แน่นอนว่าหากมีใครเอ่ยถึงวัดเสิงสางของเมืองโคราชขึ้นมาเชื่อว่า ใครหลายคนก็จะต้องนึกถึงความศักดิ์สิทธิ์และระลึกนึกถึงหลวงปู่สอนขึ้นมาด้วยเช่นกันอย่างแน่นอน ในวันนี้เราจะมาบอกเล่าถึงเรื่องราวของ ประวัติความเป็นมาของ “พระครูภูมิวุฒาจารย์ ” (หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง) เมืองโคราช พระภิกษุ 6 แผ่นดิน ! เพื่อให้คุณได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของหลวงปู่ท่าน พร้อมกับใครหลายคนที่อยากทราบว่าวัตถุมงคลยอดนิยมของท่านนั้นมีอะไรบ้างต้องไม่ควรพลาด ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราจะพาคุณไปพบกับสิ่งที่น่าสนใจดังต่อไปนี้กันเลย
ประวัติความเป็นมาของ “พระครูภูมิวุฒาจารย์ ”
(หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง) เมืองโคราช
สำหรับพระครูภูมิพุทธาจารย์ หรือที่พวกเรามักจะรู้จักท่านกันดีในนามหลวงปู่สอน พุภะละมะ แห่งวัดเสิงสาง ซึ่งหลวงปู่สอนนั้นท่านเป็นอีกหนึ่งบุคคลที่เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวจังหวัดนครราชสีมาหรือชาวโคราชไม่แพ้ไปก่อนพระเกจิอาจารย์ท่านอื่นๆ ท่านเป็นพระ เนื่องจากท่านเกิดตั้งแต่สมัยช่วงปีพ.ศ 2405 ท่านเกิดในวันศุกร์ที่ 11 เดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นยุคสมัยของแผ่นดินรัชกาลที่ 4
หลวงปู่สอนนั้นท่านเกิดอยู่ที่บ้านหนองบัวแสนเมืองซึ่งตั้งอยู่ในตำบลบ้านโพธิ์ซึ่งในสมัยก่อนจะเรียกกันว่าบ้านหนองบัว สถานที่แห่งนี้ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดนครราชสีมา หลวงปู่นั้นท่านเป็นลูกชายคนเดียวของคุณพ่อเกิด หรือ พระราชสีมาจารย์ ซึ่งท่านเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในเมืองนครราชสีมา และคุณแม่ของท่านมีนามว่านางมา
ซึ่งเรียกได้ว่าครอบครัวของหลวงปู่สอนนั้นค่อนข้างมีฐานะที่ดีเลยทีเดียวไม่ใช่ครอบครัวที่ยากจน เนื่องจากคุณพ่อของท่านงั้นเป็นข้าราชการมีตำแหน่งที่ค่อนข้างใหญ่โตพอสมควร อีกทั้งยังมีบริวารมากมายท่านจึงได้มีโอกาสเรียนหนังสือตั้งแต่ในวัยเด็กท่านได้เรียนที่วัดหนองบัว จากนั้นเมื่ออายุได้ประมาณ 16-17 ปี หลวงปู่สอนท่านก็มีความชอบในเรื่องของวิชาอาคม เป็นเรื่องปกติของลูกผู้ชายในสมัยนั้น จึงได้ออกจากบ้านและเดินทางเพื่อเสาะหาความรู้และแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านอาคมเพื่อที่จะไปร่ำเรียนในด้านนี้
หลวงปู่น้อยพระอาจารย์ของหลวงปู่สอน
หลังจากที่หลวงปู่ท่านได้ออกเดินทางไปท่องเที่ยวและหาประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับชีวิตในหลายๆแห่งแล้วท่านก็ได้มุ่งหน้า และตัดสินใจเดินทางเข้าสู่อำเภอครบุรีของจังหวัดนครราชสีมา (ซึ่งในสมัยก่อนอำเภอครบุรีนั้นเป็นอำเภอเดียวกันกับจังหวัดโชคชัยแต่ในปัจจุบันได้มีการแยกตัวออกมาเป็นอำเภอครบุรีไม่ใช่อำเภอโชคชัยอีกต่อไป) การเดินทางมายังอำเภอครบุรีแห่งนี้ทำให้ท่านได้พบกับพระอาจารย์ที่มีความเก่งกล้าในด้านคาถาอาคมอย่างมากพระอาจารย์ผู้นั้นมีนามว่าหลวงปู่น้อยแห่งวัดบ้านไผ่ วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ในตำบลจรเข้หินของอำเภอครบุรีซึ่งในยุคนั้นหลวงปู่น้อยท่านเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านนี้อย่างมาก จึงทำให้หลวงปู่สอนต้องการที่จะเรียนทางด้านคาถาอาคมกับหลวงปู่น้อยแต่ก็มีข้อแม้อยู่ว่าหากต้องการเรียนจำเป็นจะต้องบวชเสียก่อนนั่นคือสิ่งที่ปู่น้อยกล่าวกับหลวงปู่สอน
อุปสมบท
ถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2427 ท่านก็ได้เข้าพิธีอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ในวัย 22 ปี ท่านบวชอยู่ที่วัดบ้านไผ่ซึ่งพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับท่านก็คือหลวงปู่น้อยแห่งวัดบ้านไผ่นั่นเอง และพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านก็คือหลวงพ่อเปียแห่งวัดจระเข้หิน และสำหรับพระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ของท่านก็คือหลวงพ่อยัง แห่งวัดสีเฉลียง นอกจากนี้ท่านยังได้รับฉายาทางธรรมว่า“พุภะละมะ” ที่เราหลายคนมักจะคุ้นหูกันดี
หลังจากที่หลวงปู่ท่านบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วสิ่งที่ท่านมักจะต้องทำอยู่เสมอก็คือการท่องบทสวดมนต์และท่านสามารถสวด 7 ตำนานได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงสวด 12 ตำนานที่ทำได้อย่างชำนาญด้วยเช่นกัน เพราะความมานะพยายามจึงทำให้หลวงปู่น้อยยินดีที่จะสอนวิชาอาคมให้ และนอกจากจะได้ร่ำเรียนทางด้านวิชาอาคมกับหลวงปู่น้อยแล้วยังได้เรียนในเรื่องของการรักษาโรคด้วยยาสมุนไพรและได้เรียนการปรุงยาด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับการรอคอยเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสศึกษาทางด้านเจริญสมาธิวิปัสสนากับหลวงปู่น้อยอีกด้วย
เมื่อเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ที่วัดแห่งนี้ได้ประมาณ 2 ปีก็ถึงเวลาที่ท่านออกเดินธุดงค์เพื่อภาวนาฝึกฝนจิต หลวงปู่สอนท่านได้ธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆท่ามกลางธรรมชาติเพื่อจำศีลและท่านมักจะเดินทางเข้าป่าและจำศีลอยู่ตามถ้ำ การออกเดินธุดงค์ของท่านนั้นทำให้ท่านได้พบกับพระอาจารย์ที่มีวิชาอย่างมากมายจึงทำให้ท่านได้มีโอกาสฝากตัวเป็นลูกศิษย์และร่ำเรียนวิชาในแขนงต่างๆ นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสเรียนในด้านคาถาอาคมของประเทศกัมพูชาหรือที่ผู้คนมักจะเรียกกันว่าเขมร
ซึ่งหลวงปู่สอนนั้นท่านเป็นผู้มีวิชาอาคมอย่างมากเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านในละแวกนั้นนอกจากนี้ยังมีอาคมแก่กล้าขลังและศักดิ์สิทธิ์ท่านได้สร้างขี้ผึ้งแจกชาวบ้านซึ่งมีคำร่ำลือว่ามีพุทธคุณที่เด่นทางด้านเมตตามหานิยมมหาอุดรวมถึงอยู่ยงคงกระพันอีกด้วยจึงทำให้ชื่อเสียงของท่านค่อนข้างเป็นที่ร่ำลือในยุคนั้นอย่างมาก และชาวบ้านหลายคนก็มักจะมาทำบุญทั้งยังร่วมใจกันบริจาคเงินสร้างวัด
ถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2438 หลวงปู่สอนท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่อำเภอเสิงสาง ณ วัดสระตะเคียนซึ่งตั้งอยู่ในตำบลสระตะเคียน ซึ่งท่านใช้เวลาประมาณ 9 ปีในการออกเดินธุดงค์มาก่อนหน้านั้นแล้วและถึงแม้ว่าท่านจะมีประสบการณ์ในการเดินธุดงค์มากถึง 9 ปีแต่ท่านก็ยังมีอายุเพียง 33 ปีอยู่ในขณะนั้น
ซึ่งในเวลาต่อมาเมื่อถึงปีพ.ศ 2440 ในขณะที่ท่านมีอายุได้ประมาณ 35 ปีในการบวชของพรรษาที่ 13 ท่านก็ได้สร้างวัดขึ้นใหม่จนสำเร็จวัดที่ท่าน และชาวบ้านร่วมกันสร้างนั้นมีชื่อว่าวัดทุ่งสว่างศรีเสิงสาง ชาวบ้านค่อนข้างให้ความเคารพศรัทธาหลวงปู่สอนอย่างมาก รวมถึงผู้ใดที่ได้มีโอกาสแวะเวียนมานมัสการก็มักจะมาขอของดีจากหลวงปู่อยู่เสมอ
ท่านเป็นที่เคารพศรัทธา ของผู้คนในจังหวัดนครราชสีมา
อีกทั้งท่านยังมีความเมตตาธรรมสูงวิชาที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากการเรียนวิชาปรุงยาสมุนไพรท่านก็นำมาใช้เพื่อรักษาให้กับชาวบ้านที่ตกทุกข์ได้ยาก อีกทั้งยังเป็นผู้มีญาณหยั่งรู้มีคาถาอาคมที่แก่กล้า และไม่ได้เป็นเพียงที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านญาติโยมเท่านั้นเพราะพระภิกษุสงฆ์และสามเณรต่างๆก็ต่างเลื่อมใสท่านและเคารพท่านมากเช่นกัน ใครเจ็บไข้ได้ป่วยหรือโดนของก็มักจะมาให้หลวงปู่ท่านรักษาให้อยู่เสมอ จากที่มีเพียงชาวบ้านอำเภอเสิงสางที่รู้จักและศรัทธาท่าน ก็ได้กลายเป็นชื่อเสียงของท่านร่ำลือและโด่งดังไปไกลชาวจังหวัดนครราชสีมาแทบทั้งจังหวัดรู้จักท่านและศรัทธาท่านอย่างมาก
ในเวลาต่อมาซึ่งตรงกับปีพ.ศ 2500 หลวงปู่สอนท่านก็ได้ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดทุ่งสว่างซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมืองของจังหวัดนครราชสีมา และการย้ายมาจำพรรษาครั้งนี้ท่านก็ได้ปลุกเสกวัตถุมงคลขึ้น ที่วัดสุทธจินดา จากนั้นท่านก็ได้เดินทางกลับไปจำพรรษาอยู่ที่วัดเสิงสางตามเดิม นอกจากนี้ในปีเดียวกันหลวงปู่สอนท่านยังได้รับพระราชทานให้มีสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลในราชทินนาม “ พระครูภูมิวุฒาจารย์ ” อีกด้วย
และถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2506 หลวงปู่สอนท่านก็ได้รับนิมนต์เพื่อให้มาปลุกเสกวัตถุมงคลอีกครั้งอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ณ วัดประสาทบุญญาวาส เรียกได้ว่าชื่อเสียงของท่านไม่ได้รู้จักกันเพียงในจังหวัดนครราชสีมาเท่านั้นเพราะในขณะนี้ชาวกรุงเทพฯก็รู้จักท่านด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงไม่น้อยเลยทีเดียวในยุคนั้น
ถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2510 หลวงปู่สอนท่านใดรับนิมนต์เพื่อเดินทางไปปลุกเสกวัตถุมงคลที่อำเภอเมืองของจังหวัดนครราชสีมาณวัดช่องอู่และท่านก็มรณภาพอยู่ที่วัดช่องอู่ในวันที่ 27 ของเดือนมีนาคมในปีดังกล่าวซึ่งรวมศิริอายุได้ 105 ปีในภาษาที่ 83 ซึ่งเรียกได้ว่าสร้างความโศกเศร้าให้กับชาวจังหวัดโคราชไม่น้อย แต่คณะจิตของท่านก็ได้นำสรีระของท่านไปทำพิธีฌาปนกิจอยู่ที่วัดเสิงสางซึ่งเป็นวัดที่ท่านจำพรรษาอยู่เสมอมา ซึ่งหลวงปู่สอนนั้นท่านเป็นพระผู้มีอายุยืนอีกองค์หนึ่งจึงมีฉายาว่าเป็นภิกษุ 6 แผ่นดินเนืองด้วยเหตุผลนี้
ประสบการณ์เรื่องเล่าจากวัตถุมงคลของหลวงปู่สอน
ครั้งหนึ่งเคยมีผู้เล่าถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ที่มีวัตถุมงคลของหลวงปู่สอนติดตัวเอาไว้ ว่าลูกศิษย์ผู้หนึ่งของหลวงปู่สอนนั้นได้ถูกกระทิงขวิดจนร่างลอยไปไกลแต่เรื่องน่าแปลกคือเขากลับไม่ได้รับอันตรายใดๆเลย ทั้งที่เหตุการณ์นี้สามารถเสียชีวิตได้เลย ซึ่งลูกศิษย์ของท่านพกสีผึ้งเพียงตลับเดียวโดยการแขวนอยู่บนคอเท่านั้น
ด้วยเรื่องเล่านี้จึงยิ่งทำให้ผู้คนต่างร่ำลือกันไปไกลและนอกจากนี้ยังมีประสบการณ์อีกมากมายที่ได้เล่าถึงวัตถุมงคลของหลวงปู่สอนแห่งวัดเสิงสาง สำหรับวัตถุมงคลที่ค่อนข้างได้รับความนิยมสูงก็คือเหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่สอนวัดเสิงสางที่ได้สร้างขึ้นในช่วงปีพ.ศ 2507 นั่นเอง
อย่างไรก็ตามพวกเราทีมงานหวังอย่างยิ่งว่าเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของ “พระครูภูมิวุฒาจารย์ ” (หลวงปู่สอน วัดเสิงสาง) เมืองโคราช พระภิกษุ 6 แผ่นดิน ! นี้ท่านผู้อาจจะชื่นชอบและถูกใจกันนะคะ