ยังคงอยู่กันกับทางฝั่งอีสานใต้กันในสัปดาห์นี้ ซึ่งแน่นอนว่าพระเกจิอาจารย์ที่เราจะพาคุณไปทำความรู้จักนั้น ก็คือพระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อของทางฝั่งอีสานใต้นั่นเอง ซึ่งในครั้งนี้เราจะพาคุณไปทราบถึง อัตชีวประวัติความเป็นมาของพระมหาเถระ 5 แผ่นดิน “หลวงปู่หมุน ฐิติสีโล” แห่งวัดบ้านจาน เมืองศรีสะเกษ! ซึ่งแน่นอนว่าในครั้งนี้เราจะมาบอกให้คุณได้ทราบกันโดยละเอียดอย่างที่คุณอาจไม่เคยได้ทราบกันมาก่อน และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราจะพาคุณไปรู้จักกับประวัติของท่านกันเลย ณ ดังต่อไปนี้
ประวัติความเป็นมาของ “หลวงปู่หมุน ฐิติสีโล”
แห่ง วัดบ้านจาน จ. ศรีสะเกษ !
สำหรับหลวงปู่หมุนนั้นท่านเกิดช่วงปีพ.ศ. 2437 เดิมเป็นคนจังหวัดศรีสะเกษอำเภอกันธารารมณ์ ณ บ้านจาน เป็นบุตรของนายดีและนางอั๊ว เป็นครอบครัวของลูกชาวไร่ชาวนามีวิถีชีวิตตามแบบสองคนชนบท ฐานะทางบ้านของท่านค่อนข้างยากจนรตามแบบวิถีของชาวชนบททั่วไปแต่หลวงปู่หมุนนั้นท่านค่อนข้างมีลักษณะที่พิเศษมากกว่าเด็กคนอื่นๆ ซึ่งท่านเป็นเด็กที่มีไหวพริบมีความเฉลียวฉลาดและมีความอัจฉริยะให้เห็นตั้งแต่ที่ครั้งท่านยังเป็นเด็กตัวเล็กๆ หลวงปู่หมุนเติบโตมาท่ามกลางสิ่งแวดล้อมในแบบธรรมชาติ ย่านที่ท่านอาศัยอยู่นั้นเป็นป่าดงดิบที่มีความอุดมสมบูรณ์อีกทั้งยังมีสัตว์ร้ายต่างๆที่อาศัยอยู่ในป่ามากมาย
เมื่อท่านอายุได้ประมาณ 15 ปีก็ได้บวชเป็นสามเณร และมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างมาก เมื่อบิดามารดาของท่านเห็นแววจากนั้นก็ได้ฝากฝังให้หลวงปู่หมุนเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อสีดาซึ่งในขณะนั้นหลวงพ่อสีดาท่านเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดบ้านจาน ซึ่งท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีความแกร่งกล้าทางด้านวิชาอาคมอย่างมาก และเชี่ยวชาญในด้านกรรมฐาน เป็นพระผู้ปฏิบัติอันมีชื่อเสียงในจังหวัดและย่านอีสานใต้ไม่น้อย
ต่อมาเมื่อหลวงปู่หมุนท่านอายุได้ประมาณ 23 ปี ซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2460 ก็ได้เข้าพิธีอุปสมบท ซึ่งพระอุปัชฌาย์ในครั้งนั้นก็คือหลวงพ่อสีดาที่เป็นเจ้าอาวาสอยู่นั่นเอง และได้รับฉายาทางธรรมว่า ฐิตสีโล อันมีความหมายว่าผู้ที่มีศีลตั้งมั่น เมื่อได้บทเรียนและจำพรรษาอยู่นั้นหลวงปู่หมุนท่านก็ได้ศึกษาเล่าเรียนทางด้านอักษรขอมและอักษรภาษาไทยรวมทั้งได้มีโอกาสฝึกพระกรรมฐานจากหลวงพ่อสีดาไปด้วย หลวงปู่หมุนท่านเป็นผู้มีความเฉลียวฉลาดและมีความตั้งอกตั้งใจเรียนดีมาก เป็นผู้ไฟทางด้านวิชาความรู้อยู่เสมอเมื่อมีอะไรก็มักจะปรึกษาและถามกับพระอาจารย์ของท่านซึ่งก็คือหลวงพ่อสีดานั่นเอง และไม่เพียงแต่ขอความรู้จากพระอาจารย์เท่านั้นเพราะท่านยังแสวงหาความรู้กับพระอาจารย์องค์อื่นๆที่อยู่บริเวณใกล้เคียงอีกด้วย
เมื่อได้ออกเดินธุดงค์
ต่อมาในเวลาไม่นานหลวงปู่หมุนท่านก็ได้เริ่มออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ช่วงปีที่ท่านได้เริ่มออกเดินธุดงค์นั้นก็คือประมาณช่วงปีพ.ศ. 2464 ในระหว่างการเดินทางของท่านท่านก็มักจะแสวงหาความรู้ต่างๆไปด้วย นอกจากนี้ท่านยังได้มีโอกาสศึกษาทางด้านวิปัสสนาและฝ่ายคันถธุระ อย่างนี้วิริยะรวมถึงทางเวชวิทยาการจากพระอาจารย์หลายสำนัก และหนึ่งในนั้นก็คือสำนักบ้านจิกใหญ่ สำนักแห่งนี้เรียกได้ว่าเป็นสำนักตักศิลาในยุคสมัยนั้น ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดอุบลราชธานีและตั้งอยู่ในอำเภอพิบูลมังสาหารเรียกได้ว่าในละแวกแถบๆบ้านเกิดของท่านเนื่องจากจังหวัดศรีสะเกษ กับจังหวัดอุบลราชธานีนั้นอยู่ติดกัน อีกทั้งท่านยังได้เดินทางออกเดินธุดงค์ไปยังแถบชายแดนกัมพูชาซึ่งอยู่ในทางฝั่งจังหวัดศรีสะเกษ และได้ออกเดินธุดงค์ไปยังชายแดนลาวซึ่งอยู่ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี เนื่องจากบริเวณแถบชายแดนนั้นค่อนข้างเลื่องลือและอุดมไปด้วยเราพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงทางด้านวิชาเวทมนตร์ต่างๆ
การศึกษาบาลีมูลกัจจายน์ในจังหวัดกรุงเทพของหลวงปู่หมุน
เมื่อหลวงปู่หมุนท่านได้เสาะแสวงหาความรู้ทางด้านวิชาในสาขาต่างๆ และออกเดินธุดงค์ไปตามสถานมาอย่างมากมายแล้ว ท่านก็ได้มุ่งหน้าเข้าสู่จังหวัดกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเรานี้ด้วยเท้าเปล่า จากนั้นก็ได้มาทำการศึกษาทางด้านบาลีมูลกัจจายน์และทำนักอยู่ที่วัดเทพธิดา และท่านก็สามารถสอบได้เปรียญธรรมห้าประโยค ที่สำนักเรียนนั้นตั้งอยู่ในวัดสุทัศน์เทพวราราม อีกทั้งในเวลาเดียวกันนั้นท่านก็ได้ศึกษาทางด้านวิชาอาคมกับพระพิมลธรรม (นาค) แห่งวัดอรุณราชณวราราม และ สมเด็จพระสังฆราช (แพ )
การเดินทางไปยังประเทศพม่าและภาคใต้
หลังจากได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ในกรุงเทพมหานครมาเป็นเวลาหลายปีแล้วหลวงปู่หมุนท่านก็ได้ตัดสินใจออกเดินธุดงค์ไปตามพระอาจารย์ทองดี ซึ่งพระอาจารย์ทองดี นั้นท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้เรืองวิทยาคมทางด้านคาถาอาคมอย่างมาก และหลวงปู่หมุนท่านก็ได้ออกเดินทางไปยังประเทศพม่า และเดินธุดงค์ในแถบนั้นเป็นระยะเวลาหนึ่งปี
ถัดมาอีกหนึ่งปีหลวงปู่หมุนก็ได้เดินทางไปยังภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งท่านได้พบกับพระอาจารย์ทิม แห่งวัดช้างให้ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดปัตตานีและพำนักอยู่ที่นั่น ตลอดระยะเวลาที่ท่านทำนักอยู่ทางพรรคใต้ท่านก็ได้ปฏิบัติกรรมฐานอย่างเคร่งครัดอีกทั้งยังศึกษาทางด้านวิชาอาคมมาตลอดเป็นระยะเวลาหนึ่งปีรวมถึงศึกษาทางด้านต่างๆ หลังจากสำเร็จวิชาในเมืองปัตตานีแล้วก็ได้เดินทางมาจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่อศึกษาต่อกับพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ณ วัดสวนขันธ์ (และหากท่านต้องการทราบถึงประวัติของพ่อท่านคล้าย ก็สามารถรับชมได้จากบทความที่เราได้นำมาฝากไปก่อนหน้านี้) เมื่อสำเร็จวิชาต่างๆตามที่ปรารถนาแล้วแทนก็มุ่งหน้าเดินทางกลับไปยังภาคอีสานซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน
การพบกับหลวงปู่มั่น
ระหว่างที่หลวงปู่หมุนท่านได้ออกเดินธุดงค์อยู่ทางแถบจังหวัดอุบลราชธานีก็ทำให้ท่านได้พบกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เมื่อได้พบกับหลวงปู่มั่นแล้วท่านก็ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์และได้เรียนทางด้านพระกรรมฐานด้วยความตั้งอกตั้งใจ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่ได้ร่วมออกเดินธุดงค์ไปกับคณะของหลวงปู่มั่นด้วยเพราะติดในเรื่องของนิกาย แต่หลวงปู่หมุนก็ยังมีความเลื่อมใสศรัทธาในหลวงปู่มั่น
ซึ่งในช่วงนั้นท่านได้เรียนวิชาทางด้านกรรมฐานจากหลวงปู่มั่นมาพร้อมๆกับพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่านซึ่งได้แก่ หลวงพ่อเดิม พุทธสโร แห่งวัดหนองโพ จากจังหวัดนครสวรรค์, หลวงพ่อเงิน แห่งวัดมะปรางเหลือง, , หลวงพ่อขำแห่งวัดเขาแก้ว, พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาโม แห่งวัดสาลวัน ในจังหวัดนครราชสีมา และหลวงพ่อสอน แห่งวัดเสิงสางซึ่งวัดนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดนครราชสีมาในอำเภอเสิงสางนั่นเอง
การเดินทางไปยังประเทศลาว
เพื่อทำการสืบหาสมเด็จลุนของหลวงปู่หมุน
ด้วยคุณงามความดีและประเทืองในด้านวิชาอาคม รวมถึงเป็นพระผู้มีอภิญญาภินิหารอย่างมากสำหรับ “หลวงปู่สมเด็จลุน” จึงทำให้ผู้คนในยุคนั้นรวมถึงพระภิกษุทั้งหลายต่างอยากขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์เพื่อร่ำเรียนวิชาอาคมกับท่าน ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือหลวงปูหมุนนั่นเอง จึงทำให้ท่านพยายามออกเดินทางไปยังประเทศลาวถึงสองครั้ง แต่ก็ไม่มีโอกาสได้พบ แต่ท่านกลับมีโอกาสพบกับหลานของท่านหลวงปู่สมเด็จลุนแทน ซึ่งท่านเป็นทายาทที่สืบต่อทางด้านวิทยาคมจากหลวงปู่สมเด็จลุนโดยตรง ดังนั้นหลวงปู่หมุนจึงขอเรียนทางด้านวิชาอาคมเหล่านี้กับท่านจนสำเร็จ
ด้วยความตั้งอกตั้งใจและใส่ในด้านการเรียนรู้ของหลวงปู่หมุนจึงทำให้ความเพียรของท่านประสบความสำเร็จและผู้สอนก็ถ่ายทอดวิชาให้จนหมด จากนั้นจึงแนะนำและพาหลวงปู่บุญไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงปู่ดำซึ่งท่านมีศักดิ์เป็นเหลนของท่านหลวงปู่สมเด็จลุน และหลวงปู่หมุนก็ได้ร่ำเรียนวิชาจากหลวงปู่ดำจนสำเร็จวิชาจากนั้นก็ได้เดินทางกลับยังประเทศไทย
ได้พาคุณมารู้จักกับ อัตชีวประวัติความเป็นมาของพระมหาเถระ 5 แผ่นดิน “หลวงปู่หมุน ฐิติสีโล” แห่งวัดบ้านจาน เมืองศรีสะเกษ! กันไปอย่างเต็มอิ่มแล้วเป็นที่เรียบร้อยอย่างไรก็ตามพวกเราทีมงานหวังอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านที่ชื่นชอบเรื่องราวที่เกี่ยวกับพระเครื่องจะถูกใจกันนะคะแล้วกลับมาพบกับพวกเราทีมงานส่องพระได้ใหม่ ในบทความหน้าสำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อนค่อยคุณโชคดีและมีความสุขตลอดปีตลอดไปสวัสดีปีใหม่ 2566 ค่ะ