ประวัติความเป็นมา  “ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณ” เครื่องรางหายากที่ใครๆก็ใฝ่ฝัน  !

ประวัติความเป็นมา-ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ

หัวข้อ

ประวัติความเป็นมา  “ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณ” เครื่องรางหายากที่ใครๆก็ใฝ่ฝัน  !

หากมีใครถามถึงเครื่องรางของขลังจากหลวงปู่นาคแห่งวัดอรุณนั้นแน่นอนว่าตะกรุดหนังหน้าผากเสือมักถูกเอ่ยถึงมาเป็นอันดับต้นๆ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้วันนี้เราได้รวบรวม ประวัติความเป็นมา  “ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณ” เครื่องรางหายากที่ใครๆก็ใฝ่ฝัน  ! มาฝากคุณกันไว้ที่นี่เพราะแน่นอนว่าเราจะมาบอกถึงรายละเอียดที่น่าสนใจที่อาจไม่ค่อยมีใครทราบมากนัก มาเพื่อให้แฟนๆชาวสองพระได้ทราบกันในครั้งนี้ ดังนั้นเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาพบกับเรื่องราวที่น่าสนใจ และรายละเอียดไปพร้อมๆกันเลยดีกว่า 

ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณฯ 

จ. กรุงเทพมหานคร

ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณฯ 

ก่อนอื่นเราจะพาคุณมาทราบถึงประวัติของหลวงปู่นาคแห่งวัชรอรุณในจังหวัดกรุงเทพมหานครกันก่อน ซึ่งเดิมทีนั้น ท่านมีชื่อว่านาค เดิมเป็นคนชาวจังหวัดปทุมธานีเป็นชาวบ้านที่ตำบลบางพูน ท่านเกิดในช่วงปีพ.ศ. 2415 ซึ่งตรงกับวันขึ้นห้าค่ำเดือนยี่เป็นปีมะโรงและเกิดในวันที่ 3 มกราคม ในวัยเด็กหลวงปู่นาดได้มีโอกาสเล่าเรียนทางด้านหนังสือภาษาไทยกับครูฟ้อน ซึ่งท่านสามารถอ่านออกเขียนได้ต่อมาเมื่อท่านอายุได้ประมาณ 12 ปี ท่านก็ได้บวชเป็นสามเณรน้อยและอยู่กับเจ้าอธิการหว่าง ณ วัดสารพัดช่าง ซึ่งอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร(ต่อมาภายหลังนั้นท่านได้มีสมณศักดิ์ว่าพระครูธรรมนานุสาลีแห่งวัดเทียนถวาย)

 หลวงปู่นาคได้เข้าสอบเป็นครั้งแรกในชีวิตช่วงปีพ.ศ. 2433 ซึ่งเป็นปีที่ตรงกับปีขาล  และสอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค หลังจากนั้นไม่นานพระอาจารย์ของท่านก็ได้ฝากท่านกับสมเด็จพระวันรัต (แดง) แห่ง วัดสุทัศน์ฯ จากนั้นต่อมาเมื่อเติบโตขึ้นก็เข้าพิธีอุปสมบท บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์ และพระผู้เป็นพระอุปประชาให้กับท่านก็คือสมเด็จพระวันรัต(แดง) แห่งวัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร และพระผู้เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ก็คือหลวงพ่อหว่างแห่งวัดเทียนถวาย พิธีอุปสมบทของท่านเกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2435 ตรงกับปีมะโรง เมื่อท่านได้บวชเป็นพระภิกษุสงฆ์แล้วท่านก็มีความตั้งอกตั้งใจในการปฎิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดและมีวินัยอย่างมาก อีกทั้งยังศึกษาทางด้านพระเปรียญทำกับสมเด็จพระวันรัต(แดง) และพระยาธรรมปรีชา (ทิม) อย่างมีความตั้งอกตั้งใจ 

ต่อมาไม่นานท่านก็ได้เข้าสอบในช่วงปีมะแมซึ่งเป็นการสอบครั้งที่สองของท่านซึ่งตรงกับช่วงปี 2437 และในการสอบครั้งที่สองของท่านนี้ท่านสามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค และถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2441 ซึ่งตรงกับพี่จอท่านก็สามารถสอบได้เปรียญธรรม 7 ประโยค ซึ่งมีพระสงฆ์น้อยรูปนักที่จะสามารถสอบได้

ประวัติความเป็นมาของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณฯ 

เนื่องจากท่านเป็นคนใฝ่รู้และใฝ่ธรรมธรรมะอย่างมากท่านจึงค่อนข้างมีความรู้ในด้านวิปัสสนากรรมฐานรวมถึงพระปริยัติทำอย่างแตกฉาน อีกทั้งยังมีความเคร่งครัดต่อการปฎิบัติและเป็นผู้มีอภิญญาวิทยาคมที่ค่อนข้างสูง ซึ่งวิชาต่างๆที่ท่านได้มีโอกาสศึกษานั้นโดยส่วนใหญ่จะได้รับมาจากหลวงพ่อหว่างแห่งวัดเทียนถวายและพระอุปประชาของท่านซึ่งก็คือพระวันรัตนตามที่เราได้กล่าวเอาไว้แล้วทางด้านบน และท่านก็มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิชาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชาลงภาพประเจียดแดง หรือวิชาลงหนังหน้าผากเสือก็ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องรางที่ค่อนข้างมีผู้คนถามหามากในปัจจุบัน 

ถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 2442 ท่านก็ได้รับตำแหน่งพระราชาคณะที่ พระศรีสมโพธิ และได้เป็นที่ปรึกษาของคณะสงฆ์ในสมเด็จพระวันรัต(แดง) ถัดมาเป็นเวลา 10 กว่าปีซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2461 หลวงปู่หน้าก็ได้เลื่อนสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ “พระราชสุรี” จากนั้นอีกสามปีต่อมาซึ่งตรงกับช่วงปีพ.ศ. 2464 ท่านก็ได้รับพระราชทานโปรดเกล้า ให้ครองพรรษา ณ วัดอรุณราชวนาราม ซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานครนี้และเป็นพระอุปัชฌาย์  และท่านก็ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าน ให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระธรรมดิลกในช่วงปีพ.ศ. 2467  และเป็นพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ช่วงปี 2476 และถัดมาในช่วงปีพ.ศ. 248 2000 ก็ได้เลื่อนสมณสักให้เป็นราชาคณะชั้นหิรัญบัตรที่ “พระพิมล”  

ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นล้วนแล้วแต่ได้สร้างเครื่องรางของขลังและอบรมสั่งสอนเหล่าบรรดาลูกศิษย์ลูกหารวมถึงพุทธศาสนิกชนอย่างมากมาย และถึงแม้ว่าท่านได้มรณภาพไปหลายปีสิบแล้ว แต่ชื่อเสียงและความเคารพศรัทธาของเหล่าบรรดาประชาชนก็ยังคงตราตรึงอยู่ในใจเสมอมา ซึ่งท่านถึงแก่การมรณภาพไปในช่วงปี 2488 ซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคม รวมสิริอายุได้ 72 ปีกับ 193 วัน

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณฯ 

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณฯ 

สำหรับหลวงปู่นาคนั้นท่านคือเจ้าอาวาสรูปที่ 10 ของวัดอรุณราชณวรารามในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และท่านได้สร้างตะกรุดรวมถึงเครื่องรางของขลังเอาไว้อย่างมากมายซึ่งในปัจจุบันครึ่งหลังของแพงก็ยังมีผู้คนถามหาอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเหล่าบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องทั้งหลาย จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ใครหลายคนอยากทราบถึงประวัติความเป็นมาของเครื่องรางสุดครั้งซึ่งก็คือตะกรุดหนังหน้าผากเสือนี้

วัตถุประสงค์ในการสร้างตะกรุดหนังหน้าผากเสือของหลวงปู่นาคก็เพื่อต้องการเอาไว้แจกให้กับลูกศิษย์ลูกหาและญาติโยมผู้มีความใกล้ชิด ไม่ได้สร้างมาเพื่อแจกพร่ำเพื่อ เนื่องจากการสร้างวัตถุมงคลชนิดนี้ท่านได้ทำตามตำราที่ท่านได้เล่าเรียนมาจากพระอาจารย์ของท่าน ซึ่งก็คือหลวงพ่อหว่างแห่งวัดเทียนถวาย ซึ่งกรรมวิธีในการสร้างนั้นก็ไม่ได้ง่ายและมีความซับซ้อนเฉพาะตัวพอสมควร และสำหรับการทำพิธีปลุกเสกตะกรุดหนังหน้าผากเสือนี้ท่านจะทำเฉพาะปีที่มีวันเสาร์ที่ห้าเท่านั้น ซึ่งเป็นการเลือกฤกษ์งามยามดีตามตำรานั่นเอง

ซึ่งในสมัยก่อนหากใครอยากได้เครื่องรางที่ผู้คนพากันเรียกว่าตะกรุดหนังเสือของหลวงปู่นาคนั้น จำเป็นจะต้องมาซื้อหนังเสือ ณ ร้านเจ้ากรมเป๋าซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าวัดสามปลื้ม เนื่องจากหากใครมีของป่าก็จะมักนำมาขายที่นั่นและไม่ได้มีเพียงหนังเสือเท่านั้นแต่ยังมีสมุนไพรต่างๆนำมาขายอีกด้วย 

หากใครได้หนังเสือมาแล้วก็จะนำมาตัดแบ่ง ไปตามขนาดของหน้าผากเสือที่ได้มา โดยส่วนใหญ่ขนาดที่เรียกกันว่าใหญ่ก็จะมีขนาดไม่เกิน 2 นิ้วต่อหนึ่งชิ้นและหากเป็นขนาดเล็กก็จะมีขนาดเพียงประมาณ 1 นิ้วไม่เล็กและไม่เกินไปมากกว่านี้ สำหรับเสือหนึ่งตัวนั้นผู้ที่ได้หนังมา ก็จะสามารถตัดแบ่งได้เพียงไม่กี่ชิ้นเท่านั้น เมื่อทำการตัดแบ่งชิ้นส่วนเรียบร้อยแล้วก็จะนำมาแช่น้ำตามด้วยการขูดขนและล้างสิ่งสกปรกออกให้เกลี้ยง และจะนำหนังหน้าผากเสือเหล่านี้มาฝนให้มีความบางลงมา เหตุผลในการฝนหนังเหล่านี้ก็เพื่อที่จะสามารถม้วนให้อยู่ในตะกรุดได้ง่าย

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณฯ 

เมื่อได้หนังเสือเหลือตามที่กำหนดไว้แล้วหลวงปู่นาคท่านก็จะทำพิธีจานอักขระเลขยันต์ซึ่งวิธีดังกล่าวนี้จะเป็นไปตามตำราทั้งหมดตามที่ท่านได้ร่ำเรียนมาจากพระอาจารย์ของท่าน ตามด้วยทำการม้วนตะกรุดโดยการใช้สายสินเส้นเล็กๆมาม้วนวนเอาไว้บริเวณรอบตัวตะกรุด เหตุผลที่ทำเช่นนี้เนื่องจากเพื่อให้หนังเสือนั้นไม่แยกตัวออกจากกัน แต่ช่วงยุคหลังหลังนั้นกรรมวิธีนี้หลวงปู่จะให้พระในวัดทำสิ่งแทนท่าน เมื่อขั้นตอนนี้แล้วเสร็จท่านก็จะทำการลงรักปิดทองหรือในบางรุ่นก็ไม่มีการปิดทอง เมื่อขั้นตอนต่างๆเสร็จแล้วท่านก็จะทำพิธีปลุกเสกไปเรื่อยเรื่อยเพื่อรอให้วันให้ฤกษ์ที่ตรงกับวันเสาร์ห้าในปีนั้นๆ และปลุกเสกไปเรื่อยเรื่อยแต่ทุกครั้งที่ปลุกเสกจะต้องตรงกับวันเสาร์ที่ห้าเท่านั้น เรียกได้ว่าเป็นกรรมวิธีในการสร้างที่ค่อนข้างละเอียดซับซ้อนและมีความพิถีพิถันอย่างมาก อีกทั้งยังมีคำร่ำรือที่ว่าพุทธคุณสูงมาก ซึ่งคุณสามารถชมภาพตัวอย่างได้จากทางด้านบนที่เรานำมาฝากกันได้เลย

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณฯ 

จบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วสำหรับเรื่องราวของ ประวัติความเป็นมา  “ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ ของหลวงปู่นาค แห่ง วัดอรุณ” เครื่องรางหายากที่ใครๆก็ใฝ่ฝัน  ! ที่ได้นำมาเล่าให้ฟังกันในครั้งนี้อย่างไรก็ตามพวกเราทีมงานหวังอย่างยิ่งว่าท่านผู้อ่านจะชื่นชอบและถูกใจกันกับเนื้อหานะคะพบกันใหม่ในบทความครั้งหน้าสำหรับวันนี้สวัสดีค่ะ

Poster 24
Poster 24

ผู้คว่ำหวอดในวงการพระเครื่องในประเทศไทย

Facebook
Twitter