ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน “ แห่งจ.สุพรรณบุรี ! 

จัดอันดับพระเครื่อง

หัวข้อ

ได้รู้จักพระเกจิอาจารย์ชื่อดังกันก็อย่างมากมายจากหลายหลายทางทั่วประเทศกันแล้วในครั้งนี้เราจะพาคุณมารู้จักกับ ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน “ แห่งจ.สุพรรณบุรี !  กันบ้าง ซึ่งสำหรับคนที่ชื่นชอบและนิยมสะสมพระเครื่องมักจะทราบกันดีว่าวัตถุมงคลของท่านค่อนข้างหายาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพระพิมพ์ซุ้มกอ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ครั้งนี้พวกเราได้รวบรวมประวัติที่น่าสนใจของท่านมาฝากและถึงแม้ว่าท่านจะได้มรณภาพไปนานแล้ว แต่ก็ยังคงมีผู้ที่เคารพศรัทธาหลวงพ่อโหน่งอย่างไม่เสื่อมคลายเช่นกัน และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราจะพาคุณไปพบกับรายละเอียดที่น่าสนใจดังต่อไปนี้

ประวัติของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน แห่งจังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน “ แห่งจ.สุพรรณบุรี ! 

สำหรับหลวงพ่อโหน่งนั้นเดิมทีท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2408 ซึ่งตรงกับปีขาล (ซึ่งเป็นยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือรัชกาลที่ส4) ซึ่งท่านได้เป็นคนชาวจังหวัดสุพรรณบุรีโดยกำเนิด ท่านเกิดที่ตำบลต้นตาลซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอสองพี่น้องของจังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย เป็นบุตรของนางจ้อย โตงามและเป็นบุตรชายของนายโต โตงาม และท่านก็ได้มีพี่น้องร่วมสายเลือดด้วยกันทั้งหมดจำนวนเก้าคนซึ่งหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านเป็นบุตรคนที่สองของบิดามารดา

ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2433 ท่านได้มีอายุ 24 ปี ก็ได้เข้าอุปสมบทที่จังหวัดสุพรรณบุรี ณ วัดสองพี่น้อง โดยในครั้งนั้นพระอุปัชฌาย์ของท่านก็คือพระอธิการจันทร์ ซึ่งในขณะนั้นท่านเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดทุ่งคอก และมีพระกรรมวาจาจารย์คือพระอาจารย์ดิษฐ์  และพระผู้เป็นพระอนุสาวนาจารย์ก็คือพระอธิการสุต ซึ่งท่านได้รับฉายาว่า “อินทสุวัณโณ” จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ใครหลายคนรู้จักท่านในนามว่าหลวงพ่อโหน่ง อินทสุวัณโณ นั่นเอง สำหรับความหมายของฉายาท่านก็คือ ผู้ที่มีผิวกายประดุจพระอินทร์ 

หลวงพ่อโหน่งถือเป็นพระที่มีความเคร่งครัดในจริยวัฒน์อย่างมากท่านเป็นพระผู้ไม่ฉันเนื้อสัตว์ และทำมาตลอดตั้งแต่ที่ท่านได้เริ่มบวช เมื่อได้เข้าบวชแล้วหลวงพ่อโหน่งได้จำพรรษาอยู่ณวัดทุ่งคอกเป็นระยะเวลา 2พรรษาและได้จำพรรษาอยู่ที่วัดสองพี่น้องเป็นระยะเวลา 7 พรรษา หลวงพ่อโหน่งนั้นท่านเป็นพระผู้ที่มีจิตใจฝักใฝ่ในทางธรรมรักในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับทางด้านพระธรรมอย่างมากมีความตั้งอกตั้งใจศึกษาเล่าเรียนดีจนมีความแตกฉานและเชี่ยวชาญในวิชาความรู้ เมื่อบวชแล้วก็ได้ออกเดินธุดงค์แม้ว่าเส้นทางที่ออกเดินทางนั้นจะยากลำบากเพียงใดแต่หลวงพ่อโหน่งก็ไม่เคยย่อท้อ และยังคงฝึกปฏิบัติอยู่เสมอและที่สำคัญคือท่านยังคงปฏิบัติอย่างเคร่งครัด 

เมื่อหลวงพ่อหนูออกเดินธุดงค์

ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน “ แห่งจ.สุพรรณบุรี ! 

เมื่อออกเดินธุดงค์ท่านก็ได้พบกับหลวงพ่อเนียมจากนั้นก็จะทำการฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเนียมนั้นท่านจำพรรษาอยู่ณวัดน้อยแห่งอำเภอบางปลาม้าของจังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งหลวงพ่อเนียมนั้นถือเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งยุคและเป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในจังหวัดสุพรรณบุรี ต่อมาในระหว่างที่หลวงพ่อโหน่งท่านยังคงศึกษาอยู่กับหลวงพ่อเนียมนั่น ท่านก็ได้รู้จักกับหลวงพ่อปานแห่งวัดบางนมโคซึ่งท่านเป็นพระ จากเมืองพระนครศรีอยุธยา ซึ่งหลวงพ่อปานก็ได้มาทำการฝากตัวขอเป็นลูกศิษย์กับหลวงพ่อเนียมในครั้งนั้นชิดกัน และหลวงพ่อโหน่งนั้นเป็นศิษย์รุ่นพี่ของหลวงพ่อปาน 

และแน่นอนว่าหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านมีความรู้ทางด้านธรรมวินัยที่กลิ่นกล้าและแตกฉานทางด้านวิทยาการต่างๆจนกลายเป็นที่ยอมรับของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังที่เราอาจเคยได้ยินหลายรูป หลังจากที่ได้ศึกษาเล่าเรียนทางทำและด้านวิทยาคมต่างๆจากหลวงพ่อเนียมแล้วหลวงพ่อโหน่งก็ได้ทำการเดินทางกลับมาจำพรรษาณวัดสองพี่น้อง ต่อมาหลังจากที่ได้ศึกษาเล่าเรียนจนได้รับความรู้อย่างแตกฉานและฝึกปฏิบัติอย่างเก่งกล้าก็ได้ทำการออกเดินธุดงค์และทำให้ใครหลายคนในยุคนั้นได้ทราบถึงชื่อเสียงทางด้านความเชี่ยวชาญในเรื่องวิทยาคมและวิปัสสนากรรมฐานของท่าน 

เมื่อกลับมายังจังหวัดสุพรรณบุรีก็ได้มาจำพรรษาอยู่ณวัดสองพี่น้อง ต่อมาไม่นานชื่อเสียงของท่านก็ทำให้ใครหลายคนในจังหวัดสุพรรณบุรีได้รู้จักแม้กระทั่งหลวงพ่อแสงภู่เป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดคลองมะดันซึ่งตั้งอยู่ในอำเภอสองพี่น้องนั่นเอง ซึ่งหลวงพ่อแสงนั้นท่านก็เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงและมีความเก่งกล้าทางด้านวิทยาคมเช่นกัน เมื่อได้ล่วงรู้ว่าหลวงพ่อโหน่งกลับมาอยู่ณจังหวัดสุพรรณบุรีแล้วก็ได้เดินทางมาหาเพื่อสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางด้านธรรมะ และพบปะกันอยู่บ่อยครั้งจากนั้นหลวงพ่อแสงก็ได้เชิญให้หลวงพ่อโหน่งมาจำพรรษาอยู่ด้วยกันณวัดคลองมะดัน ซึ่งหลวงพ่อโหน่งก็ได้ตอบกลับไปอย่างเต็มใจ

ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน “ แห่งจ.สุพรรณบุรี ! 

ต่อจากนั้นไม่นานในช่วงปีพ.ศ. 2454 หลวงพ่อแสงท่านก็ได้มรณภาพไป จึงทำให้หลวงพ่อโหน่งได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสแห่งวัดคลองมะดันสืบต่อ เมื่อหลวงพ่อโหน่งได้เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้วท่านก็ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์สร้างกุฎิรวมไปถึงพระวิหารต่างๆ ให้มีความเจริญรุ่งเรืองยิ่งขึ้นรวมไปถึงได้มีการสร้างศาลาการเปรียญ ในช่วงที่หลวงพ่อโหน่งเป็นเจ้าอาวาสแห่งวัดคลองมะดันเรียกได้ว่าวัดแห่งนี้ก็เป็นที่เชิดหน้าชูตาของจังหวัดสุพรรณบุรีไม่น้อยและนำพาให้วัดมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง ซึ่งใครๆก็รู้จัก และมักจะมาทำบุญอยู่เสมอ

 ซึ่งในระหว่างที่หลวงพ่อโหน่งยังคงมีชีวิตอยู่นั้นท่านก็ได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้อย่างมากมายและในบางอย่างยังคงมีชื่อเสียงมาจนถึงในปัจจุบันซึ่งแน่นอนว่าเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลายย่อมยังคงต้องการมีไว้ในบูชาครอบครองกันอย่างไม่หยุดหย่อนซึ่ง พระที่ค่อนข้างได้รับความนิยมอย่างมากและมีคนถามถึงอย่างไม่ขาดสายก็คือพระพิมพ์ซุ้มกอ และต่อมาในช่วงปี 2477 หลวงพ่อโหน่งท่านก็ได้มรณภาพลงด้วย สิริอายุครบ 69 ปีและครองพรรษานานถึง46 พรรษา

วัตถุมงคลของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน จังหวัดสุพรรณบุรี

ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน “ แห่งจ.สุพรรณบุรี ! 

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในสมัยที่หลวงพ่อโหน่งยังมีชีวิตอยู่นั้นท่านได้สร้างวัตถุมงคลเอาไว้อย่างมากมายและค่อนข้างมีหลายวัตถุมงคลที่ยังคงเป็นที่นิยมกันอย่างเสมอมา ซึ่งวัตถุมงคลที่ค่อนข้างได้รับความนิยมสูงก็ได้แก่พระพิมพ์ดินเผา ซึ่งเอกลักษณ์ของพระพิมพ์ดินเผานั้นจะมีลักษณะหยาบและละเอียดปะปนกันออกไปมีทั้งพักเครื่องและพระหมู่บูชาและท่านได้จัดสร้างด้วยกันหลากหลายพิมพ์ได้แก่ พระพิมพ์ขุนแผนพระพิมพ์ลีลารักพิมพ์ซุ้มกอ , พระพิมพ์งบน้ำอ้อย , พระพิมพ์กีบบัว , พระพิมพ์, พระเจ้าห้าพระองค์ , พระพิมพ์หน้าปก, พระพิมพ์พระปิดตา, พระพิมพ์ปรุหนัง, พระพิมพ์กำแพงศอก, พระพิมพ์ปางไสยาสน์ และพระในพิมพ์อื่นๆอีกมากมายที่เราอาจจะยังไม่ได้กล่าวถึง แต่พระที่มักจะมีผู้คนกล่าวถึงและยังคงได้รับความนิยมอยู่เสมอมาก็คือพระซุ้มกอตามที่เราได้กล่าวเอาไว้ตั้งแต่เบื้องต้นซึ่งพระพิมพ์นี้ จะมีทั้งพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ซึ่งสภาพและค่านิยมก็ค่อนข้างจะแตกต่างกันออกไป

เหตุที่ค่อนข้างได้รับความนิยมสูงเนื่องจากมีพุททะคุณที่ค่อนข้างสูงและมีความโดดเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันแคล้วคลาดปลอดภัยรวมไปถึงทางด้านเมตตามหานิยมเป็นส่วนใหญ่ โดยเชื่อกันว่าหากใครได้มีเอาไว้ในบูชาครอบครองจะยิ่งช่วยส่งเสริมลาภยศทำให้มีผู้คนสรรเสริญและมีความแคล้วคลาดปลอดภัยจากภัยทั้งปวงได้ แต่ในปัจจุบันก็ไม่ได้เป็นพระที่หาชมกันได้ง่ายๆ เนื่องจากมีพระปลอมเผยแพร่ในปัจจุบันก็ไม่น้อยดังนั้นหากคุณต้องการบูชาพระเครื่องพิมพ์ซุ้มกอก็ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือบูชาจากร้านวัตถุมงคลที่เชื่อถือได้จะเป็นการดีที่สุดและอีกหนึ่งสิ่งที่คุณควรทราบคือพุทธะลักษณะขององค์พระตามเดิมว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร ทั้งนี้เพื่อเป็นการช่วยทำให้คุณสามารถเปรียบเทียบพระแท้และพระปลอมได้มากยิ่งขึ้น

ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน “ แห่งจ.สุพรรณบุรี ! 

ต้องขอฝากเรื่องราวของกันไว้แต่เพียงเท่านี้แล้วพบกันใหม่กับเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของ “หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน “ แห่งจ.สุพรรณบุรี ! ที่เกี่ยวกับพระเครื่องจากพวกเราที่นี่ได้ในบทความครั้งต่อไปนะคะสำหรับวันนี้ขอให้คุณโชคดีและมีความสุขมากๆค่ะ

Poster 24
Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการพระเครื่องในประเทศไทย

Facebook
Twitter