หากถามถึงพระเก่าตั้งแต่ในช่วงยุคปี 2400 ก็มีอยู่ด้วยกันไม่ค่อยมากนักและหนึ่งในนั้นก็คือพระเครื่องหลวงพ่อวัดบ้านแหลมทีหลังจะมาบอกเล่าถึง ประวัติความเป็นมาของ พระ “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม รุ่นแรก ปี 2460” พระล้ำค่าแห่งเมืองสมุทรสงคราม! ให้คุณได้ทราบกันในครั้งนี้เพราะเราเชื่อว่ายังคงมีใครอีกหลายคนที่ต้องการทราบถึงความเป็นมาหรือละเอียดและในครั้งนี้เราก็ได้รวบรวมข้อมูลมาฝากคุณกันไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาหากอยากทราบกันแล้วว่าที่มาที่ไปจะเป็นอย่างไรบ้างต้องอย่ารอช้าค่ะเรามาพบกับรายละเอียดไปพร้อมๆกันได้เลยดังต่อไปนี้
ตำนานพระพุทธรูปหลวงพ่อบ้านแหลม
สำหรับท่านใดที่ยังไม่ทราบว่าพระหลวงพ่อบ้านแหลมนั้นเป็นเพราะอะไรก่อนอื่นเราต้องขออธิบายว่าพระหลวงพ่อบ้านแหลมนั้นก็คือพระพุทธรูปที่อยู่ในปางอุ้มบาตรและยืนซึ่งมีความสูงที่มากถึง 2 เมตรกับอีก 80 เซนติเมตรซึ่งเป็นพระที่ได้ถูกหล่อด้วยทองเหลืองจากนั้นก็มีการปิดด้วยทอง ในปัจจุบันนั้นได้ประดิษฐานอยู่ในวัดเพชรสมุทรวรวิหาร หรือที่ใครหลายคนมักจะรู้จักกันดีในชื่อว่าวัดบ้านแหลมและถูกตั้งอยู่ในพระอุโบสถของวัดแห่งนี้ เป็นหนึ่งในพระที่มีความสำคัญต่อผู้คนชาวจังหวัดสมุทรสงครามและชาวแม่กลองอย่างมากซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ผู้คนต่างเคารพบูชา
ได้มีเรื่องเล่าขานต่อๆกันมาว่าหลวงพ่อบ้านแหลมนั้นค่อนข้างมีความสำพันธ์ที่สอดคล้องกับตำนานของหลวงพ่อโสธรแห่งเมืองฉะเชิงเทรา ที่ใครหลายคนรู้จักกันดี ซึ่งใดเพิ่มเติมจำนวนของพระพุทธรูปเป็นห้าองจากเดิมที่มีอยู่ จำนวนสามองค์ จากเรื่องเล่าของคนโบราณที่ได้เล่าขานต่อๆกันมากล่าวว่ามีพระพุทธรูปลอยน้ำมาจากเมืองทางภาคเหนือถึงห้าองและเมื่อมาถึงยังภาคกลาง พระพุทธรูปทั้งห้านั้นก็ถูกแยกย้ายไปประดิษฐานในจังหวัดต่างๆซึ่งนับรวมกันได้ราวๆ ห้าจังหวัด
สำหรับองค์แรกที่ได้ลอยน้ำมาก็คือพระหลวงพ่อโสธรที่ในปัจจุบันถูกตั้งอยู่ณวัดโสธรวนารามวรวิหารในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งตามตำนานได้เล่าว่าพระพุทธรูปองนี้ได้ลอยมาจากแม่น้ำบางปะกง, องที่สองมีชื่อว่าพระหลวงพ่อวัดไร่ขิงซึ่งในปัจจุบันได้ตั้งอยู่ ณ วัดไร่ขิง เมืองนครไชยศรี ที่อำเภอสามพรานในจังหวัดนครปฐม ซึ่งตามตำนานได้เล่าว่าพระองนี้ได้ลอยมาจากแม่น้ำนครชัยศรี, ส่วนพระองค์ที่สามมีชื่อว่า “พระหลวงพ่อโต” ซึ่งได้ลอยน้ำมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา และในปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ที่วัดพลับพลาชัยชนะสงคราม ในอำเภอบางพลีที่จังหวัดสมุทรปราการ , สำหรับพระองค์ที่สี่นั้นมีชื่อว่าพระหลวงพ่อบ้านแหลมซึ่งลอยมาจากแม่น้ำแม่กลองซึ่งในปัจจุบันนั้นได้ประดิษฐานอยู่ณวัดเพชรสมุทรวรวิหารที่อำเภอแม่กองปัจจุบันอยู่ในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่เรากำลังกล่าวถึงกันในบทความนี้ และสำหรับพระองค์ที่ห้าคือพระหลวงพ่อเขาตักเราซึ่งในปัจจุบันได้ประดิษฐานอยู่ณวัดเขาตะเคราในจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งตามตำนานได้กล่าวว่าพระองนี้ได้ลอยมาจากแม่น้ำเพชรบุรี
การพบเห็นพระพุทธรูปวัดบ้านแหลม
และสำหรับบางตำนานที่ได้กล่าวถึงพระพุทธรูปหลวงพ่อบ้านแหลมนั้นเล่ากันว่าย้อนไปเมื่อช่วงปีพ.ศ. 2307 มีชาวบ้านที่ได้ย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากอยู่นั้นพบเห็น เหตุที่ได้พบเพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านทำอาชีพเป็นชาวประมงจึงมักออกไปรับกวนปลาตามปากแม่น้ำในอำเภอแม่กองจากนั้น เมื่อถึงเวลาลากอวนก็ได้พบกับพระพุทธรูปที่พบเจอในครั้งนั้นมีด้วยกันถึงสององค์ องค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในปางนั่ง และอีกองค์หนึ่งเป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในปางอุ้มบาตรอยู่ในลักษณะยืน ชาวบ้านจึงได้พากันทำวิธีและอาราธนาพระพุทธรูปดังกล่าวให้ประดิษฐานณวัดศรีจำปา วัดแห่งนี้คือวัดที่มีความเก่าแก่มากในสมัยนั้นและเรียกได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในเมืองแม่กองเลยก็ว่าได้ และได้ทำการมอบพระพุทธรูปที่อยู่ในปางนั่งให้กับญาติพี่น้องจากนั้นพวกเขาก็อาราธนาเพื่อให้ไปประดิษฐานอยู่ณวัดเขาตระเคราที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเพชรบุรีในปัจจุบัน
ประวัติการสร้าง “เหรียญหลวงพ่อวัดบ้านแหลมปี 2460”
เหรียญพระหลวงพ่อวัดบ้านแหลมนั้นเรียกได้ว่าเป็นพระที่มีศิลปะที่บ่งบอกถึงความเป็นสุโขทัยและอยุธยาอย่างมากมีการผสมผสานอย่างเห็นได้ชัดเจน และวัดบ้านแหลมนั้นได้ทำการจัดสร้างวัตถุมงคลออกมาอย่างมากมายหลายรุ่นหลายแบบและทำอย่างต่อเนื่องและในปัจจุบันก็ยังคงเป็นที่ต้องการกันอย่างมากมายสำหรับเรากลุ่มของผู้นิยมสะสม
สำหรับเหรียญปั๊มนี้เป็นเหรียญปั๊มรุ่นแรกที่ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงปี 2460 ค่อนข้างมีพุทธคุณสูงและมีความโดดเด่นในแทบทุกด้านเป็นอีกหนึ่งเรียนพระที่ได้จัดให้อยู่ในชุดเบญจภาคีของเหรียญพระพุทธยอดนิยม ของประเทศไทยเรา และแน่นอนว่าหาชมกันยากมากหากใครอยากได้มีไว้ในบูชาครอบครองก็ต้องขอบอกเลยว่ามีราคาที่ค่อนข้างประเมินค่าได้ยาก อีกทั้งใครหลายคนต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าราคามันจะขึ้นอยู่เรื่อยๆ
สำหรับพิธีพุทธาภิเษกในการจัดสร้างเหรียญพระในครั้งนั้นเรียกได้ว่าเป็นวิธีที่มีความขลังอย่างมากเนื่องจากมีการรวบรวมสุดยอดพระเกจิอาจารย์จากเมืองแม่กลองมาร่วมอธิฐานจิตเพื่อทำการปลุกเสกซึ่งในครั้งนั้น ประกอบไปด้วยหลวงพ่อรุณ แห่งวัดช้างเผือก, หลวงพ่อบ่าย แห่งวัดช่องลม, หลวงพ่อแก้ว แห่งวัดพวงมาลัย , หลวงพ่อคง แห่งวัดบางกระพ้อม,หลวงพ่อตาดแห่งวัดบางวันทอง และยังมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกมากมายที่เราอาจจะยังไม่ได้กล่าวถึงในที่นี้
สำหรับวัดบ้านแหลมแห่งนี้เดิมที่เคยเป็นป่ารกชัฏ ต่อมาได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวมาจนถึงในยุคปัจจุบันครั้งหนึ่งต้องขออนุญาตย้อนไปถึงปี 2416 เจ้าอาวาสแห่งวัดบ้านแหลมในยุคนั้นได้เกิดนิมิตร ซึ่งเป็นนิมิตถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จากนั้นเจ้าอาวาสท่านก็ได้นำพระคาถาและทำน้ำมนต์เพื่อทำการแจกให้กับชาวบ้านได้นำน้ำมนต์เหล่านี้ไปอาบปรากฏว่าโรคระบาดซึ่งก็คือ “โรคอหิวาตกโรค” ในยุคนั้นได้สงบลงยังแปลกประหลาด จึงกลายเป็นคำร่ำรือที่ใครต่อใครก็ต่างพากันเชื่อว่ามีพุทธคุณที่ส่งเสริมในเรื่องของการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างเป็นเลิศ
เรื่องเล่าขานต่อๆกันมา
ครั้งหนึ่งพระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่5) ผู้มีนามว่าสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ท่านได้ทรงอธิษฐานจิตเพื่อขอให้พระองค์หายจากอาการประชวร ซึ่งในที่สุดพระองค์ก็ได้หายจากอาการประชวรดังกล่าวดังการตั้งจิตอธิฐานขอพรในครั้งนั้น จึงค่อนข้างถูกร่ำลือกันว่ามีความโดดเด่นในเรื่องของการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี
พุทธลักษณะเหรียญหลวงพ่อบ้านแหลม
เป็นเหรียญที่มีรูปทรงไข่ปรากฏในสิ่งแหวกม่าน ในส่วนของเหรียญด้านหน้าหลังเป็นรูปพระพุทธรูปปางยืนด้านข้างทั้งซ้ายและขวามีลักษณะเหมือนม่าน ทางด้านหลังของเหรียญถูกระบุโดยตัวอักษรว่า “รูปประติมากรคุณพ่อวัดบ้านแหลม” ทางด้านบนของอักษรที่ได้ระบุเอาไว้เมื่อสักครู่จะมีการลงอักขระที่จารึกเอาไว้เป็นตัว “นะ” และมีรายละเอียดอื่นๆซึ่งเราได้ระบุเอาไว้ในบทความเมื่อครั้งก่อนหน้านี้ไปแล้ว
พุทธคุณ
แต่พุทธคุณอันสูงของเหรียญพระศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ไม่ได้มีเพียงช่วยในเรื่องของการปกป้องคุ้มครองภัยจากโรคภัยไข้เจ็บเท่านั้นเนื่องจากยังมีคำร่ำลือที่ว่ามีพุทธคุณสูงและโดดเด่นในทุกด้านไม่ว่าจะด้านแคล้วคลาดปลอดภัยมหาอุดเมตตามหานิยมรวมไปถึงทางด้านนิรันตรายก็ดียิ่งนัก
เต็มอิ่มกันไปแล้วสำหรับเรื่องราวของที่ได้นำมาฝากกันไปเมื่อสักครู่นี้ เราเชื่อว่าเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของ พระ “หลวงพ่อวัดบ้านแหลม รุ่นแรก ปี 2460” พระล้ำค่าแห่งเมืองสมุทรสงคราม! นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่านที่ต้องการทราบถึงประวัติความเป็นมากันอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามเราสามารถกลับมาพบกันได้ใหม่ในบทความครั้งต่อไปสำหรับวันนี้ต้องขออนุญาตลาท่านผู้อ่านที่รักและเคารพกันไปก่อนขอให้คุณโชคดีและมีความสุขไปกับการอ่านนะคะ