“ใครเอามาคืน ก็รับไว้เถิด อีกหน่อยพลิกแผ่นดินหาก็ไม่เจอ” เป็นวาจาศักดิ์สิทธิ์ที่หลวงปู่ทิม เคยกล่าวให้กำลังใจกับ ท่านอาจารย์ชินพร สุขสถิตย์ ผู้จัดสร้าง ชุดพระเครื่อง พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เนื่องจากตอนที่พระกริ่งชินบัญชร สร้างเสร็จใหม่ๆ องค์พระไม่ค่อยสวยงามจึงเป็นเหตุให้คนที่เช่าไปแล้ว เอามาคืน
วัตถุประสงค์ในการจัดสร้างครั้งนั้น ก็เพื่อเป็นที่ระลึกแด่ผู้ที่ร่วมทำบุญบริจาคทรัพย์ เพื่อซ่อมสร้างถาวรวัตถุ ในวัดละหารไร่ ซึ่งอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก พระอุโบสถก็กำลังก่อสร้างแต่ยังไม่แล้วเสร็จ “ชื่อชุดพระเครื่องชินบัญชรนั้น หลวงปู่ทิมเป็นผู้ตั้งให้” โรงพิธีถูกจัดขึ้น ณ ลานวัดละหารไร่ (ตรงบริเวณที่ตั้งของศาลาภาวนาภิรัตในปัจจุบัน)
เมื่อวันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน 5 ปีขาล เวลา ๐๘.๔๙ ลัคนาสถิตย์เทวีแห่งฤกษ์วางฤกษ์ พอได้เวลา ๐๖.๔๕ น. หลวงปู่ทิมจุดเทียนชัย พระสงฆ์ ๙ รูปเจริญพระพุทธมนต์ แล้วสวดคาถาจุดเทียนชัย ฤกษ์ในการจุดเทียนชัยท่านอาจารย์เทพสาริกบุตร ปรมาจารย์ฆราวาสผู้เชี่ยวชาญวิชาพุทธาคมเป็นผู้กำหนดให้
ส่วนเทียนชัยนั้น อาจารย์หนู(นิรันดร์ แดงวิจิตร) ปรมาจารย์พระกริ่งสายวัดสุทัศน์ฯ ศิษย์สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นผู้จัดทำโดยใช้เทียนบริสุทธิ์ หนักถึง ๘๐ บาท ใช้ไส้เทียน ๙๕ เส้น เท่ากับอายุหลวงปู่ในขณะนั้น ควันเทียน สูง ๑๕๘ เซ็นติเมตร เท่ากับส่วนสูงหลวงปู่ทิม สำคัญอาจารย์หนู ยังเมตตามอบเจ้าน้ำเงินของ สมเด็จพระสังฆราชแพให้เพื่อใช้เป็นมวลสารในการหล่อพระกริงครั้งนี้
ด้วยพระพุทธลักษณ์ของพระกริ่งชินบัญชรนั้นได้ถอดแบบมาจาก พระกริ่งใหญ่ ราชวงศ์ถัง ศิลปะแบบจีน พุทธลักษณะเป็น พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้าประทับนั่งบนบัว ๒ ชั้น ๗ คู่ พระหัตถ์ซ้ายทรง หม้อยาอัคตะ พระหัตถ์ขวาอยู่เหนือพระชานุขัด ขัดสมาธิเพชร พระเกศาเป็นเม็ดกลมๆ จัดว่าสวยงามมาก เมื่อได้ฤกษ์เททองหล่อพระ หลวงปู่ทิม ให้เริ่มเททองหล่อพระชัยวัฒน์ทองคำเป็นปฐมฤกษ์

ก่อนถือเอาฤกษ์ เอาชัย เมื่อ เวลา ๐๘.๔๙ น. โดยมีพระอาจารย์เชย เจ้าอาวาสวัดละหารไร่ รูปปัจจุบัน และพระอาจารย์ทองเจือ ธมมธีโร วัดปากน้ำ ช่วยจับสายสูตร การเททองหล่อพระ ทั้งหมดก็ได้ดำเนินต่อไปจนกระทั่ง เททองหล่อเสร็จหมดทุกองค์ภาย ในโรงพิธีจนถึงเวลา ๑๖.๒๙ น. โดย หลวงปู่ทิมได้อยู่เป็นประธานใน พิธีตั้งแต่เริ่มเททองพระชัยวัฒน์ ทองคำช่อแรกจนถึง พระปิดตาปุ้มปุ๋ยเป็นช่อสุดท้ายโดยมิได้ออกไปจากโรงพิธีเลย
การหล่อพระกริ่งชินบัญชรครั้งนั้น อยู่ในช่วงฤดูฝนและเป็นระยะที่มีฝนตก แต่ในเวลาที่เททองหล่อพระชุดชินบัญชร นี้บริเวณวัดละหารไร่ กลับไม่มี ฝนตกเลย ทั้งที่รอบนอกห่างจากวัดไปไม่เท่าไรมีฝนตกหนักมาก จวบจนเททอง หล่อพระกริ่งเสร็จ ฝนจึงตกลงมาอย่างหนัก ผู้คนทั่วไปเห็นความมหัศจรรย์ในพิธีครั้งนี้ ผู้คนที่มาจึงเริ่มหาใบจองพระกริ่งชินบัญชร
ปัจจุบันพระกริ่งชินบัญชร มีราคาค่างวดที่สูงขึ้นเนื้อทองคำอยู่ที่หลักหลายล้าน, เนื้อนวโลหะ ก้นเงิน, ก้นทองแดง, ก้นอุดผงพลายกุมาร ก็มีราคาองค์ละหลายแสนบาท พระกริ่งชินบัญชรที่จัดสร้างทั้งหมดมีรายละเอียดดังนี้
รายละเอียดพระกริ่งชินบัญชรที่จัดสร้างทั้งหมด
๑. พระกริ่งชินบัญชร เนื้อทองคำ มีจำนวนการสร้างที่แท้จริง ๑๓ องค์ แต่จะมีแค่ ๑-๑๒ องค์เท่านั้นที่ตอกโค๊ดหมายเลขไทย ตั้งแต่ ๑-๑๒ และโค๊ดศาลา ไว้ที่ใต้ฐานพระทุกองค์และปิดกัน ด้วยแผ่นทองคำ ด้านหลังตอกโค้ดเม็ดงาตัว นะ ไว้ทุกองค์เพื่อ กันปลอม ท่านอาจารย์ชินพร เคยกล่าวถึงพระกริ่งชินบัญชรเนื้อทองคำองค์ที่ ว่า “ช่างสมร รัชนธรรม” ผู้รับ สร้างเททองหล่อพระกริ่งชินบัญชร ได้ปลดสร้อยคอทองคำ เพื่อหล่อไว้สำหรับตนเอง จึงไม่ได้ตอกหมายเลขลำดับที่ ๑๓ ไว้เช่นพระกริ่งองค์อื่นๆ และไม่ได้ตอกโค็ตตัว นะ ในเม็ดงา จำนวนการสร้างในที่ทำเนียบจึงนับแค่ ๑๒ องค์
๒. พระกริ่งชินบัญชร เนื้อนวโลหะ ก้นทองคำ จัดทำเพื่อแจกกรรมการที่ร่วมทำงาน โดยนำพระกริ่งก้นทองแดง และก้นเงินมาถอดก้นทิ้ง ทำครั้งแรก ๙ องค์ ไม่พอแจก จึงทำเพิ่มอีก ๗ องค์ รวม เป็น ๑๖ องค์ แล้วนำไปให้หลวงปู่ทิม เสกเพิ่มอีกครั้ง เพื่อไม่ให้แย่งหมายเลขกัน หลวงปู่ทิม บอกให้ตอกเลข ๙ ทุกองค์ และด้านหลังพระจะตอกโค้ตเม็ดงา ตัว นะ ไว้ทุกองค์

๓. พระกริ่งชินบัญชร เนื้อพิเศษ (บรมพุทโธ) จำนวนการสร้าง ๙ องค์เนื้อโลหะพิเศษชนิดนี้ คุณเพชร แห่งร้านขายผ้าหลีแช ย่านถนนบางลำพู เป็นผู้นำมาเข้าร่วมการจัดสร้างเนื้อโลหะชนิดนี้จะมีสีออกดำเป็นเงามันมากกว่าเนื้อนวโลหะมาก ที่ใต้ฐานพระตอกโค๊ตศาลา และ ด้านหลังองค์พระจะตอกโค็ดเม็ดงา ตัว นะ ไว้ทุกองค์

๔. พระกริ่งชินบัญชร เนื้อนวโลหะ ก้นอุดผงพรายกุมาร จำนวนการสร้าง ๑๐๑ องค์ มีการตอกเลขไทย ๑-๑๐๑, โค็ต ตัว อิ, โค็ตเม็ดงา ตัว นะ ที่ด้านหลังองค์พระทุกองค์ ที่กันอุดด้วยผงพรายกุมาร
๕. พระกริ่งชินบัญชร เนื้อนวโลหะ ก้นเงิน จำนวนการสร้าง ๓๙๐ องค์ พระกริ่งเนื้อนี้มี ๒ ส่วน คือ พระถูกแบ่งเป็น ๒ ส่วนเท่าๆ กัน (๑๙๕ องค์) ส่วนหนึ่งตอกเลขไทย ๐-๑๙๕ พระกริ่งที่ตอกเลขนี้ได้ถวายให้ พระอาจารย์ทองเจือ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จำนวน ๑๕๐ องค์ เพื่อนำไปให้ออกเช่าบูชาหาปัจจัยเข้า วัดเจ้าเจ็ด จังหวัดอยุธยา อีก ๔๕ องค์เก็บไว้แจกลูกศิษย์หลวงปู่ทิมละแวกแถว

วัดละหารไร่ ที่เข้าช่วยงาน ส่วนพระกริ่งอีกครึ่งหนึ่ง (๑๙๕ องค์) ที่ไม่ได้ตอกหมายเลขนั้นเรียกว่ารุ่นกรรมการ แต่พระกริ่งจำนวนทั้งหมด ๓๙๐ องค์ มีการตอกโค้ดเม็ดงา ตัว นะ ไว้ที่ด้านหลังพระ และที่ใต้ฐานพระก็ตอกโค๊ดศาลาไว้ทุกองค์ ไม่ว่าตอกเลข หรือไม่ตอกเลข
๖. พระกริ่งชินบัญชร เนื้อนวโลหะ ก้นทองแดง จำนวนการสร้าง ๒,๕๙๕ องค์ มีการตอกหมายเลขกำกับ ๑-๒๕๙๕ ที่ใต้ฐานพระ และด้านหลังองค์พระจะตอกโค็ตเม็ดงา ตัว นะ ไว้ที่พระทุกองค์

เครดิตรูปภาพ : g-pra.com
credit. เซ็กซี่บาคาร่า