เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าหลวงปู่โต๊ะท่านได้สร้างเครื่องรางของขลังที่มีความศักดิ์สิทธิ์เอาไว้มากมายไม่ว่าจะเป็นพระเครื่องหรือเหรียญพระต่างๆและในครั้งนี้เราจะมาบอกถึง ประวัติความเป็นมาของ “พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) แห่ง วัดประดู่ฉิมพลี” ! ซึ่งเราเชื่อว่าอาจมีใครหลายคนที่ยังไม่รู้จัก และทราบถึงประวัติความเป็นมาโดยละเอียด จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ครั้งนี้พวกเราทีมงานได้นำเรื่องราวมานำเสนอกันในวันนี้ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราจะพาคุณไปพบกับสิ่งที่น่าสนใจกันเลย
ประวัติหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
กล่องเพื่อจะกล่าวถึงพระเครื่องของท่านนั้น ต้องขออนุญาตกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโต๊ะกันอย่างละเอียดให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันเสียก่อน สำหรับพระราชสังวราภิมณฑ์ หรือที่ใครหลายคนมักจะเรียกกันว่าหลวงปู่โต๊ะนั้น เดิมทีท่านเป็นชาวจังหวัดสมุทรสงคราม มีบิดาชื่อนายพลอยรัตนคอนและมีมารดาชื่อนางทับ รัตนคอน ฉันเกิดเราราวปีพ.ศ. 2430 เมื่อวันที่ 27 มีนาคมซึ่งเป็นยุคของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ห้า) มีพี่น้องร่วมสายเลือดสองคน ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้ถึงแก่กรรมหลวงปู่โต๊ะจึงกลายเป็นบุตรชายคนเดียวของในพลอยกับนางทับ
หลวงปู่โต๊ะหรือเด็กชายโต๊ะได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดเกาะแก้วซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดสมุทรสงครามซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่าน หลังจากที่มารดาของหลวงปู่โต๊ะได้เสียชีวิตไปพระภิกษุแก้วท่านก็ได้เห็นความพยายามของหลวงปู่โต๊ะที่มีจิตใจไฟเรียนจึงได้ทำการฝากให้หลวงปู่โต๊ะนั้นได้ไปอยู่กับพระอธิการสุข ซึ่งในขณะนั้นได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลี
จากนั้นหลวงปู่โต๊ะก็ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนอยู่ที่วัดประดู่ฉิมพลี เมื่ออยู่ได้มาเป็นเวลาสี่ปีแล้ว ก็เข้าบรรพชาเป็นสามเณร ซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2447 ซึ่งในขนาดนั้นหลวงปู่โต๊ะท่านมีอายุได้ประมาณ 17 ปี ซึ่งการเข้าบันประชาในครั้งนั้นพระอุปัชฌาย์ของท่านก็คือพระอธิการสุข และเมื่อหลวงปู่โต๊ะบวชเป็นสามเณรได้หนึ่งวันพระอธิการสุขก็มรณภาพ
หลังจากที่พระอธิการศุขมรณภาพลง ญาติของท่านชื่อในคล้ายและนาง พัน ซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายกับพี่สะใภ้ของท่านก็ได้อุปการะหลวงปู่โต๊ะต่อมา หลวงปู่โต๊ะมีความตั้งใจและในการศึกษาพระธรรมมาวินัยอย่างมากมีจิตใจฝักใฝ่ทางธรรม อีกทั้งทั้งยังมีความเคร่งครัดต่อการปฎิบัติ และเมื่ออายุครบ 20 ปีหลวงปู่โต๊ะก็เลยเข้าพิธีอุปสมบทบวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งพิธีอุปสมบทนั้นตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2450 ในวันที่ 16 กรกฎาคม ณวัดประดู่ฉิมพลี โดยมีพระอุปัชฌาย์คือพระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) แห่ง วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ , มีพระพระกรรมวาจาจารย์คือพระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) แห่ง วัดนวลนรดิศ และมีพระอนุสาวนาจารย์คือ พระครูธรรมวิรัต (เชย) แห่งวัดกำแพง และฉายาของหลวงปู่โต๊ะก็คือ อินทสุวัณโณ
เมื่อได้บวชเป็นพระแล้วหลวงปู่โต๊ะก็ได้ตั้งจัยศึกษาปฏิบัติคันทธุระและเคร่งครัดต่อการฝึกปฏิบัติวิปัสสนาธุระอย่างมาก หลวงปู่โต๊ะเป็นผู้ที่เคร่งครัดในการปฏิบัติมีความเพียรและมานะในการศึกษาซึ่งท่านมีจิตใจไฟหาความรู้อยู่เสมอและในที่สุดหลวงปู่โต๊ะก็สอบได้นักธรรมชั้นตรี เมื่อพระอธิการคำ(ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น) ได้มรณภาพลง ทางคณะสงฆ์ก็ได้นิมนต์และแต่งตั้งให้หลวงปู่โต๊ะ ได้เป็นจะอาวาสแห่งวัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2456 ในวันที่ 10 กรกฎาคม
หลวงปู่โต๊ะได้ออกเดินธุดงค์หลังจากบวชไปทั่วประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ท่านก็เดินธุดงค์ไปแทบทุกที่ ฉันยังได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติทำจากหลวงพ่อรุ่งวัดท่ากระบือ ทั้งยังได้ฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงพ่อโหน่ง แห่งวัดคลองมะดัน และร่ำเรียนวิชาทางพุทธาคมจนมีความเชี่ยวชาญเก่งกล้า และหลวงปู่โต๊ะท่านก็ยังได้ศึกษาทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงพ่อชุ่ม แห่งวัดราชสิทธารามด้วยเช่นกัน และยังเล่าเรียนอีกหลากหลายวิชากลับพระเกจิชื่อดังแห่งยุคหลายท่าน และหลังจากเดินทางธุดงค์ไปตามจังหวัดต่างๆแล้วหลวงปู่โต๊ะก็ได้กลับมายังวัดประดู่ฉิมพลีและได้ทำการสร้างพระพุทธบาทจำลองเอาไว้ และได้มรณภาพลงในช่วงปีพ.ศ. 2524 โดยมีสิริอายุรวม 94 ปี
พระเครื่องของ “พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)”
หลวงปู่โต๊ะนั้นในสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ได้สร้างพระเอาไว้มากมายและพระรุ่นแรกที่ท่านได้สร้างเกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2468 ซึ่งเป็นพระเนื้อผงรุ่นแรกในครั้งนั้นได้สร้างขึ้นด้วยกันทั้งหมด 13 พิมพ์ ซึ่งเป็นพระที่หลวงปู่โต๊ะได้สร้างอย่างตั้งใจและได้ทำการปลุกเสกด้วยตนเองมีความครั้งอย่างมากและมีชื่อเสียงเลื่องลือสุดๆ การสร้างพระของหลวงปู่โต๊ะนั้นหลวงปู่โต๊ะจะใช้วัดถูกมงคลเพื่อความขลังอีกทั้งยังมีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยอาถรรพ์เวชต่างๆที่ท่านได้ร่ำเรียนมา หลวงปู่โต๊ะมีความชำนาญทางด้านพุทธาคมและมีวิชาอีกมากมายท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญและเป็นผู้มีอภิญญาสูง
การสร้างพระเนื้อผงนั้นหลวงปู่ท่านจะนำผงพุทธคุณมาผสมกับผงอิทธิเจผงมหาราชรวมถึงใช้ผงตรีนิสิงเหด้วย ซึ่งเป็นการสร้างพระตามตำราโบราณหลวงปู่โต๊ะจะสร้างด้วยมือ ที่เมื่อเขียนเสร็จแล้วก็จะทำการลบหลังจากทำพิธีสร้างพระจบเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นพระเครื่องที่หลวงปู่โต๊ะท่านจะนำมาแช่น้ำมนต์ซึ่งเป็นน้ำมนต์ที่อยู่ในตุ่มปังก่อนจากนั้นหลวงปู่โต๊ะก็จะทำการเสกไปตลอดทั้งพรรษา เมื่อทำการเสกและอธิฐานจิตเรียบร้อยหมดแล้วจึงจะนำมาแจกลูกศิษย์ซึ่งแล้วแต่โอกาสต่างๆ ด้วยเหตุนี้ผู้คนจึงเรียกกันว่า “รุ่นแช่น้ำมนต์”
มีอยู่ด้วยกันหลายพิมพ์ซึ่งได้แก่พระสมเด็จพิมพ์เจ็ดชั้น,พระพิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว, พระสมเด็จพิมพ์โพธิ์8, พระสมเด็จพิมพ์ขาโต๊ะ , พระพิมพ์แหวกม่าน พระพิมพ์ซุ้มประตู พระพิมพ์หยดนํ้า พระพิมพ์กลีบบัว พระพิมพ์กลีบบัวตัด ,พระพิมพ์พระคง เป็นต้นแต่ก็ยังมีพิมพ์อื่นนอกจากนี้ ทั้งยังมีพระเครื่องอีกหลายรุ่นของท่านที่เราบรรดานักนิยมสะสมต่างพยายามเสาะแสวงหาเอามาไว้ในบูชาครอบครองกันเป็นอย่างมากซึ่งรุ่นยอดนิยมที่คนส่วนใหญ่มักถามหาก็คือ พระปิดตารุ่นปลดหนี้, พระปิดตาจัมโบ้, พระหลวงปู่โต๊ะพระสังกัจจายน์เนื้อเกสร ปี 2520 เนื้อผง แต่สำหรับพระที่ค่อนข้างมีชื่อเสียง ที่ใครๆก็มักจะถามหากันอยู่เสมอนั่นก็คือพระปิดตามหาลาภรุ่นปลดหนี้ กับ พระปิดตามหาลาภจัมโบ้หนึ่ง และในวันนี้เราก็ได้นำตัวอย่างของพระบางองค์มาฝากกัน
พระเนื้อผง “พิมพ์สังกัจจายน์” หลวงปู่โต๊ะ
สำหรับพระเนื้อผงรุ่นนี้ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2520 เป็นเนื้อผงใบลานผู้สร้างก็คือหลวงปู่โต๊ะ แห่ง วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งพิมพ์นี้ถูกจัดสร้างขึ้นสำหรับเป็นพระของชุดกรรมการที่ทางวัดได้จัดสร้างขึ้นมีด้วยกันในรูปแบบเป็นกล่องใหญ่มีสี่องค์ อันประกอบไปด้วย พระสังกัจจายน์ พระปิดตาตุ๊กตาเล็ก, พระปิดตาตุ๊กตาใหญ่ ,และพระปิดตาเงินล้าน มีเป็นเนื้อใบลานและเนื้อเกษรซึ่งการสร้างในครั้งนั้นค่อนข้างมีจำนวนน้อย โดยมีจำนวนรวมกันเพียงประมาณ 3000 องค์ แต่เนื้อที่หายากมากที่สุดก็คือเนื้อเกษร
จึงมีคำร่ำลือกันว่ามีพุทธคุณสูง ซึ่งพุทธคุณของพระองนี้ค่อนข้างมีความโดดเด่นทางด้านหน้าที่การงาน มีความเชื่อกันว่าหากใครได้ครอบครองไว้ในบูชาก็มักจะประสพความสำเร็จทางด้านหน้าที่การงานได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่งอีกทั้งหากใครทำมาค้าขายก็จะยิ่งขายดีเป็นเทน้ำเทท่า มีคนรักคนชอบมีผู้ใหญ่เอ็นดูเมตตามีลูกค้ามีชื่อเสียง
สำหรับวันนี้พวกเราทีมงานต้องขอฝากเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของ “พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ) แห่ง วัดประดู่ฉิมพลี” ! กันไว้แต่เพียงเท่านี้แล้วกลับมาพบกับพวกเราได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไปนะคะสำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ