุทธลักษณะเป็นเหรียญทรงไข่ พระประธานเป็นองค์นั่งขัดสมาธเต็มองค์ ล้อมด้วยอักษรตรงขอบจากซ้ายไปขวาคำว่า “ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่” ในส่วนของด้านหลัง มีการล้อมอักษระโบราณจากขอบทางด้านซ้ายไปด้านขวา ตรงกลางเป็นรูปวัด ในส่วนของด้านล่างวัดมัอักษรที่แสดงชื่อรุ่นคำว่า คำว่า “รุ่นเจดีย์๘๔” และล่างจากชื่อรุ่นมีอักษรคำว่า “วัดจัดสร้าง” ลักษณะของเหรียญนั้นมีหูในตัว
สำหรับพุทธลักษณะของเหรียญทรงกลมนั้น เป็นองค์รูปเหมือนครึ่งองค์เป็นเหรียญตัดขอบ ล้อมด้วยอักษรคำว่า “หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ ”
5. เหรียญกลมใหญ่พิเศษ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ปี 2517
มารู้จักกับเหรียญอีกหนึ่งรุ่นที่มีชื่อว่า เหรียญกลมใหญ่พิเศษ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง ปี 2517 เหรียญนี้ถูกสร้างขึ้นโดย พระเทพสารเวที (ซึ่งท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดดอยแม่ปั๋งในขณะนั้น) เป็นประธานในการสร้างพร้อมทั้งคณะและกรรมการซึ่งได้แก่ คุณสัมฤทธิ์ สรรสวาสดิ์ , คุณชัชวาล ชุติมา, คุณเกษม เลิศมโนชัย, คุณนิยม อิถา และคุณประสงค์ อินถานะ ในปี พ.ศ 2517 สำหรับเหรียญและวัตถุมงคลชุดนี้มีการสร้างด้วยกันหลายเนื้อและหลายพิมพ์ได้แก่
เหรียญกลมขนาดใหญ่ เนื้อตะกั่ว จำนวนการสร้างประมาณ 6 เหรียญ, เนื้อเงินจำนวน 600 เหรียญ, เนื้อทองคำ 19 เหรียญ( หายากและราคาสูงมากในปัจจุบัน) เนื้อนวะโลหะจำนวน 1200 เหรียญ และเนื้อทองแดงจำนวน 9000 เหรียญ
เหรียญกลมขนาดเล็ก มีเนื้อโลหะ 2 ชนิดคือ เนื้อทองแดงจำนวน 2000 เหรียญ และเนื้อเงินจำนวน 600 เหรียญ
เหรียญอัฏฐารส เนื้อเงินจำนวนการสร้าง 500 เหรียญ, เนื้อนวโลหะจำนวน 400 เหรียญ และเนื้อทองแดง จำนวน 2517 (เป็นจำนวนตามปี พ.ศ ที่สร้าง)
เหรียญนั่งพับเพียบใบโพธิ์ ซึ่งไม่ทราบจำนวนในการสร้างครั้งนี้ โดยคุณศักดิ์ ศิลปานนท์ ได้นำเข้ามาร่วมในพิธีเซึ่งป็นรุ่นพิเศษ
นอกจากนี้ยังมีพระผงน้ำมัน พิมพ์สมเด็จและพิมพ์นางพญาอย่างละจำนวน 200 องค์ และพระผงปิดตา พิมพ์สังกัจจายน์ ที่มีด้วยกันถึง 3 แบบ ซึ่งรวมกันแล้วเป็นจำนวนประมาณไม่เกิน 500 องค์ ซึ่งวัตถุมงคลชุดนี้ ได้จัดเป็นพิธีใหญ่ซึ่งเป็นพิธีพุทธาภิเษกเพื่อ 2 วาระ คือ วาระแรกจัดที่ดอยแม่ปั๋งในวันที่ 6 เมษายน 2517 และส่วนวาระที่ 2 จัดขึ้นที่พระวิหารหลวงในวันที่ 10 เมษายน 2517 ซึ่งมีพระสงฆ์ในการเจริญพระพุทธมนต์จำนวน 9 รูป ได้นั่งปรกปลุกเสกจนถึงเวลา 24.15 น. โดยผู้ที่บเทียนชัยในการทำพิธีครั้งนี้คือ หลวงปู่มีแห่งวัดถ้ำคูหา จากจังหวัดลพบุรี
พุทธลักษณะเป็นเหรียญทรงกลมมีหูในตัว ลักษณะขอบเป็นขอบตัด ตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงปู่แหวน ศรีษะเอียง มีอักษรล้อมจากซ้ายไปขวาทางด้านเหนือศรีษะเป็นคำว่า “ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ อายุครบ ๗ ) ส่วนด้านหลังมีการล้อมด้วยอักขระ
6. เหรียญหน้าวัวหลวงปู่แหวน รุ่นแรก ปี 2513
มาต่อกันที่ เหรียญหน้าวัวหลวงปู่แหวน รุ่นแรก ปี 2513 สำหรับเหรียญรุ่นนี้ได้ถูกจัดสร้างโดย คุณ.สุนทร จันทรวงค์ ในปี พ.ศ 2512-2513 ซึ่งได้มีการสร้างเป็นหลายเนื้อ มีเนื้อทองแดงจำนวนประมาณ 1,000 เหรียญ และมีเนื้อเงินจำนวน 10 เหรียญ ทั้งยังมีเหรียญที่เป็นเนื้อตะกั่วกับเหรียญเนื้อทองแดงหลังเรียบ แต่ไม่ได้ระบุจำนวน วัตถุประสงค์ในการสร้างครั้งนี้ก็เพื่อแสดงความเคารพต่อพระอาจารย์ถึง 3 ท่านได้แก่ หลวงปู่สิม หลวงปู่แหวน และหลวงปู่ตื้อ
สำหรับพุทธลักษณะของเหรียญรุ่นนี้ เป็นเหรียญพิมพ์ทรงดอกหน้าวัวขอบตัด มีหูอยู่ในตัว ตรงกลางเป็นรูปองค์พระครึ่งองค์ ด้านล่างองค์มีการสลักอักษรคำว่า “ท่านอาจารย์แหวน” ในส่วนของด้านหลังมีการลงยันต์อักขระ ด้านล่างยันต์มีการสลักอักษรคำว่า “วัดป่าแม่ปั๋งเชียงใหม่” มีหลายเนื้อ ถือเป็นอีกหนึ่งพิมพ์ที่หายากและเป็นที่ปรารถนาสำหรับนักสะสมหลายๆ ท่าน
7. เหรียญกลมเล็กพิเศษ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
ยังไม่หมดเพียงเท่าที่กล่าวมา แต่จะพาคุณไปรู้จักกับอีกหนึ่งเหรียญของฃท่าน ที่ชื่อว่า เหรียญกลมเล็กพิเศษ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ 2517 ถูกสร้างขึ้นโดยมี พระเทพสารเวที (ซึ่งท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น) และท่านคือประธานในการจัดสร้าง พร้อมทั้งคณะและกรรมการซึ่งได้แก่ คุณสัมฤทธิ์ สรรสวาสดิ์ , คุณชัชวาล ชุติมา, คุณเกษม เลิศมโนชัย, คุณนิยม อิถา และคุณประสงค์ อินถานะ ในการดำเนินการจัดสร้าง เช่นเดียวกันกับเหรียญกลมใหญ่พิเศษ ที่เราได้กล่าวไว้ข้างต้น
สำหรับเหรียญและวัตถุมงคลชุดนี้มีการสร้างด้วยกันหลายเนื้อและหลายพิมพ์ รวมทั้งวัตถุมงคลชนิดอื่นๆอีกมากมายอาทิ เช่น พระเนื้อผงน้ำมัน พิมพ์ต่างๆ , พระเนื้อผงปิดตา อีกหลายพิมพ์ ซึ่งพิธีพุทธาภิเษกนี้ มีด้วยกัน 2 วาระก็คือ วาระแรกจัดขึ้น ณ ดอยแม่ปั๋ง ในวันที่ 6 เมษายน ปี พ.ศ 2517 และสำหรับวาระที่ 2 ก็คือในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ 2517 ณ พระวิหารหลวง โดยมีพระภิกษุสงฆ์จำนวน 9 รูป ทำการเจริญพระพุทธมนต์
ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ 9 รูปนั้น เป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ได้แก่ หลวงปู่คำแสน, หลวงปู่สิม , หลวงปู่พรหม , และอีกหลายรูปรวมถึงพระอาจารย์หนู สุจิตโต ที่ได้นั่งปรกในการปลุกเสก จนถึงเวลา 24.15 น. และผู้ดับเทียนชัยในพิธีครั้งนั้นคือ หลวงปู่คำมี แห่งวัดถ้ำคูหาสวรรค์ จาก จังหวัดลพบุรี สำหรับเหรียญกลมเล็กพิเศษ รุ่นนี้มีการสร้างด้วยกันเป็นเนื้อโลหะ 2 ชนิดคือ เนื้อทองแดงจำนวน 2000 เหรียญ และเนื้อเงินจำนวน 600 เหรียญ
สำหรับพุทธลักณะของเหรียญรุ่นนี้ก็คือ มีขนาดเล็กหว่าเหรียญกลมใหญ่เล็กน้อย เป็นเหรียญรูปทรงกลมมีหูในตัว มีรูปเหมือนของหลวงปู่แหวนครึ่งองค์อยู่ตรงกลาง ในลักษณะเอียงคอ แต่จะมีอักษรทางด้านบล้อมรอบขอบเหรียญจากซ้ายมาขวา ซึ่งเป็นอักษรที่จารึกไว้ว่า “รุ่นพิเศษ อายุครบ ๗ รอบ” ในส่วนของด้านหลังเหรียญนั้นมีลักษณะเป็นขอบตัดรอบเหรียญ มีจราตรงกลาง ใต้ตรานั้น มีการลงอักขระคล้ายพระคาถา และใต้สุดกึ่งกลางขอบเหรียญนั้น มีการจารึกคำว่า “๑๑ เม.ย. ๑๗” สำหรับรูปตามตัวอย่างที่เรานำมาให้ชมนี้เป็นเนื้อเงิน ซึ่งถือเป็นเหรียญอีกหนึ่งรุ่น ที่เหล่าบรรดานักสะสมต่างตามหา และปรารถนาอยากได้มาครอบครอง เพราะมีจำนวนการสร้างที่น้อย อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าสร้างไว้เพียง 600 เหรียญ
8. เหรียญหล่อลายฉลุ หลวงปู่แหวน รุ่น มหาอำนาจ ปี ๒๕๒๑
มาต่อกันที่อีกหนึ่งเหรียญที่มีรูปทรงงดงาม และมีการสร้างมาอย่างปราณีตที่ใครๆต่างรู้จักกันในชื่อ เหรียญหล่อลายฉลุ หลวงปู่แหวน รุ่น มหาอำนาจ สุจิณโณ ปี ๒๕๒๑ ซึ่งเป็นเหรียญที่เหล่าข้าราชการ หรือผู้มียศฐาบรรศักดิ์นิยมห้อยบูชา ด้วยพุทธคุณที่สัมพันธ์กับชื่อรุ่นว่า มหาอำนาจ
สำหรับเหรียญนี้ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ 2521 โดยมีเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่เป็นประธานในการจัดสร้าง และเป็นประธานในการจุดเทียนชัย รวมทั้งมีพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒินั่งปรกในการปลุกเสก วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างก็เพื่อมอบเป็นที่ระลึก ให้แก่ผู้มีจิตศรัทธาในการร่วมบริจาคทรัพย์ สำหรับการปฏิสังขรณ์ ศาลาการเปรียญ “วัดเดชดำรงค์ จังหวัด เชียงใหม่” ซึ่งมีจำนวนการสร้างในครั้งนั้นเพียงประมาณ 500 เหรียญ
การจัดสร้างเหรียญหล่อลายฉลุรุ่นนี้ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ 1.เหรียญมหาอำนาจ ซึ่งมีการแบ่งพิมพ์เป็น 4 เนื้อโลหะได้แก่ เนื้อทองแดงจำนวน 5931 เหรียญ , เนื้อนวโลหะ จำนวน 52 เหรียญ , เนื้อเงินจำนวน 114 เหรียญ และเนื้อทองคำมีการสร้างที่น้อยมากเพียงจำนวน 12 เหรียญ ซึ่งขอบอกเลยว่าเนื้อทองคำคือเหรียญที่ผู้คนต่างตามหา และมีมูลค่าราคาที่ค่อนข้างสูงมาก
และ 2.เหรียญหล่อมหาอำนาจ ที่มีการแบ่งพิมพ์เป็น 2 เนื้อโลหะ ได้แก่ เนื้อนวโลหะจำนวน 500 เหรียญ และเนื้อเงินมีจำนวนในการสร้างน้อยเพียง 50 เหรียญ ซึ่งสำหรับเนื้อเงินคือเหรียญที่นักสะสมต่างตามหาเช่นกันเนื่องจากมีจำนวนในการสร้างน้อยอย่างที่ได้กล่าวมาในข้างต้น
พุทธลักษณะมีความปราณีต สวยงามและแปลกตาแต่ก็มีความคมชัดด้วยกรรมวิธีการสร้างแบบสมัยใหม่ รูปทรงของเหรียญช่วงบนเป็นรูปทรงคล้ายกลีบบัว เป็นเหรียญหล่อลายฉลุ ตงกลางเหรียญเป็นรูปองค์หลวงปู่แหวนยืนถือไม้เท้าที่มีความสูงเท่าศรีษะ รอบขอบล้อมด้วยลายกนกอย่างปราณีต ด้านบนเป็นหัวทรงกระจัง และด้านล่างมีการจารึกอักษรว่า “หลวงปู่แหวน”
ในส่วนของด้านหลังตรงกลางส่วนบนนั้นมีลักษณะเหมือนเป็นการลงอักขระ พระคาถา ในส่วนกลางด้านล่างเหรียญเป็นรูปครุฑ และทางด้านใต้ครุฑนั้นล้อมอักษรที่เขียนว่า “วัดดอยแม่ปั๋ง อ. เชียงใหม่” จากซ้ายมาขวา
9. เหรียญเสมาไตรมาส หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ ปี ๒๕๑๗ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่
มาต่อกันที่ เหรียญเสมาไตรมาส หลวงปู่แหวน สุจิณโณ ปี ๒๕๑๗ ที่มีรูปทรงสวยงามตามแบบโบราณ ได้จัดสร้างขึ้นโดยหลวงปู่หลอด ปโมทิโต ซึ่งท่านเจ้าอาวาสวัดใหม่เสนานิคม หรือ วัดสิริกมลาวาส จังหวัด กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ 2517 สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างก็เพื่อมอบเป็นของที่ระลึกให้กับ ผู้มีจิตศรัทธา ร่วมกันสมทบทุนในการสร้างโบสถ์วัดศรีสว่าง บ้านขาม ต.หัวนา (ปัจจุบันคือ ต. บ้านขาม) อ.หนองบัวลำภู จังหวัด อุดรธานี (ซึ่งเป็นเป็นเกิของหลวงปู่หลอดท่าน)
การสร้างเหรียญในครั้งนั้นถูกจัดสร้างเป็นเหรียญ 2 แบบ คือ แหนบรูปเหมือน และ เหรียญเสมารูปเหมือน ได้มีการสร้างเป็นหลายเนื้อดังนี้
เหรียญเสมารูปเหมือนมีด้วยกัน 4 เนื้อโลหะ คือ เหรียญเสมาเนื้อทองแดงจำนวน 25,000 เหรียญ , เหรียญเสมาเนื้อทองแดงกะไหล่ทองจำนวน 800 เหรียญ ,เหรียญเสมาเนื้อเงินและเนื้อฝาบาตร ไม่มีข้อมูลระบุจำนวนในการสร้าง แต่สร้างน้อยมาก ซึ่งเหรียญเสมาสองเนื้อนี้เป็นที่ต้องการแก่นักสะสมอย่างมาก สำหรับแหนบรูปเหมือน มีจำนวนการสร้างจำนวน 5000 ชุด ซึ่งเป็นเนื้อัลปาก้า
ซึ่งหลวงปู่หลอด ปโมทิโต ได้นำวัตถุมงคลในชุดนี้ทั้งหมดมาที่วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำการขอบารมีหลวงปู่แหวน สุจิณโณ ในการแผ่เมตตาและอธิษฐานจิต ในวันพุธที่ 13 มิถุนายน พ.ศ 2517 จากนั้นจึงได้ขออนุญาติหลวงปู่แหวน เพื่อนำวัตถุมงคลทั้งหมดไปไว้ในกุฏิจนกว่าจะออกพรรษา เพื่อเป็นการขอบารมี ให้หลวงปู่ได้อธิษฐานจิต
สำหรับพุทธลักษณะของเหรียญเสมาไตรมาส นี้ มีรูปทรงเป็นทรงเสมา มีหูในตัว เป็นองค์รูปเหมือนหลวงปู่แหวนนั่งขัดสมาธิเต็มตัว เอียงคอ บนอาสนะ ใต้อาสนะมีอักษรสลักคำว่า “ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ” และบรรทัดต่อมาคือคำว่า “วัดดอยแม่ปั๋ง” ส่วนด้านบนเหนือศรีษะองค์ท่าน มีอักษรเขียนนำทางด้านซ้ายว่า “อ. พร้าว” ล้อมไปทางด้านขวาซึ่งคำลงท้ายอยู่ทางด้านขวาเขียนว่า “จ.เชียงใหม่”
ส่วนด้านหลังของเหรียญ มีลักษณะของฐานบัวอยู่ตรงกลาว เหนือฐานบัวเป็นอุนาโลมมียอดเป็นรัศมี ขอบด้านซ้ายและด้านขวาเป็นการลงอักขระ และในส่วนด้านล่างของ ฐานบัวก็มีอักขระยันต์ และด้านล่างถัดลงมาเป็นชื่อรุ่นที่มีอักษรว่า “รุ่นไตรมาส” และบรรทัดล่างสุดถัดลงมาคือ “๒๕๑๗”
10. เหรียญมหามงคลพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
และสำหรับเหรียญสุดท้ายที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ก็คือ เหรียญมหามงคลพิมพ์ใหญ่ หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ที่ได้มีพิธีพุทธาภิเษกด้วยกัน 2 วาระ ซึ่งในวาระแรก มี การปลุกเสก 2 ครั้ง สำหรับการปลุกเสกครั้งแรกมีขึ้น ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2516 ซึ่งเป็นวันมาฆะบูชา และการปลุกเสกครั้งที่ 2 คือ วันที่ 7 ซึ่งหลวงปู่อายุครบ 7 รอบ และหลวงปู่แหวนท่านได้อนุญาติให้ทางวัดเกาะได้ดำเนินการจัดสร้าง
สำหรับพิธีพุทธาภิเษกในวาระที่ 2 นั้น ได้มีการจัดสร้าง ณ วักสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) จังหวัดกรุงเทพมมหานคร กำหนดการถึง 3 วัน คือ วันที่ 29-30-31 ธันวาคม พ.ศ 2517 โดยมีการกราบทูลเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช เสด็จขึ้นเป็นประธานในการประกอบพิธี และมีพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์ภาณุพัรธ์ ยุคล เป็นประธานในการอำนวยการจัดสร้าง พร้อมทั้งมีพลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ เป็นประธานที่ปรึกษาการจัดสร้างในครั้งนี้
ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งนั้น สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานในการจุดเทียนชัย เวลาประมาณ 20.36 น. ทั้งยังมีพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ จากทั่วทุกภาคของประเทศไทย มาร่วมนั่งปรกบริกรรมภาวนา และทำการปลุกเสกตลอดคืน รวมทั้งหมดประมาณ 60 รูป
ได้มีการจัดสร้างวัตถุมงคลในพิธีพุทธาภิเษกในครั้งนั้นมากมายหลายชนิด กว่า 20 รายการ และหนึ่งในนั้นก็คือเหรียญมหามงคลรุ่นนี้ ซึ่งได้จัดสร้างหลายเนื้อได้แก่ เนื้อทองแดง, เนื้อนวโลหะ และเนื้อเงิน ซึ่งในปัจจุบันถือเป็นอีกหนึ่งเหรียญที่หาได้ยาก เพราะเหรียญในแต่ละเนื้อนั้นไม่ได้สร้างในจำนวนมาก สล็อต pg เว็บตรงไม่ผ่านเอเย่นต์ 2021
ด้านพุทธลักษณะ เป็นเหรียญทรงกลมมีหูในตัว ซึ่งวิธีการสร้างก็เป้นกรรมวิธีแบบสมัยใหม่ ตรงกลางเหรียญเป้นรูปเหมือนครึ่งองค์ และใต้ภาพองค์หลวงปู่แหวนนั้นเป็นริบบิ้นที่มีอักษรจารึกไว้ว่า “หลวงปู่แหวน สุจิณโณ” และขอบรอบเหรียญมีลักษณะเป็นกลีบบัว ล้อมขอบครึ่งเหรียญ
ในส่วนของด้านหลัง เป็นลักษณะของกลีบบัวตรงกลางเหรียญ และมีอักษรล้อมขอบทางด้านบนจากซ้ายไปทางด้านขวาเป้นพระคาถาคำว่า “พุทโธ อรหํ ธมฺโม อรหํ สงฺโฆ อรหํฯ” เหนือบัวเป็นอุนาโลม มีรัศมีอยู่เหนืออุนาโลม ด้านล่างสุดขอบมีอักษรคำว่า “๒๕๑๗” ซึ่งเป็น พ.ศ ในการจัดสร้าง
พระคาถาบูชาหลวงปู่แหวน
( ตั้งนะโม 3 จบ ตั้งจิตให้มั่น )
“พุทโธ อะระหัง ธัมโม อะระหัง
สังโฆ อะระหัง อะระหัง พุทโธ
อะระหัง ธัมโม อะระหัง สังโฆ”
(ภาวนา 3 จบ)
ได้พาคุณไปรู้จักกับ รวม 10 สุดยอด “เหรียญหลวงปู่แหวน ยอดนิยม” พร้อมประวัติความเป็นมา ! กันจนเต็มอิ่มแล้ว เราหวังว่าท่านผู้อ่านที่ชื่นชอบพระเหรียญเป็นเดิมอยู่แล้ว จะถูกใจกับสิ่งที่เราได้นำมาฝาก และก่อนจากกันในครั้งนี้ พวกเราทีมงานขออำนาจบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งอำนาจบารมีแห่งพุทธคุณของหลวงปู่แหวน ช่วยปกปักรักษาท่านผู้อ่านทุกท่านให้มีสุขภาพที่แข็งแรง ปลอดภัยจากไวรัสร้ายในขณะนี้ ซึ่งเราเชื่อว่าเราจะผ่านไปด้วยดี พบกันใหม่กับบทความในครั้งหน้าหากอยากทราบว่าเราจะนำเรื่องใดมาเล่าท่านได้ฟังกันอีกต้องห้ามพลาด สำหรับครั้งนี้ต้องขออนุญาติลากันไปก่อน หากผิดพลาดประการใดได้โปรดอภัยให้พวกเราทีมงานส่องพระ ณ ที่นี้ ขอขอบพระคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ติดตามอ่านกันมาเสมอ
ที่มา : www.web-pra.com, www.mindamulet.com,
แนะนำ : สมัครบาคาร่า
Credit ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> แทงบอล