หากมีใครเอ่ยถึงหลวงปู่นาคแห่งวัดระฆังโฆสิตารามจังหวัดกรุงเทพฯนี้ เชื่อว่าใครหลายคนคงจะต้องนึกถึงพระเครื่องของท่านขึ้นมาอย่างแน่นอน และหนึ่งในนั้นก็คือพระสมเด็จ ที่ใครหลายคนก็ต่างใฝ่ฝันอยากได้หรือมีไว้ในบูชาครอบครอง ในครั้งนี้เราจะพาคุณมาทราบถึง ประวัติความเป็นมา “หลวงปู่นาค แห่ง วัดระฆังโฆสิตาราม จ.กรุงเทพฯ” ! พร้อมกับจะมาบอกเล่าถึงวัตถุมงคลของหลวงปู่นาคที่ท่านได้สร้างเอาไว้ตั้งแต่ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจกันเลยดีกว่า
ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่นาค วัดระฆัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
สำหรับประวัติของ พระเทพสิทธินายก อยู่ที่คนรุ่นหลังมักจะรู้จักกันในนามของหลวงปู่นาค (โสภโณ )นั้นท่านเป็นลูกหลานของสมเด็จวัดระฆังมีเชื้อสายโดยตรง และท่านได้สืบทอดวิชาการสร้างพระมาจากสมเด็จพุฒาจารย์โตพรหมรังษี โดยตรงด้วยเช่นกัน
เดิมทีนั้นหลวงปู่นาคท่านมีชื่อว่า นายนาค มะเริงสิทธิ์ ท่านเป็นชาวจังหวัดนครราชสีมาเป็นคนโคราชเกิดที่บ้านปราสาทซึ่งตั้งอยู่ในตำบลจันทร์อัด ท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ 2427 ตรงกับวันที่ 1 เดือนสิงหาคมท่านเป็นผู้ที่เกิดวันศุกร์ตรงกับวันขึ้น 10 ค่ำเดือน 9 และปีนั้นตรงกับปีวอก คุณปู่ของหลวงปู่นาคนั้น คือขุนประสิทธิ์ (อยู่) ท่านเป็นนายอากรแห่งเมืองโคราช ส่วนคุณย่าของหลวงปู่นาคนั้นชื่อว่าคุณย่าฉิมมะเริงสิทธิ์ และหลวงปู่นาคท่านเป็นบุตรของนายป้อมกับนางสงวนนามสกุลมะเริงสิทธิ์ มีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด 4 คน(รวมหลวงปู่นาคด้วย) หลวงปู่นาคนั้นเป็นลูกชายคนโตของคุณพ่อ และมีน้องอีก 3 คน น้องชายของหลวงปู่นาคก็เป็นพระเช่นกันมีนามว่า พระภิกษุโชติ มะเริงสิทธิ์ และท่านก็มีน้องสาวชื่อว่านางทุเรียน ปภาวดี และมีน้องสาวคนเล็กชื่อว่า นางอุดร จุลรัษเฐียร
วัยเด็กของหลวงปู่นาค
สำหรับนิสัยและความชอบส่วนตัวแต่เดิมมาของหลวงปู่นาคนั้นท่านเป็นเด็กผู้ที่ชื่นชอบแสวงหาความรู้อยู่เสมอ เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้และศึกษาในเรื่องต่างๆที่ตนสนใจ ท่านชื่นชอบการเรียนรู้มาตั้งแต่ในวัยเด็กซึ่งในยุคสมัยนั้นยังไม่ค่อยมีโรงเรียนให้ผู้คนได้เล่าเรียนหรือศึกษาหาความรู้กันมากนัก กินเป็นเหตุทำให้ครอบครัวของท่านนำหลวงปู่นาคไปฝากไว้ที่ วัดบึงซึ่งตั้งอยู่บริเวณใกล้กับประตูชุมพลที่จังหวัดนครศรีธรรมราชหรือเมืองโคราชนั่นเอง โดยคุณพ่อของหลวงปู่นาคนั้นท่านได้นำหลวงปู่นาคไปฝากไว้กับ พระครูสังฆ์วิจารณ์
และหลังจากนั้นหลวงปู่นาคก็ได้มีโอกาสเล่าเรียนอ่านเขียนภาษาไทยรวมไปถึงภาษาขอมและภาษาบาลี ซึ่งหลวงปู่นาคนั้นเป็นเด็กที่มีความจำดีมากๆจึงทำให้ท่านจดจำและอ่านเขียนได้จนเก่ง รวมถึงมีความประพฤติที่เรียบร้อย จากนั้นเมื่ออายุได้ประมาณ 13 ปีหลวงปู่นาคก็เข้ารับการบรรพชาบวชเป็นสามเณรน้อย อยู่ที่วัดบึง ตรงกับช่วงปีพ.ศ 2440 เมื่อเวลาผ่านไปหลวงปู่นาคก็ได้เดินทางจากจังหวัดโคราชเข้าสู่เมืองกรุง เพื่อศึกษาหาวิชาความรู้ในด้านต่างๆต่อไป
การเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯของหลวงปู่นาค
ในขณะนั้นหลวงปู่นาคยังคงเป็นสามเณรน้อยที่ได้มีโอกาสร่วมเดินทางกลับกองคาราวานซึ่งในช่วงนั้นผู้ที่ร่วมเดินทางด้วยมีอยู่ด้วยกันประมาณ 30 คน แต่เมื่อเดินทางมาถึงที่จังหวัดสระบุรีหลวงปู่นาคมีอาการไม่สบาย จึงทำให้คุณพ่อของหลวงปู่นาคนั้นนำตัวของสามเณรน้อยนาคออกจากกองคาราว และได้นำหลวงปู่นาคไปฝากไว้ที่วัดทองพุ่มพวงซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดสระบุรี ฝากไว้กับท่านภิกษุรูปหนึ่ง จึงทำให้หลวงปู่นาคได้พักอยู่ที่วัดทองพุ่มพวงเป็นระยะเวลานานหลายเดือน และในขณะที่ท่านพักรักษาตัวอยู่ที่วัดแห่งนี้ท่านก็ได้มีโอกาสเรียนในด้านปริยัติธรรมไปด้วย โดยไม่ใช้เวลาสูญเปล่า และในท้ายที่สุดท่านก็สามารถเข้ามายังจังหวัดกรุงเทพฯได้ โดยน้าชายของท่านเป็นผู้พามาและได้นำหลวงปู่นาคมาฝากไว้กับ พระอาจารย์เลื่อม ซึ่งในขณะนั้นท่านเป็นพระลูกวัดที่อยู่ในวัดระฆังโฆสิตาราม
พระอาจารย์เลื่อมนั้นท่านเป็นพระที่ค่อนข้างชราภาพมากแล้ว จึงทำให้ใครหลายคนเรียกท่านว่าหลวงตา ซึ่งหลวงตาเลื่อมนั้นท่านเป็นพระผู้มีความเคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยอย่างมาก และท่านเป็นพระอาจารย์ของพระภิกษุหลายรูป และท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนากรรมฐานอย่างมากเรียกได้ว่าเป็นปรมาจารย์แห่งยุคกันเลยทีเดียว หลวงตาท่านมีความเอ็นดูต่อสามเณรน้อยนาคอย่างมากอีกทั้งยังได้อบรมพร่ำสอน และได้ถ่ายทอดวิชาต่างๆให้กับหลวงปู่นาค และด้วยความที่หลวงปู่นาคนั้นท่านเป็นเด็กที่ว่านอนสอนง่ายจึงยิ่งทำให้ผู้ใหญ่รักและเอ็นดู
ซึ่งในยุคนั้นที่หลวงปู่นาคยังคงเป็นสามเณรน้อยผู้ปกครองวัดระฆังโฆสิตารามก็คือ พระธรรมไตรโลกาจารย์ และในเวลาต่อมาก็คือ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (มร.ว.เจริญ อิศรางกูร) และท่านเป็นศิษย์เอกของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
ในยุคสมัยนั้นทางฝั่งกรุงธนบุรีถึงแม้จะห่างกับจังหวัดกรุงเทพฯเพียงแม่น้ำเจ้าพระยากั้นแต่ความเจริญก็ทำให้การเดินทางเป็นไปได้ยากลำบากไม่ได้เหมือนในยุคสมัยนี้ แม้กรุงเทพฯจะเป็นเมืองหลวงที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากแล้วก็ตาม แต่ทางฝั่งของวัดระฆังยังเป็นโซนของฝั่งธนบุรีซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่า กลับไม่ได้มีความเจริญรุ่งเรืองเท่าจังหวัดกรุงเทพฯ และยังคงรายล้อมไปด้วยธรรมชาติสวนไร่นาจึงเป็นดินแดนที่มีความสงบ ร่มเย็นและเหมาะกับการปฏิบัติของพระภิกษุสงฆ์องค์เจ้าผู้เคร่งครัดอย่างมาก
ซึ่งครั้งหนึ่งหลวงปู่นาคท่านได้เคยบอกเล่าเอาไว้ว่า มีพระผู้เชี่ยวชาญภาษาบาลีอย่างมากซึ่งนามว่าพระอาจารย์นวล ซึ่งเดิมทีท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดมหาธาตุ แต่ก็มักจะข้ามฟากมาสอนภาษาบาลีให้กับพระภิกษุทั้งหลายที่วัดระฆังฯ รวมถึงได้สอนหลวงปู่ด้วย ถัดมาเมื่อหลวงปู่นาคท่านอายุได้ประมาณ 15 ปีหลังจากที่ได้เล่าเรียนทางด้านภาษาบาลีมาอย่างมีความชำนาญแล้วจึงทำให้ท่านมีความสามารถถึงขั้นแปลภาษาเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ และได้มีโอกาสแปลบาลีเปรียญธรรม 3 ต่อหน้าพระที่นั่ง ซึ่งในครั้งนั้นก็ได้มีพระเถรานุเถระที่ทรงสมณศักดิ์อีกหลายรูปได้เห็น และได้รับพระราชทานไทยทำเครื่องอรรถบริขาร จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (หรือรัชกาลที่ 5 ) ในครั้งนั้น
และในเวลาต่อมาหลวงปู่นาคท่านก็สามารถสอบไล่ได้เปรียญธรรม 4 ประโยคด้วยปาก ซึ่งในยุคนั้นเรียกได้ว่าการสอบเช่นนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก และในยุคนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องยากเช่นกัน เพราะแต่ละครั้งในการสอบจะมีพระภิกษุเพียงไม่กี่รูปเท่านั้นที่จะสามารถสำเร็จและสอบได้
การอุปสมบทของหลวงปู่นาค
หลังจากที่สามเณรน้อยนาคมีอายุมากพอที่จะสามารถบวชได้แล้ว พระธรรมไตรโลกาจารย์ (ม.ว.ร.เจริญ อิศรางกูร) จึงได้ทำการนิมนต์พระผู้มีสมณศักดิ์สูงมาเป็นพระอุปัชฌาย์อาจารย์ให้กับหลวงปู่นาค และประกอบพิธีทางศาสนาที่วัดระฆังโฆสิตาราม ช่วงปีพ.ศ 2448 ซึ่งพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับหลวงปู่นาคก็คือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฤทธิ์) แห่งวัดอรุณฯ และพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ก็คือพระวรรณรัตน์แห่งวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์ และพระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้กับหลวงปู่นาคก็คือพระธรรมโกศาจารย์ (แพ) แห่ง วัดสุทัศนเทพวราราม ซึ่งในปีถัดมาคือพ.ศ 2449 หลวงปู่นาคท่านก็สามารถสอบแปลเปรียญธรรม 5 ประโยคได้สำเร็จ แต่ก็ไม่ได้สอบเข้าเปรียญธรรมต่อถึงประโยค 6 เนื่องด้วยมีภารกิจอื่น
หลังจากที่ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วท่านก็ได้ปฏิบัติอย่างเสมอมา ซึ่งเรียกได้ว่าทั้งชีวิตของหลวงปู่นาคนั้นท่านได้อุทิศให้กับพระพุทธศาสนาและในทางปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2467 หลวงปู่นาคท่านก็ได้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสแห่งวัดระฆังโฆสิตาราม และถัดมาในปีพ.ศ 2468 หลวงปู่นาคท่านก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าสำนักเรียนวัดระฆังโฆสิตาราม อีกทั้งยังได้สร้างผลงานทางด้านวัตถุมงคลเอาไว้อย่างมากมาย
ซึ่งวัตถุมงคลยอดนิยมที่ผู้คน ทั้งยุคเก่าและยุคใหม่ต่างใฝ่ฝันและอยากมีไว้ในบูชาครอบครองก็คือ พระเนื้อผงรุ่นแรกที่ได้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ 2485 พี่มีทั้งพิมพ์เทวดาอกตันและอกร่อง แบบพิมพ์สามเหลี่ยม รวมถึงพิมพ์เทวดาขัดเพชร และวัตถุมงคลยอดนิยมอีกหนึ่งดุ้นของท่านก็คือพระเนื้อผงรุ่น 2 ที่ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปีพ.ศ 2495 นั่นเอง ซึ่งได้ถูกสร้างด้วยกันเอาไว้หลายพิมพ์ และในครั้งหน้าเราจะมาเล่าถึงวัตถุมงคลของหลวงปู่นาคให้คุณได้ทราบกันต่อ
สำหรับครั้งนี้พวกเราทีมงานต้องขอฝากเรื่องราว ประวัติความเป็นมา “หลวงปู่นาค แห่ง วัดระฆังโฆสิตาราม จ.กรุงเทพฯ” ! ไว้แต่เพียงเท่านี้ แล้วพบกันใหม่นะคะสำหรับวันนี้สวัสดี