หากมีใครเอ่ยถึงนามของหลวงปู่ยิ้มแห่งวัดเจ้าเจ็ดในขึ้นมาแล้วล่ะก็ เชื่อว่าใครหลายคนจะต้องนึกถึงพระงบน้ำอ้อยกันขึ้นมาทันที เนื่องจากท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้สร้างตำนานของพระงบน้ำอ้อยกันเลยก็ว่าได้ และในวันนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติความเป็นมาพระเครื่องหายากแห่งเมืองกรุงเก่า “พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน” จ. พระนครศรีอยุธยา! ซึ่งแน่นอนว่านอกจากเราจะมาบอกถึงประวัติของหลวงปู่ยิ้มให้คุณได้ทราบแล้ว เรายังจะมาเล่าถึงที่มาของพระงบน้ำอ้อยให้คุณได้ทราบกันอีกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจนี้พร้อมๆกันได้เลย
ประวัติหลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ก่อนที่จะพาคุณไปทราบถึงความเป็นมาของพระงบน้ำอ้อยหลวงปู่ยิ้มแล้ว เราจะพาคุณมารู้จักกับประวัติคร่าวๆของหลวงปู่ยิ้มแห่งวัดเจ้าเจ็ดในกันเสียก่อน ซึ่งหลวงปู่ยิ้มนั้นเดิมทีท่านมีชื่อว่านายยิ้ม กระจ่าง ต้องเป็นชาวตำบลเจ้าเจ็ดซึ่งท่านเกิดที่ตำบลนี้ ซึ่งเป็นตำบลที่ตั้งอยู่ในอำเภอเสนาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา หลวงปู่ยิ้มท่านเป็นบุตรของนายอ่วม กระจ่าง และนางสุด กระจ่าง ท่านเกิดตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2418 ในวันเสาร์ที่ 15 เดือนพฤษภาคมซึ่งตรงกับปีกุล หลวงปู่ยิ้มมีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกันสามคนซึ่งพี่ชายคนแรกของท่านมีชื่อว่านายจาง กระจ่าง หลวงปู่ยิ้มเป็นบุตรคนที่สองและน้องชายของท่านชื่อว่านายโชติ กระจ่าง ครอบครัวของหลวงปู่ยิ้มนั้นมีอาชีพเป็นเกษตรกรโดยจะทำไร่ทำนา เหมือนครอบครัวชาวไทยทั่วไป และเมื่ออายุได้ 12 ปีหลวงปู่ยิ้มก็ได้มีโอกาสบวชเป็นสามเณรซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2430
ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2438 เมื่อหลวงปู่ยิ้มอายุได้ประมาณ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านก็เข้าอุปสมบทที่วัดเจ้าเจ็ดนอก ซึ่งพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ในครั้งนั้นให้กับท่านก็คือพระอาจารย์สิน แห่งวัดโพธิ์ พระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ก็คือพระอาจารย์จาด และพระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ก็คือพระอาจารย์สุ่น และท่านได้รับฉายาทางธรรมว่า “ สิริโชติ” เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วท่านก็ได้เริ่มศึกษาพระธรรมมาวินัยรวมถึงพระคัมภีร์เจ็ดตำนานและ 12 ตำนาน นอกจากนี้ท่านยังได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับในด้านลบผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ รวมถึงเขียนอักขระเลขยันต์จากพระอาจารย์ของท่านซึ่งก็คือพระอาจารย์จีนและพระอาจารย์จาด แห่งสำนักวัดเจ้าเจ็ดใน
ซึ่งพระอาจารย์ของท่านที่มีนามว่าพระอาจารย์จาดนั้นก็ได้สืบสานวิชาอาคมต่างๆมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงเก่า และพระอาจารย์จีนนั้นท่านคือผู้ถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านอักขระให้กับหลวงพ่อปานแห่งวัดบางนมโคในครั้งนั้นด้วยเช่นกัน และด้วยความตั้งใจและมุ่งมั่นในการเล่าเรียนจึงทำให้หลวงปู่ยิ้มสำเร็จวิชาจนแตกฉาน
ในช่วงเวลาต่อมาหลวงปู่ยิ้มมีโอกาสเข้าไปศึกษาร่ำเรียนที่วัดกระโดงทอง ซึ่งวัดแห่งนี้ได้มีหลวงพ่อบุญมีเป็นผู้ปกครอง ท่านเรียนวิชาเขียนยันต์นะจนสำเร็จ ซึ่งหลวงปู่ยิ้มมีความสามารถในการเขียนยันต์ผงทะลุแผ่นกระดานชนวนได้เรียกได้ว่าเป็นเรื่องราวที่สร้างความอัศจรรย์ให้กับครูผู้สอนและผู้คนในยุคนั้นอย่างมาก นอกจากนี้ท่านยังมีพระสหธรรมิก ที่เป็นศิษย์ร่วมครูบาอาจารย์เดียวกันซึ่งก็คือหลวงพ่อจงแห่งวัดหน้าต่างนอกแต่หลวงพ่อจงท่านก็มีอายุมากกว่าหลวงปู่ยิ้มประมาณสามปี และอีกรูปหนึ่งที่เป็นพระสหายธรรมิกก็คือหลวงพ่อปานแห่งวัดบางนมโคซึ่งท่านเกิดในช่วงปีเดียวกัน
ซึ่งผู้คนในสมัยก่อนนั้นได้มอบสมญานามให้กับท่านทั้งสามองว่า “สามเสือแห่งกรุงเก่า”ซึ่งท่านทั้งสามก็เป็นที่เคารพศรัทธาของเหล่าบรรดานักเรงในสมัยก่อนอย่างมาก ซึ่งสมญานามที่ชาวบ้านและญาติโยมมักจะคุ้นหูกันดีซึ่งผู้คนชาวพระนครศรีอยุธยาในยุคนั้นจะจำได้ดีก็คือ “ พระหมอหลวงพ่อปาน พระเกจิอาจารย์หลวงพ่อจง เมตตาใหลหลงหลวงพ่อยิ้ม” เนื่องจากท่านทั้งสามได้สร้างวัตถุมงคลที่เปี่ยมไปด้วยพุทธคุณสูงที่แรงกล้าอย่างมากซึ่งมีเรื่องเล่าอย่างมากหมายถึงวัตถุมงคลที่ท่านทั้งสามได้เคยสร้างเอาไว้และสำหรับวัตถุมงคลที่เป็นที่นิยมของหลวงปู่ยิ้มมากที่สุดก็คือพระงบน้ำอ้อยเนื้อดินเผาที่สร้างขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2475 และนี่คือวัตถุมงคลยอดนิยมที่ยังคงเป็นที่ถามถึงมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นพระเครื่องที่เราจะนำมาเล่าให้ฟังกันในครั้งนี้
ซึ่งอุปนิสัยส่วนตัวของหลวงปู่ยิ้มนั้นท่านเป็นบุคคลพูดน้อยใจเย็นและมีความเคร่งครัดต่อการปฎิบัติอย่างมาก มีความเมตตาธรรมสูง และมีวาจาสิทธิ์เป็นคนพูดคำไหนคำนั้นและไม่พูดมาก โดยส่วนใหญ่แล้วท่านจะพูดแต่สิ่งดีดีพูดเพียงคำสองคำก็ไม่พูดต่อ และหากท่านอบรมสั่งสอนใครครั้งสองครั้งแล้วยังไม่เลิกละหรือสอนไม่ได้ท่านก็จะไม่พูด อีกทั้งวัตถุมงคลต่างๆที่หลวงปู่ยิ้มท่านได้สร้างเอาไว้นั้นโดยส่วนใหญ่แล้วท่านมักจะนำเงินเพื่อไปทำนุบำรุงบูรณะปฏิสังขรณ์วัดและช่วยส่งเสริมพระพุทธศาสนา อยู่เสมอ เรียกได้ว่าทั้งชีวิตของหลวงปู่ยิ้มนั้นอุทิศตนให้กับพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2499 หลวงปู่ยิ้มท่านก็มรณภาพลงด้วยโรคชราและจากไปด้วยอาการสงบตรงกับปีวอก รวมสิริอายุได้ประมาณ 81 ปีและครองพรรษาได้ 61 พรรษา ซึ่งถึงแม้ว่าหลวงปู่ยิ้มท่านจะละสังขารไปกว่า 60 ปีแล้วแต่ท่านยังคงตราตรึงอยู่ในศรัทธาของผู้คนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างเราๆอยู่เสมอมิเสื่อมคลาย
ความเป็นมาพระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้มวัดเจ้าเจ็ดใน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เรียกได้ว่าเป็นวัตถุมงคลที่ค่อนข้างได้รับความนิยมมากสำหรับพระงบน้ำอ้อยหลวงปู่ยิ้ม มีการจัดสร้างขึ้นด้วยกันหลายพิมพ์ ซึ่งได้แก่พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ใหญ่ โดยส่วนมากแล้วจะเป็นพระเนื้อดินเผาที่มีลักษณะเป็นสีหม้อใหม่ ซึ่งจะสังเกตได้ว่าเป็นพระเนื้อดินที่มีความคล้ายคลึงและแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันกับพระเครื่องของหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางนมโคเนื่องจากท่านทั้งสองมีพระอาจารย์คนเดียวกัน
ถูกจัดสร้างขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2475 ซึ่งจุดประสงค์ในการสร้างพระงบน้ำอ้อยนี้ก็เพื่อ มอบให้เป็นที่ระลึกสำหรับญาติโยมที่มีจิตศรัทธาช่วยกันทำบุญบริจาคเงินในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและร่วมกันบริจาคเงินเพื่อบูรณะปฏิสังขรณ์วัด พุทธะลักษณะของพระงบน้ำอ้อยนี้จะเห็นได้ชัดว่ามีลักษณะเป็นทรงกลมและมีความใหญ่ประมาณเหรียญสิบบาทในปัจจุบัน ซึ่งมีกรรมวิธีการสร้างแบบโบราณตามตำราที่หลวงปู่ยิ้มท่านได้ศึกษามาจะสังเกตได้ว่าช่วงบริเวณด้านหลังขององค์พระนั้นจะมีลวดลายซึ่งเป็นรายที่มาจากไม้กระดาน
ซึ่งผู้คนก็มักจะเรียกกันว่ารอยกาบหมาก นั่นเป็นเพราะมีลักษณะคล้ายกับดาบของมาในสมัยโบราณอย่างมากนอกจากนี้ยังอาจมาจากการกดพิมพ์พระซึ่งในสมัยก่อนนั้นกรรมวิธีการทำจะกดพิมพ์พระด้วยแผ่นไม้กระดานจึงทำให้บริเวณของหลังองค์พระนั้นมีความขรุขระ ดังภาพด้านบนที่ปรากฏอยู่ที่เราได้นำมาเป็นตัวอย่างกันนี้ ซึ่งมีความโดดเด่นมากทางด้านพุทธคุณ ว่าเป็นเลิศในเรื่องเมตตามหานิยมคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาดปลอดภัยอย่างมาก
ซึ่งในปัจจุบันนี้ก็ยังคงมีผู้ถามถึงและเล่นหากันอยู่อย่างไม่ขาดสายและหากใครที่ชื่นชอบหรือต้องการมีไว้ในบูชาครอบครองจำเป็นจะต้องศึกษากันให้ดีถึงจุดสังเกต เนื่องจากเป็นที่ทราบกันดีว่าของแท้นั้นมี แต่ที่มีนั้นก็ปลอมกันมิใช่น้อย แล้วกลับมาพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไปนะคะสำหรับวันนี้พวกเราทีมงานต้องขอฝากเรื่องราว ประวัติความเป็นมาพระเครื่องหายากแห่งเมืองกรุงเก่า “พระงบน้ำอ้อย หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน” จ. พระนครศรีอยุธยา! กันไว้แต่เพียงเท่านี้ขอให้คุณโชคดีและมีสุขภาพที่แข็งแรงร่ำรวยเงินทองโชคลาภเข้าหานะคะ