สำหรับแฟนๆเว็บไซต์ส่องพระท่านใดที่ต้องการทราบถึงความเป็นมาของพระคงลำพูน อายุรกรรมต้องขอบอกเลยว่าคุณมาถูกทางแล้ว เพราะในวันนี้พวกเราทีมงานได้รวบรวม ประวัติความเป็นมาสุดขลังระดับตำนานของ “พระคง ลำพูน” จังหวัดลำพูน มาฝากคุณกันไว้ที่นี่ ซึ่งเราจะพาคุณย้อนอดีตไปถึงในยุคพงศาวดาร ตามด้วยจะบอกเล่าถึงรายละเอียดที่เกี่ยวกับพระคงลำพูนนี้ให้คุณได้ทราบ เพื่อความเพลิดเพลินในการอ่านและสนุกไปกับเนื้อหาทางด้านประวัติศาสตร์ และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจกันได้เลยดังต่อไปนี้
รู้จักกับพงศาวดารกันก่อน
สำหรับท่านใดที่ยังไม่เคยทราบถึงเรื่องราวที่เกี่ยวกับตำนานพงศาวดารเลย เราคงต้องขออนุญาตย้อนไปถึงในช่วงยุคสมัยนั้น เนื่องจากมันคือที่มาของพระคงลำพูนที่เราได้นำมาฝากกันในครั้งนี้นั่นเอง สำหรับเมืองหริภุญชัยหรือในปัจจุบันก็คือจังหวัดลำพูนที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยเรา จากตำนานพงศาวดารนั้น เมืองหริภุญชัยได้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงปี พ.ศ 1200 หรือประมาณเมื่อพันกว่าปีที่แล้ว ซึ่งได้ถูกสร้างด้วย พระฤๅษี 4 ตน
ในยุคสมัยนั้นเมืองละโว้ (หรือจังหวัดลพบุรีที่ตั้งอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทยในปัจจุบัน) คือศูนย์กลางของแคว้นทราวดี ซึ่งในสมัยนั้นกษัตริย์ที่ครองเมืองละโว้คือพระเจ้าจักรวรรดิราช ซึ่งพระราชธิดาของพระองค์ก็คือพระนางจามเทวี
ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 1205 พระเจ้าจักรวรรดิราช ได้รับเกียรติอัญเชิญให้ไปเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองหริภุญชัย จนทำให้มีการเผยแพร่ศาสนาพุทธไปยังเมืองหริภุญชัยหรือจังหวัดลำพูนนั่นเอง
ที่มาของพระคงลำพูน
หลังจากที่พระเจ้าจักรพรรดิราชได้มาปกครอง ณ เมืองหริภุญชัยหรือจังหวัดลำพูนที่อยู่ทางภาคเหนือของประเทศไทยเราในปัจจุบันนี้ ก็ทำให้ครอบครัวของพระองค์ต้องย้ายมาอยู่ที่นี่ด้วยและเช่นกัน “พระนางจำมาเทวี” ซึ่งเป็นพระธิดาของพระองค์ ก็ได้ทรงนำพระไตรปิฎก, พระสงฆ์ รวมทั้งพระพุทธศาสนาและศิลปะในยุคนั้น มาจากเมืองละโว้ด้วย ซึ่งพระองค์ได้นำศาสนาพุทธเข้ามาเผยแพร่ ทั้งยังได้สร้างวัดเอาไว้ทั้งสี่ทิศของเมือง ที่ชาวเมืองในยุคนั้นจะเรียกกันว่า “วัดสี่มุมเมือง”
ซึ่งเป็นศาสนสถานที่มีความสัมคัญมาก เป็น “จตุรพุทธปราการ” การสร้างถาวรวัตถุในศาสนสถานนั้นจุดประสงค์ก็เพื่อให้คุ้มครองเมืองได้ทั้งหมดสี่ทิศ และทั้งสี่วัดที่ได้สร้างขึ้นในขณะนั้นได้แก่ 1.วัดที่ถูกตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองคือ วัดพระคงฤๅษี 2.วัดที่ถูกตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของเมืองก็คือวัดดอนแก้ว 3. วัดที่ถูกตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองก็คือวัดมหาวัน และ 4. วัดที่ถูกตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองก็คือวัดประตูลี้
และนอกจากนี้ ณ วัดที่ถูกตั้งอยู่ทางทิศเหนือของเมืองซึ่งก็คือหรือวัดพระคงฤๅษี ก็ยังคงปรากฏให้เห็นรูปของฤาษีทั้งสี่ตนที่เป็นผู้สร้างเมืองหริภุญชัยแห่งนี้อีกด้วย ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในท่าประทับยืนอยู่ในซุ้มคูหาของพระเจดีย์พร้อมกับอักษรที่จารึกเอาไว้ที่ใต้บริเวณฐานว่า “สุเทวะฤๅษี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นผู้รักษาเมืองฝายทิศเหนือ , “สุกกทันตฤๅษี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นผู้รักษาเมืองฝายทิศใต้ , “สุพรหมฤๅษี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นผู้รักษาเมืองฝายทิศตะวันออก และ “สุมมนารทะฤๅษี” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นผู้รักษาเมืองฝายทิศตะวันตก ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 1223 โดยพระนางจามเทวี และวัดแห่งนี้ก็คือต้นกำเนิดของกรุพระเครื่องเก่าแก่อันเลื่องลือในจังหวัดลำพูน ซึ่งมีทั้งพระเปิม , พระรอด , พระบาง, พระฤา และพระคงที่เรากำลังหมายถึงกันในบทความนี้
มีความเชื่อกันว่าจะพระกรุมากมายเหล่านี้ มีพระฤาษีเป็นผู้สร้างขึ้น ซึ่งเชื่อว่าทุกสร้างไปพร้อมๆกับการสร้างวัดของยุคสมัยพระนางจำมาเทวี ซึ่งหากนับอายุตั้งแต่นั้นมาก็น่าจะราวๆ 1300 ปีเห็นจะได้ ซึ่งไม่ใช่เวลาน้อยๆเลยจริงๆจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมพระคงลำพูนจึงค่อนข้างหายากและมีราคาที่สูงมาก และแน่นอนว่าศิลปะที่อยู่บนพักเครื่องนี้จะต้องมีความงดงามตามรูปแบบของธาราวดีอย่างแน่นอนอีกทั้งยังมีการผสมผสานกับศิลปะของศรีวิชัยเข้ามาด้วย
พุทธลักษณะของพระคงลำพูน
ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีความเก่าแก เนื่องจากเป็นพระกรุที่มีอายุเก่าแก่ยาวนานจึงทำให้เนื้อและสีอาจเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย สำหรับพุทธะลักษณะของด้านหน้าองค์พระจะเป็นพระประทานที่แสดงปางมารวิชัย อยู่ในท่าประทับนั่งขัดสมาธิเพชร อยู่ภายใต้ของซุ้มใบโพธิ์ และบริเวณล้อมรอบขอบขององค์พระนั้น จะมีจุดไข่ปลาเรียงรายอยู่และจะล้อมรอบอยู่แบบสองชั้น ในส่วนของเส้นประภามณฑลนั้นจะมีลักษณะเป็นเส้นบางๆ และครอบยาวลงมาตลอดดันข้างอย่างอ่อนช้อย
ทางด้านหน้าของพระพักตร์นั้นจะมีความอวบอิ่มทรงป้อม ทางด้านพื้นผนังของด้านหลังของใบโพธิ์จะมีความอ่อนช้อยงดงาม เราจะสามารถสังเกตได้จากลักษณะของลายเส้น ทางด้านของพระอุระนั้นจะมีความอวบอ้วนดูล่ำสัน มีขนาดค่อนข้างเล็กกระทัดรัดด้วยความสูงเพียง 2.8 เซนติเมตร และมีความกว้างเพียงประมาณ 1.7 เซนติเมตรเท่านั้น ในส่วนของสีจะมีปรากฏให้เห็นอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสีเหลืองพิกุล , สีเขียว, สีดำ, สีแดง รวมไปถึงสีขาว มีความสวยงามและปราณีตอย่างมาก ด้วยศิลปะแห่งยุคสมัยทาราวดี
สำหรับพระคงที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมาก ก็คือพระคงที่มีลักษณะสีเขียวและจะขุดพบได้มากในวัดคงฤาษี ณ วัดแห่งนี้ได้มีการแตกกลุ่มหลายครั้งแล้ว จึงได้มีการแบ่งเป็น “กรุใหม่และกรุเก่า” อีกทั้งยังได้มีการสันนิษฐานว่าอาจจะมีการนำพระคงมาบรรจุเอาไว้ภายหลังจากมีการแตกกรุที่วัดคงฤาษีแล้ว
การสังเกตพระคงกรุเก่ากับพระคงกรุใหม่
การสังเกตพระคงจากกรุเก่า เราจะสามารถสังเกตได้จากเนื้อ ที่นำมาใช้ในการสร้างองค์พระ ซึ่งเราจะเห็นว่ามีเนื้อที่ค่อนข้างละเอียดและนุ่มหนึบ แต่ก็ค่อนข้างมีความแข็งแรงมาก อีกทั้งจุดสังเกตสำหรับพระคงกุเก่านั้นเราจะเห็นได้ชัดว่ามีเนื้อว่านดอกมะขามที่ปรากฏสีแดงเป็นจุดเล็กๆอยู่บนผิวขององค์พระ
สำหรับการสังเกตุพระคงกรุใหม่ สามารถดูได้ไม่ยากเนื่องจากเนื้อจะมีความหยาบและค่อนข้างยุ้ยมากกว่าพระคงของกรุเก่า และว่านดอกมะขามนั้นจะปรากฏให้เห็นว่าจมอยู่ในเนื้อรวมไปถึงแร่ด้วยเช่นกัน เนื้อขุยที่ค่อนข้างหยาบจะกระจายและฝังอยู่ในเนื้อมากมาย ในส่วนของสีก็จะคล้ายๆกัน ดังนั้นสรุปได้ว่าการสังเกตุระหว่างกรุเก่ากับกรุใหม่ก็คือให้เราสังเกตได้จากเนื้อขององค์พระ
พุทธคุณ
สำหรับพุทธคุณของพระคงลำพูนนั้นมีความโดดเด่นในเรื่องของคงกระพันชาตรี ซึ่งมีความเชื่อว่าหากใครได้บูชาครอบครองบูชาก็จะอยู่เย็นเป็นสุข แคล้วคาดปลอดภัย ปลอดจากศัตรู และภัยอันตรายทั้งปวงจะไม่มีใครมาทำอันตรายใดได้แม้ในยามออกศึก
พระคงลำพูนนี้เรียกได้ว่าเป็นพระที่ค่อนข้างมีความเก่าแก่นับพีนปีกันเลยทีเดียว จึงไม่น่าจะใช่เรื่องแปลกหากว่าจะเป็นพระที่ค่อนข้างหายากและมีราคาสูง อย่าว่าแต่ได้ครอบครองกันเลยท่านผู้อ่าน การได้เห็นของจริงแบบเต็มๆตานั้นก็นับว่าเป็นบุญได้เช่นกัน
สำหรับในครั้งนี้พวกเราทีมงานส่องพระต้องขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่คอยติดตามเรื่องราวดีๆที่เกี่ยวกับพระเครื่องจากพวกเราที่นี่อย่างเสมอมา หากผิดพลาดประการใดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้อย่างสูง และหากบทความ ประวัติความเป็นมาสุดขลังระดับตำนานของ “พระคง ลำพูน” จังหวัดลำพูน นี้ มีประโยชน์ก็อย่าลืมแชร์ หรือส่งต่อให้กับคนที่คุณรักด้วยเช่นกันนะคะ ซึ่งเราหวังว่าเนื้อหาสาระจะช่วยสร้างความเพลิดเพลินและความรู้ให้กับคุณได้ยิ่งขึ้น แล้ว