หากมีใครเอ่ยถามถึงพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างมากในเมืองสิงห์บุรี โดยเฉพาะในช่วงยุคก่อนหรือที่เราเรียกกันว่าพระยุคเก่าซึ่งเป็นพระยุคก่อนปี 2500 นั้น เชื่อว่าหลวงพ่อแพจะต้องติดอันดับแรกๆของรายชื่อพระเกจิ ที่เราจะนึกถึงกันอย่างแน่นอนในวันนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติความเป็นมาของ “พระธรรมมุนี” (หลวงพ่อแพ เขมังกโร) วัดพิกุลทอง เมือง สิงห์บุรี ! ซึ่งแน่นอนว่าเราจะมาบอกถึงประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจของท่าน รวมถึงได้นำคุณงามความดีและผลงานต่างๆที่ท่านได้สร้างไว้ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังมีชีวิตมาบอกเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันในครั้งนี้อีกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราจะพาคุณไปพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจนี้กันเลย
ประวัติความเป็นมาของ พระธรรมมุนี
หรือ หลวงพ่อแพ เขมังกโร แห่งวัดพิกุลทอง เมืองสิงห์บุรี
สำหรับพระธรรมมุนีหรือที่เราหลายคนมักจะเรียกท่านกันว่าหลวงพ่อแพ เขมังกโร นั้นเดิมทีท่านมีชื่อว่านาย “แพ ใจมั่นคง” ถ้าเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2448 ซึ่งตรงกับวันที่หนึ่งเดือนมกราคม เป็นวันจันทร์ตรงกับขึ้นสองค่ำเดือนยี่ ซึ่งในปีนั้นเป็นปีมะเส็ง ท่านเป็นชาวจังหวัดสิงห์บุรีโดยกำเนิดท่านเกิดที่บ้านสวนกล้วยซึ่งตั้งอยู่ในตำบลพิกุลทอง ของอำเภอท่าช้าง ท่านเป็นลูกชายของคุณพ่อเทียนและคุณแม่หน่าย ใจมั่นคง
วัยเยาว์ของหลวงพ่อแพ
ตามข้อมูลที่ได้ระบุเอาไว้ช่วงเวลาที่หลวงพ่อแพท่านอายุได้ประมาณแปดเดือน คุณแม่ของหลวงพ่อท่านได้เสียชีวิตลง จึงทำให้หลังจากนั้นอาของหลวงพ่อซึ่งมีชื่อว่าอาบุญ และอาเพียร ขำวิบูลย์ (อาสะใภ้) ได้อุปการะท่านให้เป็นลูกบุญธรรม เมื่อเลี้ยงดูจนหลวงพ่อแพท่านมีอายุได้ประมาณ 11 ปี พ่อแม่บุญธรรมของหลวงพ่อแพ ก็นำท่านไปฝากไว้ที่สำนักอาจารย์ป้อม เพื่อให้ท่านได้มีโอกาสเล่าเรียนหนังสือ เนื่องจากในยุคนั้นจำเป็นจะต้องเรียนที่วัดหรือเรียนกับสำนักเท่านั้น ซึ่งเป็นโอกาสที่ทำให้ท่านได้เรียนด้านภาษาขอมและภาษาไทยไปพร้อมๆกัน
อีกทั้งยังได้เรียนหนังสือมูลบทบรรพกิจ ทั้งยังมีพระมาลัยสูตร พร้อมกับได้เรียนทางธรรมร่วมกับฝึกหัดอ่านพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ไปด้วย จากนั้นเมื่ออายุได้ประมาณ 14 ปีพ่อแม่บุญธรรมของท่านก็ส่งให้ท่านไปเรียนที่สำนักวัดอาจารย์สม ซึ่งท่านเป็นพระภิกษุชาวกัมพูชาที่อยู่ที่วัดชนะสงคราม ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร (วัดชนะสงครามนี้อยู่ใกล้ๆกับถนนข้าวสารในปัจจุบัน)
สิ่งแรกที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนในจังหวัดกรุงเทพเป็นครั้งแรกก็คือการเรียนหนังสือโบราณท่องสนธิ ไปพร้อมพร้อมกับได้เล่าเรียนทางด้านมูลกัจจายนสูตรเป็นระยะเวลาประมาณหนึ่งปี และเมื่อจบหลักสูตรท่านก็เราเรียนต่อทางด้านบาลีไวยากรณ์อยู่ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎ์ ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครเช่นกัน
จากนั้นเมื่อท่านอายุได้ประมาณ 16 ปีท่านก็กลับไปยังบ้านเกิดของท่านซึ่งก็คือจังหวัดสิงห์บุรี และบวชเป็นสามเณรในปีพ.ศ. 2463 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 15 เดือนเมษายน ท่านบวชที่วัดพิกุลทองซึ่งตั้งอยู่ในตำบลพิกุลทองของอำเภอท่าช้างในจังหวัดสิงห์บุรี การบวชในครั้งนั้นพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ประชาให้กับท่านก็คือ พระอธิการพันจันทสโร ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดพิกุลทองในขณะนั้น
และเมื่อบวชเป็นสามเณรแล้วท่านก็เดินทางเข้ามาจำวัดอยู่ที่วัดชนะสงครามเพื่อศึกษาทางด้านไวยากรณ์ต่อไป ซึ่งท่านได้ศึกษาอยู่ณวัดแห่งนี้ไปจนสามารถสอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ซึ่งมิใช่ทุกคนจะทำได้เพราะยากจริงๆ และโดยส่วนใหญ่แล้วผู้คนมักจะสอบเปรียธรรมสามประโยคนี้ได้ไม่ใช่ในขณะที่เป็นสามเณรเสียด้วยซ้ำ เพราะส่วนมากจะเป็นพระภิกษุสงฆ์ ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2468 บิดาผู้ให้กำเนิดของท่านก็ได้เสียชีวิตลง
เนื่องจากในยุคนั้นเป็นยุคที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงจึงทำให้การอ่านหนังสือในยามค่ำคืนต้องใช้แสงจากเทียนไขหรือสเก็ตเท่านั้นและด้วยสาเหตุนี้ จึงทำให้ดวงตาของหลวงพ่อแพท่านรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรงเนื่องจากท่านตรากตรำใช้เวลาในตอนกลางคืนเพื่ออ่านหนังสือมากเกินไป นายแพทย์ผู้ตรวจตาของหลวงพ่อจากโรงพยาบาลจุฬาฯ จึงแนะนำให้ท่านไม่ต้องอ่านหนังสืออีกต่อไป เนื่องจากสายตาอาจเสียหรือถึงขั้นอาจสูญเสียการมองเห็นได้
หลังจากที่ท่านสอบได้เปรียญธรรมสี่ประโยคแล้ว ท่านก็ยุตติการศึกษาทางด้านพระปริยัติธรรมลง แต่การศึกษาของท่านก็ไม่จบลงแต่เพียงเท่านั้นเนื่องจากท่านชื่นชอบที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาจึงทำให้ท่านหันมาปฏิบัติสมถกรรมฐาน ร่วมไปกับการปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน อยู่ที่สำนักในวัดเชตุพนซึ่งเป็นสำนักของพระครูภาวนา จากนั้นเมื่อท่านเกิดความชำนาญแล้วก็ได้นำมาสอนให้กับประชาชนที่เป็นพุทธะศาสนิกชนไปด้วย
การอุปสมบท
เมื่อถึงคราวที่อายุครบบวชหลวงพ่อแพท่านก็เข้าพิธีอุปสมบทเพื่อบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ ซึ่งตรงกับปีพ.ศ. 2469 เป็นปีขานในวันขึ้นหกค่ำเดือนเมษายนตรงกับวันพุธที่ 21 โดยพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านก็คือ พระมงคลทิพย์มุนี ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดจักรวรรดิราชาวาส จังหวัดกรุงเทพมหานคร ส่วนพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ของท่านก็คือ ท่านพระครูสิทธิเดช แห่งวัดชนะสงคราม และสำหรับพระผู้เป็นพระอนุเสาวนาจารย์ให้กับท่านก็คือท่านเจ้าอธิการอ่อน แห่งวัดจำปาทอง และฉายาทางธรรมที่ท่านได้รับก็คือ “ เขมังกะโร” ซึ่งมีความหมายว่าผู้ทำความเกษม
และหลังจากที่ท่านได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วท่านก็เดินทางกลับมาจำวัดอยู่ที่วัดชนะสงคราม เพื่อศึกษาเล่าเรียนทางด้านพระปริยัติธรรมต่อ ด้วยความเพียนมานะจนสำเร็จการศึกษาในด้านพระธรรมต่างๆ ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2474 เมื่อเจ้าอาวาสพิกุลทองลาสิขาบท (ซึ่งในขณะนั้นคือพระอาจารย์หยด พวงมสิต ) ชาวบ้านจำปาทองและชาวบ้านพิกุลทองก็ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อแพเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งในขณะนั้นหลวงพ่อท่านอายุได้เพียง 26 ปี และหลังจากที่เป็นเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้ตำแหน่งต่างๆในปีถัดมาตามลำดับดังต่อไปนี้
ท่านได้รับตำแหน่งให้เป็นเจ้าคณะตำบลถอนสมอในช่วงปีพ.ศ. 2482 จากนั้นท่านก็มีตำแหน่งเป็นพระอุปัชฌายะในช่วงปีพ.ศ. 2483 และได้เป็นเจ้าคณะอำเภอท่าช้างในช่วงปีพ.ศ. 2484 ถัดมาได้อมีตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดสมณศักดิ์ในช่วงปี 2525 ได้เป็นพระครูสัญญาบัตรในช่วงปี 2484
ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2515 ท่านก็ได้มีตำแหน่งเป็นพระพุทธสัญญาบัตรชั้นพิเศษตามด้วยตำแหน่งพระราชาคณะชั้นสามัญที่พระสุนทรธรรมภาณีในช่วงปีพ.ศ. 2521 และถัดมาท่านได้รับตำแหน่งพระราชาคณะชั้นราดที่พระสิงคณาจารย์ และในช่วงปีพ.ศ. 2535 ท่านได้รับพระราชทานให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นกรณีพิเศษ
และเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมมุนี ในวันที่ 10 เดือนมิถุนายนปีพ.ศ. 2539 เนื่องในวโรกาสเสด็จครองราชย์ครบ 50 ปี และหลังจากที่หลวงพ่อท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแห่งวัดพิกุลทองแล้ว เรียกได้ว่าท่านอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
รวมทั้งได้บำเพ็ญประโยชน์ภายในวัด และเพื่อสาธารณะประโยชน์อย่างยิ่ง ท่านได้ดำเนินการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัดหลายอย่างอันได้แก่หอสวดมนต์, ศาลาการเปรียญ, หอไตร, หอฉัน , พระอุโบสถ , ศาลาวิปัสสนา รวมถึงโรงฟังธรรมและอื่นๆอีกมากมาย
นอกจากนี้ท่านยังให้ความอนุเคราะห์แก่ประชาชนโดยการเป็นประธานในการสร้างที่ว่าการอำเภอท่าช้าง เป็นประธานในการสร้างโรงพยาบาลท่าช้าง , เป็นประธานในการสร้างโรงเรียนประชาภิบาลวัดพิกุลทอง, เป็นประธานในการสร้างสถานีอนามัยของตำบลพิกุลทองและอื่นๆอีกมากมายเช่นกัน
ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2542 หลวงพ่อแพท่านก็ได้มรณภาพลงในวันพุธที่ 10 เดือนกุมภาพันธ์ ณโรงพยาบาลสิงห์บุรี รวมสิริอายุได้เก้า 14 ปี 72 พรรษา ซึ่งในปัจจุบันนี้สรีระของหลวงพ่อท่านยังคงประดิษฐานอยู่ในจังหวัดสิงห์บุรี ณ วัดพิกุลทอง ซึ่งพุทธศาสนิกชนยังคงไปสักการะบูชาได้อยู่เสมอ
แล้วพบกันใหม่กับบทความในครั้งต่อไป สำหรับวันนี้ต้องขอฝากเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของ “พระธรรมมุนี” (หลวงพ่อแพ เขมังกโร) วัดพิกุลทอง เมือง สิงห์บุรี ! กันไว้แต่เพียงเท่านี้นะคะ ขอให้คุณโชคดี มีสุขภาพแข็งแรงร่ำรวยเงินทองกันถ้วนหน้าค่ะ