หากมีท่านใดถามถึงพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งเมืองเพชรบูรณ์ พระผู้มีดวงจิตอันแก่กล้าเชื่อว่าใครหลายคนจะต้องนึกถึงหลวงพ่อทบขึ้นมาทันทีอย่างแน่นอน เป็นเหตุผลที่ทำให้ในวันนี้คุณมา ถ้าถึงเรื่องราวของ ประวัติความเป็นมา “หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ” วัดพระพุทธบาทชนแดน อ.ชนแดน พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองเพชรบูรณ์ ! ที่จะมาบอกถึงประวัติแบบคร่าวๆของท่านให้คุณ พร้อมทั้งให้คุณได้รู้จักกับกับปฏิปทาอันแรงกล้าของท่าน และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับเนื้อหาสาระที่น่าสนใจในครั้งนี้กันเลยดีกว่า
ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ แห่ง วัดพระพุทธบาทชนแดน เมืองเพชรบูรณ์
สำหรับพระครูวิชิตพัชราจารย์ หรือที่ใครหลายคนมักจะรู้จักกันดีในนามของหลวงพ่อทบธรรมปัญโญนั้น นั่นคือประเทศรุ่นเก่าซึ่งท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ 2424 วันที่ 3 เดือนมีนาคม ท่านเป็นชาวจังหวัดเพชรบูรณ์เกิดที่บ้านยางหัวลมหรือในปัจจุบันก็คือตำบลวังชมภู อยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์นั่นเอง ท่านเป็นบุตรชายของคุณพ่อเผือกและคุณแม่อินทร์ ม่วงดี
ในวัยเด็กครอบครัวของท่านเรียกได้ว่าเป็นครอบครัวที่ฐานะอยู่ในเกณฑ์ดี จากนั้นเมื่ออายุได้ประมาณ 16 ปีคุณพ่อของหลวงพ่อทบก็ได้นำตัวท่านไปฝากกับพระอาจารย์ศรีแห่งวัดช้างเผือกซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ตำบลวังชมภูอำเภอเมืองนั่นเอง ในการนำไปฝากครั้งนั้นก็เพื่อให้หลวงพ่อทบท่านได้บวชเป็นสามเณรและมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนทางด้านพระธรรมวินัย ซึ่งท่านก็ได้บวชและตั้งใจเล่าเรียนทางด้านพระธรรมวินัยรวมไปถึงวิชาทางด้านวิทยาคม พระอาจารย์ของท่านก็คือพระอาจารย์ศรี ผู้ถ่ายทอดวิชาต่างๆให้กับท่าน
เมื่อเรียนจนมีความรู้แตกฉานแล้ว ถัดมาในช่วงปี พ.ศ 2445 เมื่ออายุ 21 ปีบริบูรณ์ซึ่งสามารถบวชเป็นพระได้แล้วท่านก็ได้เข้าพิธีอุปสมบท และบวชอยู่ที่วัดศิลามูลซึ่งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์เช่นกัน ซึ่งการบวชในครั้งนั้นพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับท่านก็คือพระครูเมือง และสำหรับพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ให้กับท่านก็คือพระอาจารย์ปาน และสวนพระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้กับท่านก็คือพระอาจารย์ศรีผู้เป็นพระอาจารย์ของท่าน และฉายาทางธรรมที่ท่านได้รับก็คือ “ธมฺมปญฺโญ” ซึ่งคำนี้มีความหมายว่าผู้มีความรู้ในทางพระธรรม
เข้าพิธีอุปสมบท
หลังจากที่บวชท่านก็ได้จำพรรษาอยู่ที่วัดช้างเผือกซึ่งอยู่ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จากนั้นก็ได้มีโอกาสศึกษาทางด้านวิชาอาคมเพิ่มเติมจากพระอาจารย์ของท่านซึ่งก็คือพระอาจารย์ศรีพระอาจารย์ปาน รวมไปถึงอาจารย์ผู้เป็นฆราวาสที่มีอาคมแก่กล้าซึ่งก็คือหลวง ทศบรรณ อีกทั้งท่านยังมีความสนใจทางด้านวิปัสสนาและได้ศึกษาจากพระอาจารย์ของท่าน อีกคู่หนึ่งซึ่งก็คือพระครูเมือง จนมีความรู้แตกฉาน และมีคำร่ำลือที่ว่า สามารถนั่งวิปัสสนาได้โดยไม่ฉันอาหารเป็นเวลาหลายวัน แล้วหลังจากนั้นท่านก็บำเพ็ญภาวนาปฏิบัติรวมไปถึงเดินธุดงค์อย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ยังแสวงหาสถานที่ที่มีความเงียบสงบเพื่อการปฏิบัติและทำกรรมฐาน ซึ่งโดยนิสัยของท่านนั้นเป็นผู้ชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอจึงทำให้ท่านหมั่นฝึกฝนและศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิทยาคมไปกับอาจารย์ต่างๆเพิ่มเติม
การแสวงหาความรู้ของหลวงพ่อทบ
โดยปกติแล้วหลวงพ่อทบท่านมักจะออกเดินธุดงค์ ครั้งหนึ่งท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์และไปพบกับหลวงพ่อเขียน แต่ด้วยพรรษาที่มากกว่าและอายุที่มากกว่าจึงทำให้ท่านเรียกหลวงพ่อทบว่าหลวงพี่ และเรียกเช่นนั้นอยู่เสมอ หลวงพ่อเขียนนี้เดิมทีท่านเป็นคนบ้านตลิ่งชัน และหลังจากนั้นท่านก็ได้มีโอกาสไปทำการบูรณะวัดและสร้างสิ่งต่างๆอันได้แก่สาระการเปรียญสร้างกุฏิสงฆ์ขุดบ่อน้ำและที่สำคัญก็คือได้มีโอกาสร่วมสร้างพระอุโบสถจนเป็นที่สำเร็จโดยสมบูรณ์และยังคงใช้ในการประกอบศาสนกิจที่ต่างๆที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนามาจนถึงปัจจุบัน
ไม่เพียงแต่คบกับหลวงพ่อเขียนเท่านั้นเพราะยังทำให้ท่านได้พบกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอย่างหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า กับหลวงพ่อเหง้าซึ่งเป็นอดีตเจ้าอาวาสแห่งวัดศรีภูมิอีกด้วยรวมถึงได้รับการถ่ายทอดทางด้านพระเวทวิทยาคมต่างๆมาจากท่านอย่างครบถ้วนสมบูรณ์
เรียนวิชากับหลวงปู่ศุข
เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าชื่อเสียงของหลวงปู่ศุขนั้นค่อนข้างเลื่องลือไปไกล อีกทั้งท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สำเร็จวิชา 8 ประการอันมีผู้ประสบความสำเร็จเช่นนี้น้อยนักในยุคนั้น จึงทำให้ใครหลายคนต้องการเรียนกับท่านและหลวงพ่อทบก็คือหนึ่งในนั้น
หลังจากที่ได้เล่าเรียนมาหลายแห่งหนแล้ว หลวงพ่อทบท่านก็ยังคงมีจิตใจแสวงหาความรู้อยู่อย่างมิขาด และยังคงมีความตั้งมั่นในการแสวงหาความรู้ในด้านต่างๆอย่างไม่คิดที่จะหยุด เมื่อท่านได้พบกับหลวงปู่ศุขแห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งการที่จะได้เรียนวิชาจากหลว งปู่ศุขนั้นโดยปกติแล้วหลวงปู่ศุขท่านมักจะต้องทดสอบพลังจิตของลูกศิษย์แต่ละองค์เสียก่อน การทดสอบนั้นก็เพื่อจะได้ทราบถึงความกล้าแข็งว่ามีมากน้อยเพียงใด ตามด้วยการถามวันเดือนปีเกิด ให้ท่านได้ทราบถึงบารมีและวาสนา ว่ามีมากน้อยเพียงใด
ท้ายที่สุดแล้วหลวงปู่ศุขท่านก็ได้สอนวิชาทางด้านอาคมต่างๆให้กับหลวงพ่อทบ หลังจากเรียนวิชาจนสำเร็จท่านก็ได้นำวิชาเหล่านี้มาสงเคราะห์ให้กับญาติโยมต่างๆด้วยเช่นกัน ฉันยังได้นำประโยชน์มาช่วยผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยาก
ฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงพ่อเง่า
หลังจากที่กลับลาพระอาจารย์ซึ่งก็คือหลวงปู่ศุขหลังจากที่ได้ร่ำเรียนทางด้านวิชาอาคมกับท่านไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้หลวงพ่อทบออกเดินธุดงค์ต่อ ระหว่างทางที่ท่านกำลังกลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศิลาโมงนั้น เป็นช่วงปีพ.ศ 2461 ไปจนถึง พ.ศ 2468 หลังจากช่วงออกพรรษาของทุกๆปีหลวงพ่อทบท่านก็จะใช้เวลาในช่วงของการเดินทางนั้นไปนมัสการพระอาจารย์อีกผู้หนึ่งของท่านซึ่งก็คือหลวงพ่อเง่าซึ่งท่านเป็นพระเถระผู้เฒ่าที่อยู่ในวัยชรา ซึ่งท่านเป็นอดีตเจ้าคณะหล่มสัก แต่อย่างไรก็ตามท่านก็ได้ถ่ายทอดวิชาเกี่ยวกับด้านพระเวทวิทยาคมให้กับหลวงพ่อทบอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีปิด ซึ่งวิชาที่ท่านได้ถ่ายทอดให้กับหลวงพ่อทบนั้นก็ได้แก่วิชากรรมบังล่องหนตัวได้เมตตามหานิยมอยู่ยงคงกระพันมหาอุตมหาอำนาจและแคล้วคลาดปลอดภัย
ซึ่งหลวงพ่อทบท่านก็ได้ใช้เวลาเล่าเรียนช่วงหลังออกพรรษาประมาณ 3 ปี และถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2490 หลวงพ่อทบท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์และถัดมาอีกไม่นานในช่วงปีพ.ศ 2497 ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะแห่งอำเภอชนแดนที่จังหวัดเพชรบูรณ์แห่งนี้ รวมถึงท่านได้รับพระราชทานให้ได้เลื่อนสมณศักดิ์ให้เป็นพระครูสัญญาบัตร ในราชทินนามที่พระครูวิชิตพัชราจารย์
เรียกได้ว่าในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นทันได้สละและอุทิศตนให้กับพระพุทธศาสนาโดยแท้รวมถึงการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและการเสาะแสวงหาความรู้อย่างไม่รู้จบของท่านจึงทำให้ใครหลายคนต่างเรื่องแสงศรัทธาและถึงแม้ว่าในขณะนี้ท่านจะมรณะจากโลกใบนี้ไปแล้วแต่ลูกศิษย์ลูกหาที่ยังคงเคารพศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านก็ยังคงระลึกถึงท่านอยู่อย่างมิเสื่อมคลาย ท่านมรณะภาพลงในช่วงปี พ.ศ 2519 ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มีนาคมเป็นช่วงเวลา 16:00 น ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำปีเถาะเดือน 4 ซึ่งโดน Siri อายุของท่านได้ประมาณ 95 ปี และครองพรรษาได้ถึง 74 พรรษา
แล้วกลับมาพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไปนะคะ สำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อนขอฝากเรื่องราว ประวัติความเป็นมา “หลวงพ่อทบ ธัมมปัญโญ” วัดพระพุทธบาทชนแดน อ.ชนแดน พระเกจิชื่อดังแห่งเมืองเพชรบูรณ์ ! กันไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอให้คุณโชคดี ร่ำรวยเงินทองค้าขายดีๆเฮงๆกันนะคะ