แหวนพิรอดเป็นเครื่องรางโบราณชนิดหนึ่งมีลักษณะเป็นเชือกหรือผ้าควั่นเป็นวง ตรงหัวผูกเป็นเงื่อนพิรอตมีสองขนาดขนาต เล็กเรียกว่าพิรอดนิ้ว ใช้สวมนิ้ว ชนิดใหญ่ใช้สวมที่ตันแขน เรียกว่าพิรอดแขน หรื “สนับแขนพิรอด” ซึ่งนักมวยไทยใช้กัน สนับแขนพิรอดส่วนใหญ่ทำด้วยด้ายดิบควั่น ปัจจุบันนักมวยไทยยังใช้กันอยู่ พิรอดทำจากวัสดุหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกระดาษว่าวลงยันต์แล้วนำมาควั่นลงรักปิดทอง บางครั้งก็ทำมาจากผ้ามัดตราสังข์หรือจีวรพระก็มี
ตำราการสร้างพิรอดนั้นแต่เติมมีวัตถุประสงค์ใช้เป็นอาวุธของนักมวยไทย ในการต่อสู้ด้วยวิธีกอดปล้ำเข้าวงในเพราะสนับแขนพิรอดที่ทำจากด้ายดิบ หากนำไปลงรักแล้วจะแข็งและคมเมื่อใช้ถูกับผิวหนังนักมวยฝ่ายตรงข้าม จะทำให้เจ็บและไม่อยากเข้าต่อสู้ตัวย การเข้าวงในก็เป็นการจำกัดรูป
มวยฝ่ายตรงข้ามเรียกว่า พาให้คู่ต่อสู้เข้าทางมวยเราได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้ได้เปรียบในเชิงการต่อสู้ ในปัจจุบันจะพบเห็นในการแข่งขันชกมวยไทย
คำว่าพิรอด มาจากภาษาสันกฤตว่า วิรุทธ หรือ

พิรุทธ แปลว่า “อันขัดกันอยู่” เป็นการได้รับการต่อต้านหรือขัดขวาง หากหมายถึงความขัดแย้งก็เหมือนจะตรงกันข้าม แต่เมื่อพิจารณาจากลายที่ถักใช้ขัดกันแบบเงื่อนลูกเสือที่เรียกกันว่า เงื่อนพิรอด ก็ดูจะสมกับชื่อในภาษาสันสกฤตอยู่มาก เงื่อนพิรอตนี้เป็นเงื่อนที่ใช้กันมาแต่โบราณนานมาแล้ว หลักฐานที่พอจะชี้ให้เห็นเป็นตัวอย่างได้ก็คือ รูปสลักหินโบราณของพวกขอม จะเห็นว่าผ้าคาดเอวตรงด้านหน้าทำเป็นเชือกผูกเป็นเงื่อนพิรอดอย่างนี้เหมือนกันแต่ปัจจุบันคงเป็นแค่เครื่องรางอย่างหนึ่งเท่านั้น วัสดุที่ใช้ทำแหวนพิรอดโดยมากทำด้วยกระตาษว่าวกับถักด้วยเชือก
ตำนานแหวนพิรอด เมื่อย้อนยุคไปเมื่อสักเกือบศตวรรษนั้นแหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วง วัตประดู่ทรงธรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีชื่อมากขนาด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้อยู่หัวฯ (รัชกาลที่5) ได้ทรงกล่าวถึงอาจารย์ ที่สร้างแหวนพิรอด ที่ขึ้นชื่อลือชาในสมัยที่พระองค์ประสบพบเห็นโดยทรงพระราชนิพนธ์บันทึกไว้นี้สองท่านคือ รูปหนึ่งคือเจ้าอธิการเฮง วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ อาจารย์ฝ่าย วิปัสสนาธุระ(ท่านเป็นอาจารย์ของหลวงพ่อเดิม)ได้นำแหวน
พิรอดมาถวายพระเจ้าลูกเธอที่ตามเสด็จได้ทรงวิจารณ์ไว้ว่า”เอาแหวนถักพิรอดมาแจกแหวนนั้นทำนองเดียวกับขรัว ม่วงวัดประดู่ แต่ขรัวม่วงถักด้วยกระดาษลงรักนี่ถักด้วยด้ายทำเรียบร้อยดึ” ซึ่งพอจะคะเนได้ว่าพระเถระทั้งสองรูปน่าจะ เป็นเคจิยาจารย์ของเมืองกรุงเก่า (อยุธยา) แหวนพิรอดเดิมทีนั้นใช้วัตุที่หาได้จากใกล้ๆตัวตามวิถีชีวิตคนในสมัยนั้นคือมักทำด้วยกระดาษว่าว ก็เพราะเป็นกระดาษที่เหนียวแน่นดีกว่ากระดาษชนิดอื่น
การสร้างแหวนพิรอดนี้ถ้าจะให้ถูกต้องตามตำรับเดิมนั้น ผู้ที่สร้างเรื่องรางชนิดนี้จะต้องร่ำเรียนคัมภีร์ตรีนิสิงเห อันเป็นตำรับผงวิเศษประการหนึ่ง เชื่อว่ามีอิทธิคุณทางป้องกันคุณไสยและภูตผีปีศาจทั้งปวง ทั้งยังเป็นแคล้วคลาค คงทนต่อศาสตราวทั้งปวง โดยผู้ที่ทำจะต้องชำนาญ กลตรีนิสิงเห ลบอัตราเลขเป็นองค์พระภควัมบดีแล้วนำมาใส่ไว้ในกระดาษหรือผ้าที่จะนำมาทำเป็นแหวนพิรอด ในตำราเดิม กล่าวสรรเสริญคุณเอาไว้ว่า “อย่าว่าแต่ศึกมนุษย์เลยต่อให้ศึกเทวดาก็อย่าได้เกรงกลัว”
สิทธิการิยะ ถ้ากุลบุตรผู้ใดจะเล่าเรียนตำราตรีนิสิงเห ให้แต่งบายศรีซ้ายขวาธูปเทียน ทองบูชาอาจารย์ นมัสการด้วยคาถานี้ นะโมนะมัสสิตะวา อาจาริยังคะรูปาทัง อันตะรายังวินาสสันติ สัพพะกัมมังประสิทธิเม สิทธิกิจจัง สิทธิกัมมัง สิทธิการิยะ ตะถาคะโต สิทธิเตโชชะโยนิจจัง สิทธิลาโภนิ
รันตะรัง สิทธิพุทธานะมามิหัง กายะสิทธิ จิตตะสิทธิ สารพัดสิทธิ ภะวันตุเม เอหิพุทรังเอหิธัมมังเอหิสังฆัง คุณกคูกูขลัง ให้ว่าอะไรให้เป็นนั่นๆ
วิธีจะทำตรีนิสิงเห (ฉบับพิสดาร) อาจาริยะให้ตั้งอัตราทวา ทสมงคลลงไปดังนี้ ให้เรียกลงตามสูตร (ตรีนิสิงเห) ทุกตัว
3 7 5 4 6 5 1 9 5 2 8 5 ฯ
3มะอะอุตรีนิสิงเห
7สังวิราปุกะยะปะสัตกะนาเค
5อาปามะจุปะปัญจะวิสสะณุกัญเจวะ
4จะภะกะสะจัตตุโลกะปาลา
6อิสวาสุสุสวาอิฉะราชา
5ทิมะสังอังขปัญจะอินทะทา
1มิเอกะยักขา
9อะสังวิสุโลปุสะพุพะนะวะเทวา
5กุสสะลาธัมมาปัญจะพรหมมะสหัมปะติ
2พุทโธทะเวราชา
8พามานาอุกะสะนะทุอัฏฐะอะระหันตา
5นะโมพุทธายะปัญจะพุทธานะมามิหัง

อุปท่ห์ของผงตรีนิสิงเห นี้ได้ใช้ทุกประการตามแต่จะปรารถนเถิด ใช้ในทางบำบัดโรคภัยไข้เจ็บ แก้กระทำคุณไสยภูตผีปีศาจต่างๆ นานา โดยผสมใส่ในน้ำมนต์ให้กินอาบ โรคภัยหายสิ้น ใช้ทางเมตตามหานิยมก็ได้ ถ้าจะกระทำให้พิสดารยิ่งไปกว่านี้ก็ได้ โดยไม่ลบยันต์เป็นนะโม แต่ลบเอาพระอักขระในยันต์นั้นมาทำต่อไป เป็นราชห์ เป็นช้าง เป็นเทวดา ทำเป็นธาตุเป็นอิทธิฤทธิ์ ทำเป็นพระอินทรฺ ทำเป็นมหายักษ์ ทำเป็นนพเคราะห์ทั้ง 9 พระองด์ ทำเป็นพระเจ้า 5 พระองค์ ทำเป็นนิพพานสูญแล ฯ
พระครูสิงคิคุณธาดา (หลวงพ่อม่วง จันทสโร)
วัดบ้านทวน จ.กาญจุ่นบุรี เป็นเครื่องรางที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดของเครื่องราง แหวนพิรอดของหลวงพ่อม่วงสร้างจากตำราโบราณ ท่านทำด้วยผ้าติบตามตำราโบราณบันทึกไว้ว่าทำจากผ้าดิบห่อศพหรือผ้ามัดตราสังฆ์ นำมาตัด เป็นเส้นแล้วลงอักขระหกจิ๋นที่ผ้ตัวยพระคาถากลบทพระอิ
ติโและหัวใจพระธรรม 7 คัมภีร์ ลงเดินหน้า ถอยหลังกลับไปกลับมา เรียกว่าลงกลับไปลงกลับมา หรือส่งกลับไปส่งกลับมา เป็นอนุโลม ปฏิโลม
เมื่อใครอยากจะได้ก็จะไปขอให้ท่านเมตตาทำให้ ท่านก็จะพิจารณาทำให้เป็นรายบุคคลไป เมื่อทำเสร็จแล้ว หลวงปู่จะทดสอบความขลังในเวลา ค่ำคืนอันเป็นเดือนมืดดึกสงัดท่านจะก่อกองไฟทำพิธีแล้วก่อนจะโยนมงคลแขน หรือแหวน พิรอดนั้นๆเข้าไปในกองไฟจนรุ่งเช้าท่านก็จะมาเขี่ยกองขี้เถ้าดู ถ้าวงใดที่ไหม้ไฟถือว่ายังใช้ไม่ได้ ถ้าวงใดไม่ไหมไฟก็ถือเป็น อันเสร็จใช้ได้ ท่านก็จะมอบให้แก่ผู้ที่มาขอไป ซึ่งบางคนกว่าจะได้ต้องรอนานหลายๆเดือน จนกว่าท่านจะมีเวลาทำให้ คนที่ได้นำไปใช้ต่างก็มีประสบการณ์กันมากมาย จึงเป็นที่นิยมเสาะหาพกพาติดตัวกันมากในหมู่คนรุ่นเก่าส่วนคนรุ่นใหม่ ไม่ใคร่มีใดรู้จักเท่าใดนัก เวลาคาดต้องขัดเป็นเงื่อนพิรอด มีคาถากำกับว่า “พระพิรอดขอดพระพินัย” และเวลาแก้เชือกก็มีคาถาว่า “พระพินัยคลายพระพิรอด” อันจะเห็นได้ว่าศาสตร์
การใช้เงื่อนพิรอดนั้นยังสืบมาถึงเครื่องคาดอย่างเชือกหรือการ ผูกตะกรุต พิสมรซึ่งต้องรวมถึงเครื่องรางโบราณอีกชนิดที่ปัจจุบันไม่ค่อยมีเกจิยาจารย์สร้างก็คือ “ผ้าขอด” ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของเครื่องพิรอดด้วย โดยผ้าขอดนั้นจะเป็นการขัด
“พิรอดเดี่ยว”
มงคลแขน แหวนพิรอด มีคุณวิเศษ นานัประการสมเป็นหนึ่งในยอดเครื่องรางของสยามประเทศ เสียแต่ที่ปัจจุบันน้อยคนนักที่จะใช้เครื่องรางชนิดนี้
credit. เซ็กซี่บาคาร่า
เกมส์ออนไลน์แนะนำ >>> บาคาร่า