ประวัติความเป็นมา “พระกริ่งคลองตะเคียน” สุดยอดพระกริ่งเนื้อดินหายาก !

พระเครื่อง พระกริ่งคลองตะเคียน

หัวข้อ

เราจะมาพูดถึง ประวัติความเป็นมา “พระกริ่งคลองตะเคียน” สุดยอดพระกริ่งเนื้อดินหายาก ! ที่มีเนื้อมวลสารจากดินเป็นหลัก ไม่ใช่พระกริ่งที่เป็นเนื้อชินหรือเนื้อเงิน ถือเป็นพระกริ่งเนื้อดินที่ไม่ได้หาดูกันได้ง่ายๆ เนื่องจากมีความเก่าแก่ พร้อมทั้งพุทธคุณที่เป็นเลิศ มีความโด่งดังและเป็นที่ร่ำลือกันมานาน หากอยากทราบกันแล้วว่ามีความเป็นมากันอย่างไร อย่ารอช้ากันอยู่เลย เราไปชมพร้อมๆกันเลยดีกว่า ! 

ประวัติความเป็นมา “พระกริ่งคลองตะเคียน”

เชื่อว่าหลายๆคนอาจเคยได้ยินและคุ้นหูกันมาบ้าง สำหรับ ประวัติพระกริ่งคลองตะเคียน ตำบลคลองตะเคียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลและกำลังจะนำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้เข้าใจกันแบบคร่าวๆ กันเพิ่มเติมเลยก็คือ พระกริ่งนี้ไม่ใช่พระกริ่งเนื้อชินหรือเนื้อโลหะ ที่ใครหลายคนเคยพบกันในรูปแบบทั่วไป หากแต่คือพระกริ่งเนื้อดินที่มีการผสมผงใบลานและว่าน 108 รวมทั้งมวลสารอื่นๆ จึงทำให้มีลักษณะแปลกและแตกต่าง นอกจากนี้ยังมีสีที่แปลกตากว่าพระกริ่งอื่นๆกันอีกด้วย 

สำหรับแหล่งกำเนิดของพระกริ่งนี้ อยู่ในชุมชนของชาวมุสลิมที่มีเชื้อสายมลายู ช่วงสมัยที่ได้มีการทำการค้าในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณตำบลคลองตะเคียน อำเภอพระนครศรีอยุธยา ซึ่งในตำบลนี้จะมีลำคลอง และในอดีตนั้น เคยมีต้นตะเคียนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณต้นทางของลำคลอง ทางด้านทิศตะวันออก จึงถูกเรียกว่าคลองตะเคียน ซึ่งถือเป็นตำบลเก่าแก่ ที่มีมาตั้งแต่ยุคสมัยที่กรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี 

ต่อจากนั้นช่วงยุคสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ในช่วงแตกกรุครั้งแรก ได้มีการพบองค์พระอยู่บริเวณวัดประดู่ทรงธรรม ซึ่งพบเห็นได้ทั่วไป อาจด้วยรูปลักษณะขององค์พระที่เมื่อได้ถูกนำมาเขย่าแล้ว ก็จะมีดังคล้ายกับกริ่งหรือกระดิ่งอยู่ภายในองค์พระ จึงทำให้มีการเรียกขานพระนี้ว่า “พระกริ่ง” และอาจเพราะแหล่งที่พบองค์พระคือบริเวณตำบลคลองตะเคียน จึงเป็นที่มาของการเรียกพระกริ่งนี้ว่า  พระกริ่งคลองตะเคียน มาจนถึงในยุคปัจจุบัน และนั่นคือแหล่งกำเนิดของการค้นพบพระกริ่งเนื้อดินครั้งแรก

credit. เซ็กซี่บาคาร่า

ต่อมาภายหลังจากการค้นพบของกรมศิลปากร สำนักโบราณคดีก็ได้มีการพบว่าบริเวณนี้ได้เป็นที่ตั้งของวัดเก่าแก่ถึง 3 วัด และได้มีการค้นพบพระกริ่งเนื้อดินและพระชนิดต่างๆตามนี้ ได้แก่ 

วัดที่ 1 คือวัดโคกจินดา ได้พบพระกริ่งที่เป็นพระเนื้อดินในกลุ่มที่มีผู้นิยมกันมาก เช่น พระกริ่งพิมพ์หน้าเล็ก พระกริ่งพิมพ์หน้าใหญ่ พระกริ่งพิมพ์หน้าฤาษี อีกทั้งยังพบพระปิดตาอีกหลายพิมพ์ ซึ่งแต่ละองค์มีความปราณีตและสวยงาม มีความเป็นเอกลักษณ์ในรูปแบบเฉพาะของวัด

วัดที่ 2 คือ วัดสำเภาร่ม ซึ่งได้พบพระพิมพ์สมาธิ พระปิดตามหาอุด ซึ่งมีความสวยงามและปราณีตมากเช่นกันแต่ลายมือการจารนั้นไม่ปราณีตเท่าวัดโคกจินดา 

วัดที่ 3 คือ พระที่พบส่วนมากก็เป็นพระยุคเดียวกันกับ พระกริ่งในสองวัดที่กล่าวมาเมื่อสักครู่ แต่มีเอกลักษณ์การจารมีความหนาและหวัด ดูค่อนข้างดุดัน และไม่ปราณีตเท่าวัดโคกจินดาและวัดสำเภาร่มเท่าใดนัก   

ใครคือผู้สร้างพระกริ่งคลองตะเคียน

เชื่อกันว่าอาจคงมีใครหลายคนเคยตั้งคำถามว่าใครคือผู้สร้างพระกริ่งคลองตะเคียน นี้ขึ้นมา ซึ่งจากข้อมูลที่ได้มีการรวบรวมไว้ก็คือมีการสันนิษฐานว่า อาจถูกสร้างโดยพระเกจิผู้เรืองวิทยาคม ในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย จากหลักฐานของลายมือในการจานยันต์ซึ่งมีอักขระเป็นลายมือเดียวกัน 

พุทธลักษณะ

สำหรับในด้านของพุทธลักษณะส่วนใหญ่ของ พระกริ่งคลองตะเคียน ที่พบ คือองค์พระประธานมีพระพักตร์กลมและใหญ่ หัวไหล่ด้านขวาจะยกสูงกว่าด้ายซ้าย ประทับนั่งสมาธิแสดงปางมารวิชัย บนฐานอาสนะที่ค่อนข้างสูง ด้านเหนือเศียรจะมีต้นโพธิ์และมีใบโพธิ์ปกคลุมอยู่ ใต้ซุ้มใบโพธิ์นั้นจะมีลักษณะเป็นเม็ดๆ ส่วนรูปทรงนั้นด้านล่างจะมีความเป็นเหลี่ยมมีมุมซ้ายขวาที่เป็นส่วนโค้งมน ส่วนด้านบนและเป็นลักษณะแหลม มองเผินๆทั้งองค์จะคล้ายกับกลีบบัว เป็นเนื้อดิน ด้านหลังมีการจารลงอักขระโบราณ มีความคล้ายกับ “พระคง ลำพูน” ของทางเหนือ ซึ่งพิมพ์นิยม จะมีด้วยกัน 2 พิมพ์ คือพิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็ก 

เนื้อมวลสาร 

มีกรรมวิธีในการสร้างที่มีความปราณีตสูง เนื้อมวลสาร ของพระกริ่งคลองตะเคียนนี้ จะมีลักษณะเป็นเนื้อดินเผา โดยมีมวลสารของเนื้อดินเป็นหลักแต่จะมีการนำผงใบลาน, เกสรดอกไม้มงคล,ว่าน 108 และมีมวลสารอื่นๆมาผสมในการสร้างพระ ซึ่งภายในองค์พระจะมีลักษณะกลวง เพราะมีการบรรจุเม็ดกริ่งไว้ด้านใน และใช้กรรมวิธีเหมือนกันทุกองค์ ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของพระกริ่ง ได้มีการสันนิษฐานว่าดินและใบลานที่นำมาสร้างพระกริ่งนี้นั้น อาจมีการนำไม้ตะเคียนที่มีเนื้อละเอียดมากนำมาผสมอยู่ด้วย และเหตุที่มีสีน้ำตาลและสีอื่นปะปนด้วยเช่น สีดำ สีเทาอมเขียว นั่นก็เป็นไปได้ว่ากรรมวิธีในการทำนั้นได้ผ่านการเผามานั่นเอง 

พุทธคุณ

สำหรับด้านพุทธคุณนั้นได้มีการร่ำลือกันว่า “เหนียวจริงๆ” เพราะครั้งในสมัยสงครามที่มีการสู้รบ คนในสมัยนั้นนิยมอาราธนา แล้วนำมาอมไว้ในปากเวลาออกรบ จากนั้นก็แคล้วคลาดปลอดภัยกลับมา บ้างก็ฟันแทงไม่เข้า จึงเชื่อกันว่าพุทธคุณเป็นเลิศที่มีความโดดเด่นในด้านมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม นอกจากนี้ยังมีอื่นๆอีกมากมาย ที่ถูกเล่าขานต่อๆกันมาจนถึงยุคปัจจุบัน  

ด้านหน้า-หลัง

พระกริ่งคลองตะเคียน วัดประดู่ทรงธรรม อ. คลองตะเคียน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 

ชื่อพระกริ่งคลองตะเคียน วัดประดู่ทรงธรรม อ. คลองตะเคียน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา 
ประเภทพระกริ่งเนื้อดินเผา
ผู้สร้างพระเกจิสมัยอยุธยาตอนปลาย (โดยการสันนิษฐาน)
ศิลปะยุคสมัยอยุธยาตอนปลาย
อายุการสร้างกว่า 200 ปี
กรรมวิธีสร้างใช้กรรมวิธีการเผาโบราณ โดยมีการนำผงใบลาน, เกสรดอกไม้มงคล,ว่าน 108 และมีมวลสารอื่นๆมาผสมในการสร้างพระ ตามด้วยการบรรจุเม็ดกริ่งไว้ภายในองค์พระ 
เนื้อพระ/มวลสารดินเป็นหลัก นำผงใบลาน, เกสรดอกไม้มงคล,ว่าน 108
การแยกพิมพ์2 พิมพ์ พิมพ์หน้าเล็ก และ พิมพ์หน้าใหญ่ 
พุทธคุณมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม นอกจากนี้ยังมีอื่นๆอีกมากมาย
พุทธลักษณะองค์พระประธานมีพระพักตร์กลมและใหญ่ หัวไหล่ด้านขวาจะยกสูงกว่าด้ายซ้าย ประทับนั่งสมาธิแสดงปางมารวิชัย บนฐานอาสนะที่ค่อนข้างสูง ด้านเหนือเศียรจะมีต้นโพธิ์และมีใบโพธิ์ปกคลุมอยู่ ใต้ซุ้มใบโพธิ์นั้นจะมีลักษณะเป็นเม็ดๆ ส่วนรูปทรงนั้นด้านล่างจะมีความเป็นเหลี่ยมมีมุมซ้ายขวาที่เป็นส่วนโค้งมน ส่วนด้านบนและเป็นลักษณะแหลม
มูลค่าราคาประมาณการwww.arjanram.com

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเรื่องราว ที่พวกเราได้รวบรวมนำมาเล่าสู่กันฟัง ผ่านบทความ ประวัติความเป็นมา “พระกริ่งคลองตะเคียน” สุดยอดพระกริ่งเนื้อดินหายาก ! ในครั้งนี้ ซึ่งพวกเราทีมงานหวังว่าคุณจะถูกใจ และได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เราได้นำมาฝาก ไม่ว่าจะเป็น ประวัติพระกริ่งคลองตะเคียน  พุทธคุณ พุทธลักษณะ เนื้อมวลสาร และอื่นๆที่เรานำมาฝาก ซึ่งเราเชื่อว่าท่านผู้อ่านที่รักและชื่นชอบพระกริ่งแต่เดิมอยู่แล้วจะต้องเต็มอิ่มกันอย่างแน่นอน

และก่อนจากกันในครั้งนี้ ขออำนาจบารมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมถึงอำนาจพุทธคุณจาก พระกริ่งคลองตะเคียน ปกปักรักษาท่านผู้อ่านทุกท่านให้ปลอดภัย จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสร้ายในครั้งนี้ เราจะผ่านพ้นไปด้วยกัน และสำหรับครั้งนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อน หากผิดพลาดประการใดพวกเราทีมงานต้องขออภัย ณ ที่นี้ แล้วพบกันใหม่กับบทความในครั้งหน้า จะมีอะไรมานำเสนอกันอีกนั้นต้องห้ามพลาดนะคะ  ขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านสำหรับการติดตามอ่าน  

พิมพ์สองหน้า baantonmai-pra.com, siamrath.co.th, arjanram.com

พุทธลักษณะ arjanram.com

Credit ฝากถอนไม่มีขั้นต่ำ

Poster 24
Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการพระเครื่องในประเทศไทย

Facebook
Twitter