หากถามว่าใครเป็นเจ้าตำรับการสร้างเหรียญพญาเต่าเรือน เชื่อว่าใครหลายคนคงต้องตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า “หลวงปู่หลิว” และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมพวกเราทีมงานส่องพระ จึงได้รวบรวมเรื่องราวของ ประวัติความเป็นมาเจ้าตำรับพญาเต่าเรือน “หลวงปู่หลิว อห่ง วัดไร่แตงทอง” จ.นครปฐม ! มาฝากท่านผู้อ่านกันในครั้งนี้ เพราะเราคิดว่าอาจยังมีใครหลายคนที่ค้องการถึงประวัติของท่านไม่น้อยแน่นอน ซึ่งเราจะพาคุณไปทราบถึวเรื่องราวความเป็นมาของท่านในครั้งนี้กันเลย !
ประวัติ “หลวงปู่หลิว แห่ง วัดไร่แตงทอง” จ.นครปฐม !
สำหรับหลวงปู่หลิวนั้นเดิมทีท่านมีนามว่า หลิว แซ่ตั้ง ซึ่งท่านเกิดช่วงปีพ.ศ. 2448 ในวันพฤหัสบดีที่ 7ธันวาคม ขอบครัวของท่านนั้นมีอาชีพทำไร่ทำนาหลวงปูริ้วท่านมีบิดาชื่อพ่อเต่ง แซ่ตั้งและมีมารดาชื่อแม่น้อย แซ่ตั้ง ลืมเธอเป็นคนจังหวัดราชบุรีอยู่ที่ตำบลบ้านสิงห์ในอำเภอโพธาราม หลวงปู่หลิวท่านเป็นผู้ที่ชื่นชอบศึกษาหาความรู้มีความอดทนพยายามและมีความขยันอย่างมากท่านมีวิชาช่างจากพ่อและได้เล่าเรียนวิชาเหล่านี้จากพ่อของท่าน อีกทั้งยังออกรับจ้างเพื่อช่วยที่บ้านหาเงินตั้งแต่ยังอายุน้อยท่านช่วยแบ่งเบาภาระของบิดามารดาได้อย่างดี แต่ในบางครั้งหลวงปู่หลิวก็ไม่สบายถึงขั้นล้มป่วยเนื่องจากท่านมักจะออกเดินทางไกล และด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงปู่หลิวมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องยาสมุนไพรมากยิ่งขึ้น
ครั้งหนึ่งเมื่อนานมาแล้วสถานที่ที่ค่อนข้างขึ้นชื่อและเรื่องหรือว่าเป็นดงนักเลงเป็นแดนของเสือนั้นอยู่ก็คือจังหวัดเพชรบุรี,สุพรรณบุรี, นครปฐม และราชบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ครอบครัวของหลวงปู่หลิวนั้นอาศัยอยู่ และมีหลายครั้งที่ครอบครัวของท่านมักจะถูกขโมยวัวขโมยควาย จึงทำให้หลวงปู่หลิวนั้นหาวิธีที่จะปราบขโมยและปราบโจร จึงทำให้หลวงปู่หลิวท่านได้ไปขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับอาจารย์หม่ง ซึ่งอาจารย์เหน่งนั้นท่านเป็นจอมขมังเวทย์เป็นชาวกะเหรี่ยง ค่อนข้างมีวิชาอาคมแก่กล้า หลวงปู่หลิวใช้เวลาประมาณสามปีในการเล่าเรียนและศึกษาทางด้านอาคม
จากนั้นก็ได้เดินทางกลับไปยังถิ่นเกิด ซึ่งอาจารย์หม่งผู้ที่สอนคาถาอาคมให้กับหลวงปู่หลิวนั้นได้กำชับว่า วิชาเหล่านี้จะใช้ได้ก็ต่อเมื่อถูกรังแกหรือโดนทำร้ายจนถึงที่สุด ห้ามใช้จนกว่าจะถึงที่สุด ต่อมาก็ได้เกิดเหตุการณ์รุนแรงกับครอบครัวของหลวงปู่หลิว ในครั้งนั้นมีโจรเข้ามาปล้นขึ้นบ้านของครอบครัวท่าน หลวงปู่หลิวจึงขับไล่พวกโจรเหล่านั้นด้วยวิชาควายธนู และเหตุการณ์นั้นก็ทำให้ผู้คนต่างร่ำลือถึงว่าหลวงปู่หลิวสามารถปรับโจรผู้ร้ายได้ ทำให้ชื่อเสียงของท่านแพร่หลายออกไปทั่วเมือง
และต่อมาหลวงปู่หลิวได้สมรสกับนางหยดผู้เป็นภรรยา เมื่ออยู่กินกันมาได้สักพักภรรยาของท่านก็ได้ให้กำเนิดบุตรชาย หนึ่งคน แต่ด้วยความวุ่นวายทางโลกจึงทำให้หลวงปู่หลิวตัดสินใจเข้ารับการอุปสมบท ด้วยวัย 27 ปี ซึ่งหลวงปู่หลิวได้บวชในจังหวัดราชบุรีที่เป็นบ้านเกิดที่ตำบลบ้านเลือก ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอโพธาราม ณ วัดโบสถ์ และพระอุปประชาของท่านก็คือหลวงพ่อโพธาภิรมย์แห่งวัดบำรุงเมือง ,และพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านคือหลวงพ่อห่อ แห่งวัดโบสถ์และพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านคือ หลวงพ่ออินทร์ แห่งวัดโบสถ์ ซึ่งฉายาที่ได้รับก็คือ ปณฺณโก และเมื่อหลังจากที่ท่านบวชแล้วก็ได้จำพรรษาอยู่ณวัดหนองอ้อ ทำให้ท่านได้รู้จักกับพระอาจารย์ที่เป็นชาวกะเหรี่ยงจากนั้นท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิชาอาคมเพิ่มเติม
ในช่วงแรกที่ท่านได้บวชอยู่นั้นหลวงปู่หลิวได้นำวิชาช่างที่ท่านเคยได้เรียนกับบิดาไปใช้ช่วยงานท่านเจ้าอาวาสในการก่อสร้างศาลาการเปรียญ อีกทั้งยังใช้วิชาช่างเหล่านั้นก่อสร้างเสนาอาสนะรวมไปถึงสร้างวัดใหม่และปฏิสังขรณ์ในส่วนที่เสื่อมโทรมให้ดียิ่งขึ้น และไม่ได้ใช้วิชาช่างในการบูรณปฏิสังขรณ์แต่เพียงวัดที่ท่านจำพรรษาอยู่ เพราะท่านยังช่วยบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอื่นๆอย่างเช่นวัดไร่แตงทองและวัดไทรทองวัฒนา พร้อมกับสำนักสงฆ์, โรงพยาบาลสถานนีอนามัยต่างๆ ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นประโยชน์ต่อสังคมอย่างมาก
ท่านช่วยงานวัดไร่แตงทองรวมไปถึงวัดไทรทองพัฒนาและอื่นๆอีกเช่นกัน หลังจากที่หลวงปู่หลิวได้ใช้วิชาช่างของท่านในการบูรณะสถานที่ต่างๆอีกทั้งหนูเร็วท่านยังได้สร้างสำนักสงฆ์ที่อำเภอบ้านโป่งในจังหวัดราชบุรี แล้วก็ได้ทำการกลับมายังวัดหนองอ้อเพื่อจำพรรษา หลังจากที่ท่านได้ใช้วิชาช่างในการบูรณะปฏิสังขรณ์กินต่างๆหลากหลายแห่งแล้ว
ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านก็ได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้อย่างมากมายจนเป็นที่เลื่องลือ และหนึ่งวัตถุมงคลที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงของท่านก็คือ “พญาเต่าเรือน” เมื่อหลวงปู่หลิวเริ่มชราภาพท่านก็เริ่มอาพาธ และมรณภาพในช่วงปีพ.ศ. 2543 รวมสิริอายุได้ 95 ปีและครองพรรษานานถึง 74 พรรษา แต่ถึงหลวงปู่หลิวจะจากไปหลายสิบปีแล้ว ลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมรวมไปถึงคนไทยแทบทั่วทั้งประเทศก็ยังคงเคารพศรัทธาและเชื่อว่ายังคงมีผู้ระลึกถึงท่านอยู่เสมอ
ณ วัดไร่แตงทองในปัจจุบันนี้ ยังคงมีรูปปั้นของหลวงปู่หลิวประทับพญาเต่าเรือน ตั้งอยู่และยังคงมีผู้คนแวะเวียนเข้ามานมัสการสักการะกันอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายซึ่งหากใครได้มีโอกาสไปณวัดแห่งนี้ก็สามารถไปขอพรสักการะได้เช่นกัน เราจะสังเกตเห็นได้ว่าพญาเต่าเรือนนั้นสูงใหญ่ถึง 8.5 เมตรกันเลยทีเดียว
เรื่องเล่าพญาเต่าเรือน
มีเรื่องเล่าต่อๆกันว่าเมื่อนานมาแล้วตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีพญากาเผือกผัวเมียคู่หนึ่งที่ได้อาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำใหญ่ ได้ไข่ออกมาประมาณห้าฟอง จากนั้นเมื่อทั้งคู่ก็ได้ออกไปหากินตามปกติจึงได้ปล่อยให้ใครถึงห้าฟองนั้นอาศัยอยู่กันตามลำพัง จึงทำให้ไม่มีใครเฝ้าไข่ทั้งห้าฟอง และในวันเดียวกันนั้นเกิดเหตุการณ์พายุครั้งใหญ่ที่รุนแรงอย่างมากจึงทำให้ไข่ทั้งห้าฟองนั้นพลัดตกลงไปในบริเวณแม่น้ำใหญ่ใกล้ใกล้กับต้นไม้ที่พวกเขาอาศัยอยู่ ไข่ทั้งหมดกระจายไปคนละทิศคนละทางทำให้สัตว์ต่างๆพากันเก็บไข่เรานั้นไปเลี้ยง เชื่อกันว่าฟองแรกผู้ที่เก็บไข่ไปเลี้ยงก็คือเต่า ส่วนไข่ฟองที่สองเชื่อกันว่าพญานาคได้เก็บไปเลี้ยง ไข่ฟองที่สามนั้นพยาราชสีห์ได้เก็บไปเลี้ยง ไข่ฟองที่สี่นั้นโคได้เก็บไปเลี้ยง และไข่ฟองที่ห้าซึ่งเป็นฟองสุดท้ายเชื่อว่างูเก็บไปเลี้ยง
และเมื่อไข่ทุกฟองได้ถูกเก็บมาเลี้ยง มีความเชื่อว่ามีพระโพธิสัตว์ต่างๆมาเสวยชาติดังผู้ที่เก็บไปเลี้ยงเพื่อทำการบำเพ็ญบารมี และหนึ่งในนั้นคือพญาเต่าเรือน ซึ่งหลวงปู่หลิวท่านได้เห็นสัญลักษณ์นี้ว่าเป็นสิริมงคลซึ่งเต่านั้นเป็นสัญลักษณ์ของความอายุยืนอีกทั้งยังมีศีลธรรม หลวงปู่หลิวจึงได้นำมาสร้างเป็นวัตถุมงคลโดยใช้สัญลักษณ์ของพญาเต่าเรือน ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2500 หลวงปู่หลิวได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นอย่างมากมายและแต่ละวัตถุมงคลของท่านนั้นล้วนแล้วแต่มีพุทธคุณสูงอีกทั้งยังมีความโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยมคงกระพันชาตรีเชื่อกันว่าหากใครมีไว้ในบูชาครอบครองก็จะปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมั่งมีศรีสุขรวมทั้งร่ำรวยมีเงินมีทองค้าขายเจริญรุ่งเรืองครอบครัวอยู่เย็นเป็นสุขพี่น้องปรองดองกัน จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมใครใครก็ต่างอยากได้วัตถุมงคลของหลวงปู่ริ้วมาไว้ในบูชาครอบครอง
วัตถุมงคลหลวงปู่หลิว
เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลวงปู่ริ้วนั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้อย่างมากมายซึ่งในช่วงปีพ.ศ. 2500 ณ วัดสนามแย้ ถือเป็นการเริ่มสร้างพระในช่วงแรกๆของท่านซึ่งในครั้งนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วก็จะทำการสร้างพระบูชาพระเนื้อผงพระปิดตารวมถึงโครงการต่างๆและสิ่งที่ค่อนข้างสร้างชื่อเสียงให้กับท่านมากที่สุดก็คือ เหรียญพญาเต่าเรือน ซึ่งท่านได้ศึกษาวิชาในการสร้างเรียนนี้มาจากหลวงพ่อยนแห่งวัดบ้านฆ้อง ที่ตั้งอยู่ในอำเภอโพธารามจังหวัดราชบุรี ลักษณะของเรียนนี้จะเป็นรูปเต่าที่ปรากฏเห็นได้อย่างชัดเจนมีสี่ขา ซึ่งรายละเอียดต่างๆนั้นมึความแตกต่างกันออกไป เราจะสังเกตสิ่งเหล่านี้ได้จากรายละเอียดที่อยู่ภายในตัวของเหรียญ
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามที่หลวงปู่หลิวท่านได้ทำการปลุกเสกนั้นล้วนแล้วแต่มีพุทธคุณสูงด้วยกันทั้งสิ้นซึ่งพุทธคุณของแต่ละเหรียญนั้นก็เรียกได้ว่าแทบจะครอบจักรวาลกันเลยทีเดียว เพราะมีความโดดเด่นในหลายหลายด้านทั้งในเรื่องเมตตามหานิยม โชคลาภวาสนา เชื่อกันว่าจะช่วยทำให้การค้าขายเจริญรุ่งเรืองร่ำรวย อีกทั้งใครหลายคนยังเชื่อกันว่าช่วยทางด้านคงกระพันชาตรี และสู้ทางเรื่องคดีความได้จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมคล้ายๆก็ต่างอยากมีไว้ในบูชาครอบครองซึ่งในปัจจุบันก็ไม่ได้หาชมกันได้ง่ายและแต่ละเหรียญนั้นก็มีราคาที่ค่อนข้างสูงไม่น้อยอย่างไรก็ตามหากคุณต้องการบูชาต้องอย่าลืมศึกษาถึงที่มาและรายละเอียดให้ถี่ถ้วนเสียก่อนเนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่ามีทั้งเหรียญแท้และไม่แท้
ได้นำเรื่องราวของ ประวัติความเป็นมาเจ้าตำรับพญาเต่าเรือน “หลวงปู่หลิว อห่ง วัดไร่แตงทอง” จ.นครปฐม ! มาฝากท่านผู้อ่านกันในครั้งนี้ พวกเราทีมงานหวังอย่างยิ่งว่าเรื่องราวนี้จะทำให้คุณชื่นชอบและถูกใจและหากท่านใดที่ชื่นชอบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเครื่องต้องอย่าลืมติดตามพวกเราต่อไปนะคะขอขอบพระคุณในทุกๆการติดตามและพบกันใหม่ในบทความครั้งต่อไปสำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อนขอให้ทุกท่านโชคดีและมีแต่สิ่งดีๆในทุกๆวันค่ะ