หากเอ่ยถามถึงพระเกจิอาจารย์ชื่อดังสายกรรมฐานแห่งภาคอีสานแล้ว เชื่อว่าหลายคนต้องระลึกถึงหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ขึ้นมาเป็นอันดับแรกอย่างแน่นอน หลายคนอาจทราบดีว่าท่านคือใครในขณะเดียวสำหรับบางท่านก็อาจจะยังไม่ทราบ และในวันนี้เรากำลังจะมาพูดถึง ประวัติความเป็นมา “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต” แม่ทัพธรรมแห่งภาคอีสาน ! ให้คุณและคนรุ่นใหม่ได้รู้จัก และหวังอย่างยิ่งว่าจะต้องถูกใจลูกศิษย์ลูกหารวมถีงผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาหลวงปู่มั่นเป็นเดิมอยู่แล้วกันอย่างแน่นอน และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เราจะไปเริ่มรู้จักกับประวัติของท่านกันเลยดังนี้
ประวัติหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
สำหรับพระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต หรือหลวงปู่มั่นที่ใครหลายคนย่อมรู้จัก ท่านคือพระเกจิอาจารย์สายกรรมฐานเป็นพระวัดป่าที่มีความเคร่งครัดในการศึกษาพระธรรม และมีจริยาวัฒน์ประพฤติดีประพฤติชอบ และปฎิบัติตนตามแนวทางหลักศาสนาโดยยึดหลักของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เป็นพระผู้เลิศทางธุดงควัตรแห่งยุค และได้ถูกขนาดนามว่าท่านคือแม่ทัพธรรมแห่งภาคอีสาน และเป็นบิดาแห่งพระสายป่าแห่งยุคนั้นเอง และนอกจากนี้ทางยูเนสโกยังได้ประกาศยกให้หลวงปู่มั่นเป็นคนสำคัญของโลกในสายสันติภาพอีกด้วย
เดิมทีนั้นหลวงปู่มั่นท่านได้เกิดที่บ้านคำบง ซึ่งตั้งอยู่ในตำบลโขงเจียมของจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน เมื่อครั้งอายุได้ 15 ปี ท่านก็ได้บวชเป็นสามเณรณวัดบ้านคำบง จากนั้นเมื่อบวชได้ระยะเวลาสองปีท่านก็ได้ลาสิกขาบทตามที่บิดาของท่านได้ขอร้องด้วยเหตุผลในการช่วยในเรื่องที่บ้าน แต่จิตของหลวงปู่มั่นก็ยังคงนึกถึงแต่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์เนื่องจากครั้งหนึ่งคุณยายของท่านได้เคยบอกไว้ว่าเจ้าจะต้องบวชให้ยาย ท่านก็หวังเกี่ยวกับเรื่องการบวชอยู่เสมอ
ต่อมาเมื่ออายุได้ 22 ปีท่านก็เข้าอุปสมบท ช่วงปีพ.ศ. 2436 เป็นพระภิกษุสงฆ์ ณ วัดศรีทอง ในจังหวัดอุบลราชธานี และได้รับฉายาว่า “ภูริทัศโต” ซึ่งมีความหมายว่าผู้ให้ปัญญา เมื่อบวชได้เป็นพระดังใจปรารถนาแล้ว ท่านก็ได้ศึกษาทางธรรมในสำนักวิปัสสนากับหลวงปู่เสาร์(พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล) ในจังหวัดอุบลราชธานีเช่นกันแต่ครั้งนี้ท่านศึกษาที่วัดเลียบ ด้วยความศรัทธาที่มีต่อหลวงปู่เสาร์ท่านจึงขอถวายตัวเป็นลูกศิษย์จากนั้นก็ได้เดินทางเข้าไปยังเมืองอุบลราชธานี และได้ออกเดินธุดงค์ไปกับหลวงปู่เสาร์
ครั้งหนึ่งในช่วงปี 2443 หลวงปู่มั่นได้ออกเดินธุดงค์และวิเวกไปจำพรรษาณวัดพระธาตุพนม ในจังหวัดนครพนม ซึ่งในสมัยก่อนนั้นชาวบ้านและญาติโยมยังไม่ค่อยรู้ถึงความสำคัญของพระธาตุพนมมากนัก จึงไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญต่อมาเมื่อคณะของหลวงปู่มั่นได้เข้าพำนักและจำพรรษาที่วัดแห่งนี้จึงได้บอกให้กับชาวบ้านในละแวกนั้นได้ทราบว่าพระธาตุพนมนี้เป็นพระธาตุที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากได้มีการบรรจุอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้าเอาไว้ จากนั้นชาวบ้านทั้งหลายก็ต่างปิติยินดีและมาช่วยกันทำความสะอาดพระธาตุพนม เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสามเหล่าประชาชน ก็จะมาทำบุญ จนกลายเป็นประเพณีสืบทอดกันมาจนถึงในยุคปัจจุบัน
ด้วยความเพียรพยายามที่หลวงปู่มั่นได้ตั้งใจตังค์มันปฏิบัติอย่างเคร่งครัดจริงจัง พร้อมกับปฏิปทาและอุบายเพื่อให้จิตของท่านนั้นดำเนินไปอย่างไม่ออกนอกลู่นอกทาง และในที่สุดท่านก็ได้บรรลุอรินธรรมทำขั้นสาม ซึ่งก็คือขั้นอนาคามีธรรม ซึ่งในขั้นนี้ค่อนข้างมีความละเอียดถี่ถ้วนมาก ซึ่งต้องถือรูปขันธ์อัน โดยมีเป้าหมายแห่งการตั้งจิตพิจารณา จากนั้นเมื่อหมดในความสงสัยก็ศึกษาไปยังขั้นอื่นๆต่อไป
เวลาต่อมาในช่วงปี 2455 เมื่อหลวงปู่มั่นได้ออกเดินธุดงค์ตามลำพังก็ได้เข้าพำนักและบำเพ็ญเพียร ณ ถ้ำสาริกา ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครนายก ซึ่งที่แห่งนี้ทำให้หลวงปู่มั่นได้เห็นธรรมที่น่าอัศจรรย์และประสบกับเหตุการณ์ต่างๆอันหลากหลาย ครั้งหนึ่งในการพำนักครั้งนั้นท่านได้รู้สึกว่าเป็นโรคเจ็บท้องซึ่งก่อนหน้านั้นท่านเคยเป็นอยู่เสมอ ซึ่งจะเจ็บท้องแบบออดออดแอดแอดแต่เมื่อมาถึงครั้งนี้ อาการเก่าที่เคยเป็นกลับกำเริบรุนแรงขึ้นมาตามลำดับ แต่ด้วยกำลังใจที่แรงกล้าจึงทำให้ท่านตัดสินใจยังคงนั่งสมาธิและปฏิบัติต่อไป แม้จะอยู่ในภาวะเจ็บท้องท่านก็ยังคงเจริญสติ และนั่งสมาธิปฏิบัติกรรมฐานจนกระทั่งได้เกิดความอัศจรรย์ภายในจิตเป็นเวลาสามวันสามคืน และเมื่อพอจิตของท่านอิ่มตัวแล้วก็ได้เกิดนิมิตต่างๆขึ้น จากนั้นท่านก็ได้นำสิ่งที่พบและพิจารณา ถึงข้อ “กายะ ทุกขัง อริยสัจจัง” ซึ่งก็คือกายเป็นทุกข์ ไม่ทำให้เกิดความสุข
หลังจากการเดินธุดงค์ในครั้งนั้นถัดมาในช่วงปี 2458 ท่านก็ได้เดินทางกลับไปยังจังหวัดอุบลราชธานีและจำพรรษาณวัดในอำเภอเมือง ซึ่งก็คือวัดบูรพาราม และเดินธุดงค์ไปจำพรรษาณวัดต่างๆทางภาคอีสานอีกมากมาย ซึ่งได้แก่จังหวัดเลยจังหวัดหนองคาย, จังหวัดนครพนม, จังหวัดสกลนคร, จังหวัดอุดรธานี ไปจนถึงภาคเหนือคือจังหวัดเชียงใหม่ และได้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหารในช่วงปี 2471 ณ จังหวัดเชียงใหม่ และหลังจากนั้นอีกหลายปีในช่วงปี 2482 เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภร หรือพระธรรมเจดีย์ (จูม พนธโล) ก็ได้นิมนต์ให้หลวงปู่มั่นกลับไปทางภาคอีสาน เพื่อสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาต่อไป และจากนั้นหลวงปู่มั่นก็ได้กลับมายังภาคอีสานและทุ่มเทสอนหนทางแห่งการหลุดพ้นให้กับคณะสงฆ์และลูกศิษย์ อย่างเต็มที่และไม่รู้จักเน็ตเหนื่อยตราบจจนวาระสุดท้ายของชีวิต
หลวงปู่มั่นได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้หรือไม่
เป็นที่ทราบกันดีว่าหลวงปู่มั่นนั้นท่านไม่ได้สร้างวัตถุ หรือเครื่องรางต่างๆใดใดเอาไว้เนื่องจากท่านเป็นพระสายปฏิบัติ เป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องวิปัสสนากรรมฐาน แต่ก็ยังมีลูกศิษย์ลูกหาได้ ซึ่งเท่าที่มีก็คือ “เหรียญดอกจิกหลวงปู่มั่น-หลวงปู่เสาร์ของปี 2490” และได้สร้างเอาไว้ตอนที่หลวงปู่มั่นท่านยังคงมีชีวิตอยู่ ซึ่งการสร้างในครั้งนั้นหลวงปู่มั่นท่านก็ได้รับทราบด้วยเช่นกัน มีความเชื่อกันว่าในการสร้างครั้งนั้นหลวงปู่มั่นอาจได้ทำการอธิฐานจิตไว้
มีลักษณะเป็นเหรียญดอกจิกที่ด้านหนึ่งจะเป็นรูปองค์เหมือนของหลวงปู่มั่นและอีกด้านหนึ่งจะเป็นรูปองค์เหมือนของหลวงปู่เสาร์ ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 2490 ซึ่งเป็นเหรียญรุ่นแรก ที่ได้จัดสร้างโดยหลวงพ่อพุธ ฐานิโย จำนวนการพิมพ์ในครั้งนั้นน่าจะมีจำนวนในการสร้างอยู่ที่ประมาณ 3000 เหรียญถึง 5000 เหรียญ มีด้วยกันประมาณสองพิมพ์ก็คือพิมพ์ยันต์แปด และพิมพ์หน้าหนุ่ม และมีเนื้อทองแดงกะไหล่เงินกับเนื้อทองแดงธรรมดา ค่อนข้างเป็นเหรียญที่มีความงดงามและมีพุทธะศิลปะที่ค่อนข้างละเอียดไม่น้อย
และอีกหนึ่งรุ่นก็คือ “เหรียญดอกจิกหลวงปู่มั่น-หลวงปู่เสาร์ที่สร้างขึ้นในปี 2493” ซึ่งการสร้างในครั้งนั้นเป็นการสร้างเพื่อนำมาแจกให้กับญาติโยมลูกศิษย์ลูก หามาร่วมในงานถวายเพลิงศพของหลวงปู่มั่นในวันที่ 31 มกราคม 2493 และได้มีการจัดพิมพ์ลายพิมพ์ซึ่งได้แก่ พิมพ์หน้าเดิม, พิมพ์หน้าหนุ่มยันซ้อน, พิมพ์หน้าหนุ่มยันต์กลับ, พิมพ์หน้าแก่ยันห่าง, พิมพ์หน้าแก่ยันชิด, พิมพ์หน้าแก่ยันชิดหลังสายฝน และพิมพ์หน้าแก่(หรือเรียกกันว่าพิมพ์หน้ากลาง) และต่อมาในปี พ.ศ. 2510 ก็ได้มีการสร้างเหรียญดอกจิกหลวงปู่มั่นหลวงปู่เสาร์ออกมาด้วยเช่นกัน แต่ส่วนในเรื่องของรายละเอียดนั้นเราอาจจะมาเล่าให้ฟังกันในบทความครั้งต่อไปนะคะ
สำหรับในครั้งนี้พวกเราทีมงานต้องขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่คอยติดตามเรื่องราว ที่เกี่ยวกับพระเครื่องจากพวกเราที่นี่อย่างเสมอมา และหวังอย่างยิ่งว่าบทความ ประวัติความเป็นมา “หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต” แม่ทัพธรรมแห่งภาคอีสาน ! นี้ จะทำให้คุณชื่นชอบและถูกใจ ที่สำคัญคือหากมีประโยชน์ต้องอย่าลืมส่งต่อให้กับเพื่อนๆและคนที่คุณรักด้วยเช่นกันนะคะ