พาคุณไปทราบถึงประวัติของพระเกจิอาจารย์ที่ชื่อเสียงโด่งดังทางฝั่งอีสานใต้กันไปแล้ว ในครั้งนี้เราจะมาพาคุณไปรู้จักกับพระเกจิอาจารย์ชื่อดังทั้งฝั่งอีสานเหนือกันบ้าง ซึ่งในครั้งนี้เราจะมาพูดถึง ประวัติความเป็นมาของ “ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ แห่ง วัดดอยธรรมเจดีย์” จากนายฮ้อยสู่นักบุญ ! ซึ่งแน่นอนว่านอกจากที่มาของเหรียญรุ่นแรกแล้วเราจะพาคุณไปทราบถึงประวัติของพระอาจารย์กงมาจิรปุญโญ แห่ง วัดดอยธรรมเจดีย์ ในครั้งนี้ด้วยเช่นกันหากอยากทราบกันแล้วว่าความเป็นมาของท่านนั้นมีมาอย่างไรเราก็ชมสิ่งที่น่าสนใจพร้อมๆกันได้เลยดังต่อไปนี้
ประวัติของหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
ก่อนที่เราจะไปทราบถึงประวัติที่มาของเหรียญนั้นเราจะพาคุณมารู้จักกับประวัติความเป็นมาของหลวงปู่กงมากันก่อน สำหรับพระอาจารย์กงมา หรือที่ใครหลายคนมักจะเรียกกันว่าหลวงปู่กงมานั้น เดิมทีนั้นท่านมีชื่อว่ากงมา นามสกุลวงศ์เครือสอน เกิดในช่วงปีพ.ศ. 2443 ซึ่งตรงกับวันที่ 6 พฤศจิกายนเป็นวันอังคารขึ้น 15 ค่ำเดือน 12 และตรงกับปีชวด เซ็นทรัลเป็นคนชาวจังหวัดสกลนครโดยกำเนิดเกิดที่บ้านโคกตั้งอยู่ในตำบลตองโขกซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมือง เป็นลูกชายคนสุดท้องของแม่นางนวล วงศ์เครือสอนและพ่อบู่ วงศ์เครือสอน ท่านมีพี่น้องทั้งหมดหกคน
ในสมัยที่ท่านยังเป็นหนุ่มท่านมีรูปร่างสูงใหญ่กำยำล่ำสัน หน้าตาดีหน้าตาคมคายตามฉบับชายไทย เป็นผู้ที่มีความขยันหมั่นเพียรเอาการเอางานหนักเอาเบาสู้ และท่านเคยเป็นนายฮ้อย ซึ่งนายฮ้อยนั้นเป็นภาษาอีสานใช้สำหรับเรียกคนที่มีอาชีพค้าวัวค้าควาย ซึ่งนายฮ้อยทั้งหลายนี้ จะรวบรวมวัวควายรวมทั้งหมู เพื่อต้อนนำไปขายตามจังหวัดต่างๆในละแวกจังหวัดแถบๆที่พวกเขาอยู่อาศัย และหลวงปู่กงมาก็เป็นผู้รับหน้าที่นี้ ในยุคนั้น และต่อมาท่านก็ได้เป็นหัวหน้านายฮ้อยที่นำพาหมู่คณะต้อนสัตว์ไปขายในจังหวัดกรุงเทพฯ ซึ่งในสมัยนั้นผู้คนก็จะเดินทางโดยเท้าและค่อยๆต้อนวัวตอนควายตอนสัตว์ให้เดินไปกับพวกเขาเรียกได้ว่ายากลำบากอยู่ไม่น้อย ซึ่งจากจังหวัดสกลนครไปจนถึงจังหวัดกรุงเทพเรียกได้ว่าใช้เวลาหลายเดือนกันเลยทีเดียว
สำหรับอาชีพนายฮ้อยนั้นเรียกได้ว่าเป็นอาชีพของผู้มีความสามารถแล้ว แต่หัวหน้าของนายฮ้อยนั้นย่อมมีความรับผิดชอบที่มากกว่า เนื่องจากบทบาทนี้ผู้ที่จะเป็นได้ก็คือต้องมีความชำนาญและรู้ทิศทางในการเดินทางเนื่องจากในสมัยนั้นไม่ได้มีรถหรือ GPSเหมือนในสมัยนี้ อีกทั้งยังต้องคอยปกป้องอันตรายให้กับเหล่าบรรดาบริวารที่อยู่ในปกครองให้ปลอดภัย เนื่องจากการต้อนวัวควายไปขายนั้นอาจเผชิญกับโจรผู้ร้ายต่างๆในระหว่างทางได้ และสิ่งนี้เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ยากในการปกครองไม่น้อย แต่หลวงปู่กงมาท่านก็เป็นผู้ปกครองบริวารที่มีศีลธรรมและรักษาสัจจะ คำไหนคำนั้น อีกทั้งยังยึดถือเรื่องความถูกต้องและมีความยุติธรรมเป็นอันดับหนึ่ง และเหตุนี้จึงทำให้ท่านได้รับความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงานรวมถึงเป็นความภาคภูมิใจของพ่อแม่มีเงินทองมากพอที่จะมีครอบครัวแล้วแต่งงานได้
ถัดมาในช่วงปี 2468 ท่านก็ได้เข้าพิธีสมรสกับนางเลาในขณะนั้นท่านอายุได้ 25 ปี เมื่อสมรสได้ระยะหนึ่งภรรยาของท่านก็ตั้งครรภ์ แต่เกิดความดีใจได้ไม่นานภรรยาของท่านก็เกิดป่วยหนักและได้เสียชีวิตไปพร้อมกับลูกในครรภ์ในที่สุดเป็นเหตุให้หลวงปู่กงมาเสียใจอย่างมาก และยากที่จะทำใจ เนื่องจากตลอดระยะเวลาที่อยู่กินกันมาหลวงปู่ทำงานหนักเพื่อครอบครัวอย่างเสมอมา แต่กลับไม่ได้เห็นหน้าลูกจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ท่านเลือกตัดสินใจไปบวช และซึ่งก่อนหน้านั้นได้เคยมีผู้เฒ่าท่านหนึ่งบอกกับหลวงปู่เอาไว้ว่า “ไม่มีอะไรดีเท่ากับการบวชพระ” ท่านจึงระลึกถึงคำนั้นและตัดสินใจบวช
เมื่อรวบรวมจิตอันแน่วแน่แล้วท่านก็กราบลาบิดามารดาญาติพี่น้องทั้งหลาย พร้อมกับสละสมบัติทั้งหลายให้กับเหล่าบรรดาญาติพี่น้องและพ่อแม่ ซึ่งญาติพี่น้องก็ได้บอกว่า สมบัติที่ท่านมอบเอาไว้จะเก็บรักษาเอาไว้ให้หากสึกออกมาวันใดก็จะไม่เอาจะคืนให้ และทุกคนเห็นพร้อมตรงกันว่าเพราะการบวชเป็นเรื่องที่ดีสำหรับผู้ที่กำลังประสบเคราะห์กรรมและมีความทุกข์อย่างเช่นท่านในตอนนี้
เมื่อเข้าพิธีอุปสมบทแล้วท่านก็ได้จำพรรษาอยู่กับพระมี ซึ่งท่านทั้งสองเคยเป็นเพื่อนรักกันมาก่อน ซึ่งจำพรรษาอยู่ ณ วัดบึงทวย และเมื่อจำพรรษาอยู่วัดนี้ได้ซักระยะหนึ่งเกิดความรู้สึกว่าไม่ได้สิ่งที่ประสงค์เอาไว้จึงปรึกษากับพระเพื่อนรักของท่าน เนื่องจากท่านได้เคยออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆมาอย่างมากมายรวมถึงไปยังประเทศพม่าประเทศลาวและแทบจะทั่วประเทศไทยมาแล้ว เมื่อปรึกษากับพระมีผู้เป็นเพื่อน จึงได้เล่าให้ท่านฟังว่า มีพระผู้มีศีลวัตรและปฏิบัติอันงดงาม เป็นพระผู้ปฏิบัติที่มีนามว่าหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงทำให้หลวงปู่กงมาเกิดความสนใจและต้องการไปพบเห็น จึงทำให้ท่านทั้งสองออกเดินทางไปหาและขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงปู่มั่นในที่สุดซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2469
เมื่อเกิดความเลื่อมใสศรัทธาจากนั้นก็ได้ขอญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุตนิกาย ณ วัดบูรพา ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมืองจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นไปพร้อมๆกับหลวงพ่อลีที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นอีกท่านหนึ่ง โดยพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ก็คือ ท่านเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญโญ) แห่งวัดสระปทุม และพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ก็คือพระอาจารย์เพ็ง แห่งวัดใต้ของจังหวัดอุบลราชธานี ในช่วงปีพ.ศ. 2470 วันที่ 27 พฤษภาคม และหลังจากนั้นหลวงปู่กงมาก็ได้ปฎิบัติตนตามคำสอนของหลวงปู่มั่น และได้ยึดถือพุทธะศาสนาเป็นแนวทางในการปฏิบัติรวมไปถึงสอนลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมที่เคารพศรัทธาตามหลักธรรมคำสอนที่ได้มานี้ด้วยเช่นกัน
หลวงปู่ก็มาท่านเป็นผู้มีเมตตาทำสูงเป็นที่เลื่อมใสของเราประชาชนและผู้คนทั้งในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดสกลนคร เรียกได้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วทั้งภาคอีสานที่ไม่ว่าจะอีสานเหนือหรืออีสานใต้ หนึ่งเลยก็ว่าได้และท่านได้มรณภาพลงในช่วงปี 2505 วันที่ 17 ตุลาคม ถึงแม้ว่าจะกว่า 60 ปีแล้วในการจากไปของท่านแต่ลูกศิษย์ลูกหาและชาวอีสานยังคงเลื่อมใสศรัทธาและระลึกถึงท่านอยู่อย่างมิเสื่อมคลาย
เหรียญรูปเหมือนหลวงปู่กงมา จิรปุญโญ
แห่งวัดดอยธรรมเจดีย์ จังหวัดสกลนคร รุ่นแรก
สำหรับเหรียญรุ่นนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงประมาณปีพ.ศ. 2505 สำหรับจำนวนการสร้างนั้นไม่ได้มีการระบุเอาไว้เป็นหลักฐานอย่างชัดเจนแต่ก็สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างเพียงหลักร้อยเหรียญและไม่น่าจะถึงพันเหรียญ ส่วนใหญ่จะพบได้ว่ามีสองวันนะซึ่งก็คือมีลักษณะของสีออกเป็นสีแดงเหมือนนาคและอีกหนึ่งวรรณะก็คือมีเหลืองแบบฝาบาตรทั่วไป เป็นเหรียญที่มีลักษณะตัดขอบทั้งหมด มีห่วงแบบเจาะรูอยู่ทางด้านบน
พุทธลักษณะจะเป็นรูปเหมือนของหลวงปู่กงมาอยู่ในท่านั่งสมาธิ ทางด้านบนเหนือศรีษะของรูปองค์พระจะถูกจารึกด้วยอักษรภาษาไทยคำว่า “วัดดอยธรรมเจดีย์” และทางด้านล่างของรูปองค์พระจะถูกจารึกเป็นอักษรภาษาไทยคำว่า “พระอาจารย์คงมา” ตามด้วยบรรทัดถัดมาจะระบุคำว่า “จิรปุญโญ” สำหรับทางด้านหลังของเหรียญจะมีลักษณะเรียบและถูกระบุด้วยอักขระประมาณสี่บรรทัด เรียกได้ว่าเป็นอีก 1 เหรียญที่ค่อนข้างหายากและมีพุทธคุณสูงมาก
และแน่นอนว่าหากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่เคารพเลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่กงมาเป็นเดิมอยู่แล้วเราเชื่อว่าคุณจะต้องชื่นชอบบทความนี้อย่างแน่นอน แล้วกลับมาพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไป สำหรับวันนี้ต้องขอฝากเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของ “ หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ แห่ง วัดดอยธรรมเจดีย์” จากนายฮ้อยสู่นักบุญ ! กันไว้แต่เพียงเท่านี้ขอให้คุณโชคดีและมีความสุขไปกับการอ่านนะคะ