หากมีใครถามถึงเหรียญรุ่นแรกที่เป็นระดับตำนานพระเครื่องของเมืองสงขลา แน่นอนว่าเหล่าบรรดาเซียนพระจะต้องนึกถึงเหรียญรุ่นแรก ของหลวงพ่อคงแห่ง วัดธรรมโฆษณ์ กันอย่างแน่นอนและนั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ครั้งนี้เราจะมาบอกเล่าถึง ประวัติความเป็นมา “หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์” กับเหรียญรุ่นแรกระดับตำนาน เมืองสงขลา ! ที่พวกเราทีมงานได้รวบรวมข้อมูลต่างๆมาฝากคุณไว้ที่นี่รวมถึงประวัติที่น่าสนใจของหลวงพ่อคงมาให้คุณได้ทราบกันอีกด้วยดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับเหรียญรุ่นแรกที่เป็นระดับตำนานพระเครื่องของเมืองสงขลากันเลยดีกว่า
ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์”
แห่งจังหวัดสงขลา
ก่อนที่จะพาท่านไปรู้จักกับเหรียญรุ่นแรกของหลวงพ่อคงนั้น เราจะขออนุญาตพาคุณมารู้จักกับประวัติความเป็นมาของท่านเสียก่อน เนื่องจากเรื่องราวของท่านค่อนข้างน่าสนใจอยู่ไม่น้อย และท่านคืออีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่เคารพศรัทธาของผู้คนในยุคเก่า และที่สำคัญคือเหรียญรุ่นแรกของท่านนั้นถือได้ว่าเป็นเหรียญเก่าแก่ระดับตำนานพระเครื่องของเมืองใต้กันเลยทีเดียว
สำหรับพระครูธรรมะโฆษิต หรือที่เรามักจะรู้จักท่านในนามหลวงพ่อคง โกกนุตตเถระ หรืออีกในนามหนึ่งที่ชาวใต้โดยเฉพาะชาวเมืองสงขลามักจะเรียกท่านก็คือพ่อท่านธรรมโฆษณ์ เดิมทีนั้นท่านเป็นชาวจังหวัดสงขลาท่านเป็นชาวบ้านตำบลจะทิ้งหม้อ ท่านเกิดที่บ้านหนองปาบ ซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอเมือง ท่านเป็นลูกชายของคุณพ่อซัง และคุณแม่ม่า ท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ 2414 ในวันอาทิตย์ขึ้น 13 ค่ำเดือนยี่ ตรงกับปีระกา นอกจากนี้ท่านยังมีน้อง 2 คนชื่อว่ายังและตั้ง คุณแม่ของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังอายุน้อย และเมื่อท่านมีอายุได้ประมาณ 13 ปี คุณพ่อของท่านก็ได้จากไปตั้งแต่ท่านยังเล็ก
และท่านก็ได้เติบโตมากับน้าทั้งสองที่มีความเมตตา และให้ความรักแก่ท่านซึ่งน้าของท่านชื่อว่า น้ามุ้ยและน้าเสน ซึ่งแล้ว 2 ท่านนี้ก็ได้พาท่านไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับท่านทองขวัญ ซึ่งในขณะนั้นท่านทองขวัญเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดบ่อปาบ และหลวงพ่อคงท่านก็ได้เป็นลูกศิษย์วัดอยู่ที่วัดแห่งนี้พร้อมกับได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนกับท่านทองขวัญ
ถัดมาเมื่อหลวงพ่อคงท่านมีอายุได้ประมาณ 15 ปีก็ได้บวชเป็นสามเณร อยู่ที่สำนักของท่านทองขวัญ และเป็นสามเณรตลอดมาจนอายุครบบวช ท่านก็ได้เข้าพิธีอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์อยู่ที่วัดบ่อปาบเช่นเคย ท่านบวชในช่วงปีพ.ศ 2436 ซึ่งพระอุปัชฌาย์ของหลวงพ่อคงก็คือท่านทองขวัญนั่นเอง และสำหรับพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ให้กับท่านก็คือพระนวล แห่งวัดบ่อปาบ พระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ให้กับท่านก็คือพระหนูแก้วแห่งวัดมะม่วงหมู่ ซึ่งเป็นการบวชท่ามกลางส่ง 22 รูป
หลังจากที่บวชแล้วหลวงพ่อคงก็ได้มีโอกาสศึกษาทางด้านทางปริยัติธรรม หรือยังมีโอกาสได้ศึกษาทางด้านธรรมวินัยรวมถึงท่านเป็นผู้เคร่งครัดไม่น้อยต่อการปฏิบัติ นอกจากนี้ท่านยังประพฤติปฏิบัติดี และตั้งใจแก่การเล่าเรียนอย่างมาก อีกทั้งยังปฏิบัติต่อครูบาอาจารย์อย่างพระอุปัชฌาย์ได้ดีอย่างมาก จนทำให้พระอาจารย์รักและเอ็นดู และมองเห็นถึงการปฏิบัติตนที่ดี
และเมื่อพระอาจารย์มองเห็นว่าพรรษาของท่านมีอายุที่พอจะสามารถบริหารงานในวัดได้แล้ว จึงทำให้พระอาจารย์ได้ให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดธรรมโฆษณ์ในช่วงปีพ.ศ 2443 ท่านจึงได้รับสมญานามว่าพ่อท่านธรรมโฆษณ์มาตั้งแต่บัดนั้นโดยเป็นการยกย่องจากชาวบ้านในแถบนั้น แต่ถึงแม้ว่าท่านจะได้รับสมณศักดิ์ ผู้คนก็ยังคงเรียกกันว่า พ่อท่านธรรมโฆษณ์เช่นเดิม
สำหรับวัดธรรมโฆษณ์แห่งนี้ถือได้ว่าเป็นผลงานของท่าน อันเนื่องจากความเสียสละที่ท่านได้ออกแรงในการสร้างวัดตั้งแต่ที่เคยเป็นรุ่นเป็นดอน รวมถึงได้สร้างให้มีเสนากันนะเพื่อเป็นที่จำพรรษาของภิกษุและสามเณรทั้งหลาย อีกทั้งท่านยังได้สร้างวัตถุมงคลที่เอาไว้เป็นวัตถุติดตัวเพื่อปกปักรักษาและคุ้มครองผู้คน แต่นอกจากนี้ท่านยังไม่เปิดสำนักสำหรับศึกษานักธรรมตามแบบแผนใหม่และสนับสนุนทางด้านการศึกษา โดยการสร้างโรงเรียนประจำวันเพื่อให้เด็กๆได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน เรียกได้ว่าท่านเป็นพระผู้เมตตา เป็นพระนักปฏิบัติและเป็นพระนักพัฒนาอย่างแท้จริง
หลังจากที่ท่านได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแล้ว ตำแหน่งต่อมาก็คือเจ้าคณะตำบลและตามด้วยตำแหน่งพระอุปัชฌาย์ในช่วงปีพ.ศ 2453 ท่านดำรงตำแหน่งนี้เป็นระยะเวลา 49 ปี ซึ่งโดยปกติแล้วพ่อท่านจะมีสุขภาพที่ค่อนข้างแข็งแรงน้อยครั้งที่จะเจ็บป่วย และสามารถเดินเหินไปตามสถานที่ต่างๆได้ปกติแข็งแรงดี แต่เมื่อความชรามาเยือนร่างกายก็อ่อนแอลง จากที่ท่านเคยทนต่อโรคก็กลายเป็นมีโรคต่างๆ และต่อมาท่านก็พูดไม่ได้ แต่คณะศิษย์ก็ยังคงดูแลท่านเป็นอย่างดีเอาใจใส่และพาท่านให้ได้รับการรักษาอยู่ตลอด ถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2503 พ่อท่านคล้ายมรณภาพลงในวันที่ 5 เดือนพฤษภาคมในช่วงเวลา 10:10 น ท่ามกลางคณะลูกศิษย์ทั้งหลาย จึงเรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่โศกเศร้าของเหล่าบรรดาลูกศิษย์และผู้คนที่เคารพศรัทธาพ่อท่านอย่างมากรวมศิริอายุพอท่านได้ 89 ปีและครองพรรษาได้ยาวนานถึง 67 พรรษา
เหรียญรุ่นแรก พ่อท่านธรรมโฆษณ์
สำหรับเหรียญรุ่นแรกรุ่นนี้ได้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ 2528 ซึ่งจำนวนการสร้างเรียกได้ว่าค่อนข้างน้อยและไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัดว่ามีในจำนวนเท่าใด ซึ่งเป็นเนื้อทองแดง
พุทธลักษณะของเหรียญทรงเสมาของพ่อท่านคงนั้น จะมีลักษณะเป็นรูปเหมือนของพ่อท่านปรากฏอยู่กลางเหรียญอย่างเห็นได้ชัดในลักษณะครึ่งองค์ มีรูปทรงเป็นใบเสมา บริเวณรอบขอบเหรียญนั้นมีลวดลายเป็นลายกนก ล้อมรอบ ทางส่วนของด้านบนจะปรากฏเป็นตัวอักษรภาษาไทยที่ระบุ เอาไว้ด้วยคำว่า “ พระครูธรรมโฆษิต” และในส่วนของบริเวณด้านล่างเหรียญนั้นปรากฏอักษรภาษาไทยด้วยคำว่า “อาจารย์คง โกกนุตตเถระ วัดธรรมโฆษณ์”
ประสบการณ์เรื่องเล่าเกี่ยวกับเหรียญรุ่นแรก พ่อท่านธรรมโฆษณ์
สำหรับเหรียญรุ่นแรกที่เรียกได้ว่าเป็นระดับตำนานพระเครื่องของเมืองสงขลานี้ เรียกได้ว่ามีเรื่องเล่าถึงประสบการณ์ของผู้มีไว้ในบูชาครอบครอง และผู้แขวนห้อยติดกายอย่างมากมาย แต่เรื่องที่ค่อนข้างได้รับความสนใจและร่ำลืออย่างมากก็คือ
ครั้งหนึ่งที่สถานีรถไฟเมืองหาดใหญ่ของจังหวัดสงขลาได้เกิดเหตุระเบิดขึ้น แต่ผู้ที่แคว้นเรียนนี้ไว้ในคอกับไม่ได้รับอันตรายใดๆ สิ่งที่ได้รับก็เพียงจะเก็บระเบิดที่ทำให้เสื้อผ้าของเขาขาดเท่านั้น กลับกลายเป็นว่าคนเป็นปกติดี อีกทั้งยังมีเรื่องเล่าว่าหากใครได้แขวนเหรียญนี้ก็มักจะมีประสบการณ์ที่เหลือเชื่อมาเล่าให้ฟังอยู่เสมอ บางคนว่ากันว่าตกต้นตาลก็ไม่เป็นอะไรเลย ทั้งที่ต้นตาลสูงมาก บ้างก็ว่าฟันแทงไม่เข้า บ้างก็ว่าขนาดมีดปาดตาลยังฟันไม่เข้าเลย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นเหรียญที่ร่ำลือว่าพุทธคุณทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัยและคงกระพันชาตรีนั้นมีความโดดเด่นไม่น้อย
สำหรับในปัจจุบันนี้ค่อนข้างเป็นเหรียญที่หายากพอสมควร เนื่องจากมีจำนวนในการสร้างที่ค่อนข้างน้อยตามที่เราได้กล่าวเอาไว้ตั้งแต่เบื้องต้น อีกทั้งของแท้ก็มีของไม่แท้ก็มีอยู่มาก อย่างไรก็ตามทั้งนี้หากคุณต้องการมีไว้ในครอบครองบูชาก่อนที่จะตัดสินใจเล่นหาก็ควรศึกษาถึงที่มาที่ไปของเหรียญรวมถึงพุทธลักษณะให้เด่นชัด โดยละเอียดจะดีที่สุด
สำหรับวันนี้พวกเราทีมงานต้องขอฝากเรื่องราว ประวัติความเป็นมา “หลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์” กับเหรียญรุ่นแรกระดับตำนาน เมืองสงขลา ! กันไว้แต่เพียงเท่านี้ ซึ่งพวกเราทีมงานหวังว่าคุณจะชื่นชอบและถูกใจกับสาระที่เรานำมาฝากกันนะคะ ขอขอบพระคุณสำหรับในทุกๆการติดตามอ่านอย่างเสมอมา แล้วกลับมาพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไป สวัสดีค่ะ