อีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์เมืองเพชรบุรีที่มีชื่อเสียงโด่งดัง และเป็นที่เคารพศรัทธาอย่างมากของชาวเพชรบุรีในยุคก่อนปีพ.ศ 2500 สำหรับหลวงพ่อชิต สุวัณณโชติ แห่งวัดมหาธาตุ และแน่นอนว่าในครั้งนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติความเป็นมาของสุดยอดพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าแห่งเมืองเพชรบุรี “หลวงพ่อชิต สุวัณณโชติ วัดมหาธาตุ” ! ซึ่งพวกเราทีมงานได้รวบรวมข้อมูลเพื่อจะมาบอกเล่าให้คุณได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาของท่าน รวมถึงผลงานที่ท่านได้ส่งเสริมทางด้านการศึกษาอันโด่งดังอมาให้คุณได้ทราบไปพร้อมๆกันในบทความนี้ หากอยากทราบกันแล้วว่าเรื่องราวในครั้งนี้จะน่าสนใจอย่างไรบ้างต้องอย่ารอช้าค่ะเรามาพบกับรายละเอียดพร้อมๆกันได้เลยดังต่อไป
ประวัติของ พระครูสุวรรณมุนี หรือหลวงพ่อชิต สุวัณณโชติ
วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี
พระครูสุวรรณมุนีหรือที่ใครหลายคนมักจะรู้จักท่านกันในนาม หลวงพ่อชิต สุวัณณโชติ แห่งวัดมหาธาตุนั้นนท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่า เดิมทีนั้นท่านเป็นชาวเพชรบุรีโดยกำเนิดท่านเกิดที่ตำบลบ้านต้นมะม่วง ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอคลองกระแชงของจังหวัดเพชรบุรี เหตุผลที่เข้าใจได้ว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าก็เนื่องจากท่านเกิดตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ 2410 นั่นเอง พระเกจิผู้นี้ท่านคือผู้ทรงวิทยาคมที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างมากในจังหวัดเพชรบุรีตั้งแต่ยุคก่อน อีกทั้งยังมีความกล้าแกร่งทางด้านพุทธาคมเป็นผู้รู้และผู้มีอภิญญาสูงอีกทั้งยังเป็นนักปฏิบัติที่ผู้คนเคารพศรัทธาอย่างมาก โดยเฉพาะผู้คนชาวจังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดใกล้เคียง
เดิมทีนั้นหลวงพ่อชิตท่านมีชื่อว่า “ชิต ชิตรัตน์” ท่านเป็นบุตรชายของหมื่นโยธา (สัง ชิตรัตน์) นางอุ่ม ชิตรัตน์ หลวงพ่อชิตท่านเกิดในวันอังคารเดือนเมษายนแรม 13 ค่ำซึ่งตรงกับปีขาล เซ็นทรัลเป็นลูกชายคนโตทั้งยังมีน้องชาย 1 คนชื่อว่านายเชยและมีน้องสาวอีก 1 คนชื่อว่านางจีต ในขณะที่หลวงพ่อชิตท่านอายุได้ประมาณ 11 ปี คุณพ่อของท่านก็ได้พาท่านไปฝากกับเจ้าคุณอธิการครุธที่วัดมหาธาตุ เพราะเล็งเห็นแล้วว่าได้เวลาอันสมควรแก่การเล่าเรียนศึกษาในเรื่องของหนังสือจึงพาท่านไปฝากไว้ที่วัดเพื่อให้ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ซึ่งหลวงพ่อชิตท่านก็ได้ศึกษาหนังสือภาษาขอมไปพร้อมๆกับศึกษาหนังสือวิชาภาษาไทยจนอ่านออกเขียนได้ตามประเพณีโบราณ
เมื่อท่านอายุได้ประมาณ 20 ปีท่านก็ได้ลากลับมาอยู่กับครอบครัวเพื่อช่วยพ่อและแม่ประกอบอาชีพ ทำงานได้ประมาณ 2 ปีจึงตัดสินใจบวชและเข้าพิธีอุปสมบท ในปีพ.ศ 2429 ซึ่งเป็นวันจันทร์เดือน 7 ซึ่งการบวชของท่านนั้นพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ก็คือท่านเจ้าอธิการกรุดแห่งวัดจันทร์ ส่วนพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ให้กับท่านก็คือท่านเจ้าอธิการครุธ แห่งวัดมหาธาตุ และพระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้กับท่านก็คือพระอาจารย์พ่วง แห่งวัดจันทร์ ซึ่งท่านได้รับฉายาทางธรรมว่า “สุวณฺณโชติ”
เมื่อบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ได้อย่างเต็มตัวแล้วท่านก็ได้เริ่มเรียนคันถธุระ ไปพร้อมๆกับทางด้านวิปัสสนาธุระ จากนั้นในเวลาถัดมาท่านเจ้าอธิการครุฑได้ถึงแก่มรณภาพซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ 2435 หลวงพ่อชิตท่านจึงได้ย้ายจากวัดมหาธาตุมาอยู่ที่วัดโมลีโลกย์ ที่ปากคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งในยุคนั้นพระที่เป็นเจ้าอาวาสของวัดนี้ก็คือ ท่านเจ้าคุณวิเชียรธรรม (โสต) ขณะที่จำพรรษาอยู่ที่นี่หลวงพ่อท่านก็ได้มีโอกาสช่วยงานท่านเจ้าคุณวิเชียรธรรม ซึ่งก็คือ ช่วยซ่อมกุฏิและปฏิสังขรณ์ในส่วนที่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง ซึ่งหลวงพ่อชิตท่านมักจะปฏิบัติตนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวัดและสังคมอยู่เสมอ แล้วจะคอยบูรณะปฏิสังขรณ์สิ่งเก่าๆให้กลับมาใช้ได้ใหม่ ท่านจำพรรษาอยู่ในวัดแห่งนี้ได้ประมาณ 11 พรรษา
ถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2448 เหล่าบรรดาญาติพี่น้องของหลวงพ่อชิตและเจ้าคุณพระพิศาลสมณกิจ ได้ทำการนิมนต์ให้หลวงพ่อชิตกลับมาอยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี และขอให้ท่านรับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดมหาธาตุ และท่านก็รับตำแหน่งนี้โดยมิปฏิเสธใดๆ ในขณะอยู่ที่วัดแห่งนี้ท่านก็ยังคงบำเพ็ญประโยชน์ต่อวัดและสาธารณะรวมทั้งปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดไปพร้อมๆกัน เรียกได้ว่าสร้างความเจริญให้กับวัดมหาธาตุอย่างมากรวมถึงประชาชนชาวไทยและผู้คนชาวจังหวัดเพชรบุรีนั้นต่างเคารพศรัทธาหลวงพ่อชิตอย่างมาก ท่านได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เก่าพระอุโบสถกุฏิวิหาร ให้สามารถกลับมาใช้ใหม่รวมถึงสร้างสิ่งใหม่ๆและส่งเสริมการศึกษาให้กับฆราวาสและฝ่ายสงฆ์อยู่เสมอ
ท่านเป็นพระนักพัฒนาและสนับสนุนทางด้านการศึกษา
อีกทั้งยังก่อตั้งโรงเรียนที่สอนทางด้านวิชาสามัญซึ่งก็คือโรงเรียนสุวรรณรังสฤษดิ์ อีกทั้งท่านยังได้ก่อตั้งโรงเรียนนักธรรมเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อสงฆ์และสามเณรที่ต้องการศึกษาหาความรู้เรียกได้ว่าเป็นผลงานชิ้นเอก ที่ท่านได้สร้างเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของคนรุ่นหลังอย่างมาก แล้วด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกใจว่าทำไมผู้คนต่างเคารพและเลื่อมใสท่านยิ่งนัก และมักจะมีผู้คนมาร่วมบริจาคและร่วมจิตศรัทธาในการช่วยกันสร้างถาวรวัตถุร่วมกับท่านอยู่เสมอ เนื่องจากท่านมักจะทำแต่สิ่งดีๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
นอกจากนี้หลวงพ่อชิตท่านยังได้ทำการบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวัดมหาธาตุเอาไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังและลูกศิษย์ลูกหาได้อ่านได้ทราบถึง อีกทั้งท่านยังได้บันทึกเหตุการณ์ต่างๆของจังหวัดเพชรบุรีเอาไว้ในหนังสือด้วยเช่นกัน ซึ่งหนังสือเล่มนั้นมีชื่อว่า “ประวัติพระศรีรัตนมหาธาตุและพระครูสุวรรณมุนีสีห์ธรรมทายาท สังฆาวาหะ” สำหรับหนังสือเล่มนี้หลวงพ่อชิตท่านได้เรียบเรียงขึ้นตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ 2479 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหนังสือหรือเอกสารที่มีคุณค่าอย่างมากอีก 1 เล่มเนื่องจากได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งหมดในยุคนั้น ของจังหวัดเพชรบุรีรวมถึงเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในวัดมหาธาตุ
การมรณภาพของหลวงพ่อชิต สุวัณณโชติ
วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี
ตลอดการมีชีวิตอยู่ของหลวงพ่อชิตนั้นเรียกได้ว่าท่านเป็นอีกหนึ่งบุคคล ที่อุทิศตนให้กับสาธารณะอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการบูรณะและซ่อมแซมวัตถุโบราณ ซึ่งนอกจากท่านจะเป็นพระผู้ปฏิบัติที่มีความเคร่งครัดต่อวินัยแล้ว ท่านยังเป็นพระนักพัฒนาที่มีจิตใจเมตตาต่อผู้คนและสรรพสัตว์ทั้งหลาย อีกทั้งยังสนับสนุนและส่งเสริมทางด้านการศึกษาอย่างเปี่ยมล้น นอกจากนี้ท่านยังหมั่นเผยแพร่และมักจะอบรมจริยธรรมให้กับผู้คนในจังหวัดเพชรบุรีอยู่เสมอและเป็นเช่นนี้ตลอดในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ไปจนถึงบ้านปลายสุดท้ายของชีวิต ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ และด้วยเหตุผลนี้จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมชาวเพชรบุรีถึงเลื่อมใสศรัทธาท่านยิ่งนัก เพราะนอกจากท่านจะพัฒนาวัดให้มีความรุ่งเรืองแล้วท่านยังทำให้ผู้คนได้มีโอกาสเล่าเรียนหนังสือมีความรู้มีวิชาติดตัวอย่างมากมาย
หลวงพ่อชิตท่านได้มรณภาพลงในช่วงปีพ.ศ 2487 ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เดือนสิงหาคมในปีนั้น ซึ่งก่อนที่ท่านจะมรณะภาพลงนั้นท่านก็ได้อาราธนาให้พระสงฆ์ที่อยู่ในวัดทั้งหมด มาอยู่ที่บริเวณรอบๆเตียงนอนของท่านจากนั้นก็ได้กล่าวให้โอวาทกับภิกษุทั้งหลายด้วยใจความที่มีความหมายประมาณว่า ขอให้ทุกคนสามัคคีกัน ซึ่งท่านเป็นห่วง นอกจากนี้ก็ยังถามถึงพ่อครัวแม่ครัวว่ายังทำครัวเลี้ยงพระเป็นปกติกันดีหรือไม่
ตามด้วยการอาราธนาให้พระสงฆ์ทั้งหมดสวดมนต์พระสูตรต่างๆที่ท่านได้ระบุเอาไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และหลวงพ่อชิตท่านก็ตั้งใจฟังพระสงฆ์สวดมนต์ ด้วยอาการสงบ และจากนั้นท่านก็ได้มรณภาพลงในขณะที่พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายยังสวดมนต์กันอยู่และจากไปด้วยอาการสงบ ซึ่งตรงกับช่วงเวลาประมาณ 20:58 น รวมศิริอายุได้ 78 ปี 4 เดือน 14 วัน กับ 57 พรรษา
ซึ่งในครั้งนี้เราได้นำประวัติและเรื่องราวของหลวงพ่อชิต มาฝากท่านผู้อ่านผ่านบทความ ประวัติความเป็นมาของสุดยอดพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าแห่งเมืองเพชรบุรี “หลวงพ่อชิต สุวัณณโชติ วัดมหาธาตุ” ! นี้กันแบบคร่าวๆเท่านั้น อย่างไรก็ตามคุณสามารถกลับมาพบกับพวกเราได้ไหมในบทความทันต่อไปนะคะ ซึ่งจะนำเรื่องเกี่ยวกับพระในเรื่องใดมาฝากกันอีกนั้นต้องอย่าลืมติดตามกันตอนต่อไป แล้วพบกันใหม่ สวัสดีร่ำรวยเงินทองกันถ้วนหน้านะคะ