ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย !

ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย ! 

หัวข้อ

หากมีใครถามถึงพระดังย่านบางกอกน้อยอาจมีใครหลายคน ที่จะต้องนึกถึงพระวัดพลับเป็นอันดับต้นๆเป็นแน่  ซึ่งในครั้งนี้พวกเราทีมงานก็ได้เอาใจแฟนๆเว็บไซต์กันเช่นเคยโดยจะมาบอกเล่าถึง ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย ! ให้คุณได้ทราบเพราะเราเชื่อว่าอาจมีเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องหลายๆท่านที่อยากทราบถึงที่มา และประวัติที่น่าสนใจของพระวัดพลับแห่งนี้ ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราไปชชมรายละเอียดที่น่าสนใจพร้อมๆกันเลยดีกว่า   

เป็นมาอย่างไร 

ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย ! 1
ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย ! 2

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพระที่ค่อนข้างมีเนื้อผิวอันเป็นเอกลักษณ์ที่ยากจะมีใครเหมือน ทั้งยังมีที่มาและเรื่องราวที่ถูกเล่าต่อกันมานานับประการ จนทำให้เหล่าบรรดาแฟนๆและเซียนพระต่างได้อยากเสาะหาเพื่อมีไว้ในครอบครอง สำหรับประวัติความเป็นมาของพระองค์นี้ก่อนอื่นต้องขอเกริ่นถึง “วัดราชสิทธาราม” กันเสียก่อน ซึ่งวัดแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ที่เขตบางกอกน้อยจังหวัดกรุงเทพฯหรือที่ใครหลายคนมักจะเรียกกันว่าฝั่งธน เป็นวัดที่มีความเก่าแก่ที่มีอายุยาวนานในเขตของจังหวัดกรุงเทพฯ และวัดแห่งนี้คือต้นสายปลายเหตุของที่มาในเรื่องนี้นั่นเอง จากการเล่าขานของคนเก่าแก่ที่ได้บอกเล่าต่อๆกันมาจึงได้ความว่า

ครั้งหนึ่ง ณ ลานวัดพลับ แห่งนี้ซึ่งเป็นบริเวณที่พระสงฆ์สามเณรต่างๆ รวมทั้งชาวบ้านใช้ทำกิจกรรมกัน บ้างก็ใช้นั่งพักผ่อน ซึ่งบริเวณนั้นจะเต็มไปด้วยกระรอกและสัตว์เล็กๆอย่างนกอยู่มากมาย ในวันหนึ่งได้มีกระรอกเผือกปรากฏให้ผู้คนแถวนั้นได้เห็น เนื่องจากสีสันที่แปลกประหลาดแต่มีความความสวยงามอันเป็นที่สะดุดตาใครต่อใคร จึงทำให้ผู้คนในละแวกนั้นต่างพากันวิ่งไล่จับ กระรอกเผือกตัวนั้นได้วิ่งหนีเข้าไปในโพรงพระเจดีย์ เมื่อผู้คนไล่ตามจับกระรอกเผือกตัวนั้นก็ปรากฏว่าได้พบกับ วัตถุมงคลต่างๆรวมทั้งพระพิมพ์หลายองค์ ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี “พระพิมพ์พุงป่องใหญ่” รวมอยู่ด้วย ที่กำลังไหลออกมาจากโพรงของข้างในพระเจดีย์ ปริมาณที่มันไหลออกมานั้นค่อนข้างมาก  ถึงขั้นที่ชาวบ้านพากันนำกระบุงตะกร้ามาลองใส่ เนื่องจากมันมีมากจริงๆ จึงเรียกได้ว่าเป็นการแตกกรุครั้งยิ่งใหญ่และเป็นครั้งแรกของยุคนั้น 

และด้วยเหตุที่เจ้าตัวกระรอกน้อยเผือกตัวนั้นได้นำพาให้กลับทุกคนได้ไปพบกับ  ‘พระวัดพลับ’ องค์นี้ ทั้งยังสุดยอดวัตถุมงคลอีกมากมาย จึงทำให้กรุแห่งนี้ได้มีผู้เรียกกันต่อๆมาว่า  ‘กรุกระรอกเผือก’ และหลังจากที่ได้มีการแตกกรุในครั้งนั้นเจ้าอาวาสของวัดแห่งนี้ก็ได้ทำพิธีเปิดกรุพระเจดีย์ เมื่อทำการเปิดกรุเป็นที่เรียบร้อยแล้วก็ได้พบกับพระวัดพลับอีกมากมาย และไฮไลท์ในครั้งนั้นคือมีองค์  ‘พระสมเด็จอรหัง’ อยู่ในการแตกกรุครั้งนั้นด้วยเช่นกัน ไม่หมดเพียงเท่านั้นเพราะยังมี หลายพิมพ์ที่ปะปนด้วยเช่นกัน สำหรับพระอรหังนั้น เรียกได้ว่าเป็นพระเครื่องเก่าแก่ซึ่งผู้สร้างคือ สมเด็จพระสังฆราชสุก (หรือมีสมญานามว่าไก่เถื่อน) ซึ่งก่อนหน้านี้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้เคยเป็นเจ้าอาวาส ณ วัดพลับแห่งนี้มาก่อน ก่อนที่จะถึงคราวไปครองวัดมหาธาตุ 

รายละเอียดของพระวัดพลับ โดยส่วนมากแล้วจะเป็นพระเนื้อผงที่มีสีขาว อีกทั้งยังได้ผ่านกรรมวิธีในการสร้างที่มีความคล้ายคลึงและใช้ส่วนผสมคล้ายกับพระสมเด็จอรหัง อยากมาก ดังนั้นผู้คนจึงต่างพากันสันนิษฐานว่าผู้ที่สร้าง “พระวัดพลับ” อาจจะคือท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) ก็เป็นได้เนื่องจากท่านคือเจ้าตำรับแห่งพระผงที่มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้นเช่นกัน 

เนื้อหามวลสาร 

ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย ! 3
ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย ! 4

เอกลักษณ์อันโดดเด่นก็คือมีความคล้ายคลึงกับพระสมเด็จวัดระฆังไม่น้อย   แต่ในส่วนของเนื้อองค์พระนั้นจะมีความหนึบนุ่มมีเนื้อเป็นสีขาว  มีรอยแตกร้ายกลับแบบไข่นกปรอท แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นเช่นนี้ทุกองค์ นอกจากนี้ยังสามารถมองเห็นตัวเองพระได้ว่ามีคราบที่เป็นน้ำคล้ายกับการตกผลึกจนกลายเป็นสีขาวและมีความเป็นสีเหลืองอ่อนแบบต่างๆปะปนอยู่หรือที่ภาษาของเซียนพระมักจะเรียกกันว่า ฟองเต้าหู้ 

อาจเพราะพระพระเครื่องเหล่านี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในกรุพระเจดีย์เป็นเวลาที่ค่อนข้างนานนับร้อยปีเห็นจะได้ จึงอาจมีสีที่เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมและการเวลา บางองค์พระจะมีลักษณะคล้ายกับเนื้องอกที่ช่วงบริเวณผิวมีลักษณะคล้ายกับเป็นเม็ดซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเกิดจากสภาพภายในของกรุพระเจดีย์ที่อาจมีความร้อนและพระเจดีย์นั้นอาจจะเก็บความร้อนเอาไว้เป็นเวลานานจึงทำให้พระเครื่องต่างๆได้รับผลกระทบและเมื่อกรุที่ทำมาจากปูนขาวผสมกับน้ำพระต่างๆตกตะกอนได้จนมีลักษณะคล้ายกับเนื้องอกในตัวองค์พระบางองค์จากที่ผู้คนได้พบเห็น 

ซึ่งในการเปิดกรุครั้งนั้นได้พบกับพระเครื่องมากมายหลากหลายพิมพ์ จนทำให้ผู้คนต่างขนานนามและเล่าขานต่อๆกันไปจนมีความแตกต่างในเรื่องเล่า ซึ่งการพบเจอพระพิมพ์ในครั้งนั้นได้แก่ พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต , พิมพ์สมาธิใหญ่, พิมพ์ภควัมบดีเล็ก, พิมพ์ภควัมบดีใหญ่ , พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก,พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ชะลูด ,พิมพ์ยืนถือดอกบัว และพิมพ์วันทาเสมา 

และมีพิมพ์พุงป่องใหญ่ซึ่งจะพบเห็นกันใน 2 แบบคือ พิมพ์พุงป่องใหญ่พิมพ์ 1 และพิมพ์พุงป่องใหญ่พิมพ์ 2 ตามด้วยพิมพ์พุงป่องเล็กที่มี 2 แบบคือ พิมพ์พุงป่องเล็กเข่าชั้นเดียวและพิมพ์พุงป่องเล็กเข่าสองชั้น รวมไปถึงพระพิมพ์อื่นๆอีกมากมายหลายแบบ 

พุทธลักษณะขององค์พระ 

ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย ! 5

สำหรับเอกลักษณ์ที่เห็นได้อย่างเด่นชัดของพระพิมพ์พุงป่องใหญ่นี้ ก็คือบริเวณหูนั้นจะเป็นใบสีที่มีขนาดใหญ่ทั้งสองข้าง เป็นองค์นั่งปางสมาธิ ที่ส่วนของบริเวณลำคอนั้นจะมีจุดเชื่อมไปยังบริเวณพระเศียรและลำตัว ในส่วนของพระเกศานั้นจะมีลักษณะคล้ายกับหมวกแยกจากพระเศียรลงมา และช่วงบริเวณแขนจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ท่อน จากนั้นจะมีเส้นขีดที่เราสามารถมองเห็นได้ชัดว่าคิดนี้จะมีตั้งแต่บริเวณหน้าแข้งมีความกลมเล็กน้อยที่ไม่ได้ลึกมากจนเกินไป แต่เราจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าบริเวณพุงนั้นจะมีลักษณะโป่งออกมา จึงอาจเป็นที่มาที่ทำให้เรียกว่าพิมพ์พุงป่องนั่นเอง 

สำหรับกรรมวิธีในการสร้างพระเนื้อผงนี้ มีลักษณะที่ผู้คนมักจะเรียกกันว่าเป็นการสร้างแบบปูนปั้น ซึ่งกรรมวิธีนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะใช้ปูนขาวที่สามารถหาได้จากการเผาของเปลือกหอย , น้ำมันตั้งอิ๊ว  รวมถึงเกสรดอกไม้และอื่นๆอีกมากมาย แต่ที่สำคัญคือได้มีการปลุกเสกด้วยผงวิเศษมาเป็นอย่างดีสำหรับผงวิเศษนั้นจะประกอบด้วย  ผงตรีนิสิงเห ,  ผงพุทธคุณ ,  ผงอิทธิเจ, ผงมหาราช และผงปถมัง ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ 

ส่วนบริเวณของหลังองค์พระนั้นตัวเนื้อจะมีจุดเม็ด ที่เป็นลักษณะคล้ายกับปูนขาวสีขุ่นหรือจุดดำบ้างแต่ค่อนข้างจะพบได้น้อย ในบางองค์มีลักษณะคล้ายกับฟองเต้าหู้ที่บริเวณเนื้อขององค์พระ ส่วนเนื้อขององค์พระจะมีลักษณะเป็นสีขาวขุ่น และมีคราบซึ่งบ่งบอกได้ถึงอายุและอย่างที่ทราบกันดีว่าได้ถูกจัดเก็บเอาไว้ในกรุพระเจดีย์มาเป็นเวลายาวนานราวๆร้อยปีเห็นจะได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมสีจึงมีความเปลี่ยนแปลง 

ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย ! 

เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับเรื่องราวของ ที่มาสุดขลังของ “พระวัดพลับ พิมพ์พุงป่องใหญ่” (วัดราชสิทธาราม) บางกอกน้อย !  ที่เราได้นำมาฝากกันไปแล้วเมื่อสักครู่นี้  อย่างไรก็ตามพวกเราทีมงานหวังอย่างยิ่งว่าคุณจะชื่นชอบและถูกใจ นะคะ  song-pra.com

Poster 24
Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการพระเครื่องในประเทศไทย

Facebook
Twitter