เชื่อว่าหากมีใครถามถึงของดีเมืองนครปฐม เห็นทีคงจะมีคนยกมือตอบว่ากุมารทองหลวงพ่อเต๋มาเป็นอันดับต้นๆ กันเลยทีเดียวจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ในครั้งนี้พวกเราทีมงานส่องพระได้รวบรวม ประวัติความเป็นมาสุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อในการสร้างกุมารทอง “หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม” เมือง นครปฐม ! มาฝากคุณกันไว้ที่นี่ พร้อมจะพาคุณไปรู้จักกับวัตถุเครื่องรางที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมากของหลวงพ่อเต๋ด่วยเช่นกัน เพราะเราเชื่อว่ายังคงมีใครหลายคนที่ต้องการทราบถึงเรื่องนี้และก็ไม่เป็นการเสียเวลาเราจะพาคุณไปรู้จักกับเนื้อหาที่น่าสนใจกันเลยดังต่อไปนี้ค่ะ
ประวัติหลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม จังหวัดนครปฐม
สำหรับประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อเต๋ คังคสุวัณโณ ที่เรารู้จักกันดีในนามหลวงพ่อเต๋แห่งวัดสามง่าม ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนครปฐม ซึ่งสมัยที่ท่านยังคงมีชีวิตอยู่นั้นเรียกได้ว่าค่อนข้างมีชื่อเสียงที่โด่งดังไปไกลทั้งเรื่องของการสร้างวัตถุมงคลที่มีความเป็นเลิศในเรื่องคงกระพันชาตรีและเมตตามหานิยมอีกทั้งท่านยังเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ประเทืองวิทยาที่มีความเก่งกล้าสามารถในเรื่องของพุทธาคมอย่างมาก จนทำให้มีลูกศิษย์ลูกหาทั่วทั้งประเทศไทยต่างเคารพศรัทธาและเลื่อมใสท่านและแม้ว่าท่านจะได้มรณภาพลงไปหลาย 10 ปีแล้วแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกศิษย์ลูกหาจะลืมเลือนแต่อย่างใด เพราะยังคงมีผู้ละลึกถึงท่านอยู่เสมอไม่เสื่อมคลาย อีกครั้งในด้านของวัตถุมงคลที่ท่านได้สร้างเอาไว้ ก็ยังทำให้เหล่าบรรดานักสะสมทั้งหลายยังคงแสวงหากันอยู่อย่างไม่ขาดสาย หากถามถึงมูลละค่าราคาของเครื่องรางบางชิ้นแล้ว ก็เรียกได้ว่าสูงไม่น้อยเลยทีเดียว
เดิมทีนั้นหลวงพ่อเต๋ท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2434 ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่15 เดือนมิถุนายนซึ่งตรงกับ วันขึ้นเก้าค่ำเดือนเจ็ดและตรงกับปีเถาะ ท่านเกิดในตำบลดอนตูมซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอดอนตูม ในจังหวัดนครปฐมเกิดที่หมู่บ้านสามง่าม เมื่อครั้งที่ท่านอายุได้ 15 ปีนั้นก็ได้บวชเป็นสามเณรและมีโอกาสได้ศึกษาทางด้านพระธรรมมาวินัยกับพระอาจารย์แดงรวมไปถึงร่ำเรียนในเรื่องของวิชาอาคมต่างๆสำหรับพระอาจารย์แดงนั้นมีศักดิ์เป็นลุงแท้แท้ของท่าน และด้วยความที่หลวงพ่อเต๋ท่านมีความชื่นชอบทางด้านนี้อยู่แล้วจึงทำให้ค่อนข้างมีความตั้งอกตั้งใจมากเป็นพิเศษและมีความเชี่ยวชาญตั้งแต่ยังไม่ได้บวชเป็นพระภิกษุ
จากนั้นเมื่ออายุได้ประมาณ 21 ปีบริบูรณ์หลวงพ่อเต๋ ท่านก็ได้เข้าพิธีอุสมบทบวชเป็นพระภิกษุ โดยมีพระอุปประชาก็คือหลวงพ่อทาหรือพระครูอุตรการบดี แห่งวัดพะเนียงแตก ซึ่งหลวงพ่อทานั้นท่านเป็นสุดยอดพระเกจิอาจารย์แห่งยุคเก่าและค่อนข้างมีชื่อเสียงเรื่องลือมากในยุคนั้น และชายาทางธรรมของหลวงพ่อเต๋ก็คือคงทอง แต่ภายหลังได้มีการเปลี่ยนฉายามาเป็น คังคสุวัณโณ แต่ชาวบ้านก็ยังคงเรียกว่าหลวงพ่อเต๋ คงทองอยู่ดี เนื่องจากอาจจะชินกับชื่อแรกไปเสียแล้ว
เมื่อได้บวชเป็นพระแล้วท่านมีความเคร่งครัดและปฎิบัติอย่างมากอีกทั้งยังมีความใฝ่รู้ทางด้านใส่เวชและได้ศึกษาทางพุทธาคมจากหลวงพ่อทาโดยตรง ซึ่งในยุคนั้นหลวงพ่อทาท่านค่อนข้างมีชื่อเสียงทางด้านวิชาอยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาดปลอดภัยและหนังเหนียวมหาอุด อย่างมากถึงขั้นเป็นที่รู้จักกันไปทั่วภูมิภาคกันเลยทีเดียว และหลังจากที่หลวงพ่อเตท่านได้ร่ำเรียนวิชาจนมีความแตกฉานแล้ว ก็ได้ทำการออกเดินธุดงค์ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2455 ไปจนถึงปีพ.ศ. 2472 รวมแล้วเป็นเวลาประมาณ 17 ปี เพื่อทำการศึกษาวิชาอาคมตามสถานที่ต่างๆทั้งกับพระเกจิอาจารย์และฆราวาสทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชา เมื่อเดินธุดงค์ไปศึกษาเล่าเรียนแสวงหาความรู้ตามสถานที่ต่างๆแล้วท่านก็ได้กลับมาทำนัดยังวัดสามงามในจังหวัดนครปฐมได้ประมาณสามปี หลวงลุงแดงก็มรณภาพลงและก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ท่านก็ได้ฝากฝังให้หลวงพ่อเต๋นั้นดูแลวัดสามงามนี้ด้วยเช่นกัน
หลวงพ่อเต๋นั้นท่านคือพระผู้มีความเมตตาปรานีและเอื้อเฟื้อแก่ผู้คนรวมไปถึงสัตว์ต่างๆไม่ว่าจะเป็น หมู หมา กา ไก่ วัว ชะนี นก ใดๆก็ตามท่านจะไม่เลือกที่รักมักที่ชัง อีกทั้งยังมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและประพฤติปฏิบัติตามหลักศีลธรรมอย่างเคร่งครัดจึงทำให้ญาติโยมต่างเลื่อมใสศรัทธาอย่างมาก จนถัดมาถึงช่วงปีพ.ศ. 2475 ท่านก็ได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดสามง่าม จากนั้นถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2476 หลวงพ่อเต๋ ก็ได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะตำบล ซึ่งมีวัดอยู่ภายใต้การปกครองประมาณ 5 วัด ซึ่งได้แก่วัดแหลมมะเกลือ, วัดลำลูกบัว, วัดทุ่งสีหลง, วัดตะโกสูง และวัดสามง่าม นอกจากนี้แล้วท่านยังเป็นพระผู้พัฒนาวัดสามงามให้มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมากและจำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้จนมรณภาพลงในช่วงปีพ.ศ. 2524 ซึ่งรวมสิริอายุได้ประมาณ 90 ปีและคลองพรรษาได้นานถึง 69 พรรษา
เครื่องรางของขลังและวัตถุมงคล หลวงพ่อเต๋ คงทอง
แห่งวัดสามง่าม จังหวัดนครปฐม
สำหรับการสร้างวัตถุมงคลของหลวงพ่อท่านนั้นค่อนข้างมีหลากหลายและสร้างเอาไว้หลายแบบ ซึ่งท่านทำการสร้างมาตั้งแต่ช่วงยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง อันได้แก่พระเนื้อว่านพระเนื้อผง, พระกริ่ง, พระรูปหล่อ, พระเหรียญหล่อ, พระเนื้อดิน รวมไปถึงตะกรุดหนังเสือสามห่วง, เครื่องรางของขลังและค่อนข้างเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงอย่างมากก็คือกุมารทอง ซึ่งท่านได้เป็นผู้สืบทอดตำราในการสร้างกูมารทอง มาจากหลวงลุงแดงของท่าน ซึ่งจะเป็นการนำดินเจ็ดป่าช้าและดินโป่งเจ็ดปู่รวมถึงดินขุยปูมาผสมรวมกันและปั้นให้เป็นรูปตุ๊กตาทอง ซึ่งลักษณะโดยรวมก็คือกูมารทองนั่นเอง ซึ่งทุกครั้งที่ท่านได้สร้างตุ๊กตาทองเหล่านี้ขึ้นมาแล้วท่านก็จะนำไปแจกให้กับชาวบ้านและลูกศิษย์ลูกหาเพื่อให้นำติดตัวไว้เป็นเครื่องคุ้มครองปกป้องจากภัยทั้งปวง เหตุผลที่ใช้ดินเหล่านี้มาใช้เป็นส่วนผสมในการสร้างเนื่องจากดินเหล่านี้มีเทวดารักษาและมีความศักดิ์สิทธิ์อย่างมาก ด้วยพุทธคุณอันเป็นเลิศและมีความเข้มขลังอย่างมาก จึงทำให้ผู้คนได้พบกับเรื่องราวต่างๆจนนำมาเล่าขานต่อๆกัน
จะสังเกตได้ว่าเครื่องรางของขลังของท่านนั้นจะไม่ค่อยเน้นทั้งเรื่องความงดงามอะไรมากนักแต่ส่วนใหญ่แล้วจะค่อนข้างเน้นในเรื่องพุทธคุณเสียมากกว่า เนื่องจากการสร้างท่านมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้บูชานั้นเก็บเอาไว้ติดตัวและใช้งานสำหรับปกป้องคุ้มครองตนให้ผลจากภัยต่างๆซึ่งพุทธคุณของแต่ละชิ้นนั้นเรียกได้ว่ามีความเป็นเลิศในหลายหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านเมตตามหานิยมหรือทางด้านมหาอุด มหาอำนาจรวมไปถึงแคล้วคลาดปลอดภัยก็ดี
เอกลักษณ์ของพระที่ท่านได้สร้างเอาไว้โดยส่วนใหญ่แล้วจะสังเกตได้ว่าเป็นพระเนื้อดินที่มีการนำไปผสมปนกับว่าน ซึ่งท่านจะนำเนื้อดินอาถรรพ์มาใช้ในการประกอบพิธีสร้างวัตถุมงคลต่างๆอันได้แก่ ดินจากเจ็ดป่าช้า , ดินโป่งเจ็ดโป่ง , และดินขุยซึ่งในทุกๆการสร้างพระนั้นจะมีการผสมดินเหล่านี้ลงไปในพระทุกๆพิมพ์ จากนั้นทางด้านหลังขององค์พระก็จะเห็นชัดเจนว่ามีชื่อของ “หลวงพ่อเต๋” ปรากฏอยู่และการกดเนื้อพระลึกพอสมควร ซึ่งสิ่งนี้คุณสามารถนำไปเป็นจุดสังเกตได้
เต็มอิ่มกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับเรื่องราวของ ประวัติความเป็นมาสุดยอดพระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อในการสร้างกุมารทอง “หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม” เมือง นครปฐม ! ที่ได้นำมาฝากกันไปเมื่อสักครู่นี้ อย่างไรก็ตามพวกเราทีมงานหวังอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะชื่นชอบกันนะคะแล้วก็มาพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไปสำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตลากันไปก่อนสวัสดีค่ะ