ช่วงยุคสงครามอินโดจีน ประเทศไทยมีพระเกจิอาจารย์ที่คอยเป็นขวัญกำลังใจให้กับเหล่าบรรดาทหารและประชาชน พร้อมสร้างวัตถุมงคลเพื่อช่วยคุ้มครองจิตใจผู้คนให้มีชีวิตรอดตามความเชื่อ หนึ่งพระเกจิอาจารย์ย่านฝั่งธนฯที่มีผู้คนถามถึงมากในยุคนั้นที่ก็คือหลวงพ่อพริ้ง ซึ่งเราจะมาเล่าถึง ประวัติความเป็นมาพระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสงครามอินโดจีน “หลวงพ่อพริ้ง แห่ง วัดบางปะกอก” ฝั่งธนฯ ! ในครั้งนี้ให้คุณได้ทราบ และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับประวัติที่น่าสนใจของท่านกันเลยดีกว่า พร้อมทั้งที่มาของเหรียญพระหายากแห่งยุคด้วยเช่นกัน
ประวัติหลวงพ่อพริ้ง อินทโชติ แห่ง วัดบางปะกอก ฝั่งธนฯ
สำหรับประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อพริ้ง อินทโชติ หรือที่ใครหลายคนอาจจะเรียกว่าหลวงปู่พริ้งนั้น ท่านไม่ใช่พระเกจิอาจารย์ทั่วไปเพราะท่านคือพระอาจารย์ที่มีความสำคัญต่อเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังอย่างมากในช่วงยุคสมัยสงครามอินโดจีนหรือที่ทราบกันดีว่าในช่วงยุคสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ทั้งวัตถุมงคลที่หลวงพ่อท่านได้สร้างเอาไว้ก็ยังคงมีผู้คนถามถึงกันอยู่ในยุคปัจจุบันอย่างไม่ขาดสาย
เดิมทีท่านเป็นชาวจังหวัดกรุงเทพมหานคร ท่านเกิดที่ย่านฝั่งธนฯในเขตคลองสาน ในช่วงปีพ.ศ. 2412 และบางข้อมูลก็ได้ระบุว่าท่านเกิดช่วงปี 2413 ถ้ามีชื่อเดิมว่านายพริ้ง เอี่ยมทศ เป็นบุตรของนายเอี่ยม กับนางสุ่น เอี่ยมทศ ซึ่งหลวงพ่อท่านได้มีโอกาสบวชเป็นสามเณรตั้งแต่ในช่วงอายุเจ็ดขวบบวชครั้งแรกที่วัดราชสิทธารามหรือที่รู้จักกันดีในนามวัดพลับ ซึ่งในครั้งนั้นท่านได้มีโอกาสศึกษาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานแบบเบื้องต้นกับพระอาจารย์ของท่านซึ่งก็คือพระอาจารย์เมฆ(พระสังวรานุวงศ์ ) ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 10 ของวัดราชสิทธาราม
เมื่อเติบโตจนมีอายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านก็บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2435 ณ วัดทองนพคุณ ซึ่งพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านก็คือพระสุธรรมสังวรเถระ พระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ก็คือพระพุทธฺ และพระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ก็คือพระจนฺทโชโต และได้รับฉายาทางธรรมว่า “ อินทโชติ” เมื่อได้บวชเป็นพระแบบเต็มตัวแล้วหลวงพ่อท่านก็มีความสนใจในการศึกษาทางด้านวิปัสสนากรรมฐาน อีกทั้งยังมีความสามารถในการใช้ภาษาบาลีและภาษาไทยยังเชี่ยวชาญจนสำเร็จศึกษาอย่างแตกฉาน
นอกจากนี้ยังใช้เวลาในการฝึกฝนอย่างจริงจังจนมีความรู้ทางด้านพุทธาคมไปพร้อมๆกับการศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานควบคู่ไปด้วย ด้วยใจที่ใฝ่เรียนรู้จึงทำให้หลวงพ่อท่านมักจะออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์กับพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง เพื่อร่ำเรียนวิชาต่างๆจนมีความแก่กล้าและสิ่งนี้ทำให้ท่านมีวิชาติดตัวมากมาย ด้วยความเป็นเลิศด้านอภิญญาจึงทำให้ชื่อเสียงของท่านเริ่มถูกกล่าวขานในเวลาต่อมา และท่านได้นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมามาใช้ในการช่วยเหลือชาวบ้านในยุคนั้น โดยเฉพาะวิชาแพทย์แผนโบราณที่ท่านมีความเชี่ยวชาญอย่างมาก จึงไม่แปลกใจว่าทำไมจึงมีผู้คนเคารพศรัทธาท่านอย่างมากซึ่งนั่นก็เพราะความมีเมตตาธรรมสูง และมักจะช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากอยู่เสมอ
ถัดมาในช่วงปี 2438 หลวงปู่พริ้งก็ได้รับนิมนต์ให้มาจำวัดอยู่ที่วัดบางปะกอก ที่เขตราษฏร์บูรณะทางฝั่งธนฯ และเข้ารับตำแหน่งในช่วงปี 2470 ให้เป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดบางปะกอกนี้ ซึ่งโดยปกติแล้ววัดแห่งนี้จะมีพระภิกษุเพียงประมาณสองถึงสามองเท่านั้นที่จะจำพรรษาอยู่ ซึ่งเป็นวัดที่มีความเก่าแก่และค่อนข้างสุดโทรมอย่างมากจากการสันนิษฐานเมื่อช่วงปี 2460 ตั้งแต่ครั้งที่ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระอุโบสถว่าอาจเป็นวัดที่ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนต้นหรืออาจถูกสร้างก่อนในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาก็อาจเป็นไปได้ ซึ่งหากนับอายุก็น่าจะราวๆประมาณไม่ต่ำกว่า 300 ปี และหลังจากที่หลวงพ่อพริ้งทำได้ปกครองเป็นเจ้าอาวาสแล้วก็ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะที่มีความเก่าแก่ให้ดียิ่งขึ้นรวมถึงโบสถ์วิหารและกุฎิให้สามารถใช้งานได้และอยู่ในสภาพที่ดีขึ้น
ซึ่งในย่านบางปะกอกสมัยก่อนนั้นจะเต็มไปด้วยเหล่าบรรดานักเลงหัวไม้ทั้งหลาย ผู้คนดั้งเดิมจะเรียกกันว่าบางคี่ ซึ่งเป็นชื่อเรียกก่อนที่จะมาเป็นบางปะกอก และด้วยเหตุผลที่มีนักเลงเยอะจึงทำให้ญาติโยมที่พากันมาทำบุญจำเป็นต้องพกมีดพกไม้ติดตัวมาอยู่เสมอแต่เมื่อหลวงพ่อพริ้งท่านได้เป็นเจ้าอาวาสดูแลปกครองที่นี่ก็ทำให้เหล่าบรรดานักเกรงทั้งหลายเกรงกลัว และไม่ก่อความวุ่นวาย อีกทั้งหลายๆคนยังขอมอบตัวเป็นสิทธิ์ของหลวงพ่อท่านอีกด้วย หมุดบ้านของวัดบางปะกอกในช่วงสงครามอินโดจีนซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2480 ไปจนถึงปี 2485 นั้นเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สำคัญที่ผู้คนมักจะมาขอพึ่งพาในการหลบภัยเนื่องจากอยู่ใกล้กับอู่ต่อเรือของทหารญี่ปุ่นที่ในยุคนั้นพวกทหารญี่ปุ่นได้เข้ามารุกล้ำพื้นที่เพื่อสร้างฐานทัพในประเทศไทย ด้วยความมีเมตตาธรรมของหลวงพ่อท่าน ท่านก็มักจะให้ชาวบ้านเข้ามาหลบภัยอยู่เสมอจนทำให้เราบรรดาญาติโยมพากันเรียกท่านว่าหลวงปู่พริ้ง
ด้วยวิชาความรู้ที่ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนมากับพระอาจารย์ผู้แก่กล้าพุทธาคมหลากหลายท่าน รวมถึงการเคร่งครัดทางด้านปฏิบัติจนทำให้ท่านมีความเชี่ยวชาญและแตกฉานในความรู้ต่างๆ จนทำให้ผู้คนต่างเคารพศรัทธาอย่างมากมาย เคยมีเรื่องเล่าหนึ่งที่เล่ากันต่อๆมาว่า ต่อให้ระเบิดจากฝ่ายพันธมิตรที่มักจะโปรยลงมาทำลายความมั่นคงของฝั่งทหารญี่ปุ่นในละแวกนั้นมากเท่าใด ก็ตามแต่ก็ไม่เคยระเบิดมาถึงวัดบางปะกอกได้เลย และทุกคนที่เข้ามาขอหลบภัยในวัดแห่งนี้ก็มักจะปลอดภัยดีรวมถึงพระสงฆ์ในวัดด้วยเช่นกัน และเชื่อว่าหลวงพ่อท่านได้ทำพิธีปัดเป่าให้บริเวณวัดบางปะกอกและบริเวณใกล้เคียงรอดพ้นจากลูกหลงของระเบิดทั้งหลาย
นอกจากประชาชนทั้งฝั่งธนฯจะให้ความเคารพศรัทธาแล้วท่านยังเป็นที่เคารพศรัทธาของเจ้านายที่มีเชื้อพระวงศ์ด้วยเช่นกันโดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ทหารเรือในยุคสมัยนั้นและเกียรติคุณต่างๆของท่านยังทำให้ “พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์” มาขอเป็นศิษย์กับท่านด้วยเช่นกัน ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2479 หลวงพ่อพริ้งหรือหลวงปู่พริ้งที่ใครหลายคนเคารพศรัทธาก็ได้ถูกแต่งตั้งให้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูประศาสน์สิกขกิจ
และถัดมาในช่วงปี 2490 ซึ่งตรงกับวันที่ 17 เดือนสิงหาคมในวันนั้นหลวงพ่อพริ้งท่านได้กล่าวให้ลูกศิษย์ของท่านช่วยประคองให้ท่านลุกนั่ง จากนั้นท่านก็ได้ประสานมือของท่านให้อยู่ในท่าทำสมาธิ และจากนั้นท่านก็ได้มรณภาพลงโดยไปอย่างสงบภายในช่วงเวลาไม่นานหลังจากอยู่ในท่านั่งสมาธินั้น รวมสิริอายุได้ 78 ปี และถึงแม้ว่าเป็นช่วงเวลาหลาย 10 ปีในการจากไปของหลวงพ่อพริ้งก็เชื่อว่ายังคงมีลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพศรัทธายังคงระลึกถึงท่านอยู่เสมออย่างไม่เสื่อมคลาย
ขอฝากเรื่องราว ประวัติความเป็นมาพระเกจิอาจารย์ผู้เลื่องชื่อแห่งยุคสงครามอินโดจีน “หลวงพ่อพริ้ง แห่ง วัดบางปะกอก” ฝั่งธนฯ ! กันไว้แต่เพียงเท่านี้แล้วพบกันใหม่กับบทความในครั้งต่อไป สำหรับครั้งนี้ต้องขอขอบคุณในทุกๆการติดตามอ่านจากท่านผู้อ่านทุกๆท่านอย่างเสมอมา หากมีสิ่งใดผิดพลาดต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้อย่างสูง หากคุณชื่นชอบเรื่องราวนี้ก็สามารถส่งต่อให้กับเพื่อนๆของคุณได้เช่นกัน ขอให้คุณโชคดีและมีสุขภาพที่แข็งแรงค่ะ