ประวัติความเป็นมาของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองมหาชัย ผู้มีวาจาดังพระร่วง “พระครูมหาชัยบริรักษ์” หรือ หลวงพ่อเชย ญาณวัฑฒโน แห่ง วัดเจษฎาราม! 

ประวัติความเป็นมาของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองมหาชัย-ผู้มีวาจาดังพระร่วง

หัวข้อ

มาทางฝั่งจังหวัด สมุทรสาครกันบ้างในวันนี้เราจะมาบอกเล่าถึง ประวัติความเป็นมาของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองมหาชัย ผู้มีวาจาดังพระร่วง “พระครูมหาชัยบริรักษ์” หรือ หลวงพ่อเชย ญาณวัฑฒโน แห่ง วัดเจษฎาราม ! ให้ท่านได้ทราบ สำหรับหลวงพ่อเชย แห่งวัดเจษฎารามนั้น ท่านเป็นอีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ชื่อดังยุคเก่า ที่ชาวมหาชัยให้ความเคารพนับถืออย่างมาก และเราไม่ได้จะมาบอกเล่าถึงประวัติความเป็นมาของท่านให้คุณได้ทราบเท่านั้นเพราะในครั้งนี้เราจะมาพาคุณไปรู้จักกับวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูงของท่านแม้ในปัจจุบันนี้อีกด้วย เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับสาระที่น่าสนใจในเรื่องนี้กันเลยดีกว่า 

ประวัติความเป็นมาของ  “พระครูมหาชัยบริรักษ์” 

หรือ หลวงพ่อเชย แห่ง วัดเจษฎาราม จังหวัดสมุทรสาคร 

ประวัติความเป็นมาของ  “พระครูมหาชัยบริรักษ์” 

สำหรับพระครูมหาชัยบริรักษ์หรือที่ใครหลายคนมักจะรู้จักกันดีในนามหลวงพ่อเชยนั้นท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าเนื่องจากท่านเกิดตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ 2422 ท่านเกิดในวันที่ 5 เดือนเมษายนซึ่งตรงกับปีเถาะ เดิมทีท่านเป็นชาวบ้านวังน้ำคู้ซึ่งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดพิษณุโลก ท่านเป็นลูกชายของคุณพ่อชื่นนามสกุล เอกน้อย กับคุณแม่หริ่งนามสกุล เอกน้อย 

ในสมัยที่หลวงพ่อเชยท่านยังเด็กอยู่นั้นท่านได้มีโอกาสไปเรียนอยู่ที่สำนักสงฆ์หรือที่วัดปากพิง ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลวังน้ำคู้ของจังหวัดพิษณุโลกซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน และถ้าไม่มีโอกาสศึกษาทางด้านอักขระขอม โดยผู้คนในยุคนั้นมักจะร่ำเรียนกันที่วัดอย่างเป็นที่ทราบกันดี เมื่อท่านได้ร่ำเรียนท่านก็มีความมานะพยายามและตั้งใจเรียนจนแตกฉานและสำเร็จการเรียนได้อย่างรวดเร็ว เรียกได้ว่าท่านเป็นเด็กที่ค่อนข้างหัวดีเลยทีเดียวจนทำให้สมภารที่วัดถึงกับเอ่ยปากชม 

เมื่อโตเป็นวัยรุ่นท่านก็ได้ทำมาหากินและประกอบอาชีพ และใช้ชีวิตในจังหวัดสมุทรสาครท่านอยู่ที่มหาชัย จากนั้นเมื่ออายุได้ประมาณ 26 ปีท่านก็ได้ตัดสินใจบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์และละทางโลก ท่านบวชอยู่ที่วัดเจษฎาราม ในปีพ.ศ 2448 บวชในวันที่ 5 เดือนเมษายนซึ่งเป็นวันอาทิตย์ขึ้น 5 ค่ำเดือน 5 ตรงกับปีมะเส็ง การบวชของท่านนั้นพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับท่านก็คือ พระครูสมุทรคุณากร แห่งวัดตึกมหาทายาราม ส่วนพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ให้กับท่านก็คือพระอธิการใหม่ แห่งวัดแหลมสุวรรณาราม   และพระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้ทุกท่านก็คือ อธิการโตแห่งวัดโกรกกราก และได้รับฉายาทางธรรมว่า “ญาณวฑฺฒโน”

การศึกษาแสวงหาความรู้ทางธรรม 

การศึกษาแสวงหาความรู้ทางธรรม 

 หลังจากที่บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ไม่นานท่านก็มีความสามารถในการสวด 7 ตำนานและสวด 13 ตำนานได้จนคล่องแคล่วและมีความเชี่ยวชาญไม่แพ้ใครๆ เรียกได้ว่าท่านเป็นผู้มีความจำอันเป็นเลิศ และไม่ใช่ทุกคนจะสามารถทำได้ ในเวลาอันรวดเร็วเช่นนี้  อีกทั้งยังไม่มีโอกาสศึกษาทางด้านพระธรรมวินัยโดยพระอาจารย์ของท่านก็คือพระอธิการใหม่แห่งวัดแหลมสุวรรณารามได้เป็นผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้กับท่าน เรียกได้ว่าพระอธิการใหม่คือพระอาจารย์ของท่านเลยก็ว่าได้  และหลวงพ่อเชยท่านมีความชื่นชอบที่จะใฝ่รู้ทางด้านพระพุทธศาสนาอยู่แล้วท่านจึงได้ศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมต่อซึ่งในขณะที่ศึกษาทางด้านนี้ก็ยังไม่ได้ก้าวหน้ามากนัก ท่านจึงตัดสินใจออกเดินทางมายังกรุงเทพฯเพื่อศึกษาเล่าเรียนต่อไป  ท่านมุ่งหน้ามายังวัดสังกัจจายน์ทางฝั่งธนบุรี แล้วได้มาพำนักอยู่ที่นั่น เพื่อมาศึกษาหาความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนาเพิ่มเติม แต่ทางวัดสังกัจจายน์ก็ยังไม่ได้มีสำนักไว้สำหรับเรียน ดังนั้นท่านจึงต้องไปศึกษาอยู่ที่วัดอื่นซึ่งก็คือวัดประยูรวงศาวาสและวัดราชสิทธารามในย่านฝั่งธนฯ

หลังจากที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดสังข์กระจายน์นานถึง 10 พรรษาแล้วท่านก็ได้มายังจังหวัดสมุทรสงครามและพำนักอยู่ที่วัดสวนแก้วอุทยานซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัด  ในขณะที่ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสวนแก้วอุทยานแห่งนี้ ท่านก็ได้ช่วยจัดการและบริหารงานภายในวัดรวมถึงทำการสอนปริยัติธรรมให้กับสามเณรและภิกษุทั้งหลายภายในวัด  และในช่วงที่ท่านอยู่ที่นี่ท่านกลับสนใจทางด้านวิปัสสนากรรมฐานรวมถึงทางด้านวิทยาคมด้วยเหตุนี้ท่านจึงออกเดินทางอีกครั้ง 

และมุ่งหน้ามายังวัดตึกเพื่อมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงปู่นิลแห่งวัดตึก ซึ่งหลงคุณนิลนั้นท่านเป็นพระคณาจารย์ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงโด่งดังอย่างมากเป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาเหล่าพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอีกหลายๆรูป นอกจากนี้หลวงพ่อเชยท่านยังได้ร่ำเรียนวิชาต่างๆกับพระอาจารย์อื่นๆอีกมากมายที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ซึ่งพระอาจารย์ของท่านได้แก่ หลวงพ่อทรัพย์ แห่งวัด บางเกาะเทพศักดิ์ , หลวงพ่ออยู่แห่งวัดบางน้อย  เป็นต้น  นอกจากนี้หลวงพ่อเชยท่านยังได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนวิชาต่างๆกับพระอาจารย์ที่มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน อีกด้วย  

สมณศักดิ์ของหลวงพ่อเชย 

สมณศักดิ์ของหลวงพ่อเชย 

ถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2462หลังจากที่พระอธิการบัว จันทรังษีซึ่งในขณะนั้น ท่านกำลังท่านมีตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดเจษฎารามอยู่ได้มรณภาพลง หลวงพ่อเชยก็ได้รับนิมนต์แต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสแทนพระอธิการบัว พร้อมกับได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลมหาชัยในช่วงเวลาถัดมาแต่ในปีเดียวกัน 

นอกจากนั้นถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2469 หลวงพ่อเชยท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ตามด้วยในเวลาถัดมาท่านก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นพระครูมหาชัยบริรักษ์ซึ่งตรงกับปีพ.ศ 2476 และได้รับตำแหน่งให้เป็นเจ้าคณะของจังหวัดสมุทรสงครามในปีเดียวกัน ซึ่งหลังจากนั้นอีกไม่กี่ปีท่านก็ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะดังกล่าวเนื่องจากหลวงพ่อท่านเริ่มชราภาพลงและไม่สามารถบริหารงานต่างๆได้อย่างเต็มที่ 

หลวงพ่อเชยท่านได้สร้างประโยชน์ทั้งทางโลกและทางธรรม

นับตั้งแต่ที่หลวงพ่อเชยท่านได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสมานั้นหลวงพ่อท่านได้ทำการปฏิสังขรณ์วัดและสร้างพระอารามต่างๆทำให้วัดมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก  ท่านมีความรู้ความสามารถหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านพระคาถาอาคมหรือด้านการช่างก็ตามและเรียกได้ว่าท่านเป็นพระที่นอกจากจะมีความศักดิ์สิทธิ์แล้วยังเป็นพระนักพัฒนา หลวงพ่อท่านได้สร้างถาวรวัตถุเอาไว้อย่างมากมายเพื่อให้คนรุ่นหลังได้พบเห็นมาจนถึงปัจจุบัน และการสร้างนั้นท่านออกแบบด้วยตัวเองเป็นส่วนใหญ่  สำหรับถาวรวัตถุที่ท่านได้เคยสร้างเอาไว้อันได้แก่ หอสวดมนต์ , หอพระไตรปิฎก , วิหาร, พระอุโบสถ , ศาลาบำเพ็ญกุศล, โรงเรียนประชาบาล, ศาลาการเปรียญ และอื่นๆอีกมากมาย  

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเชย  ญาณวัฑฒโน วัดเจษฎาราม 

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเชย  ญาณวัฑฒโน วัดเจษฎาราม 

สำหรับวัตถุมงคลยอดนิยมของหลวงพ่อเชยมีหลากหลายวัตถุมงคลอันได้แก่ผ้ายันต์, ตะกรุดโทน, สีผึ้ง, พระประจำวันเนื้อเหลืองทอง, พระกลีบบัวเนื้อเหลืองทอง และเหรียญต่างๆอีกมากมาย ซึ่งในวันนี้เราได้นำตัวอย่างมาฝากแฟนๆชาวส่องพระซึ่งก็คือ เหรียญรุ่นแรกหลวงพ่อเชย 

สำหรับเหรียญนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปีพ.ศ 2494 ถูกสร้างขึ้นเพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับญาติโยมและลูกศิษย์ลูกหาในโอกาสทำบุญอายุครบ 6 รอบของหลวงพ่อเชยซึ่งในขณะนั้นท่านอายุได้ประมาณ 76 ปี  เหรียญดังกล่าวนี้มีรูปทรงเป็นรูปใบเสมา ซึ่งตรงกลางของตัวเหรียญนั้นจะปรากฏลูกของหลวงพ่ออยู่ครึ่งองค์และในส่วนบริเวณด้านหลังมีลักษณะเป็นยันต์ซึ่งได้มีการระบุปีพ.ศ ในการสร้างเอาไว้ให้เห็นอย่างชัดเจน

ถูกสร้างขึ้นด้วยเนื้อตะกั่วเนื้อเงินและเนื้อทองแดง ทั้งยังมีการพิมพ์เอาไว้น้อยมากซึ่งได้สร้างขึ้นเป็นจำนวน 2 พิมพ์อันได้แก่พิมพ์หน้าแก่และพิมพ์หน้าหนุ่ม อย่างไรก็ตามคุณสามารถชมภาพตัวอย่างได้จากภาพทางด้านบน 

วัตถุมงคลของหลวงพ่อเชย  ญาณวัฑฒโน วัดเจษฎาราม 

แล้วกลับมาพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไปนะคะ สำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อน ซึ่งพวกเราทีมงานก็หวังอย่างยิ่งว่าเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังเมืองมหาชัย ผู้มีวาจาดังพระร่วง “พระครูมหาชัยบริรักษ์” หรือ หลวงพ่อเชย ญาณวัฑฒโน แห่ง วัดเจษฎาราม!  นี้ จะทำให้คุณชื่นชอบและถูกใจ  

Poster 24
Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการพระเครื่องในประเทศไทย

Facebook
Twitter