ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ ! 

ประวัติพระ

หัวข้อ

ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ ! 1

สำหรับนักสะสมที่มักจะเล่นหาเขี้ยวเสือแกะเป็นเดิมอยู่แล้วนั้น เชื่อว่าใครหลายคนคงต้องการและใฝ่ฝันถึงเขี้ยวเสือแกะของหลวงพ่อปานแห่งวัดบางเหี้ยกันอย่างแน่นอน ซึ่งในวันนี้เราจะมาบอกเล่ากันถึง ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมือง สมุทรปราการ ! ให้ท่านได้ทราบ ซึ่งในครั้งนี้นอกจากเราจะมาบอกถึงประวัติความเป็นมาของท่านแล้วเรายังได้นำตัวอย่างของวัตถุมงคลชิ้นสำคัญที่มีชื่อเสียงของท่านมาฝากคุณในที่นี้อีกด้วย ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปพบกับเนื้อหาสาระที่น่าสนใจดังต่อไปนี้กันเลยดีกว่าค่ะ  

ประวัติ พระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ 

ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ ! 2

สำหรับประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ หรือที่ใครหลายคนมักจะรู้จักกันดีในนามของหลวงพ่อปานแห่งวัดบางเหี้ยนั้น เดิมทีท่านเป็นชาวจังหวัดสมุทรปราการเกิดที่ตำบลคลองด่านหรือในสมัยก่อนเรียกกันว่า ตำบลบางเหี้ย ท่านเกิดตั้งแต่ในช่วงปีพ.ศ 2368  เป็นลูกของคุณพ่อปลื้มและคุณแม่ ซึ่งบิดามารดาของหลวงพ่อปานนั้นท่านมีเชื้อสายจีนทั้งสองฝั่ง คุณพ่อและคุณแม่ของท่านมีบุตรทั้งหมด 5 คนซึ่งหลวงพ่อปานท่านเป็นบุตรคนที่ 3 ของครอบครัว  จากที่ครอบครัวของท่านได้ย้ายมาอยู่ที่ตำบลบ้านโคกแล้ว 

ถัดมาในช่วงยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้นามสกุล ซึ่งนามสกุลของหลวงพ่อปานก็คือหนูเทพย์ ในวัยเด็กนั้นคุณพ่อคุณแม่ของหลวงพ่อปานได้นำท่านไปฝากไว้กับท่านเจ้าคุณศรีศักยมุนี ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม อยู่ที่ใครหลายคนมักจะรู้จักกันดีในนามวัดแจ้ง  และได้มีโอกาสเล่าเรียนหนังสือภาษาไทยที่วัดแห่งนั้น  ต่อมาหลวงพ่อปานท่านก็ได้บวชเป็นสามเณรน้อย 

วัยหนุ่ม 

ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ ! 3

ต่อมาในเวลาไม่นานท่านก็ได้สึกจากเณรเพื่อมาช่วยครอบครัวประกอบอาชีพ ซึ่งอาชีพของท่านคือการตัดฟืนไปขาย โดยปกติแล้วนิสัยเดิมของท่านเป็นคนที่มีความมัธยัสถ์อดทนและมีความเพียรพยายามสูง หนักเบาเอาสู้ต่ออาชีพการงาน ที่พ่อแม่ของท่านสามารถไว้เนื้อเชื่อใจได้ เป็นคนขยันชอบทำมาหากินช่วยพ่อกับแม่  วัยเยาว์ของท่านนั้นเรียกได้ว่าท่านมีชีวิตเหมือนชาวชนบททั่วไป และเมื่อเติบโตเป็นหนุ่มก็เริ่มมีความรักกับหญิงสาวรุ่นราวคราวเดียวกัน 

ครั้งหนึ่งหลวงพ่อท่านในสมัยที่ยังเป็นหนุ่มและยังไม่ได้บวชเป็นพระท่านก็ได้เดินทางไปหาหญิงผู้เป็นที่รัก แต่เพราะเมื่อท่านได้ล้างเท้าและกำลังจะก้าวขึ้นบันไดก็เกิดสิ่งอัศจรรย์ขึ้น เนื่องจากไม้ตะเคียนที่นำมาทำบันไดนั้นพลันหลุดออกจากกันทำให้ท่านพลัดตกลงจากบันได ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าไม้ตะเคียนนั้นมีความแข็งแรงและยากยิ่งที่จะหลุดออกจากกันได้ จึงทำให้เกิดลางสังหรณ์ในใจของท่านว่า หรือสิ่งนี้จะบ่งบอกถึงการสิ้นวาสนาเกี่ยวกับทางโลกเสียแล้ว เมื่อท่านได้กลับถึงบ้านก็ทำให้ท่านตัดสินใจอยู่หลายวันและในที่สุดท่านก็ได้เลือกตัดสินใจที่จะบวช 

ใต้ร่มกาสาวพักตร์ 

ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ ! 4

เมื่อตัดสินใจออกบวชแล้วท่านก็ได้เข้าพิธีอุปสมบทและจำพรรษาอยู่ที่วัดอรุณราชวราราม ซึ่งในครั้งนั้นพระผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับท่านก็คือท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนี สำหรับท่านผู้นี้เรียกได้ว่าเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อปานเลยก็ว่าได้เนื่องจากหลวงพ่อปานท่านได้ศึกษาเล่าเรียนทางด้านวิปัสสนากรรมฐานกับท่านเจ้าคุณศรีศากยมุนี รวมถึงได้มีโอกาสศึกษาทางด้านไสยศาสตร์อีกด้วย หลังจากบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วภายหลังท่านก็ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดบางเหี้ย หรือในปัจจุบันคือ วัดมงคลโคธาวาส 

หลังจากที่จำพรรษาอยู่ณวัดมงคลโคธาวาสแห่งนี้ในระยะหนึ่งแล้วท่านก็ได้ออกเดินธุดงค์ร่วมไปกับพระสหายสนิทของท่านซึ่งก็คือหลวงพ่อเรือน ซึ่งครั้งหนึ่งท่านได้เดินธุดงค์ไปยังจังหวัดชลบุรีจนไปถึงวัดอ่างศิลา ก็ได้พบกับหลวงพ่อแตงและกราบนมัสการขอฝากตัวเป็นสานุศิษย์กับท่าน ซึ่งในครั้งนั้นท่านก็ได้มีโอกาสร่ำเรียนทางด้านวิชาวิปัสสนาธุระกับหลวงพ่อแตงรวมไปถึงทางด้านไสยเวทย์มนต์ต่างๆอีกด้วย ซึ่งหลวงพ่อปานท่านได้ตั้งอกตั้งใจร่ำเรียนและที่สำคัญคือท่านมีความเชี่ยวชาญ มีความรู้และค่อนข้างเก่งกล้าทางด้านไสยเวทและพุทธาคมอย่างมาก จนสร้างชื่อเสียงให้กับท่านอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวัตถุมงคลที่เรียกกันว่าเขี้ยวเสือโคร่งที่ค่อนข้างร่ำลือมาจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งเขี้ยวเสือโคร่งนั้นจะมีลักษณะเป็นเขี้ยวเสือที่ถูกแกะสลักเอาไว้ไม่มีลักษณะเป็นรูปเสือนั่ง เมื่อร่ำเรียนจนสำเร็จแล้วก็ได้กราบลาพระอาจารย์ของท่านเพื่อมาพำนักอยู่ ณ วัดบ้านเกิดของท่าน

ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ ! 5

 ซึ่งมาพร้อมกับหลวงพ่อเรือนด้วยเช่นกัน ได้ปกครองพระลูกวัดด้วยกันซึ่งหลวงพ่อปานนั้นท่านได้รับตำแหน่งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดมงคลโคธาวาสและหลวงพ่อเรือนได้รับตำแหน่งเป็นรองเจ้าอาวาส ในขณะที่หลวงพ่อปานท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นเรียกได้ว่าท่านอุทิศตนให้กับพระพุทธศาสนาโดยแท้ และท่านมรณภาพลงในช่วงปีพ.ศ 2454 ตรงกับวันที่ 9 เมษายน 

เหตุการณ์เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 5 

ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ ! 6

ถัดมาในช่วงปีพ.ศ 2452 ได้เกิดเหตุการณ์ที่ประตูกั้นแม่น้ำบางเหี้ยนั้น ไม่สามารถกั้นน้ำให้อยู่ได้และต่อให้ช่างพากันมาช่วยซ่อมแซมอย่างไรก็ไม่เป็นอันสำเร็จจนกระทั่งข้าราชการทางฝั่งท้องถิ่นได้ทำการนำความขึ้นทูลกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เพื่อทำการขอพึ่งพระบารมีของพระองค์ท่าน 

ซึ่งในระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ท่านได้ประทับอยู่ที่ประตูน้ำในช่วงระยะเวลา 3 วัน ท่านก็ได้รับสั่งให้ทางทหารนิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นเข้าเฝ้า เพื่อถามไถ่ในเรื่องต่างๆของบริเวณพื้นที่บางเหี้ยแห่งนี้ ซึ่งในระหว่างที่หลวงพ่อปานท่านกำลังเดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวนั้น ท่านก็ได้ให้เด็กชายป๊อดเดินทางไปด้วยพร้อมกับนำเขี้ยวเสือวางสายพานไป  แต่เมื่อไปถึงเขี้ยวเสือที่อยู่ในพานกลับไม่มี เด็กชายป๊อดจึงตอบว่า เสือกระโดดลงน้ำไปจนหมดแล้ว เมื่อได้ความเช่นนั้นหลวงพ่อปานท่านจึงนำเอาดินเหนียวมาปั้นเป็นรูปหมูจากนั้นก็นำมาเสียบใส่ไม้แกว่งเพื่อล่อเสือให้ขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวท่านก็ได้ทอดพระเนตรอยู่ตลอดเวลา ถึงกับต้องตัดกับหลวงพ่อปานท่านว่า  “พอแล้วหลวงตา”  

สำหรับเขี้ยวเสือแกะของหลวงพ่อปานนั้นโดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกสร้างขึ้นด้วยการแกะสลักโดยช่างแกะสลักที่มากถึง 6 คน  ดังนั้นรูปร่างจึงไม่เหมือนกัน ในบางเขี้ยวเสือจะมีลักษณะเป็นกิริยาอ้าปาก  บ้างก็หุบปาก  โดยช่างทุกคนจะนำต้นแบบมาจากแมวเพื่อใช้ในการแกะสลัก นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประพาสมณฑลปราจิณ ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือรัชกาลที่ 5 นั้น ได้กล่าวถึงหลวงพ่อปานเอาไว้ด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถไปติดตามอ่านกันได้ 

วัตถุมงคลยอดนิยมของหลวงพ่อปาน แห่งวัดบางเหี้ย 

ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ ! 7

สำหรับวัตถุมงคลที่ค่อนข้างเป็นที่เลื่องชื่ออย่างมากของหลวงพ่อปานก็คือเขี้ยวเสือแกะ  ซึ่งจากที่เรากล่าวเอาแบบคร่าวๆกันแล้วว่า เขี้ยวเสือนี้จะถูกแกะสลักด้วยชั่งประมาณ 6 ท่านและมีลักษณะไม่เหมือนกันซึ่งบางเขี้ยวเสือจะมีลักษณะเป็นกิริยาอ้าปากและบางเขี้ยวเสือจะมีกิริยาหุบปากโดยใช้แมวเป็นต้นแบบในการแกะสลัก เชื่อกันว่ามีพุทธคุณที่ค่อนข้างสูง ซึ่งจะถูกสร้างขึ้นจากเขี้ยวเสือโคร่งของจริงเนื่องจากในสมัยก่อนนั้นเขี้ยวเสือไม่มีของปลอมเหมือนในปัจจุบัน และสำหรับในยุคปัจจุบันนี้เขี้ยวเสือนี้ได้กลายเป็นวัตถุมงคลที่ค่อนข้างหายากไปเสียแล้วหากมีก็น่าจะมีราคาสูงอยู่ไม่น้อย 

ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมืองสมุทรปราการ ! 8

แล้วพบกันใหม่กับบทความในครั้งต่อไปนะคะ สำหรับวันนี้ต้องขอขอบคุณในทุกๆการติดตามที่มีอย่างเสมอมา ขอฟังเรื่องราว ประวัติความเป็นมาของพระครูพิพัฒนิโรธกิจ (หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย) แห่งเมือง สมุทรปราการ ! ไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอให้คุณโชคดีร่ำรวยแข็งแรงกันถ้วนหน้านะคะ  9

Poster 24
Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการพระเครื่องในประเทศไทย

Facebook
Twitter