ประวัติความเป็นมาของ  พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน) แห่ง วัดหน้าต่างนอก !     

พระครูสมบูรณ์จริยธรรม-หลวงพ่อแม้น

หัวข้อ

หากมีใครเอ่ยถึงพระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อแห่งวัดหน้าต่างนอก แน่นอนว่าใครหลายคนมักจะต้องนึกถึงชื่อของหลวงพ่อจงขึ้นมาทันที แต่ในวันนี้เราไม่ได้จะมาบอกเล่าถึงหลวงพ่อจงท่าน แต่เราจะมาพูดกันถึง ประวัติความเป็นมาของ  พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน) แห่ง วัดหน้าต่างนอก ! ซึ่งท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อจง ผู้สืบทอดวิชาทางด้านพุทธาคมโดยตรงมาจากหลวงพ่อจง อีกทั้งท่านยังมีลูกศิษย์ลูกค้าอย่างมากมายและได้รับสมญานามว่า “เทพเจ้าแห่งความเมตตา” หากคุณเป็นอีกหนึ่งคนที่เคารพศรัทธาหลวงพ่อแม้นเป็นเดิมอยู่แล้วนั้น ไม่ควรพลาดค่ะเพราะเราจะพาคุณไปทราบถึงรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ประวัติของ พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน) แห่ง วัดหน้าต่างนอก 

สำหรับประวัติความเป็นมา พระครูสมบูรณ์จริยธรรม  หรือที่เราหลายคนมักจะเรียกท่านว่าหลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน นั้นพื้นเพท่านเป็นชาวจังหวัดปทุมธานีซึ่งเกิดที่อำเภอสามโคกของจังหวัดปทุมธานี ท่านมีชื่อเดิมว่า นายแม้น คานอ่อน ท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ 2480 ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เดือนมีนาคม ท่านเกิดมาในครอบครัวที่ชอบทำบุญตักบาตรและตัวท่านเองก็ชื่นชอบการทำบุญตักบาตรมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นเด็ก 

เมื่อเติบโตมาเป็นวัยรุ่นในยามว่างท่านก็มักจะปฏิบัติธรรม และใช้เวลาศึกษาหาความรู้ทางด้านเวทมนต์ต่างๆ รวมไปถึงศึกษาเรื่องคาถาจากผู้เฒ่าผู้แก่ในยุคนั้น ด้วยจิตใจที่ใฝ่รู้และใฝ่ทางธรรมจึงทำให้ท่านได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงปู่แดงแห่งวัดบางเตยนอก ,หลวงพ่อจงแห่งวัดหน้าต่างนอก และหลวงปู่ว่านแห่งวัดบางเตยใน ซึ่งพระอาจารย์ของท่านแต่ละรูปนั้นเรียกได้ว่าเป็นสุดยอดพระเกจิอาจารย์แห่งยุคกันเลยก็ว่าได้  

ประวัติของ พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน) แห่ง วัดหน้าต่างนอก 
ประวัติของ พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน) แห่ง วัดหน้าต่างนอก 

 เมื่อท่านอายุได้ประมาณ 27 ปี ซึ่งตรงกับปีพ.ศ 2508 ท่านก็ได้ตัดสินใจเข้าพิธีอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์  ณวัดใหญ่ชัยมงคลซึ่งอยู่ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับท่านก็คือ หลวงพ่อพระครูภาวนารังสี เจ้าอาวาสวัดใหญ่ชัยมงคล  สำหรับพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ให้กับท่านก็คือ พระอาจารย์พุท พระอาจารย์สุนทร และพระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้กับท่านก็คือ   พระอาจารย์สุนทร  และได้รับฉายาทางธรรมว่า “อาจารสัมปันโน”

เมื่อได้บวชที่วัดใหญ่ชัยมงคลแล้วท่านก็ได้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่จังหวัดปทุมธานี ณ วัดกลางคลองสาม เมื่อจำพรรษาได้ประมาณ 1 พรรษา ก็ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดใหญ่ชัยมงคล เมื่อไปอยู่ยังจังหวัดอยุธยาท่านก็ยังคงใฝ่เรียนใฝ่รู้และปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  อีกทั้งยังได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานเพิ่มเติมกับพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับท่าน   

หลังจากที่หลวงพ่อจงท่านได้ละสังขารจากโลกนี้ไปแล้ว หลวงพ่อแม้นท่านก็ยังคงศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมและยังคงปฏิบัติตามหลักคำสอนของหลวงพ่อจงอย่างเสมอมา  นอกจากนี้ท่านยังได้มีโอกาสไปร่ำเรียนวิชาต่างๆกับพระอาจารย์หลายรูปซึ่งได้แก่  หลวงพ่อหอม วัดบางเตยกลาง,  หลวงพ่อไวทย์ วัดบรมวงศ์,  หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา ,พระอาจารย์รวย วัดกลางคลองสาม ทั้งยังมีพระอาจารย์รูปอื่นที่อาจยังไม่ได้เอ่ยถึง ณ ที่นี้  

ถัดมาท่านได้มีโอกาสศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมและสามารถสอบได้นักธรรมชั้นตรีจนสำเร็จ ซึ่งตรงกับปีพ.ศ 2510 จากนั้นถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2511 ท่านก็ได้เดินทางไปศึกษาทางด้านภาษาบาลีที่วัดพระศรีมหาธาตุ   ต่อมาไม่นานท่านก็ได้กลับมาสอบได้นักธรรมชั้นโทและนักธรรมชั้นเอกจนสำเร็จ สอบได้ลุล่วง นอกจากนี้ท่านยังสามารถท่องพระปาฏิโมกข์จนจบในปี 2515 อีกด้วย  

ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อจง  วัดหน้าต่างนอก  โดยแท้ 

ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อจง  วัดหน้าต่างนอก  โดยแท้ 
ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อจง  วัดหน้าต่างนอก  โดยแท้ 

และเมื่อถึงช่วงปีพ.ศ 2515 ในขณะที่วัดหน้าต่างนอกหาดเจ้าอาวาส ทางคณะกรรมการวัดจึงได้นิมนต์อาราธนาให้ท่านกลับไปรับตำแหน่งเพื่อเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา  และถึงแม้ว่าท่านจะมีสมณศักดิ์อยู่ในฐานะตำแหน่งใดก็ตามท่านยังคงเคร่งครัดต่อการปฏิบัติ อยู่อย่างเสมออย่างไม่ขาดตกบกพร่อง หลวงพ่อแม้นท่านได้ศึกษาทางด้านพุทธาคมและวิทยาคมต่างๆจากหลวงพ่อจง  ซึ่งศึกษาและปฏิบัติตามตำราอย่างเคร่งครัดจนแตกฉานจึงเรียกได้ว่าท่านคือพระเถระอีกรูปหนึ่ง ที่เดินตามรอยหลวงพ่อจงอย่างเสมอมา รวมถึงการสร้างพระและการสร้างวัตถุมงคลต่างๆไม่ว่าจะเป็นเบี้ยแก้เสื้อยันต์ตะกรุดเสือมหาอำนาจหรืออื่นๆทั้งหลาย ที่ท่านได้สร้างนั้นท่าน ล้วนแต่ทำตามตำราและปฏิบัติตามพระอาจารย์ของท่านซึ่งก็คือหลวงพ่อจงอย่างเคร่งครัด 

มีความเก่งกล้าทางด้านวิชาอาคมอีกทั้งยังมีพุทธาคมอันเข้มขลัง ตามการสืบทอดจากพระอาจารย์ นอกจากนี้ท่านยังมีอุปนิสัยเป็นพระผู้เมตตามีความใจเย็นนิ่งสงบอีกทั้งยังพูดจาไพเราะไม่โผงผาง เรียบง่าย และมีเจตนารมณ์ที่ชัดเจนแน่วแน่มีปฏิปทาที่จะสืบทอดพระบวรพุทธศาสนา นอกจากนี้ท่านยังอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาและพุทธศาสนิกชนให้ทำความดีอยู่เสมอ จึงไม่แปลกใจว่าทำไมผู้คนจึงเคารพศรัทธาท่านเป็นอย่างมากและไม่ใช่เพียงชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาหรือในจังหวัดปทุมธานีเท่านั้น แต่ชื่อเสียงของท่านเรียกได้ว่าขจรไปไกลทั่วทั้งประเทศกันเลยทีเดียว ซึ่งสิ่งนี้สามารถสังเกตได้จากพิธีพุทธาภิเษก ไม่ว่าจะเป็นพิธีเล็กหรือพิธีใหญ่ก็ตาม มักจะมีผู้มาร่วมอธิษฐานจิตและผู้คนมักจะหลั่งไหลมากันอย่างล้นหลามอยู่เสมอแทบทุกงานพิธี เพราะความเชื่อมั่นและแรงศรัทธาที่มีต่อหลวงพ่อแม้นนั่นเอง  

เรื่องเล่าจากหลวงพ่อแม้น  

เรื่องเล่าจากหลวงพ่อแม้น  

ครั้งหนึ่งหลวงพ่อแม้นท่านได้เคยเล่าถึงเรื่องราว ที่เกี่ยวกับความรู้สึกของท่านและวัดหน้าต่างนอกเอาไว้ว่า  ครั้งแรกที่ท่านได้ย่างเหยียบเข้าไปในวัดหน้าต่างนอก  ท่านมีความรู้สึกปิติอย่างยิ่ง ที่จะได้มาอยู่ณวัดแห่งนี้  ซึ่งเป็นชายคาเดียวกันกับหลวงพ่อจงพระอาจารย์ของท่าน เนื่องจากท่านมีความเคารพและศรัทธาหลวงพ่อจงเป็นเดิมอยู่แล้ว อีกทั้งยังปฏิบัติตามคำสอนของหลวงพ่อจงมาโดยตลอด  และหลังจากที่ท่านได้มัดจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้  ท่านก็ได้ศึกษาปฏิปทาของหลวงพ่อจง จึงได้รู้ว่าหลวงพ่อจงนั้นท่านเคยปฏิบัติมาอย่างไรบ้าง ซึ่งหลวงพ่อแม้นท่านก็มีความชื่นชมเอาไว้เป็นแบบอย่าง และเมื่อท่านรู้ถึงวิธีการปฏิบัติของหลวงพ่อจงก็ทำให้ท่านเริ่มดำเนินสิ่งต่างๆและปฏิบัติตามหลวงพ่อจงมาโดยตลอด  รวมถึงศึกษาทางด้านวิชาต่างๆกับหลวงพ่อจงโดยตรง  

 ครั้งหนึ่งในช่วงปีพ.ศ 2529 ท่านยังเคยได้ร่วมปลุกเสกพระกับหลวงพ่อแพ แห่งวัดพิกุลทอง ซึ่งในครั้งนั้นหลวงพ่อแพท่านก็ได้เดินเข้ามาตกบ่าแล้วบอกกับท่านว่า ดีมาก ต่อไปเปลี่ยนชื่อนะ เป็นหลวงพ่อจงน้อย  

เรื่องเล่าจากหลวงพ่อแม้น  

นอกจากนี้หลวงพ่อแม้นท่านยังมักอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหา และพุทธศาสนิกชนที่มาร์คและเข้ามานมัสการท่านอยู่เสมอ ทั้งยังมีแนวคิดและหลักธรรมคำสอนที่บอกสอนเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในยุคนั้นว่า  คนเราต้องใช้ความอดทนเป็นหลักนอกจากนั้นยังให้อาศัยธรรมะและหลักธรรมสั่งสอนของพระพุทธองค์ที่ได้เคยสั่งสอนเอาไว้  ประการแรกก็คือขอให้มีความหนักเอาเบาสู้มีความอดทนขยันหมั่นเพียร ต่อหน้าที่การงานที่ตนได้รับผิดชอบทั้งปวงไม่ว่าจะเหนื่อยเท่าใดก็ต้องเอา ขยันอย่างเดียว

ประการที่ 2 ก็คือเมื่อหาเงินมาได้ต้องรู้จักที่จะอดออมและประหยัด เมื่อหาทรัพย์มาได้แล้วต้องรู้จักรักษาทรัพย์ด้วยเช่นกัน รู้จักกินรู้จักใช้อยู่ในความพอดี  รายรับรายจ่ายก็หมั่นนจัดการบริหารให้เป็นไปอย่างสมดุล  

และประกันที่ 3 ท่านมักจะอบรมสั่งสอนให้เลือกคบคนที่ดี คบคนคิดดีทำดีไม่คบคนที่พาเราไปดื่มเหล้าเมายา เช่นใครกลุ้มใจก็กินเหล้าดีใจก็กินเหล้าเสียใจก็กินเหล้า แน่นอนว่าการกินเหล้าทำให้เราหมดเงินหมดทองได้เช่นกัน แล้วทรัพย์สมบัติที่ไหนจะไปเหลือ 

เรื่องเล่าจากหลวงพ่อแม้น  
เรื่องเล่าจากหลวงพ่อแม้น  

สำหรับวันนี้พวกเราทีมงานต้องขอฝากเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของ  พระครูสมบูรณ์จริยธรรม (หลวงพ่อแม้น อาจารสมปนโน) แห่ง วัดหน้าต่างนอก ! กันไว้แต่เพียงเท่านี้  และหวังอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านแต่ชื่นชอบและถูกใจกับบทความที่เราได้นำมาฝากกันในครั้งนี้นะคะ แล้วพบกันใหม่กับบทความในครั้งต่อไปสวัสดีค่ะ  

Poster 24
Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการพระเครื่องในประเทศไทย

Facebook
Twitter