หากได้ยินชื่อวัดช้างล้อม เซียนพระหลายคนคงจะนึกถึงเมืองศรีสัชนาลัยขึ้นมาทันที และหากมีใครกำลังสนทนาในเรื่องของพระเครื่องอยู่แล้วล่ะก็ พระร่วงหลังลิ่มนั้นย่อมจะอยู่ในบทสนทนาของพวกเขาอย่างแน่นอน ในครั้งนี้พวกเราทีมงานจะมาบอกถึง ความเป็นมาของพระเครื่ององค์สำคัญ แห่งเมืองศรีสัชนาลัย “พระร่วงหลังลิ่ม วัดช้างล้อม” ! ซึ่งเป็นพระเครื่องที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุโขทัยมาอย่างยาวนาน อีกทั้งในปัจจุบันยังค่อนข้างหาชมได้ยากโดยเฉพาะองค์แท้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้พวกเราทีมงานได้รวบรวมเนื้อหาสาระที่น่าสนใจของพระเครื่ององค์นี้มาฝากท่านผู้อ่าน ที่รักและชื่นชอบพระเครื่องกันเป็นเดิมอยู่แล้ว พร้อมทั้งจะมาบอกถึงเรื่องราวของเนื้อมวลสารและกรรมวิธีการสร้างพระเครื่ององค์นี้ ทราบเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อการดูพระของคุณ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับสิ่งที่น่าสนใจของพระเครื่องเลื่องชื่อ ที่มีชื่อนามว่าพระร่วงหลังลิ่มกันเลยดีกว่า
ความเป็นมา
ก่อนอื่นเราจะต้องขอกล่าวถึงวัดช้างล้อมกันเสียก่อนเนื่องจากเป็นที่มาที่สำคัญในการขุดพบพระร่วงหลังลิ่มณที่นี้ วัดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีสัชนาลัย เมืองเก่าที่มีพระดังมากมายและเป็นเมืองที่เรียกได้ว่าเหล่าบรรดาเซียนพระค่อนข้างอยากไปเยี่ยมเยือนกันอยู่ไม่น้อย เพราะเรียกได้ว่าเป็นแหล่งที่มีพระเครื่องโบราณมากมายจริงๆ ทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจของพวกเราชาวไทยอีกมากมายด้วยเช่นเดียวกัน ในอำเภอศรีสัชนาลัยนี้มีโบราณสถาน ที่ค่อนข้างดึงดูดความสนใจให้เหล่าบรรดานักท่องเที่ยวต่างอยากได้มาสัมผัสถึงบรรยากาศของความคลาสสิค ณ เมืองแห่งนี้ นอกจากนี้ในจังหวัดสุโขทัยยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆอีกมากมาย ให้คุณได้ค้นหาและที่สำคัญคือแต่ละแห่งนั้นล้วนรายล้อมไปด้วยธรรมชาติอันงดงามจริงๆ
สำหรับพระร่วงหลังลิ่ม กรุวัดช้างล้อม นั้น ถือเป็นพระเครื่องเก่าแก่ของวัดช้างล้อม จังหวัดสุโขทัย ได้ถูกค้นพบเมื่อช่วงปี พ.ศ. 2480 ได้ปรากฏขึ้นจากเหตุการณ์แตกกรุครั้งแรกในช่วงนั้น ซึ่งการค้นพบนั้นได้มีพระเครื่องหลากหลายพิมพ์ปรากฏอยู่ในพระเจดีย์เก่าที่เป็นทรงลังกา ซึ่งพระเจดีย์ทรงลังกานี้มีความเก่าแก่เนื่องจาก ได้ถูกสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างวัดในครานั้น ซึ่งเป็นยุคที่มีพ่อขุนรามคำแหงเป็นพระมหากษัตริย์ จึงเป็นเหตุให้ผู้คนได้มีการสันนิษฐานว่าผู้ที่สร้างพระร่วงนั่งหลังลิ่มองค์นี้ อาจจะเป็นพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เนื่องจากพระต่างๆที่ได้รับจากการแตกกรุนั้นได้ถูกบรรจุอยู่ในพระเจดีย์เก่าแก่และอาจอยู่มาเป็นเวลานานแล้ว
ต่อมาหลังจากนั้นในช่วงปี พ.ศ 2495 ก็ได้มีการพบกับพระเครื่องที่มีลักษณะคล้ายกันในกรุเดียวกัน และถัดมาคือในช่วงยุคพศ 2500 ณ บ้านแก่งสาระจิต และบริเวณกรุวัดเจดีย์เจ็ดแถวก็ได้มีการค้นพบกับพระในลักษณะเดียวกันกับการแตกกรุเมื่อครั้งแรก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วและจะมีเนื้อสีขาวมากกว่าและเป็นผิวปรอทมากกว่าในช่วงการแตกกรุครั้งก่อน ซึ่งมีความแตกต่างกันเล็กน้อยจากพระกรุของวัดช้างล้อม เนื่องจากของกรุวัดช้างล้อมนั้นจะมีผิวดำปรากฏให้เห็นเป็นส่วนใหญ่
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ 2507 ณกรุพระเขาพนมเพลิง ได้มีการพบพระในลักษณะที่คล้ายกับการแตกกรุครั้งก่อนๆ จำนวนมากมายเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วพระจะมีความคมชัดที่ไม่ลึกเท่ากับพระในช่วงแตกกรุครั้งก่อนๆและในครั้งนี้จะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กกว่า บริเวณด้านหลังจะมีลักษณะเป็นแบบองค์ตันจึงมีการสันนิษฐานว่าอาจเป็นไปได้ว่ามีการสร้างล้อพิมพ์ด้วยมวลสารต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะค้นพบพระเครื่องชินเงินเป็นอย่างมาก
พุทธลักษณะ “พระร่วงหลังลิ่ม”
สำหรับองค์พระร่วงนี้มีลักษณะเป็นพระแบบครึ่งซีก ด้านหลังจะมีความกลวงเป็นเนื้อชินเงิน ในทรวงของด้านหน้านั้น จะมีลักษณะเป็นองค์พระอยู่ในท่าประทับนั่งและกำลังอยู่ในอิริยาบถขัดสมาธิ ได้ทำการแสดงปางมารวิชัย ที่บริเวณของพระเมาฬีจะอยู่ใต้หยุดๆของพระเกศ ซึ่งพระเกศนั้นจะมีลักษณะเป็นปลีซ้อน ส่วนบริเวณของเหนืออาสนะนั้นจะมีฐานเป็นเขียง ในส่วนของพระเศียรนั้นค่อนข้างมีลักษณะแหลม ซึ่งคุณสามารถชมภาพตัวอย่างได้จากภาพด้านบนที่เรานำมาฝากกันได้เลย
ตรงที่กรอบไรพระศกจะมีลักษณะเป็นเส้นที่เป็นเอกลักษณ์ในยุคของอู่ทองซึ่งเป็นศิลปะของยุคสมัยนั้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากขอมมีความงดงามและประณีตอ่อนช้อยแต่ก็ดูดุดันไม่น้อย แต่เป็นที่ทราบกันดีว่าศิลปะเช่นนี้เป็นศิลปะโบราณของทางฝั่งขอมมันเอง
ในส่วนของแม่พิมพ์นั้นก็มีเอกลักษณ์ที่ทำให้จดจำได้ไม่ยาก บริเวณใต้พระหัตถ์ทางฝั่งด้านขวาของตัวเองพระนั้นจะถูกเทให้มีลักษณะเป็นเนื้อเกินออกมา เป็นปุ่มยื่นขึ้นมาซึ่งจะมีแทบทุกองค์ ในส่วนของรักกันทั้งสองข้างนั้นจะถูกออกแบบเอาไว้ให้คล้ายกับใบหูของมนุษย์แต่จะทำเป็นร่องที่มีความลึกมากกว่าปกติซึ่งสิ่งที่คุณสามารถสังเกตเห็นได้โดยอาจส่องจากแว่นขยาย เนื่องจากเป็นพระเครื่องที่มีอายุยาวนานกว่าร้อยปีดังนั้นร่องรอยและความลึกของเส้นต่างๆ จึงอาจถูกลดทอนลงไปได้
บริเวณพระอุระนั้นจะมีความอวบอิ่มและค่อนข้างโดดเด่นออกมาอย่างเห็นได้ชัด มีเส้นสังฆาฏิที่คมและมีความชัดเจนสูงอีกทั้งยังสามารถมองเห็นเส้นอังสะได้อย่างชัดเจนด้วยเช่นกัน ทางด้านบนในส่วนของพระศอจะมีลักษณะเป็น 2 เส้น ซึ่งจะมีลักษณะกาบหมากให้มองเห็นได้ง่าย
ตัดมาทางในเรื่องของพระวรกายกันบ้าง ซึ่งจะถูกคลุมด้วยพระวรกายที่มีความสูงชะลูดมีรูปร่างที่ค่อนข้างคล้ายกับคนแก่คือมีความผอมบาง และจุดสังเกตอีกหนึ่งอย่างก็คือบริเวณพระอุทรที่สามารถมองเห็นได้ถึงความเป็นกล้ามเนื้อที่มองเห็นได้ถึง 2 ลอน
เป็นเนื้อพระชินเงินที่มีความโดดเด่นและมีศิลปะอันเป็นเอกลักษณ์ และอีกหนึ่งจุดสังเกตของบริเวณด้านหลังองค์พระที่เราจะสามารถเข้าใจกันได้ว่านี่คือพระร่วงนั่งหลังลิ่มก็คือในองค์พระส่วนใหญ่จะมีรอยแตกที่มาจากเนื้อทางด้านใน ด้านขอบโดยรอบนั้นไม่ค่อยมีความคมมากนัก ในส่วนของด้านหลังองค์พระ อีกทั้งรูปลิ่มที่อยู่ด้านหลังนั้นจะมีลักษณะคล้ายกับกาบหมากซึ่งค่อนข้างหาได้ยากในองค์พระอื่นๆ
พุทธคุณ
ตามความเชื่อที่มีต่อๆกันมาตามคำกล่าวของคนโบราณได้เคยบอกไว้ว่าหากใครได้มีพระร่วงหลังลิ่มเอาไว้ครอบครอง จะมีความโชคดีและแคล้วคลาดปลอดภัยเมื่อยามมีศึก ความโดดเด่นของพุทธคุณนั้นมีหลายด้านแต่จะเน้นในเรื่องของนิรันตราย และอยู่ยงคงกระพัน ทั้ังยังโดดเด่นในเรื่องของเมตตามหานิยมด้วยเช่นกัน
สำหรับพระร่วงนั่งหลังลิ่มนี้ถือเป็นอีกหนึ่งพระเครื่องที่ค่อนข้างได้รับความนิยมสูง ของเหล่าบรรดาผู้นิยมสะสมพระเครื่องในปัจจุบัน ถือเป็นงวัตถุมงคลที่ค่อนข้างหายากเนื่องจากมีความโดดเด่นในเรื่องของพุทธคุณว่าสูงเลิศล้ำ และมีราคาที่ค่อนข้างสูงมาก แต่อย่างไรก็ตามต่อให้มีราคาสูงมากเพียงใดเราเชื่อว่าใครก็ตามที่เป็นเนื้อคู่ก็จะมีโอกาสได้นำมาบูชาไว้ในครอบครองอย่างแน่นอน
สำหรับวันนี้พวกเราทีมงานต้องขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่คอยติดตามเรื่องราวดีๆที่เกี่ยวกับพระเครื่องจากเว็บไซต์ส่องพระของพวกเราอย่างเสมอมา ขอบคุณสำหรับทุกๆกำลังใจของแฟนๆ หากมีสิ่งใดผิดพลาดพวกเราทีมงานต้องขออภัยกันไว้ณที่นี้อย่างสูง และในครั้งนี้ต้องขอฝากเรื่องราว ความเป็นมาของพระเครื่ององค์สำคัญ แห่งเมืองศรีสัชนาลัย “พระร่วงหลังลิ่ม วัดช้างล้อม” ! ของกันไว้แต่เพียงเท่านี้ สามารถกลับมาพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไปขอให้คุณโชคดีและมีความสุขพระคุ้มครองนะคะ song-pra.com