มากล่าวถึงพระเครื่องฝั่งอีสานเหนือกันบ้าง เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าทางภาคอีสานนั้นมีสุดยอดพระเกจิอาจารย์มากมายที่มีชื่อเสียงโด่งดังและในครั้งนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติความเป็นมา “เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ปี 2507” วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร ซึ่งแน่นอนว่า หลวงปู่ฝั้นนั้นค่อนข้างเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีปราดเปรื่องและมีวิชาอาคมที่แกร่งกล้าเข้ามขลัง และท่านคือศิษย์ของหลวงปู่มั่น(ผู้เป็นแม่ทัพธรรม) รุ่นแรกๆเลยก็ว่าได้ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ท่านมีลูกศิษย์ลูกหาที่ยังเคารพเลื่อมใสและศรัทธาอย่างมากมายมาจนถึงปัจจุบัน และในวันนี้เราจะมาบอกถึงประวัติความเป็นมาของเหรียญหลวงปู่ฝั้นให้คุณได้ทราบ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับสิ่งที่น่าสนใจกันได้เลยดังต่อไปนี้
ประวัติของหลวงปู่ฝั้น
สำหรับหลวงปู่ฝั้นหรือพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร เดิมทีท่านเป็นคนจังหวัดสกลนคร เกิดที่ตำบล พรรณา บ้านม่วงไข่ อยู่ในอำเภอ พรรณานิคมของจังหวัดสกลนครนั่นเอง เกิดวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคมปีพ.ศ. 2422 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำเดือนเก้า ปีกุน ซึ่งท่านได้เป็นบุตรของจ้าวไชยกุมาร (ชื่อเล่นเม้า) ซึ่งเป็นหลานของอดีตเจ้าเมืองพรรณนิคม ซึ่งก็คือคุณพระเสนาณรงค์(นวล) และท่านเป็นบุตรของนางนุ้ย (ซึ่งเป็นบุตรสาวของหลวงประชานุรักษ์) ซึ่งเห็นได้ชัดว่าท่านมีเชื้อสายขุนนางทั้งทั้งฝ่ายบิดาและทั้งทางฝ่ายมารดาของท่าน ซึ่งพระอาจารย์ฟันนั้นเป็นผู้ที่มีความจงรักภักดีต่อชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์ยิ่ง
ในวัยเด็กท่านได้บวชเป็นสามเณร ต่อมาเมื่ออายุถึงวัยที่จะบวชเป็นพระได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดสิทธิบังคม ต.ไร่ อ.พรรณานิคม และได้ร่ำเรียนพระปริยัติทำรวมไปถึงศึกษาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานกับเจ้าอาวาสวัดโพนทองหรือท่านอาญาครูธรรม เมื่อมีความรู้ในระดับนึงแล้วท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆและตั้งจิตมุ่งมั่นเพื่อจะบำเพ็ญภาวนาและปฏิบัติทางด้านกรรมฐานอย่างแรงกล้า
และต่อมาในช่วงปีพ.ศ. 2463 ท่านได้พบกับพระอาจารย์มั่นภูริทัศโตหรือหลวงปู่มั่นที่เรารู้จักกันดี ในฐานะแม่ทัพธรรมที่ใครหลายคนต่างขนานนาม จากนั้นท่านก็ได้ขอปวารณาตนเพื่อเป็นศิษย์ของหลวงปู่มั่น และได้ศึกษาร่ำเรียนหลักธรรมต่างๆพร้อมกับปฏิบัติจริยวัตรอย่างเคร่งครัดโดยยึดหลักศาสนา พร้อมกับเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างตั้งมั่น
ต่อมาในช่วงปี 2468 ท่านได้แปรญัตติจากมหานิกาย และเปลี่ยนเป็นธรรมยุติกนิกาย ที่จังหวัดอุดรธานี ณ พระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ ซึ่งในขณะนั้นได้มีพระอุปัชฌา คือพระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) และในเวลาต่อมาท่านก็ได้ร่วมออกเดินธุดงค์ไปกับพระอาจารย์มั่นสู่ป่าลึกและสถานที่ต่างๆอยู่เสมอ เพื่อศึกษาเล่าเรียนดำเนินต่อ อีกทั้งท่านยังได้ไปกราบสักการะพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโร (หลวงปู่เสาร์) และพระอาจารย์ดูลย์ อตุโล(หลวงปู่ดูลย์) และในปีเดียวกันนั้นท่านได้ร่วมจำพรรษากลับหลวงปู่มั่น ณ วัดอรัญวารี ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอท่าบ่อ ที่จังหวัดหนองคาย และในปีถัดมาท่านได้จำพรรษากับท่านพระอาจารย์กู่และท่านพระอาจารย์กว่า น้าบ้านดอนแดงที่ตั้งอยู่ในอำเภอท่าอุเทนจังหวัดนครพนม และในจังหวัดอื่นๆทางแถบภาคอีสานอีกมากมาย
หลวงปู่ฝั้นท่านเป็นพระที่มีความเมตตากรุณาและจะคอยช่วยเหลือชาวบ้านเป็นพระนักพัฒนา ไปพร้อมพร้อมกับมีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยปฏิบัติดีปฏิบัติชอบอยู่เสมอจึงทำให้เป็นที่รักและเคารพเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาต่อญาติโยมและชาวบ้านกันอย่างมากมาย จากนั้นเมื่อช่วงปี 2520 ท่านก็ได้มรณภาพในวันที่ 4 มกราคม โดยมีสิริอายุรวมประมาณ 78 ปี 58 พรรษา
ประวัติความเป็นมาของ วัดอุดมสมพร จ.สกลนคร
สำหรับวัดป่าอุดมสมบูรณ์แห่งนี้ปัจจุบันตั้งอยู่ในอำเภอ พรรณานิคม ของจังหวัดสกลนคร ได้ถูกสร้างขึ้นมาคู่กับวัดถ้ำขามที่อาจารย์ฝั้นหรือหลวงปู่ฝั้นได้สร้างขึ้นในครานั้น จะสังเกตเห็นได้ว่าวัดจะตั้งอยู่บนเทือกเขาภูพานที่คนละแวกนั้นมักจะเรียกกันว่าวัดบนและวัดล่าง ซึ่งวัดล่างก็คือวัดป่าอุดมสมพรแต่วัดบนจะหมายถึงวัดถ้ำขาม ปัจจุบันนี้ภายในวัดจะเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์หลวงปู่ฝั้น ซึ่งลูกศิษย์ลูกหาและคนรุ่นใหม่ก็มักจะแวะไปสักการะบูชาหากใครได้มีโอกาสไปยื่นที่จังหวัดสกลนครแห่งนี้ ยังคงเปิดดำเนินการมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มาของเหรียญ “หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ปี 2507”
สำหรับเรียนนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2515 ได้จัดทำขึ้นเนื่องในโอกาสถวายซุ้มประตูเพื่อมอบให้กับวัดป่าอุดมสมพร สร้างโดยกองทัพภาคที่สองซึ่งเป็นสวนหน้าของจังหวัดสกลนคร อีกทั้งยังมีเหรียญที่ได้รับความนิยมไปพร้อมๆกันด้วยซึ่งก็คือ “เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น 25”
พุทธลักษณะของ “เหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ปี 2507”
สำหรับพุทธะลักษณะของเหรียญนี้เป็นเหรียญสองกลมรูปไข่มีความหนาและมีการตัดขอบโดยรอบ เป็นเหรียญที่มีหูในตัว สำหรับพุทธะลักษณะทางด้านหน้านั้นจะสังเกตได้ว่า เป็นองค์รูปเหมือนของพระจารฝั้น ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ประมาณครึ่งองค์ ในรูปเหมือนขององค์พระนั้นพระอาจารย์ฝั้นจะอยู่ในท่าหันข้าง ห่มจีวรพาดไหล่ และค่าผ้าสังฆาฏิ อีกทั้งทางขอบด้านล่างจะถูกจารึกด้วยอักษรด้วยคำว่า “พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร”
สำหรับพุทธะลักษณะทางด้านหลังนั้นเราจะสังเกตเห็นได้ว่าจะมีขอบเรียนทั้งสองข้างคล้ายกับทางส่วนด้านหน้า จากนั้นทางด้านบนฝั่งซ้ายจะมีอักษรเป็นพยัญชนะภาษาไทยที่จารึกคำว่า “วัดป่าถ้ำขาม” และทางด้านขวานั้นจะถูกจารึกตัวอักษรพยัญชนะภาษาไทยด้วยคำว่า “สกลนคร” ส่วนตรงกลางของเหรียญนั้นจะมีการจารึกเป็นสัญลักษณ์ที่เหมือนกับรูปหยดน้ำ จากนั้นถัดมาทางด้านล่างเราจะสามารถสังเกตได้ว่ามีการจารึกอักขระเอาไว้ประมาณสองบรรทัดซึ่งหมายถึง “หัวใจพยานกยุงทอง” เป็นพระคาถา และในส่วนของบรรทัดล่างถัดมาจะมีตัวอักษรที่เป็นเลขไทยได้จารึกเอาไว้ว่า “๒๕๐๗” ซึ่งนั่นก็หมายถึงปีสำหรับการจัดสร้างเหรียญนี้ จากนั้นบรรทัดล่างสุดได้มีการจารึกพยัญชนะภาษาไทยด้วยคำว่า “รุ่นแรกศิษย์ ทอ.สร้างถวาย”
มีการพิมพ์ออกมาทั้งเป็นแบบเนื้ออันประก้าและเนื้ออื่นๆซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้ว่าทั้งส่วนของเหรียญด้านหน้านั้นจะใช้บล็อกที่มีความแตกต่างซึ่งแต่ละรุ่นนั้นก็จะไม่เหมือนกันซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีการทำแบบเรียนปลอมออกมากันเป็นจำนวนมากและมีความคล้ายที่เหมือนมากจริงๆดังนั้นหากคุณต้องการบูชาเหรียญพระอาจารย์ฝั้น อาจจาโร ก็ควรจะต้องศึกษารายละเอียดให้แน่ชัดเสียก่อน เพราะอาจโดนหลอกได้ เนื่องจากในปัจจุบันมีราคาที่ค่อนข้างสูงมากและของจริงก็หาชมได้ยากมากเช่นกัน
พุทธคุณ
หากถามถึงพุทธคุณของพระเหรียญอาจารย์ฝั้น รุ่นนี้แล้วล่ะก็ต้องขอบอกเลยว่านับว่าครอบจักรวาลเลยก็ว่าได้ เนื่องจากมีความโดดเด่นครบทุกด้าน มีความเชื่อกันว่าหากใครได้มีไว้ในครอบครองบูชาก็จะช่วยส่งเสริมในเรื่องโชคลาภการเงินมีอำนาจวาสนาเป็นที่รู้จักของผู้คนมีชื่อเสียงโด่งดัง รวมทั้งช่วยปกปักรักษาให้ผู้ครอบครองนั้นได้แคล้วคาดปลอดภัย ป้องกันคุณใสปลอดภัยจากศัตรูทั้งปวง รวมไปถึงมีความโดดเด่นทางด้านเมตตามหานิยมด้วยเช่นกัน
และถึงแม้ว่าหลวงปู่ฟันจะได้มรณภาพจากไปนานหลาย 10 ปีแล้วก็ตาม แต่เรายังคชื่อว่ายังมีลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมที่เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่าน ที่ยังคงระลึกถึงอย่างไม่เสื่อมคลายกันอย่างแน่นอน ซึ่งพวกเราทีมงานสองพระหวังอย่างยิ่งว่าเรื่องราว ประวัติความเป็นมา “เหรียญหลวงปู่ฝั้น อาจาโร ปี 2507” วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร นี้จะเป็นประโยชน์ต่อคุณ และหวังว่าคุณจะถูกใจกันนะคะ