ที่มาพระเครื่องล้ำค่า “พระปิดตา หลวงปู่จัน ณ วัดโมลี เมืองนนทบุรี”

จัดอันดับพระเครื่อง

หัวข้อ

ที่มาพระเครื่องล้ำค่า “พระปิดตา หลวงปู่จัน ณ วัดโมลี เมืองนนทบุรี”1

มาทางฝั่งภาคกลางกันบ้างจังหวัดนนทบุรีกันบ้างในครั้งนี้เราจะมาพูดถึง ซึ่งหลวงปู่จันแห่งวัดโมลีงั้นเรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งพระเกจิอาจารย์ที่มีความเข้มขลังทางด้านพุทธาคมอย่างมาก ซึ่งในครั้งนี้เราจะมาบอกถึง ที่มาพระเครื่องล้ำค่า “พระปิดตา หลวงปู่จัน ณ วัดโมลี เมืองนนทบุรี” ที่ใครๆก็ตามหา เนื่องด้วยชื่อเสียงโด่งดังและมีคำร่ำลือถึงอย่างมากมาย ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเราจะพาคุณไปพบกับเนื้อหาสาระที่น่าสนใจดังต่อไปนี้กันเลย

ที่มาของวัดโมลี จังหวัด นนทบุรี

ที่มาพระเครื่องล้ำค่า “พระปิดตา หลวงปู่จัน ณ วัดโมลี เมืองนนทบุรี”2

ก่อนอื่นต้องขออนุญาตแกร่งถึงวัดโมลีกันเสียก่อน สำหรับวัดแหางนี้ เดิมทีมีชื่อว่าวัดใหม่สุวรรณโมลี ได้ถูกสร้างขึ้นในช่วงสมัยของรัชกาลที่สาม หรือประมาณปีพ.ศ. 2375  ซึ่งมีผู้ศรัทธาได้นำเงินมาถวาย ซึ่งเป็นผู้สลักปิ่นปักมวยผมขาย เมื่อวัดได้สร้างเสร็จแล้ว สัญลักษณ์ของวัดจึงเป็นปิ่นปักผม และยังคงมีมาเสมอจนถึงอายุปัจจุบัน 

ถัดมาในช่วงปีพุทธศักราช 2544 เมื่อครั้งที่ “สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส” ได้เสด็จมาเยือนวัดแห่งนี้ก็ได้ประทานชื่อให้ใหม่เป็นวัดโมลีเนื่องจากชื่อเก่านั้นมีความยาวเกินไป เป็นวัดที่มีความร่มรื่นและมีอุโบสถที่กว้างมากถึง 8 เมตรซึ่งอุโบสถได้สร้างขึ้นภายหลังเราราวปีพ.ศ. 2542 มีลักษณะเป็นอุโบสถทรงไทยที่ได้ทำการมุงหลังคากระเบื้องแบบเคลือบโดยใช้หลังคาแบบสามชั้นทั้งยังมีการสลักลายไทยลงยังประตูและหน้าต่างของวัดอีกด้วยเป็นวัดที่มีความงดงามและรุ่งเรืองมาก

มีเจ้าอาวาสรูปแรกซึ่งมีนามว่าเถื่อน และหลวงปู่จันคือเจ้าอาวาสรูปที่สามของวัด สำหรับหลวงปู่จันทร์นั้นท่านได้สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลหลายชิ้นซึ่งวัตถุมงคลที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงและโด่งดังมากก็คือ “พระปิดตา มหาอุดเนื้อแร่บางไผ่” ซึ่งในครั้งนี้เราจะมาบอกเราให้คุณได้ทราบกัน

ประวัติของหลวงปู่จัน วัดโมลี จังหวัดนนทบุรี

หลวงปู่จันทร์นั้นเดิมทีท่านเป็นชาวกัมพูชา เกิดประเทศกัมพูชาประมาณเราราวปีพ.ศ. 2355 จากนั้นก็ได้เข้าอุปสมบทและศึกษาพระธรรมมาวินัยอย่างเคร่งครัด เมื่อเราเรียนวิชาก็ได้ออกธุดงค์และทำการแสวงบุญมาโดยตลอด ท่านมาจากเมืองกัมพูชา จนได้มาถึงอำเภอบางบัวทอง ในยุคนั้นหลวงปู่จันทร์มีชื่อเสียงโด่งดังมากชาวบ้านที่พากันรู้จักต่างร่ำลือกันว่ามีพระชาวกัมพูชา (หรือบางคนก็เรียกกันว่าพระเขมร )ที่มีความเข้มขลังทางด้านวิทยาคมและเก่งกล้ามาก เนื่องจากพระเขมรสององที่ชาวบ้านหมายถึงนั้นได้ทำการรักษาโรคภัยต่างๆให้กับชาวบ้านและประชาชนในละแวกนั้นจนหาย อีกทั้งยังมีความเคร่งครัดและประพฤติดีมีจริยวัตรอันงดงาม จึงทำให้ญาติโยมต่างพากันเลื่อมใสและศรัทธาเป็นอย่างมาก

ต่อมาเมื่อวัดโมลีแห่งนี้ได้ขาดเจ้าอาวาส ชาวบ้านและประชาชนต่างๆก็ต่างนิมนต์พระชาวเขมรยังพร้อมใจกันเพื่อให้ท่านไปเป็นเจ้าอาวาสรูปต่อไปและพระเขมรรูปนั้นก็มีนามว่า “พระภิกษุจัน” เป็นก็คือหลวงปู่จันนั่นเอง เชื่อกันว่าหลวงปู่จันทร์นั้นท่านเป็นพระที่มีวิชาอาคมที่ค่อนข้างเข้มครั้งและแก่กล้าอย่างมากเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ มีความสามารถในการย่นระยะทางได้อีกทั้งยังล่องหนได้ด้วย ชื่อเสียงของท่านตังค์ร่ำรือไปไกลแต่นอกจากนี้ท่านยังมีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาสัก ทำน้ำมนต์และอาบว่านยารวมถึงการลงกระหม่อม ซึ่งคำร่ำลือที่ใครหลายคนต่างมอบให้แก่ท่านก็คือวิชาอาคมของท่านมีความขลังแบบสุดๆ ต่อมาในช่วงปีพ.ศ. 2437 

ท่านก็ได้มรณภาพ โดยสิริอายุได้ 82 ปีซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสได้อย่างยาวนานมากถึง 42 ปี เหตุการณ์ครั้งนั้นได้สร้างความโศกเศร้าให้กับญาติโยมและลูกศิษย์ลูกค้าอย่างมาก และถึงแม้ว่าท่านจะมรณภาพไปนานแล้ว คนรุ่นใหม่ในยุคปัจจุบันก็ยังคงเลื่อมใสและศรัทธาอย่างไม่เสื่อมคลาย และแน่นอนว่าวัตถุมงคลของท่านก็ค่อนข้างมีความโด่งดังจนทำให้ใครต่างใคร่อยากมีไว้ในครอบครองบูชา

ที่มาของพระปิดตาหลวงปู่จัน วัดโมลี 

ที่มาพระเครื่องล้ำค่า “พระปิดตา หลวงปู่จัน ณ วัดโมลี เมืองนนทบุรี”3

สำหรับหลวงปู่จันนั้นเดิมทีท่านเป็นผู้ที่ชื่นชอบการเล่นแร่แปรธาตุและมีความเชี่ยวชาญทางด้านสมุนไพรและเครื่องยาเป็นอย่างมากอย่างที่ทราบกันดีว่าท่านมีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคให้กับผู้คน ดังนั้นการสร้างพระของท่านจึงเรียกได้ว่าไม่ธรรมดาและแตกต่างจากพระรูปอื่นๆในยุคเดียวกันไม่น้อย 

พระปิดตาของท่านเสียแล้วจะนำแร่เหล็กมาใช้ในการสร้างพระ สำหรับพระปิดตามหาอุดนั้นได้มีการนำเหล็กชนิดหนึ่งมาใช้เป็นมวลสารในการสร้างและได้สร้างขึ้นช่วงประมาณเราราวปีพ.ศ. 2425 ซึ่งแร่เหล็กที่ใครต่อใครเอ่ยถึงนั้นก็คือ “ แร่บางไผ่” จึงเป็นที่รู้จักกันดีสำหรับพระปิดตาแร่บางไผ่หรือพระปิดตามหาอุดนั่นเอง ฉันกรรมวิธีในการสร้างเรียกได้ว่าค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและชัดเจนว่าลักษณะขององค์พระที่ท่านตั้งนั้นค่อนข้างมีความพิเศษแตกต่างและยากที่จะมีใครเหมือน 

สำหรับการสร้างพระปิดตาในครั้งนั้นลูกศิษย์ของท่านจะทำการปั้นหุ่นเทียนขึ้นมาเป็นรูปองค์พระ จากนั้นหลวงปู่จันก็จะทำการวางเส้นยันต์โดยเราจะเห็นว่าการปั้นนั้น จะมีลักษณะกลุ่มขายกับเส้นขนมจีนและมีเส้นยาว ซึ่งลักษณะเฉพาะเช่นนี้ท่านได้เป็นผู้กำหนด แต่ลูกศิษย์ลูกค้าจะต้องทำการปั้นด้วยมือดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการลงยันต์ในแต่ละเส้นนั้นจึงไม่เท่ากัน แต่อย่างไรก็ตามในทุกๆองค์พระเครื่องที่ถูกสร้างในรุ่นเดียวกันนั่นก็จะมีความคล้ายคลึงกันอย่างเห็นได้ชัด

 ถึงแม้จะมีความงดงามและเอกลักษณ์อันแตกต่างแต่ก็มีความเปราะบางไม่น้อยหากตกพื้นก็สามารถกระเทาะหรือแตกได้ อีกทั้งแร่ที่นำมาใช้เป็นเนื้อหามวลสารนี้ก็เป็นแร่สนิมที่กินตัวเอง ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องทำการชโลมน้ำมันจันทร์เป็นอย่างดีในครั้งที่สร้าง

พุทธลักษณะของพระปิดตาหลวงปู่จัน วัดโมลี 

ที่มาพระเครื่องล้ำค่า “พระปิดตา หลวงปู่จัน ณ วัดโมลี เมืองนนทบุรี”4

สำหรับความงดงามทางด้านศิลปะต้องขอบอกเลยว่ามีความโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่ได้เหมือนพระปิดตาของไทย หรือพระองค์อื่นๆในรูปเดียวกัน เนื่องจากได้รับอิทธิพลมาจากทางกัมพูชาซึ่งเป็นบ้านเกิดของหลวงปู่จัน เราจะสังเกตเห็นได้ว่าองค์พระปิดตานี้มีลักษณะเป็นแบบลอยองค์

และเราจะเห็นว่าเส้นยันนั้นมีความคล้ายคลึงกับเส้นขนมจีนอย่างมาก มีความกลมและเป็นเส้นยาว ที่ได้ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ในส่วนของพรรคนั้นจะเห็นได้ว่ามีพระหัตถ์ทั้งสองข้างยกขึ้นมาปิดตาเอาไว้จึงเรียกว่าพระปิดตาซึ่งองค์พระก็คล้ายกับพระปิดตาทั่วไป แต่สำหรับองนี้พระหัตถ์อีกข้างหนึ่งจะมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่านำลงมาปิดทวารเอาไว้ 

ที่มาพระเครื่องล้ำค่า “พระปิดตา หลวงปู่จัน ณ วัดโมลี เมืองนนทบุรี”5

ถัดลงมาที่บริเวณพระอุระเราจะสังเกตเห็นได้ว่ามียันต์ลักษณะกลมคล้ายกับเส้นขนมจีนได้ถูกกำกับเอาไว้ ซึ่งเอกลักษณ์ของอย่างนี้จะปรากฏให้เห็นว่าเป็นยันต์ “นะ” ซึ่งบางคนก็บอกว่ามีความคล้ายกับเลข “8” แต่สำหรับบางคนก็อาจจะมองว่าคล้ายกับตัวอักษรภาษาอังกฤษ “ s” จากนั้นเมื่อสังเกตให้ดีจะคล้ายกับหางที่หมุนขึ้นไปคล้ายกับอุณาโลมลักษณะเช่นนี้จะเรียกว่า “ยันต์นะมหาอุต” 

ในส่วนของด้านหลังนั้นเราก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนเช่นกันว่ามีเส้นยันต์เต็มไปหมด ซึ่งซ้ายของเส้นยันนั้นจะมีความนูนและหนาและมีอักขระที่ถูกจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย มีความงดงามและดูแปลกตา 

พุทธคุณ

มีความเชื่อกันว่ามีความเป็นเลิศทางด้านแคล้วคลาดปลอดภัย, คงกระพันชาตรี รวมไปถึงทางด้านมหาอุด

ที่มาพระเครื่องล้ำค่า “พระปิดตา หลวงปู่จัน ณ วัดโมลี เมืองนนทบุรี”6

สำหรับครั้งนี้พวกเราทีมงานต้องขอฝากเรื่องราว ที่มาพระเครื่องล้ำค่า “พระปิดตา หลวงปู่จัน ณ วัดโมลี เมืองนนทบุรี” ไว้แต่เพียงเท่านี้นะคะแล้วพบกันใหม่ในบทความครั้งต่อไปสำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ

Poster 24
Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการพระเครื่องในประเทศไทย

Facebook
Twitter