แห่งเอ่ยถึงเมืองธรรมะที่มีพระศักดิ์สิทธิ์อยู่มากมายใกล้กรุงเทพฯ หลายคนอาจจะนึกถึงจังหวัดฉะเชิงเทราขึ้นมาทันที และแน่นอนว่าครั้งนี้เราจะมาเล่าถึง ประวัติความเป็นมาของ “พระปิดตาหลวงปู่จีน” แห่งวัดท่าลาด ของดี เมืองฉะเชิงเทรา! เพื่อให้แฟนๆเว็บไซต์ส่องพระของเราที่ศรัทธาหลวงปู่จีนได้ทราบถึงประวัติความเป็นมาโดยละเอียดที่นี่ และครั้งนี้เราไม่ทำให้คุณต้องผิดหวังกันอย่างแน่นอน ดังนั้นเราไปชมถึงสิางที่น่าสนใจก้นได้เลยด้วต่อไปนี้ !
ประวัติหลวงปู่จีนวัดท่าลาดจังหวัดฉะเชิงเทรา
สำหรับหลวงปู่จีนนั้นเรียกได้ว่าท่านคือสุดยอดพระเกจิอีกรูปหนึ่งที่ค่อนข้างมีพุทธาคมอันแก่กล้า ในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ได้สร้างวัตถุมงคลอย่างมากมายที่มีพุทธคุณสูงหลวงปู่จีนนั้นเป็นพระผู้มีเมตตาทำอย่างมากซึ่งประวัติของท่านนั้นไม่ได้มีการบันทึกเอาไว้จึงทำให้ไม่มีใครทราบถึงประวัติอย่างแท้จริง แต่ได้มีการสันนิษฐานกันว่าหลวงปู่จีนนั้นเกิดในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2357 และต่อมาในช่วงปีพ.ศ. 2497 หลวงปู่จีนก็ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดท่าลาด ในจังหวัดจะเชิงเทรา หลวงปู่จีนนั้นเป็นพระเกจิยุคเดียวกันกับหลวงพ่อแก้ว แห่งวัดเครือวัลย์
นอกจากนี้หลวงปู่จีนยังเป็นได้สร้างพระปิดตา ที่มีเนื้อผงคุกรักอันมีชื่อเสียงโด่งดังจนกลายเป็นที่เรื่องลือ เป็นวัตถุมงคลที่เรากำลังจะนำมาเล่าให้ท่านได้ทราบกันในวันนี้ หลวงปู่จีนนั้นเป็นผู้มีอภิญญาและค่อนข้างเชี่ยวชาญทางด้านพุทธาคมรวมทั้งวิปัสสนาธุระอย่างมากท่านได้ช่วยเหลือชาวบ้านยามเจ็บไข้ได้ป่วยรักษาชาวบ้านอย่างเสมอมาด้วยจิตที่เมตตา ต่อมาในช่วงปีพ.ศ. 2440 หลวงปู่จีนได้มรณภาพลงซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เราลูกศิษย์ลูกค้าต่างพากันโศกเศร้าไม่น้อย ซึ่งรวมสิริอายุของท่านได้ประมาณ 83 ปี แต่ถึงแม้ว่าท่านจะได้มรณภาพไปเกือบ 100 ปีแล้วชื่อเสียงของท่านก็ยังคงอยู่และลูกศิษย์ลูกค้ารวมถึงคนยุคใหม่ก็ยังคงเคารพศรัทธาถึงท่านหลวงปู่จีนอย่างมิเสื่อมคลาย
ความเป็นมาของ วัดท่าลาด จ.ฉะเชิงเทรา
สำหรับวัดท่าลาดหรือวัดท่าลาดเหนือแห่งนี้ ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอพนมสารคามของจังหวัดฉะเชิงเทราอยู่ ณ ตำบลท่าถ่าน เป็นวัดที่มีคณะสงฆ์เป็นฝ่ายมหานิกาย วัดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2395 ซึ่งผู้สร้างก็คือพระยาเขมรที่ได้มีการอพยพมาจากเมืองพระตะบอง หลังจากนั้นประมาณปีเศษหลังจากที่ได้ทำการสร้างเสร็จแล้วก็มีพระที่เดินธุดงค์มาที่นี่ถึงสามรูป จากนั้นชาวบ้านที่อยู่ในละแวกนั้น เมื่อได้พบเห็นจริยาวัฒน์ที่มีความเคร่งครัดต่อการปฎิบัติของพระทั้งสามรูป จึงเกิดความเลื่อมใสและศรัทธา จากนั้นก็ได้ทำการในวันเพื่อให้พระทั้งสามรูปนั้นได้เข้ามาจำพรรษาอยู่ ณ วัดท่าลาดแห่งนี้
เมื่อจำพรรษาอยู่ที่นี่ไม่นานพระอีกสองรูปก็ได้ออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆต่อ ส่วนพระที่จำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ต่อก็คือหลวงปู่จีน แต่จากหลักฐานตามข้อมูลจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้มีการระบุเอาไว้ว่าวัดแห่งนี้ได้ตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2312 ในวัดแห่งนี้มีโบราณวัตถุอันมีคุณค่าและมีความสำคัญตั้งอยู่ด้วยเช่นกันนั่นก็คือเสมาหินทรายแดงเป็นจำนวนแปดใบ อีกทั้งยังมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งสิ่งนี้ยังคงอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์มาก ซึ่งเป็นเจดีย์ที่เราสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าศิลปะที่อยู่ในเจดีย์นั้นบ่งบอกถึงศิลปในยุคปลายอยุธยาจนถึงยุครัตนโกสินทร์
อีกทั้งด้านหลังของหอกลองในบริเวณนั้น ปรากฏเศษภาชนะดินเผาที่ถูกวางอย่างกระจัดกระจายหลายประเภท ซึ่งเป็นเครื่องสังคโลก ที่บ่งบอกอย่างชัดเจนว่าเป็นเซ็ตถ้วยของชาวจีนตั้งแต่ในยุคสมัยของราชวงศ์หมิงตอนปลาย ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีวัดแห่งนี้อยู่ในจังหวัดฉะเชิงเทราและได้กลายเป็นสถานที่สำคัญของจังหวัดด้วยเช่นกันหากคุณได้มีโอกาสไปเรียนก็สามารถแวะนมัสการพระและชมวัตถุโบราณต่างๆได้
ความเป็นมาของพระปิดตาหลวงปู่จีน
ได้มีการสันนิษฐานว่า “พระปิดตาเนื้อผงคุกรัก” ของหลวงปู่จีนที่ท่านได้สร้างเอาไว้นั้นถูกสร้างขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. 2430 ซึ่งเนื้อหามวลสารในการใช้สร้างพระในครั้งนั้น เป็นเนื้อผงพุทธคุณที่มีการนำมาผสมว่านวิเศษต่างๆ ซึ่งเป็นการนำวิธีในการทำที่ค่อนข้างมีความเก่าแก่โดยการนำมาครบหลักเพื่อทำการประสานตัวให้เนื้อพระเกาะตัวกันเหนียวแน่นและมีความแข็งแรงทนทานจากนั้นก็ได้นำมากดให้เข้ากับแม่พิมพ์พระปิดตา เนื่องจากการจัดสร้างพระปิดตานั้นได้มีการสร้างมาหลายครั้ง แต่ว่าจำนวนในการสร้างของแต่ละครั้งนั้นไม่ค่อยมากนักเนื่องจากวิธีการและกรรมวิธีต่างๆในการทำค่อนข้างยากและเป็นกระบวนการที่ซับซ้อน ต้องผู้มีวิชาและมีความชำนาญเท่านั้นจึงจะสร้างและที่สำคัญคือการสร้างพระที่หลวงปู่จีนได้สร้างขึ้นนั้นมาตามตำราที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมา
พุทธลักษณะของพระปิดตาหลวงปู่จีน
เราจะสังเกตได้ว่าพุทธลักษณะขององค์พระนั้นจะอยู่ในท่าขัดสมาธิราบ องค์พระอยู่ในอิริยาบถเอามือปิดตาแต่มีความต่างจากพระปิดตาของที่อื่น เป็นองค์พระที่มีเศียรโล้น พระเนตรขององค์พระนั้นได้ถูกปิดด้วยพระหัตถ์ทั้งสองข้างจากนั้นเราจะสังเกตุเห็นว่ามีเส้นแนวโค้งรอบองค์ ในส่วนของด้านหลังจะมีความอูมแต่ไม่ถึงกับอ้วนมากนัก มีแบบหลังประทุนเกือบจะแทบทุกองซึ่งหลังประทุนนั้นบางคนอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหลังเบี้ย และโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีการลงรักทับเอาไว้ในขั้นตอนสุดท้ายทั้งนี้เพื่อเป็นการประสานพระให้มีความแข็งแรงตามที่เราได้กล่าวเอาไว้ทางด้านบน
สำหรับพิมพ์ของพระปิดตาหลวงปู่จีนนั้นมีด้วยกันหลากหลายพิมพ์ ซึ่งตามที่ปรากฏก็จะพบว่าส่วนใหญ่จะมี พิมพ์กรีดบัวใหญ่, พิมพ์กลีบบัวเล็ก, พิมพ์เม็ดกระบก, พิมพ์แข้งหมอน และพิมพ์ไม้ค้ำเกรียนที่ค่อนข้างหายากมาก ส่วนพิมพ์ยอดนิยมเห็นทีน่าจะเป็นพิมพ์แข้งหมอนเนื่องจากพิมพ์นี้ค่อนข้างจัดทำน้อยและพบได้น้อยกว่าพิมพ์อื่นๆ
เอกลักษณ์อันโดดเด่นของพระปิดตา (พิมพ์แข้งหมอน) หลวงปู่จีน
สำหรับท่านใดที่ต้องการบูชาพระปิดตาของหลวงปู่จีน (พิมพ์แข้งหมอน) นั้น มีจุดให้พิจารณาไม่ยากโดยเราจะพาคุณมารู้จักกับจุดสังเกตง่ายๆ โดยเริ่มต้นกันที่ ให้คุณสังเกตที่เส้นซุ้มซึ่งจะมีรอยขยักอยู่ประมาณสองตำแหน่ง ซึ่งได้แก่บริเวณทางใต้ของประกันกับพระอังสาซึ่งจะมีเหมือนกันทั้งสองด้าน และอีกหนึ่งตำแหน่งก็คือระหว่างพระกับประหรือในช่วงข้อศอกนั่นเอง
ถัดมาเราจะเห็นว่าเส้นซุ้มทางด้านซ้ายใต้พระเพลาขององค์พระนั้น จะมีความชิดและแยกออก ต่อมาให้คุณสังเกตจากพระเศียรขององค์พระ ซึ่งเราจะเห็นได้ชัดว่าลักษณะของเศียรนั้นจะเป็นทรงครึ่งวงกลมและมีโค้งลงมาจนถึงพระกรรณ (หู) และจะเป็นแบบนี้เหมือนกันทั้งสองข้าง
ถัดมาให้ดูที่ตำแหน่งช่วงพระพาหา(คือบริเวณต้นแขน) จะสังเกตได้อย่างชัดเจนว่าทางด้านซ้ายนั้นมีความใหญ่กว่าทางด้านขวาและในส่วนของพระหัตถ์จะบรรจบกันไปจนถึงพระศอ (คอ) และในส่วนของด้านหลังองค์พระนั้นจะมีความอึ๋มมากแต่ไม่ถึงกับอ้วนสิ่งนี้ต้องคอยสังเกตให้ดีๆ และในส่วนของเนื้อพระนั้นจะเป็นเนื้อกะลาที่มีความละเอียดมีความแห้งแต่เมื่อใดก็ตามที่ถูกเหงื่อหรือน้ำสีก็จะเปลี่ยนเป็นออกน้ำตาลเข้ม และเราจะเห็นได้ชัดถึงรักที่มีลักษณะเป็นเกล็ดที่ฝังอยู่ในเนื้อพระ
นำมาฝากกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับเรื่องราวของ ประวัติความเป็นมาของ “พระปิดตาหลวงปู่จีน” แห่งวัดท่าลาด ของดี เมืองฉะเชิงเทรา! แล้วพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไปสำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อนสวัสดีค่ะ